Trusted

รวมลิสต์ธุรกิจที่รับ Bitcoin ในปี 2021

2 mins
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

รวมลิสต์ธุรกิจที่รับ Bitcoin ในปี 2021

Bitcoin เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แรกเริ่มนั้นจุดประสงค์ของมันอาจยังไม่ชัดเจนแต่ทุกวันนี้มันสามารถนำมาใช้ในการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อและนโยบายทางการเงินที่ไม่เป็นธรรมได้ แต่อาจจะเกิดคำถามว่าเราสามารถใช้จ่ายเงินดิจิทัลเหล่านี้ได้ที่ไหนบ้าง หรือเว็บไซต์อย่าง Amazon รับเงินดิจิทัลเหล่านี้แล้วหรือยัง วันนี้ หลายบริษัทเริ่มรับ Bitcoin ในฐานะตัวกลางในการซื้อขาย ซึ่งเราได้รวบรวมเาอไว้ ณ ที่นี้

หัวข้อที่ครอบคลุม

ใช้ได้ที่ไหนบ้าง

บทความชิ้นนี้จะลงรายละเอียดธุรกิจต่าง ๆ ที่สามารถใช้เงินดิจิทัลสกุลนี้ในการจับจ่ายใช้สอยได้

มีธนาคารไหนรับ Bitcoin บ้าง

ในสหรัฐอเมริกานั้น มี Chime Ally และ USAA ในประเทศอื่นนั้นต้องจับตาดูกันต่อไป

สามารถเปลี่ยนเป็นเงินจริงได้ไหม

สามารถทำได้ โดยทำการขายเงินดิจิทัลที่อยู่ใน Crypto Wallet ออกเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐและโอนยอดดังกล่าวเข้าบัญชีธนาคารปกติ

รายชื่อบริษัทที่รับ Bitcoin แล้ว

บริษัท Internet and Media ที่รับเงินคริปโต

  1. Microsoft

Microsoft ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ติด Fortune 500 ที่รับชำระเงินด้วย Bitcoin ในระบบการทำจ่ายใน Xbox Store โดยสามารถจ่ายด้วยเงินดิจิทัลได้ตั้งแต่ปี 2014 ก่อนหน้านี้เคยมีช่วงหนึ่งที่ Microsoft ต้องหยุดรับการชำระเงินด้วยวิธีการนี้เนื่องจากความผันผวนของราคาแต่ได้กลับมารับสกุลเงินดิจิทัลนี้อีกครั้ง ผู้ที่มีบัญชีของ Microsoft สามารถเติมเงินในระบบด้วย Bitcoin เช่นกัน

2. Wikipedia

Wikipedia คือสารานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็นแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดเช่นกัน และเป็นที่ที่ผู้ที่กำลังค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอินเทอร์เน็ตมักใช้ในการค้นหาข้อมูล

ทั้งนี้ ทางเว็บไซต์ได้รับเงินทุนหลัก ๆ มาจากการบริจาค หนึ่งในช่องทางการรับเงินของเว็บไซต์คือ Bitcoin โดยทำการร่วมมือกับ BitPay ซึ่งเป็นผู้ประมวลผล crypto payment เจ้าหนึ่งตั้งแต่เดือนมการาคม 2019 และยังใช้งานต่อมาได้จนถึงปัจจุบัน

3. Twitch

Twitch  คือแพลตฟอร์มสตรีมเกมของ Amazon ซึ่งรับชำระรายการสินค้าด้วย Bitcoin และ Bitcoin Cash ทางแพลตฟอร์มเคยหยุดรับการชำระด้วย Bitcoin เมื่อเดือนมีนาคม 2019 และกลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งในเดือนมิถุนายนปีเดียวกันเมื่อเห็นว่าตลาดคริปโตเริ่มเติบโต ทั้งนี้ Twitch ถือเป็นธุรกิจเจ้าหลักที่เป็นที่รู้กันว่ารับชำระเงินด้วยเงินคริปโต

4. ExpressVPN

ExpressVPN คือแพลตฟอร์ม VPN รายใหญ่ซึ่งมีเซิร์ฟเวอร์ถึง 160 ตัวใน 94 ประเทศและทำงานร่วมกับนานาอุปกรณ์จำนวนมาก และยังขึ้นชื่อเรื่องการไม่บันทึกกิจกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเรา

บริการของแพลตฟอร์มนี้มีตั้งแต่ 1 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือนโดยมีการันตีคืนเงินภายใน 30 วัน ทุกแพ็คเกจรับชำระด้วย Bitcoin และแพลตฟอร์มเจ้านี้ถือเป็นรายแรก ๆ ที่รองรับการชำระเงินด้วยเงินคริปโต

5. AT&T

AT&T คือหนึ่งในบริษัทด้านสื่อและการคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2019 บริษัทประกาศว่าตนได้เข้าร่วมกับ BitPay เพื่อรองรับการชำระเงินด้วย Cryptocurrency เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนได้ชำระค่าโทรศัพท์ออนไลน์ แม้ใน Press Release ของบริษัทจะไม่ได้มีประกาศเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ แต่ไม่มีข้อสงสัยใดว่ายักษ์ใหญ่เจ้านี้ได้ร่วมขบวนรองรับ Bitcoin เป็นที่เรียบร้อย

6. eGifter

eGifter เช่นเดียวกับ Gyft คือแพลตฟอร์มกิฟการ์ดที่รองรับร้านค้าปลีกกว่า 300 เจ้า เช่น Targer Home Depot Lowe’s และ Uber ทุกรายการสามารถชำระได้ด้วย Bitcoin

บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่รับชำระด้วย Bitcoin

7. Starbucks

Starbucks เป็นอีกหนึ่งธุรกิจรายใหญ่ที่รับชำระด้วย Bitcoin โดยเลือกใช้ระบบการชำระเงินของ Flexa ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านการชำระเงินจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเอื้อให้ร้านอาหารต่าง ๆ ทั่วประเทศสามารถรับชำระเงินด้วยเงินคริปโต ทางบริษัทได้พัฒนาแอ็ปพลิเคชันขึ้นมาชื่อว่า Spedn ซึ่งช่วยให้ผู้ลงทุนคริปโตสามารถใช้สินทรัพย์ของตนในการชำระเงินต่าง ๆ ในร้านค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อได้

8. Subway

Subway เป็นอีกธุรกิจเจ้าใหญ่ที่รับชำระเงินด้วยคริปโตตั้งแต่ปี 2013 นับจนปัจจุบัน นอกจากนี้ อีกแพลตฟอร์มดิจิทัลที่รองรับคริปโตคือ Gyft ซึ่งผู้ใช้งานสามารถซื้อกิฟการ์ดของร้านค้าปลีกต่าง ๆ ได้ด้วยเงินคริปโต ไม่ว่าจะเป็น Subway Starbucks Amazon และ Burger King

การเดินทางและการบิน

9. Norwegian Air

Norwegian Air Shuttle สายการบินที่ใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวีย ได้ประกาศแผนการของตนที่จะรับชำระเงินด้วย Bitcoin โดยเรียกแผนการดังกล่าวว่า Block Exchange (NBX) ซึ่งเอื้อให้ชำระค่าโดยสารได้ผ่านเงินคริปโต

10. Alternative Airlines

Alternative Airline ถือเป็นอีกหนึ่งสายการบินที่รับชำระด้วยเงินดิจิทัล เว็บไซต์ของสายการบินนี้เองยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับเที่ยวบินต่าง ๆ ทั้งของสายการบินรายเล็กและรายย่อย

11. Virgin Atlantic

Virgin Group ซึ่งเป็นเจ้าของ Virgin Atlantic และ Virgin Media ให้บริการชำระค่าตั๋วเครื่องบินของสายการบินด้วย Bitcoin โดยเริ่มรับชำระตั้งแต่ปี 2013 โดยการชำระด้วยเงินดิจิทัลเกิดขึ้นครั้งแรกโดยมีผู้ชำระเป็นนักบินอวกาศที่ทำงานให้กับสายการบิน

12. CheapAir

CheapAir เป็นบริษัทท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเปิดทำการมาตั้งแต่ปี 1989 และเริ่มรับชำระค่าสินค้าด้วย Bitcoin ตั้งแต่ปี 2013 และในปี 2020 ยังได้ประกาศร่วมมือกับ Bitcoin.com ในการให้บริการทางการเงินด้วยกับ Bitcoin Cash เช่นกัน

ในขณะที่ ตัวแพลตฟอร์มของ CheapAir ยังให้รองรับ Ether Litecoin และ DASH ผู้เดินทางทุกคนที่จองตั๋วกับทางบริษัทจะถูกครอบคลุมโดยบริการที่ชื่อว่า Payback™ ซึ่งจะให้เครดิตสำหรับการท่องเที่ยวถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐหากราคาตั๋วเครื่องบินลดลงหลังจากได้ทำการซื้อไปแล้ว

ธุรกิจค้าปลีกที่รับ Bitcoin และเงินดิจิทัลอื่น ๆ

13. Newegg

หนึ่งในธุรกิจค้าปลีกที่รับเงิน Bitcoin คือ Newegg ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจากประเทศกรีซซึ่งขายการ์ดจอ โน้ตบุค พีซี และหูฟังสำหรับแว่น VR รวมไปจนถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยแพลตฟอร์มนี้เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับคอเกมและสายคนชื่นชอบฮาร์ดแวร์ ซึ่งทำให้ตัวแพลตฟอร์มเองหันมารับเงินสกุลดิจิทัลได้อย่างง่ายดายเนื่องจากอยู่ในแวดวงเทคโนโลยีอยู่แล้ว ตัวเว็บไซต์ของ Newegg ใช้ระบบของ BitPay ในการทำรายการ อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถใช้ Bitcoin ในการจองล่วงหน้า ซื้อบัตรของขวัญ สมัครแพ็คเกจระยะยาว คืนสินค้า หรือใช้กับแอ็ปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือได้ ทั้งนี้ บนตัวเว็บไซต์ของแพลตฟอร์มเองยังมีวิดีโอสอนการซื้อหาและใช้งาน Bitcoin ทั้งยังรองรับ  Dogecoin Bitcoin Cash Ethereum และอีกหลายสกุลดิจิทัล

14. Amazon

Amazon เป็นอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเคยมีความคิดจะทำ Cryptocurrency มาตั้งแต่ในอดีตแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก อย่างไรก็ตาม แม้ Amazon จะไม่ได้รับชำระด้วยกับ Bitcoin โดยตรง แต่เราสามารถทำการชำระสินค้าได้ผ่านแพลตฟอร์มชื่อ Purse.io ซึ่งเป็นพอร์ทัลสำหรับชำระค่าสินค้าของ Amazon ซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่ถือครอง Bitcoin เข้าถึงผู้ขายที่รับชำระด้วยเงินดิจิทัลได้ โดยสามารถโอนเงินเข้าไปใน Purse และเชื่อมต่อกับตัวกลางชื่อว่า Earner ซึ่งจะเป็นผู้รับการชำระเงินของเรารวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ เมื่อเราได้รับของที่สั่งซื้อ เงินคริปโตของเราจะถูกโอนเข้าบัญชีของ Earner แทน

15. Crypto Emporium

Crypto Emporium คือแพลตฟอร์มสินค้าหรูหรารายแรกที่รับเงินคริปโตแต่เพียงเท่านั้น โดยเว็บไซต์ของแพลตฟอร์มนี้นั้นขายสินค้าตั้งแต่รถยนต์ นาฬิกา เครื่องใช้ไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะซื้อสินค้าเหล่านี้ด้วยเงินคริปโต โดยผู้ใช้งานนั้นจะเป็นผู้สรรหาสินค้ามาขายและบอกราคาประเมิน ซึ่งผู้ที่สนใจซื้อสามารถต่อรองได้

16. Overstock

Overstock เป็นธุรกิจค้าปลีกออนไลน์จากสหรัฐอเมริกาซึ่งให้ส่วนลดสำหรับรายการพรีเมียมบางรายการ Overstock ยังร่วมมือกับ Coinbase ในปี 2014 เพื่อเพิ่มตัวเลือกการรับชำระด้วย Bitcoin การซื้อขายรั้งหน้าถือเป็นการผนวกเอา Bitcoin เข้าไปอยู่ในกิจการของตนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติการณ์

หากว่าจ่ายด้วย Bitcoin ผู้ใช้งานจะพบที่อยู่ของ Bitcoin Wallet ตนเองใน Overstock ซึ่งอนุญาตให้สามารถจ่ายเงินและเช็กเอาต์สินค้าได้ในทันที

17. Lolli

Lolli อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถรับ Bitcoin ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเมื่อทำการช็อปออนไลน์ ทั้งยังมีรายการของร้านค้าที่ร่วมรายการด้วย โดยผู้ใช้งานจะสามารถทราบได้ว่าตนกำลังดูสินค้าอยู่บนร้านค้าใด ทุกครั้งที่มีการซื้อจากแพลตฟอร์มนี้ จะได้รับ Bitcoin ทันที ทั้งนี้ Lolli ได้ร่วมมือกับแบรนด์ใหญ่ ๆ หลายเจ้า รวมถึง Overstock Priceline Groupon GoDaddy GAP Macy’s Hilton และ Bloomingdales.

18. Play-Asia

Play-Asia เป็นแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงซึ่งจัดจำหน่ายเกม ของเล่น ภาพยนต์และสื่อต่าง ๆ โดยสามารถซื้อหาไปตั้งแต่เทป วิดีโอในรูปแบบลิมิเต็ดเอดิชัน ไปจนถึงเลือกซื้อ Accessory ต่าง ๆ สำหรับอุปกรณ์ของคุณ ที่สำคัญคือรับชำระเงินด้วย Bitcoin เช่นเดียวกับเงินดิจิทัลสกุลอื่น ๆ

19. UNICEF

UNICEF ถือเป็นหน่วยงานแรกของสหประชาชาติที่มีกองทุนอยู่ในรูปของเงินคริปโต โดยแนวคิดนี้มาจากการใช้เงินบริจาคคริปโตเพื่อสนับสนุนเด็ก ๆ ในการใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก ที่น่าสนใจคือ UNICEF จะคงเงินบริจาคดิจิทัลในรูปเดิมโดยไม่แลกเปลี่ยนมาเป็นเงินสกุลจริง ๆ เช่นที่หลายองค์กรทำกัน

การผลักดันเชิงกฎหมายว่าด้วย Cryptocurrency

ตั้งแต่ Bitcoin เข้ามาอยู่ในความสนใจกระแสหลัก มีควาพยายามจากหลายกระแสในการทำให้เงินดิจิทัลกลายเป็นที่ยอมรับในฐานะสื่อกลางการแลกเปลี่ยน โดยมีเหตุผลสนับสนุนหลัก ๆ คือข้อดีที่มากกว่าเงินสกุลปกติ รวมถึงความสามารถในการปลดแอกผู้ใช้เงินจากการควบคุมของหน่วยงานภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม การทำให้คริปโตถูกกฎหมายในแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกัน ในขณะที่บางประเทศโอบรับการเปลี่ยนแแปลงนี้ หรือพยายามหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สภาพแวดล้อมของตนเข้ากับนวัตกรรม บางประเทศเองใช้นโยบายที่แข็งขันในการกีดกันเงินดิจิทัลเหล่านี้ด้วยทุกวิถีทางสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เงินคริปโตได้รับการสนับสนุน สถาบันการเงินต่าง ๆ พยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างและเปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้สอดรับกับเงินดิจิทัลเหล่านี้ บรรยากาศที่เป็นมิตรต่อเงินคริปโตของประเทศนี้ดีมากเสียจน Facebook ได้ตัดสินใจจัดตั้งสำนักงานใหญ่ของ Libra Associate ที่นี่

ในทางตรงกันข้าม ปฏิปักษ์สำคัญของคริปโตคือประเทศจีน ซึ่งสั่งแบนการแลกเปลี่ยนเงินคริปโตสกุลต่าง ๆ รวมถึง Initial Coin Offerings (ICOs) นับตั้งแต่ปี 2017 จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่บางประเทศยังอยู่ในสภาวะก้ำกึ่ง อย่างสหราชอาณาจักร แคนาดา เยอรมนี และแม้แต่สหรัฐอเมริกาเอง ยังคงมีความพยายามที่จะเข้ามากำกับดูแล Bitcoin บางประเทศมีกฎหมายที่มุ่งเน้นไปที่เรื่องภาษี การใช้จ่าย และการโอนเงินด้วย Cryptocurrency เช่นกัน

อนึ่ง มื่อพูดถึงการออกกฎหมายเพื่อผลักดันให้ Bitcoin กลายเป็นที่นิยมในระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ กระบวนการผลักดันก็ดูจะช้าขึ้นมาทันควัน

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน