ดูเพิ่มเติม

Tokenomic คืออะไร? ทำไมจึงควรรู้ก่อนที่จะลงทุน?

1 min
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

Tokenomic เกิดจากคำที่ผสมระหว่าง Token (เหรียญ) และ Nomic (ศาสตร์) รวมกันเป็น ‘ศาสตร์ของเหรียญ’ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคือการกำหนด ‘วิธีสร้างเหรียญ’ และ ‘วิธีใช้เหรียญ’ ซึ่งแต่ละเหรียญนั้นจะมีวิธีสร้างและใช้ไม่เหมือนกัน

ทุกคนอาจจะมองว่า Tokenomic เป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆแล้วเปล่าเลย! ในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีระบบการสร้างเหรียญและใช้เหรียญกันอย่างแพร่หลายแต่เราไม่ได้สังเกตมัน! เราจะมาเรียนรู้ Tokenomic ไปด้วยกันว่าระบบนั้นมีเพื่ออะไร? และใครจะได้ประโยชน์จากระบบนี้? ผ่านตัวอย่างในตำนานที่ทุกคนคุ้นเคย

บัตรประกันภาชนะในโรงอาหาร

บัตรประกันภาชนะในโรงอาหารซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่เคยใช้กัน สำหรับผู้ที่โรงเรียนไม่เคยมี บัตรนี้คือบัตรที่บังคับให้นักเรียนนำจานไปคืนที่วางภาชนะที่ออกโดยโรงเรียน ซึ่งมีจุดประสงค์จะสร้างนิสัยที่ดีให้แก่เด็กในการเอาจานไปคืนแทนที่จะวางไว้บนโต๊ะและไม่มีใครเก็บ

โดยบัตรนี้อาจจะแจกให้เด็กในช่วงเข้าเรียนและให้เด็กใช้ในการซื้ออาหาร โดยเด็กจะต้องพกเงินและมอบบัตรพร้อมกันเพื่อที่จะซื้ออาหารได้ หากไม่มีบัตรร้านค้าจะไม่ขายให้เด็ก เมื่อเด็กกินข้าวเสร็จ ก็เอาจานไปคืนก็จะได้บัตรกลับมา ทุกคนทำแบบนี้วนไปทุกวัน ภารโรงก็จะไม่ต้องเหนื่อยไปเก็บบัตรหรือครูจะต้องมาชี้ด่านักเรียนทุกวันเลย ระบบบัตรที่ออกแบบมาเช่นนี้เป็นตัวสร้าง ‘แรงจูงใจทางลบ’ (Negative Incentive) ให้แก่เด็กว่าถ้าไม่คืนจาน จะไม่ได้บัตรคืน ซึ่งก็จะอดกินข้าวในวันถัดไป ส่งผลให้เด็กนั้นจำเป็นต้องคืนจานเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง

หากเด็กคนใดทำบัตรหายหรือหัก เด็กคนนั้นจะต้องเสียเงิน 50 บาทเพื่อซื้อบัตรใบใหม่จากอาจารย์ ซึ่ง 50 บาทนั้นจะเป็นกำไรให้แก่โรงเรียน โดยกำไรเหล่านั้นจะนำไปพัฒนาโรงอาหารหรืออะไรก็แล้วแต่ที่โรงเรียนกำหนดไว้

โดยนี้คือยกตัวอย่างในการ ‘สร้างระบบ Tokenomic’ สมัยก่อน โดยที่ระบบบัตรประกันภาชนะนั้นเป็นการสร้างแรงจูงใจทางลบ คือ เด็กที่มีส่วนร่วมไม่สามารถ ‘ทำกำไร’ จากการผลิตบัตรได้เอง แต่อาจจะต้องรักษาบัตรเพื่อไม่ให้ ‘ขาดทุน’ ซึ่งเงินที่ต้องไปซื้อบัตรใหม่อาจจะซื้อข้าวได้ 1 จานเลยทีเดียว

แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราสามารถ ‘สร้างบัตร หรือ Token เองได้’ ซึ่งในโลกคริปโตนั้นส่วนใหญ่ทำได้

เรามาวิเคราะห์เปรียบเทียบ Crypto กับบัตรไปปเลย แต่ละเหรียญนั้นจะต้องเริ่มต้นด้วย ‘วัตถุประสงค์’ ก่อน

  • วัตถุประสงค์ของ Bitcoin นั้นก็เพื่อที่จะให้ทุกคนสามารถมีเงินที่แข็งแกร่ง ‘ไม่เฟ้อง่าย’ ซึ่งเกิดจาก Code ที่ออกแบบมาอย่างชัดเจนแล้วว่า
    • Bitcoin จะถูกสร้างเป็นจำนวณ 6.25 เหรียญทุกๆ 10 นาที จำนวนเหรียญที่ถูกสร้างลดลงครึ่งนึงทุกๆ 4 ปี หมายความว่า 4 ปีหน้า เหรียญจะออกมาเป็น 3.25 เหรียญทุกๆ 10 นาทีแทน
    • ‘ทุกคนสามารถร่วมสร้าง Bitcoin ได้’ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างหลักๆนั้นคือ GPU(การ์ดจอ) และ CPU ยิ่งมีการ์ดจอที่แรงหรือ CPU ที่แรงจะส่งผลให้เรามีสิทธิ์สร้าง 6.25 เหรียญได้ก่อนคนอื่น
    • มีจำนวนจำกัดที่ 21 ล้าน Bitcoin เมื่อเหรียญทุกเหรียญถูกสร้างจนหมด ผู้สร้างหรือผู้ขุด (Miner) จะได้ผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมจากการโอนแทน โดยการโอนของ Bitcoin นั้นมีค่าธรรมเนียมในการโอนในทุกครั้งที่โอน
    • ระบบเช่นนี้สร้างแรงจูงใจให้คนรีบมาเป็น ‘ผู้ขุด’ เนื่องจากได้ Bitcoin เยอะ หากขุดช้าเหรียญก็จะถูกลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งยิ่งเวลาผ่านไปหากมีคนต้องการเหรียญมากขึ้นแต่เหรียญผลิตได้น้อยลงเรื่อยๆ จะส่งผลให้ราคาเหรียญนั้นสูงขึ้น และทำให้ผู้ขุดในช่วงแรกๆนั้นรวย
    • ในภาพท้ายสุดหาก Bitcoin ถูกใช้แทนเงินปัจจุบันในทุกประเทศ จะทำให้เกิดเงินที่มีเสถียรภาพ เงินที่มีเสถียรภาพคือเงินที่มีมูลค่าสูงขึ้นทุกปีๆ ต่างจากเงินรัฐที่มีมูลค่าน้อยลงทุกปีๆนั้นเอง
      • *เงินเฟ้อนั้นเป็นเครื่องมือที่จะควบคุมให้ประชาชนขยันทำงาน แต่เงินเฟ้อที่มากเกินไปก็ทำให้เกิดฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากการที่รัฐปริ้นเงินเยอะขึ้นเรื่อยๆ ลดดอกเบี้ยเงินกู้น้อยลง ผู้ที่ได้เงินกู้ก่อนจะนำไปซื้อสินทรัพย์ที่มั่นคง เช่น ที่ดิน, น้ำมัน ส่งผลให้ธุรกิจต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมากขึ้นและสุดท้ายต้องขึ้นราคาของที่จำเป็น ทำให้ข้าวของแพงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เปรียบเทียบกับบัตรประกันภาชนะ

  • บัตรจะถูกแจกให้แก่เด็กใหม่ (Airdrop) ตั้งแต่เข้าเรียน ไม่สามารถได้ฟรีเพิ่มขึ้นได้ สามารถลดลงได้ถ้าหาย
  • ‘ทุกคนไม่สามารถสร้างบัตรเองได้’ แต่สามารถซื้อบัตรเพิ่มได้จากอาจารย์หรือร้านค้าสวัสดิการ ซึ่งมีราคา 50 บาทต่อใบ
  • ‘บัตรไม่มีจำนวนจำกัด’ เมื่อบัตรหาย/หักให้ซื้อใหม่ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรซื้ออาหารแต่ละครั้ง บัตรจะได้คืน 1:1 กับจานที่นำไปคืน
  • ในท้ายที่สุดหากทุกคนพยายามที่จะรักษาบัตรเพื่อไม่ต้องไปซื้อใบใหม่บ่อยๆ ก็จะเกิดแรงจูงใจให้คนพยายามรักษาบัตรไว้ เด็กจะรักษาจานตัวเองและเอาไปแลกคืนเพื่อได้บัตรมา ภารโรงไม่ต้องเสียเวลาไปเก็บจาน ครูไม่ต้องมาก่นว่าเด็ก
  • บัตรมีมูลค่าในตัวมัน เด็กทุกคนเห็นมูลค่ามัน ราคาของมัน = 50 บาทซึ่งประมาณเท่ากับข้าว 1 จาน

เห็นไหมว่าถ้า Token แต่ละอย่างนั้นมีจุดประสงค์ที่ต่างกัน หากเราต้องการที่จะลงทุนใน Token หรือเหรียญซักตัว เราควรที่จะรู้ว่า ‘มันมีจุดประสงค์เพื่ออะไร’, ‘มีคนใช้งานมันจริงหรือไม่?’, ‘มันถูกสร้างได้อย่างไร’ และสุดท้าย ‘ใครได้ผลประโยชน์จากมัน’ เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเราสามารถเป็นผู้ได้ประโยชน์จากมันได้หรือไม่? เราจะซื้อเหรียญนั้นไปใช้เองไหม? หากเราชอบใจ เราจะสร้างมันได้อย่างไรเพื่อทำกำไร? ฉะนั้นแล้วเพื่อให้เรามั่นใจในเหรียญที่จะลง ลองถามตัวเองดูก่อนนะครับว่าถ้าเราต้องซื้อเหรียญนั้นมาใช้ เราจะใช้เองจริงๆดูไหมนะครับ

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | เมษายน 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ

BIC_userpic_sb-31-1.jpg
Passanai Jiraruekmongkol
เด็กหนุ่มผู้ฝันใฝ่ในอนาคต เชื่อมั่นว่าคริปโตจะเป็นตลาดทุนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสการลงทุนที่ดีได้ จบรัฐศาสตร์การปกครอง มีประสบการณ์ทำงานด้านวงการธุรกิจ ได้หันตัวมาทุ่มสุดตักกับคริปโต
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน