ขณะนี้ทางการเอธิโอเปียกําหนดให้ผู้ให้บริการคริปโตทั้งหมดลงทะเบียนกับ Information Network Security Administration (INSA) ภายในสิบวัน
รูปแบบการลงทะเบียน crypto เกิดขึ้นได้จากการแก้ไขกฎหมายที่ให้อํานาจ INSA ในการกํากับดูแลผลิตภัณฑ์และธุรกรรมการเข้ารหัส
ความคิดริเริ่มนี้เกิดขึ้นในขณะที่เอธิโอเปียแสวงหาหากรอบกฎหมายเพื่อจัดการกับความสนใจที่เพิ่มขึ้นในการขุดและการลงทุนคริปโตเคอเรนซี ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นภาคธุรกิจที่ธนาคารแห่งชาติเอธิโอเปีย (NBE) เคยสั่งห้ามการใช้งาน
ผู้ว่าการ NBE ให้สัมภาษณ์กับ CGTN news ในเดือนมิถุนายน 2022 ว่ากฎและข้อบังคับของธนาคารกลางยอมรับเฉพาะเงินสกุลปกติเท่านั้นและผู้ที่ทําธุรกรรมในคริปโตเคอเรนซีจะประสบผลกระทบทางกฎหมาย ทั้งนี้ เขาเสริมว่าธนาคารจะดําเนินการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
เอธิโอเปียต้องการจุดประกายเส้นทางในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางไซเบอร์
บริษัทที่ดําเนินงานโดยไม่ลงทะเบียนกับ INSA จะถูกดําเนินคดี โดย INSA อ้างว่าตนประสบความสำเร็จในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ในประเทศได้ถึง 97% ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 โดยช่วยเอธิโอเปียได้ประมาณ 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยรูปแบบการลงทะเบียนเช่นนี้ เอธิโอเปียต้องการเป็นประเทศแรกในแอฟริกาที่เสนอมาตรการคุ้มครองนักลงทุนจากองค์กรคริปโตทางอาญาจากมุมมองด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
ทั้งนี้ เอธิโอเปียยังล้าหลังเคนยา แอฟริกาใต้ อียิปต์ และไนจีเรีย ด้วยผู้ถือครองคริปโต 1.8 ล้านคน ราคาจองเงินดอลลาร์สหรัฐที่สูงขึ้นในตลาดมืดนำไปสู่การพยายามหันมาใช้งานคริปโตเคอเรนซีแทนผ่านการใช้งานแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตเก้ารายในเอธิโอเปีย
แพลตฟอร์มคริปโตอาจกลายเป็นเป้าหมายของการแฮ็ก ในขณะที่พวกเขาประมวลผลและถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลจํานวนมาก ตัวอย่างที่ฉาวโฉ่ที่สุดคือการแฮ็กซึ่งสร้างความเสียหายมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับแพลตฟอร์มคริปโตของญี่ปุ่น อย่าง Mt. Gox ในปี 2014 นอกจากนี้ ในเดือนธันวาคม 2021 แฮกเกอร์ทําเงินได้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก Bitmart ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคริปโตอีกรายหนึ่ง
แฮ็กเกอร์รายหนึ่งสามารถกําหนดเป้าหมายเหยื่อโดยเสนอให้เพิ่มเงินเป็นสองเท่าหลังจากที่พวกเขาทําการลงทุนครั้งแรก นอกจากนี้ แฮ็กเกอร์สามารถสร้างคริปโตเคอเรนซีของพวกเขาได้โดยปล่อยให้นักลงทุนถือบัญชีเอาไว้เฉย ๆ
ผู้โจมตียังสามารถใช้ keyloggers หรือโปรแกรมมัลแวร์ที่แตกต่างกันเพื่อให้ผู้คนเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาแล้วนำไปขายบนเว็บมืดสําหรับคริปโตเคอเรนซีจํานวนเล็กน้อย
ยูกันดาถึงตาขาลง แอฟริกากลางประสบปัญหา
ระหว่างเดือน ต.ค. 2019 ถึง ก.พ. 2020 บริษัทคริปโตเคอเรนซีห้าแห่งในยูกันดาปิดตัวลง โดยเชิดเงินจากลูกค้ามูลค่า 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 รัฐสภายูกันดาได้ลงโทษทางอาญาต่อ Ponzi Scheme ที่ทําให้นักลงทุนต้องขาดทุน 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐและลงโทษผู้ให้บริการชําระเงินที่อนุญาตให้ทำธุรกรรมคริปโตได้
การที่สาธารณรัฐแอฟริกากลางประกาศให้ใช้ Bitcoin ในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมายถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยผู้เชี่ยวชาญที่เตือนว่าการทำเช่นนี้เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดอาชญากรรมทางการเงิน ผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งเชื่อว่า Bitcoin ทำให้สามารถทำธุรกรรมผิดกฎหมายร่วมกับ Wagner Group องค์กรกึ่งทหารของรัสเซียที่จ้องจะล้มล้างอำนาจอธิปไตยของสาธารณรัฐแอฟริกากลางได้
สําหรับการวิเคราะห์ Bitcoin (BTC) ล่าสุดของ Be[In]Crypto คลิกที่นี่
ข้อจำกัดความรับผิด
หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ