นักพัฒนาหลักเผย The Merge ที่จะเกิดขึ้นจาก Ethereum ซึ่งรอคอยกันมาอย่าวยาวนาน จะไม่เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2022 อย่างที่คาด
Tim Beiko นักพัฒนาคนสำคัญของ Ethereum เปิดเผยข้อมูลและไทม์ไลน์สำหรับการ ‘ควบรวม’ ที่คาดการณ์ไว้ของสกุลเงินดิจิทัลนี้ในบัญชี Twitter ของเขา
ความล่าช้านี้ถือว่าไม่น่าแปลกใจเนื่องจากเคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วในโรดแมพว่าด้วยการปรับปรุงพัฒนา Ethereum ทั้งนี้ กลุ่มผู้ที่ไม่นิยมสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวได้เข้าไปต่อว่าความล่าช้านี้จากทวีตของเขา ซึ่ง Beiko ได้กล่าวตอบคำวิพากษ์วิจารณ์อันรุนแรงเหล่านี้ ความว่า
จาก Ethereum สู่ Concensus
The Merge คือขั้นถัดไปของโรดแมพการพัฒนา Ethereum โดยเมื่อเชน ETH 1.0 ควบรวม หรือนำไปผูกต่อกับเชน ETH 2.0 ขั้นตอนนี้จะนำไปสู่การเกิด consensus layer
เขาเสริมต่อว่าจะมีการระบุวันที่ต่อเมื่อ “ทีมบริการลูกค้าแน่ใจแล้วว่าการประยุกต์ใช้ตัวซอฟต์แวร์จะถูกทดสอบเรียบร้อยและปลอดบบั๊ก”
นักพัฒนาและทีมบริการลูกค้าได้ทดสอบซอฟต์แวร์โดยใช้ shadow forks ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยสำหรับการทดสอบเวอร์ชันใหม่ของ Ethereum ซึ่งมีความซับซ้อน โดยการทดสอบ Shadow Fork ครั้งแรกถูกเผยแพร่ไปแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา และครั้งถัดไปนั้น คาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นวันที่ 22 เมษายน
“การทดสอบเหล่านี้เผยให้เห็นปัญหาในขั้นตอนการนำซอฟต์แวร์ไปปรับใช้ ซึ่งทางทีมงานกำลังแก้ไข และพยายามทำ Shadow Fork อยู่เรื่อย ๆ เพื่อทดสอบการแก้ไขที่ได้ทำไป” Beiko กล่าว
เมื่อใดก็ตามที่งานชิ้นนี้ทำงานได้โดยไม่มีปัญหาในขั้นตอนการทำ Shadow Fork จากนั้น Ethereum testnets (Ropsten Goerli และอื่น ๆ) ที่มีอยู่จะถูกอ่านผ่าน the Merge แทน
“Mainnet Merge จะเกิดขึ้นเมื่อ Testnet นั้นถูกอัปเกรดสำเร็จและเสถียรเรียบร้อย” เขากล่าวเสริม
Difficulty Bomb ล่าช้า
Beiko ยังเอ่ยถึง Ethereum difficulty bomb ซึ่งหมายถึงความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นของปัญหาทางคณิตศาสตร์ใน proof-of-work ที่อยู่ในอัลกอริธึมการขุด
เขาเสริมว่า “เราจะสังเกตเห็นได้ราวเดือนพฤษภาคม ก่อนที่บล็อกที่ใส่เพิ่มเข้าไปจะช้า ‘เสียจนทนไม่ไหวอีกต่อไป’ ในช่วงเดือนสิงหาคม”
ทั้งนี้ เขาเสริมว่าขั้นตอน Difficulty Bomb เองจำเป็นต้องล่าช้าอีกครั้งหากนักพัฒนาคิดว่ายังไม่สามารถใช้งานเจ้าเวอร์ชันใหม่ของ Ethereum บน Mainnet ก่อนที่เวลาของบล็อกจะช้าเกินไป
มีข้อเสนอสองข้อจากเหตุการณ์นี้ ข้อแรกคือให้ควบรวมความล่าช้าจากการทำ Difficulty Bomb กับการอัปเกรดสกุลเงินดิจิทัลนี้แล้วลองดูว่าทั้งสองสิ่งนั้นสามารถเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ได้ไหม หากตัวเงินดิจิทัลสกุลนี้ทำงานล่าช้าเกินไป จำเป็นต้องมีการสร้าง Difficulty Bomb Delay อีกตัวแยกก่อนที่มันจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ณ ช่วงเวลาที่เขียนข่าวชิ้นนี้นั้น ราคา Ethereum เพิ่มขึ้นมา 1.4% คิดเป็นมูลค่า 3,114 ดอลลาร์สหรัฐ โดยที่ช่วงหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ มูลค่าของมันขาดทุนถึง 8%
ข้อจำกัดความรับผิด
หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ