หลังจากวิกฤตที่เกิดขึ้นกับ Zipmex หน่วยงานกำกับดูแลในประเทศไทยมีแนวโน้มว่าไม่ต้องการอดทนต่อประเด็นเรื่องกฎเกณฑ์เกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซีอีกต่อไป ทั้งยังทำให้มุ่งที่จะแก้ไขกฎหมายในประเทศเพื่อกำกับดูแลอุตสาหกรรมคริปโตในประเทศไทย
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เปิดเผยแผนการของรัฐบาลในการที่จะปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลและระบบนิเวศของสินทรัพย์ประเภทข้างต้น แผนการดังกล่าวยังรวถึงการให้อำนาจกับธนาคารแห่งประเทศไทยมากขึ้น
ในปัจจุบัน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถือเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ดูแลอุตสาหกรรมคริปโต แต่ข้อเสนอหลักในการแก้ไขกฎหมายจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศรับหน้าที่ดังกล่าวแทน
“ขณะนี้ ธปท. ไม่มีพื้นที่ที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกรอบทางกฎหมายเลย นอกเสียจากจะเพียงแค่ออกคำเตือนว่าสินทรัพย์ริปโตยังไม่ใช่เครื่องมือที่สามารถใช้ชำระค่าสินค้าและบริการได้ตามกฎหมาย” อาคมกล่าว “ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากรอบกฎหมายของไทยยังไม่สามารถกำกับดูแลอุตสาหกรรมคริปโตได้”
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงความคิดเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยกล่าวว่าผู้กำกับดูแลจะสามารถ “ขีดเส้นกำกับ” คริปโตเคอเรนซีได้ เนื่องจากทางธนาคารฯ มีแผนการที่จะออกสกุลเงินดิจิทัล (Central Bank Digital Currency; CBDC) ของตนเอง
ความเห็นหลายฝ่ายเกี่ยวกับคริปโต
ความคิดเห็นโดยทั่วไปเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซีถือว่าไม่ต่อเนื่อง กล่าวคือ เคยมีการออก “คำสั่งห้ามที่ครอบคลุมทุกกรณี” (Blanket Ban) ต่อสินทรัพย์คริปโต โดยมีผลบังคับใช้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกลายเป็นผู้กำกับดูแลหลัก อีกปัจจัยคือ Crypto Winter ที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้นักลงทุนสูญเสียเงินลงทุนไปถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
อีกปัจจัยคือวิกฤตที่เกิดขึ้นกับผู้ให้กู้คริปโตอย่าง Celsius และ Three Arrows Capital และความกังวลยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเมื่อ Zipmex ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคริปโตท้องถิ่น ได้ระงับบริการเบิกถอนเงินกับลูกค้าของตน ทำให้นักลงทุนจำนวนนับพันคนถูกลอยแพ
“เราพยายามปกป้องนักลงทุนเช่นเดียวกับพยายามทำให้ผู้ให้บริการในอุตสาหกรรมคริปโตได้รับความเป็นธรรม” อาคมกล่าว โดยอ้างถึงตัวอย่างของตลาดหุ้นที่มีการปกป้องนักลงทุนระดับสูง ในขณะที่สินทรัพย์ดิจิทัลไม่ได้รับการเหลียวแล “นอกเสียจากจะได้รับอนุญาต ซึ่ง [นักลงทุน] ก็ให้ความสำคัญกับมันน้อยที่สุด”
นักลงทุนต่างหวาดกลัว
หลาย ๆ เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในโลกคริปโตสร้างความหวาดกลัวให้นักลงทุนคริปโตชาวไทย ทาง Bloomberg รายงานว่าจำนวนบัญชีที่ยังใช้ซื้อขายคริปโตอยู่ลดลงจาก 700,000 บัญชี เหลือเพียง 230,000 ภายในระยะเวลาไม่ถึงหกเดือน
ในทางตรงกันข้าม บริษัทคริปโตยังแสดงให้เห็นสัญญาของความสิ้นหวังที่จะทำกำไร กล่าวคือ ในเดือนมิถุนายน 2022 ทาง ก.ล.ต. ปรับ Bitkub ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคริปโตท้องถิ่น ในข้อหาปลอมแปลง “จำนวนการซื้อขายเท็จ” เนื่องจากจำนวนรายการธุรกรรมขึ้นสูงกว่าความเป็นจริง
ข้อจำกัดความรับผิด
หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ
