Trusted

OmiseGO (OMG) คืออะไร

2 mins
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของเครือข่าย Ethereum  คือ Scalability กล่าวคือ เครือข่ายสามารถประมวลผลได้เพียง 14–24 ธุรกรรมต่อวินาที ซึ่งถือว่าช้าเมื่อพิจารณาจาก DApps จำนวนมากที่เชื่อมต่ออยู่ จากอัตราการทำธุรกรรมที่สูงเหล่านี้ ค่าธรรมเนียมก๊าซจึงสูงเกินสมควร ทั้งความเร็วในการทำธุรกรรมช้ามาก ปัญหานี้นำไปสู่ความต้องการโซลูชันเลเยอร์ 2 อย่างเครือข่าย OMG ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เน้นความเร็วเป็นหลัก ปัจจุบันเร็วกว่า Ethereum ถึง 200% กล่าวคือ การประมวลผล 4000 TPS นั้นมีค่าธรรมเนียมก๊าซที่ถูกกว่ามาก

บทความจะคุณมาทำความรู้จักเครือข่าย OMG อย่างหมดเปลือกว่ามันคืออะไร และทำงานอย่างไรบ้าง

พัฒนาการของ OMG Network

OMG Network

จุดกำเนิด OMG สามารถสืบย้อนไปถึงยุคฟองสบู่ในปี 2017 ในขณะที่สัญญาอัจฉริยะหลายฉบับถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum แต่ OMG ได้จินตนาการถึงโลกที่ผู้คนสามารถย้ายค่าดิจิทัลต่างๆ บนบล็อคเชนด้วยความเร็วสูงโดยไม่มีการละเมิดความปลอดภัย

OMG Network ซึ่งเดิมชื่อ OmiseGO ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทฟินเทคของประเทศไทยชื่อ Omise เป็นบริษัทออนไลน์ที่สร้างขึ้นในปี 2013 โดย Jun Higawa เพื่อให้การดำเนินการทางการเงินง่ายขึ้น เช่นเดียวกับบริษัทฟินเทคส่วนใหญ่

ในปี 2017 เครือข่าย OMG ได้เสนอสิ่งที่เรียกว่า  Initial Coin Offering เพื่อโน้มน้าวนักลงทุน โดยได้รับการสนับสนุนจากชื่อใหญ่ ๆ ในโลกคริปโต หนึ่งในนั้นคือ Vitalik Buterin โปรแกรมเมอร์ชาวแคนาดา-รัสเซีย และผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นที่ปรึกษาของ OmiseGO

ในช่วง ICO จำนวนโทเค็นคงที่ที่สร้างขึ้นทั้งหมดคือ 140 ล้านโทเค็น คำว่า ‘คงที่’ หมายความว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (เพิ่มขึ้นหรือพองตัว) ผ่านการออกโทเค็นใหม่

65% ของโทเค็นถูกขายให้กับนักลงทุน ในขณะที่ 5% ถูกส่งต่อผ่านระบบ Airdrop ให้กับผู้ที่ถือ Ethereum มากกว่า 0.1% ในกระเป๋าเงินดิจิทัลของตน ส่วนที่เหลืออีก 30% ถูกเก็บไว้ หลังจาก ICO มูลค่า OMG ลดลงอย่างมาก และทำให้นักลงทุนสงสัยว่าโครงการจะประสบความสำเร็จหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ในปี 2019 มีการปรับการบริหารทั้งหมด โดยวรรษา จาติกวณิช ซีอีโอคนใหม่ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และแยก OmiseGO ออกจากบริษัท Omise โดยสิ้นเชิง ภายใต้การบริหารที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ บริษัทยังคงดำเนินการ Plasma Implementation ต่อไป

ในเดือนมิถุนายน 2020 OmiseGO ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่าย OMG โดยเปิดตัว Mainnet Beta ไม่กี่วันหลังจากการรีแบรนด์ ทุกวันนี้ เครือข่าย OMG เป็นหนึ่งในโซลูชันการปรับขนาด Ethereum ที่น่าจับตามองที่สุด

OMG Network คืออะไร

OMG Network เป็นโซลูชันเลเยอร์ 2 สำหรับ ethereum ที่ช่วยให้สามารถโอนสกุลเงินดิจิทัลและสินทรัพย์ดิจิทัลภายในเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วด้วยวิธีการที่ปลอดภัย

OMG พยายามที่จะเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์แบบกระจายอำนาจชั้นนำ ทำให้ผู้ใช้สามารถย้ายสินทรัพย์คริปโตข้ามพรมแดนและทำการชำระเงินได้ ในทำนองเดียวกัน แพลตฟอร์มมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ปริมาณธุรกรรมที่สูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ในขณะที่ใช้ประโยชน์จากความปลอดภัยที่เครือข่าย Ethereum มีให้

เครือข่าย OMG อำนวยความสะดวกการถ่ายโอนที่ปรับขนาดเครือข่าย Ethereum เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรม ดังนั้น ในขณะที่ผู้ใช้งานพึ่งพาเครือข่าย Ethereum เพื่อความปลอดภัย OMG จะเพิ่มสมรรถนะโดยรวมของระบบทั้งหมด

OMG ทำงานอย่างไร

OMG Network สร้างความสมดุลระหว่างระบบที่มีรวมศูนย์และไม่รวมศูนย์ โดยนำประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มการชำระเงินแบบเดิม (เช่น PayPal Visa และอื่นๆ) มาสู่ Ethereum blockchain ทั้งยังรวมการรักษาความปลอดภัยของ Ethereum เข้ากับการทำธุรกรรมความเร็วสูง

เครือข่าย OMG มีวิธีที่ไม่เหมือนใครในการผสมผสานสิ่งเหล่านี้เข้าไปในเครือข่ายบล็อคเชน ลองมาดูวิธีการทำงานกัน

คุณลักษณะสำคัญของเครือข่าย OMG


Plasma Protocol

นี่คือโปรโตคอลการปรับขนาดแบบออฟเช็นบน Ethereum blockchain โดยทำงานบนเชนย่อยที่ออกแบบมาเพื่อจับคู่ชุดของธุรกรรมก่อนที่จะปรับใช้กับ Root Chain ของ Ethereum

Child Chain

ขั้นตอนนี้จะดูแลกระบวนการทำธุรกรรมทั้งหมด โดยจะประมวลผลคำขอของผู้ใช้ ยืนยัน จากนั้นจัดเรียงคำขอเป็นบล็อก และเผยแพร่บล็อกเหล่านั้นไปยังรูทเชน (Ethereum)

Watchers

เครือข่าย OMG ทำงานบนโมเดล Proof-of-Stake ซึ่งเอื้อ Watchers ที่กระจายตัวกันคอยสอดส่องดูแลระบบเพื่อให้แน่ใจว่าเครือข่ายธุรกรรมจะถูกตรวจสอบอย่างถูกต้อง

คุณสมบัติหลักของ OMG

OMG ทำงานบนหลักการของสัญญาอัจฉริยะซึ่งเป็นโทเค็น ERC-20 นอกจากนี้ OMG ได้ลดต้นทุนการทำธุรกรรมลงอย่าง ทำให้ค่าธรรมเนียมก๊าซจะต่ำกว่ามากด้วยระดับความเร็วในการทำธุรกรรมที่สูงขึ้น

โทเค็น OMG

เหรียญ OMG เป็นเหรียญดั้งเดิมของเครือข่าย OMG โดยเป็นโทเค็นยูทิลิตี้ ERC-20 ภายในเครือข่าย OMG เอง

โดยพื้นฐานแล้ว ผู้ที่ถือครอง OMG โดยใช้โทเค็นเป็นเงินประกันจะมีโอกาสมีบทบาทในเครือข่ายโดยการเรียกใช้โหนดตเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง พวกเขายังจะได้ค่าตอบแทนสำหรับการมีส่วนร่วมในเครือข่าย ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับผู้ตรวจสอบความถูกต้อง (Validator) ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของเหรียญ OMG

จะลงทุนโดยใช้ OMG ได้อย่างไร

เมื่อเครือข่าย OMG เปลี่ยนไปใช้โมเดล Proof-of-Stake อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้งานสามารถลงทุนโดยใช้เหรียญ OMG ได้ กระบวนการนี้จะเกี่ยวข้องกับการที่ผู้ถือโทเค็นล็อคโทเค็น OMG ของตนไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อแลกกับการล็อคโทเค็น พวกเขาจะได้รับสิทธิ์ในการตรวจสอบโหนดบนบล็อคเชนและรับค่าตอบแทนสำหรับการประมวลผลธุรกรรม

Roadmap การพัฒนาแพลตฟอร์ม

  • Proof of concept: นี่ถือเป็นข้อกำหนดทางเทคนิคแรกสำหรับการสร้างเครือข่ายบนพลาสม่า
  • Alpha release: สิ่งนี้ทำให้ Plasma ทำงานได้มากขึ้น เนื่องจากการปล่อย Ari ทำให้พลาสม่าได้ใช้งาน โปรโตคอล OMG มากขึ้น
  • Mainnet soft launch: นี่เป็นรุ่นแรกของ OMG Network ซึ่งยังถือเป็นโอเพนซอร์ส
  • V1 Beta Launch: เวอร์ชันแรก ซึ่งยังเป็นเบตา เปิดตัวในปี 2020
  • BOBA network: ตัวแพลตฟอร์มได้ร่วมมือกับ Enya และเครือข่าย Boba เพื่อสนับสนุนเวิร์กโฟลว์ของ OMG

ความพิเศษของ OMG Network

OmiseGO

ความเร็วถือเป็นกลยุทธ์สำคัญของ OMG Network โดยปกติแล้ว Ethereum blockchain มีข้อดีหลายประการ แต่ถูกจำกัดด้วยความเร็ว เนื่องจากประมวลผลได้มากถึง 24 ธุรกรรมต่อวินาทีเท่านั้น และมียิ่งธุรกรรมและสัญญาอัจฉริยะที่รอประมวลผลเพิ่มขึ้นเท่าใด เครือข่ายก็จะยิ่งช้าลงเท่านั้น

ดังนั้น ค่าธรรมเนียมก๊าซจึงสูงขึ้นตามไปโดยปริยาย ในปัจจุบัน ผู้ใช้ ethereum จ่ายค่าธรรมเนียมก๊าซมากถึง 100 ดอลลาร์

ในเดือนพฤศจิกายนปี 2021 Zhu Su มหาเศรษฐีคริปโตคนหนึ่งแสดงความไม่พอใจกับเครือข่าย Ethereum บน Twitter ของเขาว่า Ethereum ปล่อยให้ผู้ใช้งานติดแหงกอยู่กับความล้าหลังทั้งที่ผู้ใช้งาน Ethereum คือคนที่ทำให้ตัวระบบของมันนั้นก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ

เขาพูดต่อว่า

วิธีการทำงานที่มานั่งดูค่า Purity ถูกเผาไหม้ไปวัน ๆ ในขณะที่ผู้ใช้ใหม่ไม่สามารถซื้อเชนได้นั้นถือเป็นเรื่องที่เลวร้าย วิธีการบริหารจัดการการทำงานของ Ethereum สร้างปัญหาให้กับผู้ก่อตั้งที่ก็กลืนไม่เข้าคลายไม่ออก”

ทั้งนี้ OMG ซึ่งเป็นโซลูชันเลเยอร์ 2 ได้แก้ข้อจำกัดนี้โดยการสร้างเครือข่ายที่สามารถประมวลผลธุรกรรมได้หลายพันรายการต่อวินาที แพลตฟอร์มพยายามทำให้บล็อคเชนหลักของ ethereum แก้ปัญหานี้ด้วยใช้ Solution Sidechain จำนวนมากของตนเอง

Tokenomics

โทเค็น OMG เป็นโทเค็นดั้งเดิมของเครือข่าย OMG ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ย้ายสินทรัพย์ที่มีค่าจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งโดยไม่ต้องใช้การแลกเปลี่ยนแบบเดิม

ในระหว่างการเปิดตัวในต้นปี 2018 ตัวโทเค็นมีอุปทานรวม 25 ล้านดอลลาร์ และจากข้อมูลก่อนหน้านี้ มีการสร้างอุปทานรวมประมาณ 140 ล้านโทเค็น จนถึงปัจจุบันนี้ อุปทานทั้งหมดของโทเค็น OMG อยู่ที่ 140.2 ล้านหน่วย

อุปทานทั้งหมดนี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่แบบพับลิคและไพรเวท

แบบพับลิค มีการแบ่ง 65.1% ของโทเค็นไว้เพื่อให้บริการตามวัตถุประสงค์ของ ICO ทั่วไป อีก 29.9% สำหรับนักลงทุน และ 5% ถูกบันทึกเป็น airdrop และอีก 5% สำหรับผู้ที่ถือไว้ 0.1 eths

ส่วนแบบไพรเวทนั้น ให้บริการความต้องการซึ่งต้องจองไว้ก่อน (Reservation Needs) กล่าวคือ แพลตฟอร์มนี้สงวนโทเค็นไว้ 20% สำหรับเครือข่าย OMG และ 9.9% สำหรับอีกสิบแพลตฟอร์มที่เหลือ

ราคา OMG และการคาดการณ์ราคา

OMG coin
OMG price: TradingView

ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคล่าสุดโดย BeInCrypto พบว่า OMG หลุดออกมาจากช่องคู่ขนานจากมากไปน้อยและยังคงสูงถึง 20.12 ดอลลาร์สหรัฐในอีกไม่กี่วันหลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม ราคา OMG ลดลง 30% ในไม่กี่นาที ผู้เชี่ยวชาญด้านการซื้อขายบางคนคาดการณ์ว่าราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 11.7 ดอลลาร์สหรัฐ และจะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 13 ดอลลาร์ และอาจจะ 12 ดอลลาร์ในภายหลัง

ซื้อเหรียญ OMG ได้อย่างไร

เหรียญ OMG มีให้บริการในแพลตฟอร์มการซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตเจ้าใหญ่ ๆ ดังนั้น ขอแค่คุณเลือกแพลตฟอร์มที่ปลอดภัย มีวิธีฝากเงินและค่าธรรมเนียมที่คุณต้องการ เมื่อคุณพบกับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนที่ชื่นชอบแล้ว คุณสามารถแลกเปลี่ยน BTC หรือ stablecoin  ใดๆ กับ OMG ได้อย่างง่ายดาย เช่น OMG/BTC โดยมีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้

  1. สร้างบัญชี: ขณะสร้างบัญชี ระบบจะขอให้ป้อนอีเมลที่ถูกต้อง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอีเมลที่ป้อนไปเป็นอีเมลที่คุณสามารถใช้งานได้ หลังจากสมัครใช้งาน ระบบจะขอให้คุณยืนยันตัวตนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มการซื้อขาย
  2. ทำการฝากเงิน: ในการซื้อเหรียญ คุณต้องทำการฝากเงินโดยโอนงินไปยังที่อยู่ BTC ของคุณ
  3. ซื้อเหรียญ: หลังจากฝากเงินแล้ว สิ่งที่ต้องทำตอนนี้คือแลกเปลี่ยน BTC หรือ stablecoin เป็น OMG

ภาพรวม

เครือข่าย OMG ช่วยให้บุคคลสามารถเข้าถึง ทำธุรกรรม และจัดการโดยใช้สินทรัพย์ดิจิทัลที่จัดเก็บไว้อย่างปลอดภัยบนบล็อกเชน ด้วยเหตุนี้ ใครๆ ก็สามารถทำธุรกรรมดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว

คำถามที่พบบ่อย

OMG Network คืออะไร

ลงทุนในเหรียญ OMG ได้ไหม

ทำอะไรกับเหรียญ OMG ได้บ้าง

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน