Metaverse คือ โลกเสมือน ที่เป็นการรวมกันกับความเป็นจริงเสมือนและความเป็นจริงเสริม (virtual and augmented reality) สามารถสร้าง avatar ไปใช้ชีวิตในนั้นได้
นับจากที่ Zuckerberg ได้โพสต์แสดงวิสัยทัศน์ของเขาเกี่ยวกับ metaverse โลกออนไลน์ต่างพากันสงสัยว่า Metaverse คืออะไร แล้วมันจะเวิร์คไหม แล้วเราจะใช้งานมันยังไง
แม้จะยังไม่มีการเปิดตัวเมตาเวิร์ส แต่ก็คงไม่ใช่แค่ใส่หูฟัง VR เพื่อเข้าสู่ดินแดนมหัศจรรย์แห่งโลกดิจิทัล
Metaverse คืออะไร?
ตั้งแต่ Facebook ประกาศรีแบรนด์เป็น Meta และวางแผนพัฒนา metaverse โครงการยักษ์ใหญ่ที่ซึ่งผู้ใช้สามารถทำงานและมาร่วมกันใช้เวลาในนั้นได้ ชาวเนตรับรู้ถึงโครงการยักษ์ใหญ่ของเฟสบุ๊ค ตลอดจนวิสัยทัศน์ของเขาที่มีต่อสิ่งนี้ และเกิดคำถามใหม่ขึ้นว่า: metaverse คืออะไร?
Metaverse (เมตาเวิร์ส) คือ โลกเสมือนที่อยู่ในระบบดิจิตัล หรือเป็นการรวมกำลังกันของความเป็นจริงเสมือนและความเป็นจริงเสริม (Virtual and Augmented Reality) ที่ซึ่งคนในโลกแห่งความจริงสามารถสร้างตัวตนจำลอง (Avatar) และ “ใช้ชีวิต” อยู่ในโลกเสมือนและวัตถุเสมือนที่สร้างขึ้นเองได้
คำว่า Metaverse หรือ เมตาเวิร์ส นำมาใช้เป็นครั้งแรกโดย Neal Stephenson ในนวนิยายวิทยาศาสตร์ Snow Crash ของเขาซึ่งเผยแพร่ในปี 1992 โดยเค้าตีความว่าหมายถึง ความจริงในโลกดิจิทัล สิ่งที่เป็นเพียงนวนิยายวิทยาศาสตร์ในอดีต กลายมาเป็นโลกเสมือนทางออนไลน์ที่มีการแต่งเติมเสริมขึ้นมา มีการคาดการณ์กันว่า Metaverse จะขยายโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ให้เหนือความเป็นจริง
แต่จริงๆ แล้วเมตาเวิร์สอาจมีความหมายแตกต่างไปในแต่ละบริษัท ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทนั้น ๆ กำลังพัฒนา Metaverse ที่มีในปัจจุบันอยู่ส่วนใหญ่ จะหมายถึง เกมออนไลน์ที่จะเน้นไปในแนวนวนิยายวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เล่นเกมสามารถทำในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริง เช่น มีวิดิโอเกมระบบบลอคเชนที่เริ่มเกิดขึ้นในพื้นที่เมตาเวิร์ส นั่นคือ Decentraland (MANA)
ส่วน Metaverse คืออะไร จริงๆแล้วนั้น ทุกวันนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่คนพยายามหาว่า สุดท้ายเมตาเวิร์สจะเป็นลักษณะไหน
องค์ประกอบของ Metaverse
จะเห็นได้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย วิดิโอเกมแรกที่นำเสนอแนวคิด Metaverse เกิดขึ้นเมื่อปี 2000 ซึ่งเป็นเกมที่ฮอตที่สุดในยุคนั้น นั่นคือเกมที่มีชื่อว่า Sims มีบางองค์ประกอบร่วมกันที่เราสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ เมื่อพิจารณา metaverse ที่เราได้รับประสบการณ์ภายในเกมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เมื่อเราเข้าใจภาพรวมแล้วว่า Metaverse คืออะไร, แล้วตอนนี้คุณคาดหวังอะไรได้บ้างจาก metaverse ได้บ้าง วันนี้เราสรุปให้แล้ว แม้จะไม่ครบทุกข้อ แต่ก็ควรมีองค์ประกอบพื้นฐาน ดังนี้:
องค์ประกอบพื้นฐานของ Metaverse คืออะไร บ้าง
- มีฟีเจอร์ที่ใช้งานได้กับบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเว็บ หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงในโลก
- กราฟิค 3 มิติ และตัวตนจำลองของมนุษย์ (avatar)
- มีปฏิสัมพันธ์แบบมีเป้าหมายมากขึ้น และมีการแข่งขันน้อยลงเมื่อเทียบกับวิดิโอเกมในยุคอดีต
- ผู้ใช้สามารถสร้างสิ่งต่าง ๆ และสภาพแวดล้อมในโลกเสมือนขึ้นเองได้
- สิ่งของในโลกเสมือนสามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยผู้ใช้สามารถสร้างรายได้จากสิ่งนั้นได้
- มีการออกแบบให้เข้ากับชุดหูฟังที่ใช้เข้าสู่โลกความเป็นจริงเสมือน (virtual and augmented reality) แม้จะสามารถรองรับด้วยฮาร์ดแวร์ได้ก็ตาม
ปัจจุบันเริ่มมีโลกเสมือนมากขึ้นจากการสร้างเกมในระบบบลอคเชน โดยเกมส่วนใหญ่จะนำเสนอสินทรัพย์ภายในเกมในรูปของ NFT ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถครอบครองได้ ตัวอย่างเกมที่นำเสนอสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปของ NFTs คือ Decentraland, Sandbox, Axie Infinity, Plant vs. Undead, และในเกมที่จะเปิดตัวอีกจำนวนมากในปี 2022
Metaverse ที่แท้จริงจะสามารถเชื่อมโยงเข้ากับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่ใช้บลอคเชนเป็นพื้นฐานได้ ข้อมูลจากบลอคเชนหนึ่งอาจต้องข้ามไปยังอีกบลอคเชน เมื่อผู้ใช้เคลื่อนย้ายจากโลกใบหนึ่งไปสู่โลกอีกใบ หากโลกทั้งหมดสามารถสื่อสารและเชื่อมโยงเข้าหากันได้ ประสบการณ์ไร้รอยต่อย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
The IQ Protocol
จะดีแค่ไหน ถ้ามีโปรโตคอลที่อนุญาตให้คุณยืม NFT ล่วงหน้าได้?
ในฐานะของ gamer คุณสามารถขอยืม NFT ที่จำเป็นต้องใช้ในการเล่นเกมแล้วค่อยส่งคืนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมาวุ่นวายซื้อหรือขาย NFT แม้การลงทุนใน NFT อาจทำกำไรได้อีกทางหากคุณรู้วิธีค้นหา NFT ที่ใช่ก่อนที่มันจะดังพลุแตกก็ตาม
โชคดีที่มีแพลตฟอร์มเช่นนั้น
The IQ Protocol เป็น DeFi protocol (โปรโตคอลไร้ตัวกลาง) แห่งแรกที่ไร้ความเสี่ยงและไม่ต้องใช้หลักประกัน โดยจะให้บริการแบบสมัครสมาชิก (SaaS) ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบไร้ตัวกลาง
The IQ Protocol สร้างขึ้นโดย PARSIQ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มข้อมูลอัตโนมัติที่นำบลอคเชนมาปรับใช้ในโลกจริง โดยแพลตฟอร์ม PARSIQ จะนำเสนอโทเค็น PRQ ซึ่งจะสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนจริงภายใน PARSIQ ทั้งในแง่เครื่องมือและบริการต่าง ๆ
IQ Protocol อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเช่าหรือฝากสินทรัพย์ดิจิทัลในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย IQ เป็นแพลตฟอร์มไร้ตัวกลางแห่งแรกที่ผู้ใช้สามารถขอยืม ให้ยืม และสร้างรายได้จากสินทรัพย์ดิจิทัลแบบ on-chain ได้ เช่น NFTs
ตลาด NFT ที่กำลังเติบโต นำไปสู่สินทรัพย์ดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น เช่น สิ่งของดิจิทัล ศิลปะดิจิทัล ฯลฯ IQ ช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมสามารถนำสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้มาใช้ได้ในทุก ๆ โลกดิจิทัลที่พวกเขาได้เข้าไป IQ อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถล๊อคสินทรัพย์ดิจิทัล และเช่า NFT ออกไปใช้
ข้อดีของการใช้ IQ Protocol
โมเดลสมาชิกที่พร้อมปรับแต่งของ IQ Protocol ซึ่งขับเคลื่อนโดย smart contract ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างโมเดลสมาชิกแบบ on-chain ที่ปรับแต่วได้ ทั้งผู้ใช้และแพลตฟอร์มที่ใช้ IQ Protocol ต่างได้รับประโยชน์จาก:
โทเค็นที่ใช้ได้ตลอดชีวิต (โทเค็น LTV). แทนที่จะเรียกเก็บค่าสมาชิกรายปีหรือรายเดือน แพลตฟอร์มอาจนำเสนอในรูปแบบโทเค็น LTV โดยผู้ใช้จะสามารถใช้บริการได้ตราบเท่าที่ลูกค้ายังมีโทเค็นอยู่
บันทึกการทำธุรกรรมโปร่งใส. IQ Protocol อนุญาตให้กิจการสามารถติดตามการชำระเงิน ประวัติการชำระเงิน และประวัติการทำธุรกรรมได้ โดยใช้ smart contract ที่ปลอดภัยและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเทคโนโลยีบลอคเชน ช่วยลดความเสี่ยงข้อมูลสูญหายและการแฮคข้อมูล ส่งผลให้ต้นทุนด้าน IT และความปลอดภัยลดลง
รูปแบบธุรกิจมีความยืดหยุ่น. IQ Protocol มีโปรแกรมที่สามารถปรับแต่งได้ โปรโตคอลสามารถประมวลผลธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ smart contract ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินการส่งคืนหรือยกเลิกสินค้าได้
ทางเลือกในการชำระเงินหลากหลาย. ลูกค้าสามารถชำระเงินได้หลายวิธี เมื่อลูกค้าสมัครใช้บริการที่เลือกใช้ IQ Protocol โดยสามารถชำระเป็นเงินสดและเหรียญดิจิทัลได้ ความยืดหยุ่นนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะการชำระเงินด้วยเหรียญดิจิทัลกำลังได้รับความนิยม ลูกค้าสามารถชำระเงินด้วยบิตคอยน์ (BTC), บัตรเครดิต, หรือคริปโตประจำแพลตฟอร์มนั้น ๆ
รับผลตอบแทน. ลูกค้าสามารถรับผลตอบแทนจากการถือโทเค็นของโปรเจค โดยผลตอบแทนจะมาจากค่าสมาชิกและแหล่งรายได้อื่นที่แบ่งกลับไปยังผู้ให้ยืม ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง ลูกค้าสามารถให้ IQ Protocol ยืมเงินทุนโดยไร้ความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยสร้างสภาพคล่องในระบบ ผลตอบแทนจากการลงทุนเกิดจากสภาพคล่องของเงินทุน ลูกค้ามีสิทธิ์ถอนรายได้เริ่มต้นหรือลงทุนเมื่อใดก็ได้
บริษัทด้านเทคโนโลยีจะได้ประโยชน์จาก IQ Protocol อาจเป็นผู้ให้บริการจัดเก็บไฟล์ แพลตฟอร์มดนตรีและวิดิโอสตรีมมิ่ง ผู้ให้บริการอินเตอร์เนท ตลอดจนแพลตฟอร์มเกมที่มีบริการให้ซื้อภายในแอพ IQ Protocol มาพร้อมฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับบริษัทด้านบลอคเชนหรือผู้ให้บริการบลอคเชน โดยสามารถผนวกเข้ากับแอพบลอคเชนเดิมได้อย่าง่ายดาย
โทเค็น PRQ คืออะไร?
หลังจากการเปิดตัว IQ Protocol, PARSIQ, ซึ่งเป็นทีมงานเบื้องหลังโปรโตคอลนี้, กลายมาเป็นผู้ใช้รายแรกที่ได้ประโยชน์ทั้งหมด: สร้างโมเดลสมาชิกแบบไร้ตัวกลางสำหรับบริษัทที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบลอคเชน
PARSIQ ได้พัฒนา pool ที่ผูกเข้ากับ smart contract โดยไม่ต้องจับคู่กับโทเค็นที่นำมาฝากซึ่งต่างจาก pool ที่อื่น ที่นี่ผู้ใช้เพียงแค่มอบโทเค็น PRQ คนอื่นก็สามารถกู้ยืมได้แล้ว
โทเค็น PRQ นำไปใช้อะไรได้บ้าง?
Staking: นักลงทุนสามารถนำโทเค็น PRQ มาทำ staking ผ่านทาง IQ protocol ได้เพื่อรับผลตอบแทนรายปี
หลักฐานการเป็น HODL: สำหรับสมาชิกแบบ on-chain: เพื่อเป็นการปลดล๊อคแพลตฟอร์ม PARSIQ ผู้ใช้ต้องเป็นเจ้าของโทเค็น PRQ โดยจะนำมาแลกกับ Power Token ซึ่งเป็นตัวแทน PRQ ที่ได้รับจาก IQ Protocol เราจึงจะอนุญาตให้เข้าใช้แพลตฟอร์มตามที่อยู่ที่มีการยืนยันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (แสดงหลักฐาน HODL) Power Token จะถูกจัดเก็บในจำนวนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแผนการสมัครสมาชิกและขีดจำกัดการใช้บริการ โดย Power Token สามารถแลกกลับมาเป็น PRQ ได้ตลอดเวลา
การให้ยืมโทเค็นแบบมีกำหนดอายุโดยไม่ต้องใช้หลักประกัน: ผู้ใช้ที่ไม่ต้องการซื้อโทเค็น PRQ สามารถขอยืม Power Token ผ่าน IQ Protocol ได้ โดยผู้ใช้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมและช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินได้ ลูกค้าจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเมื่อใช้ PARSIQ โดย Power Token สามารถนำมาใช้เพื่อสมัครแต่ไม่สามารถใช้จ่ายได้ โทเค็นที่ขอยืมจะหมดอายุในวันที่ได้ระบุไว้
การให้ยืมแบบไร้ความเสี่ยง: ผู้ถือโทเค็นสามารถให้ยืมโทเค็น PRQ ได้เพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับ IQ Protocol โดยจะได้รับดอกเบี้ยที่ต่างกันไปในแต่ละวัน ผู้ถือโทเค็นจะได้รับโทเค็น Liquidity Provider ไว้เป็นหลักฐานยืนยันสถานะในกองทุนสภาพคล่อง โดยสามารถขอรับผลตอบแทนหรือถอนโทเค็น PRQ ได้ทุกเมื่อ ผู้ให้ยืมมีอิสระในการเลือก
PRQ tokenomics
โทเคนสามารถใช้ชำระค่าบริการแพลตฟอร์มได้ ในเดือนธันวาคม 2021 ประมาณ 28% ของปริมาณโทเคนสูงสุด 500 PRQ หมุนเวียนในระบบ ปริมาณ PRQ ทั้งหมดแบ่งออกได้ดังนี้:
-กองทุนสำหรับทีมงานและที่ปรึกษา (29,260,000 — ปล่อยออก 1.4 ล้าน PRQ ต่อเดือน)
-กองทุนเพื่อการพัฒนา (40,371,167.09633)
-กองทุนสำรอง (125,000,000, ปัจจุบันถูกล๊อคเอาไว้)
วิธีการทำ staking โทเคน PRQ?
คุณสามารถ stake โทเคน PRQ และรับผลตอบแทนได้ง่าย ๆ
ขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง:
ขั้นที่ 1. มีโทเคน PRQ ในวอลเลท
เชื่อมต่อวอลเลท MetaMask เข้ากับแพลตฟอร์ม เช่นเดียวกับการใช้ DEX คุณจำเป็นต้องมีโทเคน PRQ บน Binance Smart Chain (BSC) ในวอลเลทของคุณ โดยสามารถค้นหาวอลเลทที่รองรับได้ใน app.iq.space
ขั้นที่ 2. เชื่อมต่อวอลเลทเข้ากับ IQ.Space
สามารถ stake โทเคน PRQ ได้บนแพลตฟอร์ม app.iq.space เมื่อคุณมี PRQ ในวอลเลทแล้ว ก็ให้เชื่อมต่อวอลเลทเข้ากับแพลตฟอร์ม
ขั้นที่ 3. Stake โทเคน PRQ
เมื่อเชื่อมต่อวอลเลทแล้ว คลิก Stake แล้วยืนยันการทำธุรกรรมและค่าธรรมเนียมจากวอลเลทของคุณ คุณจะถูกขอให้ Approve โทเคน PRQ ก่อน, จากนั้นจึงค่อยฝากไว้บนแพลตฟอร์ม iq.space
เมื่อได้รับการยืนยันบนบลอคเชนแล้ว คุณจะเห็น stake และดอกเบี้ยของคุณ สามารถดูคู่มือรายละเอียดได้ที่บล๊อคทางการของ PARSIQ ในหัวข้อวิธี stake PRQ
อนาคตของ Metaverse
แม้จะมีตัวอย่าง instances ให้เห็นอยู่บ้างในช่วงที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่มองว่าปัจจุบันเรามีโครงสร้างพื้นฐาน โปรโตคอล และเทคโนโลยีที่ทำให้มันเกิดขึ้นจริงได้ metaverse นำไปสู่คำถาม “แล้วถ้า?” ไม่ว่าจะเป็นความจริงเสมือน (VR) ความจริงแต่งเติม (AR) การประชุมออนไลน์ โซเชียลเนทเวิร์ค ไหนจะเรื่องคริปโต NFT การซื้อของออนไลน์ ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
Metaverse ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยมีสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งในนั้น NFT ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว และมีคอลเลคชั่นใหม่ออกมาทุกเดือน โลกการเงินไร้ตัวกลางหรือ DeFi กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะเข้ามาทดแทนระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ยุค metaverse คาดว่าจะเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับระบบเศรษฐกิจไร้ตัวกลางหรือ DeFi
อนาคตของ metaverse อาจต้องใช้ชุดหูฟัง VR และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สวมใส่ได้ ซึ่งจะมีการสร้างสรรค์ออกมาในอนาคต
ปัจจุบัน Metaverse ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ตอนนี้เราแค่เข้าใจไปก่อนว่า Metaverse คืออะไร เพื่อที่จะเตรียมรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามาแทนที่
อนาคตเมตาเวิร์สจะกลายมาเป็นบริการแบบสมัครสมาชิกเข้าใช้งานโลกเสมือนหรือไม่?
แพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น IQ protocol มีส่วนช่วยระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในการช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง Metaverse ได้อย่างถูกต้องโปร่งใสในราคาที่จับต้องได้ อันที่จริงโปรโตคอล open-source นี้จะเป็นประโยชน์กับโครงการต่าง ๆ ที่เสนอระบบสมัครสมาชิกและ NFT ให้กับผู้ใช้ ความเป็นไปได้นั้นไร้ขีดจำกัด ธุรกิจต่าง ๆ สามารถปรับเปลี่ยนโซลูชั่นให้เหมาะกับรูปแบบธุรกิจของตน
PARSIQ, นักพัฒนาผู้อยู่เบื้องหลัง IQ Protocol, ทำงานร่วมกับบริษัทหลายสิบแห่งเพื่อนำ IQ Protocol ไปใช้งานที่หลากหลาย ภายใต้รูปแบบที่เรียบง่ายและทรงประสิทธิภาพ
คำถามพบบ่อย
Metaverse คืออะไร
metaverse มีอยู่จริงไหม?
Zuckerberg metaverse หมายถึงอะไร?
IQ protocol คืออะไร?
metaverse เป็นโลกแห่งความจริงหรือไม่?
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์