Decentralized Finance หมายถึง บริการทางการเงินไร้ตัวกลางไม่พึ่งธนาคาร (DeFi) โดยจะให้บริการผ่านแพลตฟอร์มไร้ตัวกลาง Ethereum เป็นแพลตฟอร์มที่โดดเด่นทั้งในแง่ของการใช้งานทั่วไปและการมีส่วนร่วมของชุมชน อะไรทำให้เครือข่าย Ethereum ได้รับความนิยม? คำตอบคือ บลอคเชนก่อให้เกิดทางเลือกและการมีส่วนร่วมมากมายในวงการการเงิน มาดูตัวอย่างกัน
Stablecoins
ปัจจุบันยังมี stablecoin ที่สร้างบนพื้นฐานของ Ethereum จำนวนไม่มากนัก ณ เวลาที่เผยแพร่บทความนี้ stablecoin สร้างมูลค่าธุรกรรมบนเครือข่ายในสัดส่วนมากกว่าสกุลเงิน ETH เองเสียด้วยซ้ำ stablecoins ช่วยลดความผันผวนในตลาดเหรียญดิจิทัล การทำธุรกรรมแบบ DeFi ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากสกุลเงินที่น่าเชื่อถือ stablecoins จึงเกิดขึ้นเพื่อตรึงไว้กับมูลค่าคงที่หรือสกุลเงิน fiat จากนั้นจึงใช้ smart contracts เพื่อให้แน่ใจว่ามูลค่ามีความมั่นคง
Stablecoin เหรียญแรกที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ Tether สร้างขึ้นโดย Tether Limited โดยกล่าวอ้างว่ามีเงินประกันอย่างน้อย 1 US Dollar สำหรับ Tether แต่ละเหรียญที่สร้างขึ้นบน Ethereum ปัจจุบันคำกล่าวอ้างดังกล่าวดูเหมือนจะถูกท้าทาย แต่ Tether ก็ยังคงเป็นหนึ่งใน stablecoin ที่มีการใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน
สินทรัพย์มูลค่าคงที่อีกตัวคือ Dai ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ MakerDAO โดย Dai เป็น stablecoin ที่ไม่มีการค้ำประกันโดย US dollar แต่แทนที่ด้วยซีรีส์ smart contracts และใช้ Ethereum เป็นหลักประกัน Dai ใช้เป็นเงินกู้สำหรับผู้ใช้ที่วางหลักประกันเป็น Ethereum หรือโทเคนอื่นบน Ethereum เพื่อแลกกับ stablecoin Dai กลายมาเป็นส่วนสำคัญของระบบ DeFi เนื่องจาก 2% ของ Ethereum ทั้งหมดจะถูกล๊อคไว้ในสัญญา MakerDAO
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโปรเจค เช่น USDCoin และ Gemini Dollars ซึ่งเป็นโทเคน ERC-20 บนเครือข่าย Ethereum ส่งผลให้ Ethereum เป็นเครือข่ายที่มีความมั่นคงในการรักษาอำนาจของเหรียญ stablecoin ให้คงที่เมื่อตลาดเข้าสู่ภาวะเติบโต
แพลตฟอร์ม (Exchanges)
แพลตฟอร์มไร้ตัวกลาง (DEXs) เป็นส่วนสำคัญในบริการการเงินไร้ตัวกลางของ Ethereum DEXs ทำหน้าที่เหมือนแพลตฟอร์มทั่วไป แต่ถูกออกแบบมาให้ลดความจำเป็นของบริษัทที่จะเข้ามาบริหารจัดการ แต่จะขับเคลื่อนด้วยระบบ smart contracts ซึ่งมักจะมีโทเคนของตนเอง
แพลตฟอร์ม DEX ยอดฮิตใตตอนนี้คือเครือข่าย Kyber ซึ่งทำหน้าที่เป็นโปรโตคอลแลกเปลี่ยน ERC-20 และสามารถนำไปใช้สร้างสภาพคล่องได้ทันที บริการที่คล้ายกันนี้ เช่น Uniswap อนุญาตให้ผู้ใช้สร้าง “Exchange contracts” ได้เอง โดยจะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นเองระหว่าง Ethereum และ ERC-20 อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ตรงกับราคาตลาดจะมีการทำอาบิทราจ (arbitrage) จนกว่าราคาจะตรงกัน นำไปสู่ระบบควบคุมด้วยตนเองโดยไร้หน่วยงานควบคุม ตัวอย่าง DEXs ที่ได้รับความนิยม เช่น Saturn Network, 1inch.exchange และ IDEX
การขอกู้และการให้กู้
การขอกู้และการให้กู้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานของธนาคาร แต่ในโลกของ DeFi ไม่จำเป็นต้องมีธนาคารจริงๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นบริการทางการเงินที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ต้องการหรือไม่สามารถเข้าถึงธนาคารแบบดั้งเดิม เป็นบันไดสู่เวทมนตร์ของโลกคริปโต “บริการทางธนาคารแบบไร้ธนาคาร (banking the unbanked)”
Aave เป็นโปรโตคอลใหม่นำเสนอขั้นตอนง่าย ๆ ที่ให้ดอกเบี้ยสำหรับผู้ให้กู้และให้เงินกู้สำหรับผู้ขอกู้ ใครก็ตามสามารถฝากเงินในกองทุนสภาพคล่อง (liquidity pool) เพื่อรับดอกเบี้ย หรือขอเงินกู้แลกกับการจ่ายค่าธรรมเนียมเล็กน้อยและเงื่อนไขชำระคืน หรือบริการที่คล้ายกันอย่าง Nexo ให้เงินกู้เป็นเงิน loans โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลเป็นหลักประกัน ทางเลือกอื่น ๆ เช่น Compound และ BlockFi แต่พื้นฐายทั่วไปมีกลไกการทำงานไม่ต่างกัน
การชำระเงิน
มีแอพชำระเงินมากมาย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแอพแบบมีตัวกลางที่น่าเชื่อถือ DeFi จึงต้องเข้ามามีบทบาท! โดยผู้ใช้จะมีอำนาจควบคุมการชำระเงิน ความเป็นส่วนตัว ด้วยค่าธรรมเนียมที่ถูกลงมาก
ตัวเลือกที่ได้รับความนิยมคือ Request Network โดยตั้งเป้าเป็นแพลตฟอร์มชำระเงินครบวงจร หรือโปรเจค OmiseGO ซึ่งใช้บลอคเชน Ethereum ด้วยค่าธรรมเนียมที่ถูกลง 90% โดยมีคู่แข่งสำคัญคือ Raiden Network ให้บริการเหมือน Lightning Network ในตลาดบิตคอยน์ ด้วยการใช้ช่องทางแบบสองชั้น Raiden คาดว่าจะสามารถทำธุรกรรมบน Ethereum ได้เร็วและถูกกว่าการใช้บลอคเชนโดยตรง
และอื่น ๆ อีกมากมาย
บทความนี้อาจกลายเป็นแคตตาลอคสินค้า เพราะ Ethereum Dapps สามารถสร้างสรรค์บริการทางการเงินได้หลากหลายรูปแบบ เช่น วอลเลทหรือกระเป๋าเงินแบบไร้ตัวกลาง แพลตฟอร์มลงทุน ตราสารอนุพันธ์ การคาดการณ์ตลาด ฯลฯ
เราเพียงให้ข้อมูลพื้นฐาน คุณสามารถค้นหาข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นเกี่ยวกับ DeFi Dapps ได้ที่ State of the Dapps โดยมีการเรียงลำดับบริการทั้งหมดตามหมวดหมู่ที่เลือกได้หลากหลาย วิธีนี้ผู้ใช้จะพบลิงค์ไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มที่ต้องการ
ทำไมต้องเลือก Ethereum?
สองคำถามที่เกิดขึ้นเมื่อเข้ามาสู่โลกของ DeFi ที่กำลังเติบโตคือ “ทำไม Ethereum จึงดูเหมือนเป็นแพลตฟอร์มอันดับต้น ๆ และจะยังคงอยู่ต่อเนื่องหรือไม่?” คำตอบสำหรับคำถามแรกเป็นเรื่องของชุมชนที่รองรับ Ethereum และความยืดหยุ่นของแพลตฟอร์ม จริงๆแล้วยังมีบลอคที่น่าเชื่อถืออีกมากที่ให้บริการคล้ายกัน การพัฒนาของ DeFi Apps บนแพลตฟอร์มเหล่านั้นยังตามหลังอีเธอเรียมอยู่มาก Ethereum อยู่ในตลาดมานานพอและผู้ติดตามมากพอ อย่างน้อยก็ในส่วนที่ผูกกับสินทรัพย์คริปโตที่มีมูลค่าตลาดอันดับ #2 ซึ่งเป็นตัวเลือกที่มีเหตุผลสำหรับนักพัฒนาแอพที่ต้องการเข้าถึงผู้คนในวงกว้าง แม้จะไม่ใช่แพลตฟอร์มที่เร็วที่สุด แต่ก็มีทีมงานและแผนงานเพื่อพัฒนาออกมามากมายในอีกสองสามปีข้างหน้า
Ethereum จำเป็นจะต้องอัพเกรดเพื่อเป็นโซลูชั่นเครือข่ายแกนหลัก แม้สิ่งนี้จะเป็นเป้าหมายของทีม Ethereum แต่ความคืบหน้าค่อนข้างล่าช้า เป้าหมายคือการเปลี่ยน Ethereum สู่บลอคเชน Proof-of-Stake จากระบบ Proof-of-Work ในปัจจุบัน รวมถึงการแยกเก็บข้อมูลเป็นส่วนๆ (sharding) ซึ่งจะช่วยให้เครือข่ายทำงานเร็วขึ้นมาก แต่หากไม่สามารถทำได้ก่อนคู่แข่งอย่าง Tron และ EOS การอัพเกรดก็จะไม่มีความหมาย
ปัจจุบัน Ethereum ยืนหนึ่งเป็นผู้นำในระบบ DeFi ซึ่งคงไม่เปลี่ยนแปลงในชั่วข้ามคืน หากยังคงมีการอัพเกรดนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เครือข่ายนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของวิถีหลักในการซื้อขายแลกเปลี่ยนของผู้คนทั่วโลก
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์