Trusted

ทำความเข้าใจกลการทำงานของ Yield Farming (คู่มือสำหรับผู้เริ่มต้น)

2 mins
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

Yield farming คืออะไร คุ้มที่จะเสี่ยงไหม บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ yield farming ในวงการเหรียญดิจิทัล ว่ามีกลไกการทำงานอย่างไร และแพลตฟอร์มไหนที่เหมาะกับการทำฟาร์มมากที่สุด

Yield farming คืออะไร

Yield farming คือ กระบวนการฝากเหรียญดิจิทัลเพื่อให้ได้เหรียญเพิ่มกว่าเดิมกลับมาอย่างสม่ำเสมอ หรือเป็นการสร้างรายได้แบบ Passive Income พูดง่ายๆ ก็คือเป็นการที่คุณช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับแพลตฟอร์ม และรับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย

กระบวนการจะคล้ายกับการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ เงินในบัญชีจะรวมอยู่ในกองทุนสภาพคล่องของธนาคาร ซึ่งธนาคารสามารถนำเงินส่วนนี้ไปปล่อยกู้และจัดสรรให้ลูกค้าได้ Yield Farming มีแนวคิดเหมือนกัน แค่ว่าคุณฝากเงินไว้กับแพลตฟอร์มปล่อยกู้ แทนที่จะเป็นธนาคาร

เงินกู้ทั้งหมดจะดำเนินการในรูปแบบ smart contract โดยผู้กู้จะต้องวางหลักประกันก่อน ถึงจะกู้ได้ เมื่อผู้กู้ชำระเงินคืน คุณจะได้รับดอกเบี้ยจากโทเคนและ Yield Farming บนแพลตฟอร์ม

Yield farming เป็นกลไกหนึ่งที่ขับเคลื่อนระบบการเงินแบบไร้ตัวกลางหรือ DeFi โดยมีหลายแพตฟอร์มที่เสนอบริการนี้ เช่น Compound และ Aave หากคุณให้กู้หรือฝากเงินกับ Compound คุณจะได้รับดอกเบี้ยจากทรัพย์สินที่คุณปล่อยกู้ และโทเคน Compound จากการใช้แพลตฟอร์ม

หากคุณเข้าใจว่า การฝากเหรียญดิจิทัลเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยใช้ Consensus algorithm แบบ proof-of-stake เช่นว่า Ethereum 2.0 กำลังอัปเกรดเป็นอะไร คุณจะเข้าใจได้ไม่ยากว่า Yield Farming คืออะไร

เริ่มทำ Yield Farming ยังไง

เริ่มจากการสมัครใช้บริการแพลตฟอร์มกองทุนสภาพคล่องอย่าง Aave และคุณจะต้องมีสินทรัพย์ในวอลเล็ตที่เชื่อมกับแพลตฟอร์มได้ โดยทั่วไปมักเป็นสกุลอีเธอเรียม หรือโทเคน ERC-20 โดยวอลเล็ตยอดฮิตสำหรับ ERC-20 ในตอนนี้ คือ MetaMask 

MetaMask

จากนั้นเลือกว่าคุณต้องการให้กู้หรือฝากเงินเป็นสินทรัพย์ใด แล้วระบุจำนวนที่ต้องการ แพลตฟอร์มจะแจ้งค่าธรรมเนียมและประมาณการรายได้ เมื่อฝากสินทรัพย์ในกองทุนสภาพคล่องเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มสร้างรายได้ได้

ผลตอบแทนจะจ่ายในอัตราขั้นต่ำ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแพลตฟอร์มปล่อยกู้และสินทรัพย์ที่เลือก โดยผู้กู้สามารถร่วมกำหนดจำนวนและระยะเวลาขั้นต่ำของการชำระเงินคืนได้ด้วย นอกจากนี้ อย่าลืมว่า ลงทุนด้วยจำนวนเงินที่มากหน่อย เพื่อให้เห็นผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำ

คุ้มหรือไม่ที่จะทำฟาร์มคริปโต

หลายคนจะบอกว่าคุ้มมาก เพราะมองว่าเป็นการได้ดอกเบี้ยจากเหรียญดิจิทัลที่แค่นอนอยู่ในวอลเล็ตเฉยๆ

Farm Yield ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ลงทุน ทั้งนี้เพราะเป็นการลงทุนที่การันตีว่าจะได้กำไรคืนแน่นอน ซึ่งไม่ถือว่าเสี่ยงเท่ากับการทำ Day trading ที่อาจทำให้คุณเสียเงินทุนทั้งหมด

การทำฟาร์มคริปโต (Crypto Farming) และ Staking คืออะไร

การทำฟาร์มคริปโตและ Staking เป็นการเก็บหรือซ่อนสินทรัพย์ของคุณในวอลเล็ตโดยใช้ Smart Contract

สินทรัพย์ที่ว่าก็จะถูกนำไปใช้ตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ และจะได้รับการปลดล็อคคืนให้คุณเมื่อดำเนินการตามสัญญาเสร็จสิ้น โดยคุณจะได้รับดอกเบี้ยจากเงินดิจิทัลที่ออกไปทำงานให้คุณ

เก็บผลผลิตจากการทำฟาร์มคริปโตอย่างไร

เริ่มเก็บเหรียญคริปโตได้หลังจากทำฟาร์มไปสักพัก จำนวนเงินที่ได้จะแตกต่างกันไปตามแพลตฟอร์มที่เลือกใช้ แต่ค่อนข้างแน่นอนว่า คุณจะได้ผลตอบแทน ถ้าคุณลงทุน

แพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับการทำฟาร์มคริปโต (Yield Farming)

แพลตฟอร์มสำหรับทำฟาร์มคริปโตมีอยู่หลายแห่ง ยกตัวอย่างเช่น

  1. Aave
AAVE Protocol DeFi

Aave เป็นแพลตฟอร์มเสริมสภาพคล่องแบบ non-custodial สำหรับการกู้และให้กู้เงินดิจิทัล รองรับ stablecoins และเหรียญหลากหลายชนิด เช่น DAI, USDT, BAT และ yearn.finance

เว็บไซต์หน้าแรกจะแสดงรายชื่อของเหรียญทั้งหมดที่รองรับ รวมถึงข้อมูลเรื่องขนาดตลาด เงินทั้งหมดที่มีการขอกู้ ดอกเบี้ยรายปีสำหรับผู้ให้กู้และผู้ขอกู้ โดยจะแสดงค่าเงินทั้งหมดเป็น USD หรือสกุลเงินประจำแพลตฟอร์ม (native) – เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน

เมื่อคุณให้กู้ใน Aave คุณจะได้รับสกุลเงินประจำแพลตฟอร์ม ‘aTokens’ เพิ่มเติมจากดอกเบี้ยที่ได้รับอยู่แล้ว ยิ่งให้กู้นาน ยิ่งได้รับ aTokens มากขึ้นตาม

มูลค่า aToken จะผูกกับกับสินทรัพย์ของแพลตฟอร์มในอัตราส่วน 1:1 นอกจากนี้ยังสามารถโอนผลตอบแทนไปยังที่อยู่ ERC-20 อื่นได้ด้วย

2. Compound

Compound มีหน้าตาคล้าย Aave เช่น บริการให้กู้และขอกู้ด้วยเงินดิจิทัลหลากหลายสกุล นอกจากนี้ ยังนำเสนอข้อมูลมากมาย เช่น อัตราดอกเบี้ยรายปี ปริมาณสภาพคล่องหมุนเวียน ฯลฯ

สิ่งที่ทำให้ Compound โดดเด่นกว่าแพลตฟอร์มอื่น คือ ความสามารถในการใช้งานได้กับแพลตฟอร์มอื่น เช่น คุณจะได้รับโทเคนประจำแพลตฟอร์ม COMP ในรูปของเงินดิจิทัลที่ฝากหรือเก็บอยู่ใน Coinbase หรือ Ledger wallet ซึ่งช่วยประหยัดทั้งเวลาและเงิน เพราะไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนเหรียญเข้าวอลเล็ต

Compound ยังร่วมมือกับแพลตฟอร์มรับฝากดูแลเงินดิจิทัล (custodian) หลายแห่ง เพื่อให้มั่นใจว่าเงินของคุณได้รับการบริหารจัดการโดยหน่วยงานที่ไว้ใจได้

ภาษีเงินดิจิทัลอาจเป็นเรื่องยุ่งยาก แม้จะยังไม่ได้นำเรื่องการให้กู้หรือขอกู้เข้ามาคำนวณด้วย Compound จึงร่วมมือกับแพลตฟอร์มภาษีคริปโตชื่อดังอย่าง Tokentax และ Cointracker โดยสามารถส่งออกข้อมูลไปยังฐานข้อมูลเหล่านี้ได้ง่าย ๆ ถ้าคุณกำลังยุ่งมากๆ อยู่กับ Yield Farming ใน Compound แพลตฟอร์มภาษีเหล่านี้จะช่วยให้การจัดการภาษีคริปโตของคุณง่ายขึ้นอย่างแน่นอน

3. Uniswap

Uniswap V3

Uniswap เป็นแพลตฟอร์มแรก ๆ ที่เสนอบริการให้กู้และขอกู้ในช่วงที่ DeFi หรือการเงินไร้ตัวกลางกำลังได้รับความนิยมสูงสุด โดยรองรับ Integration กว่า 200 รูปแบบกับแพลตฟอร์มการเงินไร้ตัวกลางอื่น เช่น Compound, Aave, หรือแม้กระทั่ง Coinbase ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบมีตัวกลาง

ปัจจุบัน Uniswap อัปเกรดเป็นเวอร์ชั่นที่สาม โดยมีฟีเจอร์ไม่เหมือนใครคือ concentrated liquidity ช่วยให้คุณสามารถฝากเงินในช่วงราคาที่กำหนด ต่างจากเคสปกติที่ต้องฝากเงินหรือให้กู้ในช่วงระหว่าง 0 ถึงไร้เพดาน ฟีเจอร์นี้ช่วยสร้างผลตอบแทนมากขึ้น เพราะเป็นการฝากเงินหรือให้กู้ด้วยมูลค่าที่สูงกว่า และชัดเจนกว่าวิธีเดิม

นอกจากบริการให้กู้และขอกู้ Uniswap ยังมีบริการอื่นอีก เช่น บริการกำกับดูแลโดยอิงกับโทเคนสกุล UNI แลกเปลี่ยนคริปโตทุกชนิด และแสดงข้อมูลแบบกราฟ

4. Balancer

Balancer BAL

Balance สามารถแลกเปลี่ยน Ether เป็น ERC-20 ในกองทุนสภาพคล่องได้โดยตอบแทนเป็น BAL token

วิธีนี้เรียกว่า Automated Market Maker (AMM) เป็นการสร้างกองสินทรัพย์ขึ้นมา 2 ชนิด สภาพคล่องจะไหลเวียนผ่านการขอกู้ ให้กู้ และถอนเงิน กิจกรรมเหล่านี้จะค่อยเปลี่ยนแปลงราคาสินทรัพย์อยู่เสมอ Balancer จึงหักล้างด้วยการแปลงสินทรัพย์ผ่านกองทุนที่มีมูลค่าสูงสุดสำหรับผู้ใช้

ยกตัวอย่าง การแปลงจาก ETH เป็น DAI อาจดำเนินการผ่านกอง USDT โดยอัตโนมัติด้วย smart contract หาก ETH และ DAI มีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง กลไกนี้ช่วยรักษาเงินของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ผู้ให้กู้ยังสามารถสร้างรายได้ได้มากขึ้น เพราะสามารถกำหนดค่าธรรมเนียมได้เองตั้งแต่ 0.0001% ถึง 10% ตามที่เห็นควร

Balancer รองรับโทเคนได้ถึง 8 ชนิดในหนึ่งกองทุนสภาพคล่อง ราคาจะปรับอัตโนมัติตามความจำเป็นเนื่องจากเป็นแพลตฟอร์ม AMM โดยจะตอบแทนด้วยโทเคน BAL

ณ วันที่เขียนบทความนี้ Balancer ยังอยู่ในช่วงแรกของการทดลอง และจะอัปเกรดเป็นเวอร์ชั่น 2.0 ในอีกไม่นาน การอัปเกรดนี้จะทำให้มีค่าธรรมเนียมแก๊สลดลง เพิ่มฟีเจอร์การปรับลอจิค AMM ของกองทุน และฟีเจอร์ asset manager ในแพลตฟอร์ม, ฯลฯ

5. Sushiswap

SushiSwap SUSHI

อันที่จริง แพลตฟอร์มนี้เป็นเวอร์ชั่นอัปเกรดของ Uniswap ซึ่งแปลว่า เป็น AMM เหมือนกันโปรโตคอลนี้รองรับเหรียญหลายสกุลที่ไม่ได้อยู่บนรายชื่อของแพลตฟอร์มผู้ให้บริการรายอื่น จึงน่าสนใจสำหรับผู้ให้กู้และผู้ขอกู้มือเก๋า

แพลตฟอร์มนี้ตอบแทนผู้สร้างสภาพคล่องด้วยโทเคน SUSHI ซึ่งนำไป stake บน SushiBar แลกกับ xSUSHI ได้อีกต่อ xSUSHI เป็นสินทรัพย์ที่สร้างขึ้น (mint) ด้วยค่าธรรมเนียมธุรกรรมเมื่อนักลงทุนซื้อ SUSHI

สรุป

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะช่วยให้คุณสร้างรายได้จากการทำฟาร์มคริปโตหรือ yield farming ได้ โดยไร้ความสงสัยและความกลัว

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน