Yield Farming กับ Staking: แบบไหนดีกว่ากัน

3 mins
โดย
แปลแล้ว Azmi Boonmalert

ในโลกของเงินดิจิทัล มีหลากหลายวิธีในการสร้างรายได้ Passive Income หนึ่งในคำถามน่าคิดที่สุดคือ การเลือกระหว่าง Yield Farming และ Staking

Yield Farming และ Staking เป็นสองแนวทางหลักที่นักลงทุนใช้สร้างรายได้เพิ่มจากเหรียญดิจิทัล การเก็บผลตอบแทนจากระบบการเงินไร้ตัวกลางหรือ DeFi นี้ปลอดภัยกว่าการเทรดคริปโต และทำกำไรได้ดีทีเดียว มาดูกันว่าเราจะเริ่มสร้างรายได้จาก Yield Farming และ Staking ด้วยวิธีใด

DeFi คืออะไร และ DeFi สร้าง Passive Income ได้อย่างไร

DeFi ย่อมาจาก Decentralized Finance หรือการเงินไร้ตัวกลาง หมายรวมถึง Dapps ทั้งหมดที่สร้างขึ้นบนบลอคเชนอย่าง Ethereum โดยผู้ใช้สามารถซื้อ ขาย ให้กู้ และขอกู้เงินดิจิทัล เหมือนระบบธนาคารแบบเดิม

นักลงทุน Cryptocurrency สามารถสร้างรายได้แบบ Passive Income ได้ง่าย ๆ ผ่านแพลตฟอร์มให้กู้ไร้ตัวกลาง (DeFi lending) ซึ่งเกิดขึ้นมากมายหลังจากช่วงที่ DeFi ได้รับความนิยมในปี 2020 เริ่มมีการพูดถึง yield farming และ staking มากขึ้นว่าอันไหนดีกว่ากัน

มีแพลตฟอร์มมากมายสำหรับการสร้างหรือเก็บรายได้จากโลก DeFi ผู้ถือคริปโตจึงต้องเลือกวิธีที่เป็นไปได้มากที่สุดในการนำเงินดิจิทัลไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด

Staking คืออะไร: Proof-of-Work vs. Proof-of-Stake

Proof-of-Work (PoW) และ Proof-of-Stake (PoS) เป็นสองกลไกที่ใช้ตรวจสอบธุรกรรมบนแพลตฟอร์มบลอคเชน

Bitcoin เป็นบลอคเชนแรกที่สร้างขึ้นด้วย PoW หรือคือการ mining โดยใช้ฮาร์ดแวร์ในการตรวจสอบ node และสร้างบลอคใหม่บนบลอคเชน PoW วิธีการนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต้องคำนวณซับซ้อน และมีค่าไฟที่สูงขึ้น Mining จึงไม่ใช่ระบบที่ยั่งยืน และไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเป็น miner ในเครือข่ายได้

ส่วน Proof-of-stake คือ อีกทางเลือกของ PoW โดยแทนที่จะ Mining ผู้ตรวจสอบจะ Stake คริปโตเพื่อสร้างบลอคใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้พลังงานน้อยกว่ามาก แพลตฟอร์มใหม่หลายแห่งจึงเลือกใช้ Staking มากกว่า เพราะมีกลไกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับบลอคเชนมากกว่า

Ethereum เป็นเครือข่ายที่นิยมมากที่สุดสำหรับ DeFi โดยเริ่มอัปเกรดเป็นระบบ PoS แล้ว ทั้งนี้เพื่อรองรับธุรกรรมได้มากพอ ส่วน Ethereum 2.0 จะพร้อมให้ใช้งานในปี 2022 แต่นักลงทุนสามารถเริ่มลงทุนใน Ethereum ได้แล้ว

Staking ทำงานอย่างไร

ผู้ใช้จะต้องวาง (stake) เงินจำนวนหนึ่งเพื่อให้สามารถเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม (validator) หรือมีส่วนร่วมในกองสภาพคล่อง (liquidity pool) โดยแต่ละแพลตฟอร์ม staking มีกติกาต่างกันนิดหน่อย แต่ที่เหมือนกันคือการใช้ staking pool

Staking หมายถึงการล็อคเงินคริปโต จึงต้องมีการลงทุนด้วยเงินดิจิทัล Staking ช่วยให้เครือข่ายปลอดภัยและสร้างรายได้แบบ Passive Income

แต่ละแพลตฟอร์มมีเงื่อนไขและผลตอบแทนรายปี (APY) ต่างกัน แนะนำให้เช็คก่อนเพราะบางแห่งมีระยะเวลาคงที่ หรือให้ APY น้อยกว่าที่อื่น

เพื่อสร้างรายได้ Passive Income ให้ได้มากที่สุดจากการ staking แนะนำให้ศึกษาหลากหลายแนวทาง

วิธี stake เหรียญดิจิทัลแบบ PoS

Switzerland Crypto AML rules | Yield Farming vs. Staking

Staking ทำได้ง่าย ๆ และสามารถใช้ได้แค่กับเหรียญระบบ Proof-of-Stake แต่บิตคอยน์ไม่สามารถนำมา stake เพราะเป็นบลอคเชนระบบ PoW

แนวทางทั่วไปในการ stake เงินคริปโต มีดังนี้:

แต่ละเหรียญมีวิธี staking ต่างกันเล็กน้อย จึงจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของและขั้นตอน staking ของแต่ละเหรียญ

ขั้นตอนทั่วไปมีดังนี้:

  • สมัครบริการวอลเล็ตเพื่อใช้ในการ staking
  • โอนเงินดิจิทัลไปที่วอลเล็ตนั้น
  • เลือกลงทุนในหนึ่ง staking pool โดยแพลตฟอร์มคริปโตอาจจะไม่มีตัวเลือกให้มากนัก
  • ล็อคเงินในแพลตฟอร์มเพื่อการ staking
  • รอรับผลตอบแทนจากการ staking (หรือ Passive Income ของคุณ)

นอกจากนี้ ยังมีการ Staking แบบ Cold Wallet ซึ่งช่วยปกป้องเงินคุณในระดับสูงสุด เพราะไม่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต

ใน Ethereum 2.0 สามารถทำ staking ได้แล้ว โดยคุณสามารถเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรมได้ หากคุณมี 32 ETH พร้อมความรู้ในการติดตั้ง validator node อีกทางเลือกคือใช้แพลตฟอร์มคริปโต เช่น Binance ในการ stake อีเธอเรียมได้

Cardano โด่งดังจากการมีวอลเล็ตที่ใช้สำหรับ staking ADA บางคนเข้าใจว่าสามารถขุด Cardano ได้ ซึ่งไม่จริง

Cardano ต้องการเพียงวอลเลทที่ผูกเข้ากับเครือข่าย จากนั้นก็เริ่ม Staking ได้ทันที โดยเริ่มจากเลือก Staking Pool สำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการใช้วอลเล็ตในการ Staking สามารถใช้แพลตฟอร์มแทนได้ ซึ่งเริ่มได้ทันที หลังจากซื้อ Cardano สินทรัพย์อื่นที่สามารถ Stake โดยใช้คริปโตวอลเล็ตคือ Theta

สกุลเหรียญดิจิทัลอื่นๆ ที่นิยมนำมาทำ staking คือ polkadot และ CAKE บนแพลตฟอร์ม PancakeSwap

5 อันดับสกุลเหรียญดิจิทัลที่นิยมนำมาทำ staking

Top staking coins for 2021 | how to launch an ICO | yield farming vs. staking

Crypto staking มีเงินถูกล็อคและหมุนเวียนอยู่ในระบบมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ช่วยสร้างรายได้แบบ Passive Income นักลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอ

เครือข่ายบลอคเชนที่ให้ผลตอบแทนสูงจำเป็นต้องมีทีมพัฒนาที่จริงจัง และมีการใช้งานจริงบนแพลตฟอร์ม ยิ่งมีนักลงทุนสนใจมาก เครือข่ายก็ยิ่งเติบโตและได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นจากนักลงทุนและนักพัฒนาหน้าใหม่ เหรียญดิจิทัลที่นิยมนำมา stake มากที่สุดมีดังนี้:

  • Ethereum
  • Cardano
  • Tezos
  • Polygon
  • Theta

Yield farming คืออะไร

Yield farming หรือฟาร์มคริปโตเป็นคอนเซปต์ใหม่กว่า staking โดยหมายถึง การวางแผนและเลือกอย่างรอบคอบว่าจะฝากโทเคนใดไว้กับแพลตฟอร์มใด เพื่อแลกกับผลตอบแทน

Yield farming หรือ token farming เกิดขึ้นในปี 2020 พร้อมๆ กับการถือกำเนิดของ Compound ซึ่งเป็นโปรโตคอลฝากเงินแห่งแรกในระบบ DeFi โดยปัจจุบัน มีแพลตฟอร์มฝากเงินแบบ DeFi สำหรับทำ Yield Farming เกิดขึ้นจำนวนมาก และต่างมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจต่างกันไป

ผู้ถือคริปโตสามารถใช้บริการแพลตฟอร์มฝากเงิน เช่น Compound หรือ Aave อีกทางเลือกคือเป็นผู้สร้างสภาพคล่องโดยตรงให้กับ DEXs เช่น Uniswap หรือ PancakeSwap

ขั้นตอนคือ ผู้ใช้ต้องฝากเงินในแพลตฟอร์ม แล้วรับผลตอบแทน APY และโทเคนประจำแพลตฟอร์มนั้น ๆ ซึ่งสามารถนำกลับมาทำฟาร์มได้อีก

หากคุณเลือกใช้ DEX คุณจะต้องฝากเหรียญหนึ่งคู่ตาม liquidity pool ที่มีให้เลือก โดยผลตอบแทนจะคิดเป็นเปอร์เซนต์จาก liquidity pool นั้น ตามจำนวนเงินที่ลงทุน

ในกรณีที่ใช้ DEX รายได้ Passive Income จะมาจากดอกเบี้ยที่จ่ายให้โดยผู้ขอกู้หรือผู้ใช้เงินใน liquidity pool ฟาร์มคริปโตมีความน่าเชื่อถือกว่าการเทรดคริปโต ยิ่งเป็น stablecoins จะยิ่งเสี่ยงต่ำ

Yield farming มีกลไกการทำงานแบบใด

Shield Farming DeFi Blockchain

ในระบบธนาคารแบบเดิม การดำเนินการทางการเงิน อย่างการให้ยืมและการกู้มักดูแลโดยธนาคาร ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฝ่ายต่างๆ ในขณะที่ธนาคารจะใช้ “Order Bank” Yield Farming จะใช้ Smart Contract หรือ Automated Market Makers (AMM) ในการดำเนินการเทรดคริปโต

ผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Providers: LPs) ฝากเงินในกองทุนสภาพคล่องเพื่อทำให้ระบบดำเนินต่อไปได้ และได้รับผลตอบแทน

เพราะมีผู้ให้บริการสภาพคล่องที่คอยใส่เงินลงไปในกองทุน ผู้ใช้อื่นจึงสามารถให้กู้ ขอกู และเทรดคริปโตได้ ธุรกรรมเกี่ยวกับคริปโตทั้งหมดจึงมีค่าธรรมเนียมบริการ ซึ่งจะนำไปปันส่วนให้แก่ผู้ให้บริการสภาพคล่องทั้งหมด

นอกจากนี้ โปรโตคอลการให้กู้ก็ยังมีโทเคนประจำแพลตฟอร์มให้กับผู้ให้บริการสภาพคล่องด้วย ทั้งนี้เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงเงิน

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นว่า Yield farming ยังถือเป็นวิธีการที่ใหม่กว่า Staking และมีเพียงประสบการณ์เท่านั้นที่จะบอกได้ว่าจะสร้างผลตอบแทนสูงสุดจาก Yield Farming ได้อย่างไร

ผู้ให้บริการสภาพคล่องและกองทุนสภาพคล่อง

Order book จะถูกจัดเก็บไว้ในระบบ AMM โดยมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ กองทุนสภาพคล่อง และผู้ให้บริการสภาพคล่อง

กองทุนสภาพคล่อง คือ Smart Contract ที่เก็บสะสมเงินไว้เพื่อช่วยให้ผู้ใช้คริปโตให้กู้ ขอกู้ ซื้อ และขายเหรียญดิจิทัลได้ คนที่ฝากเงินกับกองทุนสภาพคล่องจะเรียกว่า ผู้ให้บริการสภาพคล่อง เป็นกลุ่มคนที่ใช้เงินสนับสนุนระบบนิเวศ DeFi โดยได้รับผลตอบแทนจากกองทุนสภาพคล่อง

หลายครั้ง โทเคนที่มีปริมาณการเทรดต่ำมักได้ประโยชน์สูงสุดจาก Yield Farming เพราะเป็นทางเดียวที่เทรดโทเคนประเภทนี้ได้ง่าย

อะไรคือความเสี่ยงของ Yield Farming

Yield Farming กับ Staking มีกระบวนการทำงานที่ต่างกัน

นักลงทุนคริปโตทุกคนควรเรียนรู้ความเสี่ยงดังต่อไปนี้ที่จะเกิดขึ้นกับ Yield Farming

หลักทรัพย์ประกันสามารถใช้ชำระหนี้ได้

เมื่อผู้ใช้ต้องการขอยืมคริปโต จะต้องวางหลักทรัพย์ประกัน ซึ่งจะรวมถึงเงินกู้ด้วย โดยโปรโตคอลการให้ยืมบางแห่งต้องใช้หลักทรัพย์มูลค่าสูงถึง 200 เปอร์เซนต์ของจำนวนที่ขอยืม

หากผู้ใช้ต้องการขอยืมเพิ่ม ก็ต้องวางหลักทรัพย์เพิ่ม และหากเงินหรือหลักทรัพย์ประกันมีมูลค่าลดลงกะทันหัน กองทุนจะพยายามบรรเทาความเสียหายด้วยการขายหลักทรัพย์ประกันในตลาดเปิด แต่ก็จะยังคงขาดทุนอยู่บ้าง ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการสภาพคล่องขาดทุนด้วยเช่นกัน

ส่วนผู้ขอยืมก็จะสูญเสียหลักทรัพย์ประกัน ดังนั้น จึงดีกว่าที่จะขอยืมจากกองทุนที่มีสัดส่วนหลักทรัพย์ประกันสูง เพื่อป้องกันไม่ให้หลักทรัพย์ถูกขายทอดตลาด ในกรณีที่สินทรัพย์ราคาตก

ความผันผวนของราคา

เป็นที่รู้กันดีว่าตลาดคริปโตมักเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างตอบแทนมากมายให้กับเทรดเดอร์และนักลงทุนบางราย ฝั่ง yield farmers อาจจะขาดทุนได้ หากโทเคนมูลค่าตกกะทันหัน โดยสถานการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้หากเทรนด์ดันให้ตลาดซื้อหรือขายโทเคนบางประเภท

ข้อบกพร่องของโปรโตคอล

Yield Farming และระบบนิเวศ DeFi ทั้งหมดอาศัย Smart Contract ในการดำเนินการกิจกรรมทางการเงินทั้งหมดของเหล่า Dapps แต่ Smart Contract ก็เป็นเพียงโค้ดที่เขียนโดยมนุษย์ และมนุษย์ย่อมพลาดได้ โปรโตคอลหรือ Smart Contract ที่ออกแบบมาไม่ดีก็อาจจะโดนแฮ็ค หรือทำงานผิดพลาดได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียเงินลงทุนเช่นกัน

Yield Farms ที่ดีที่สุด

เหมือนกับทุกๆ ระบบ Yield Farmers สนับสนุนระบบเพราะได้รับผลตอบแทนจากแพลตฟอร์มที่ใช้ Yield Farms ที่ดีที่สุดจึงมักเป็นแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยและให้ผลตอบแทนสูงสุด

ในแต่ละบลอคเชน จะมี Yield Farms หลายแห่งอยู่ ซึ่งล้วนมีเงื่อนไขแตกต่างกัน นักลงทุนบางส่วนจะเลือกซื้อเงินเท่าที่จำเป็นต่อการเป็น Yield Farmer ในขณะที่อีกส่วนมุ่งหน้าหา Yield Farm ที่ดีที่สุดเพื่อใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่แล้ว

หากดูจากเทรนด์และความสนใจล่าสุดในวงการคริปโต Yield Farm ยอดนิยม 5 อันดับในเครือข่ายดังต่อไปนี้ก็เป็นตัวเลือกที่ไม่เลวเลย

Yield Farming vs Staking

yield farming vs. staking

Yield Farming และ Staking ล้วนเป็นวิธีสร้าง Passive Income ชั้นเลิศให้กับผู้ถือคริปโตเหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างหลักก็คือ Yield Farming ต้องให้ผู้ใช้ฝากเงินกับกองทุนคริปโตบนแพลตฟอร์ม DeFi ในขณะที่นักลงทุนคริปโตสามารถใช้เงินของตัวเองสนับสนุนบลอคเชน และตรวจสอบธุรกรรมและบลอคเครือข่ายได้ เพื่อทำStaking

บทความนี้ได้สรุปข้อแตกต่างหลักระหว่าง Yield Farming และ Staking ไว้ในตารางด้านล่างแล้ว

 StakingYield Farming
กำไรจ่ายในรูป APY มักมีมูลค่าประมาณ 5 เปอร์เซนต์หรือสูงกว่า ขึ้นอยู่กับโทเคนและวิธีการที่ใช้ต้องใช้กลยุทธ์การลงทุนที่รอบคอบ เพราะไม่ตรงไปตรงมาเหมือน Staking แต่จะให้ผลกำไรมาก แต่ไม่เกิน 100 เปอร์เซนต์
ผลตอบแทนผลตอบแทนของเครือข่ายที่มีให้กับผู้ตรวจสอบที่ช่วยหา Consensus ให้กับบลอคเชน และสร้างบลอคใหม่ผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับกองทุนสภาพคล่อง และอาจปรับเปลี่ยนได้ตามราคาของโทเคน
ความปลอดภัยโทเคนสำหรับ Staking มีนโยบายที่เข้มงวดมากและมักผูกอยู่กับ Consensus ของบลอคเชนโดยตรง ดังนั้นหากมีคนคิดจะป่วนระบบ ก็จะเสี่ยงเสียเงินของตัวเองเหมือนกันYield Faring ใช้โปรโตคอล DeFi และ Smart Contract ซึ่งเสี่ยงต่อการโดนแฮคได้ถ้าเขียนโปรแกรมไม่ดี
ความเสี่ยงในการขาดทุนถาวรไม่มีYield Farmers เสี่ยงขาดทุนถาวรจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการขาดทุนถาวรสามารถเกิดขึ้นได้ หากเงินถูกล็อคในกองทุนสภาพคล่อง และสัดส่วนของโทเคนในกองทุนไม่เท่ากัน
เวลาเครือข่ายบลอคเชนต่างๆ มักต้องการให้ผู้ใช้ Stake เงินภายในระยะเวลาที่มีการกำหนดแน่นอน บางเครือข่ายอาจถึงขั้นระบุระยะเวลาขั้นต่ำไม่มีระยะเวลาล็อคเงินขั้นต่ำ

Yield Farming กับ Staking: แบบไหนดีกว่ากัน

การเลือกวิธีสร้าง Passive Income ที่ดีที่สุดจากเงินคริปโต ก็คือการเลือกระหว่าง Yield Farming และ Staking โดยทั้งสองวิธีนี้จะต้องใช้ความรู้เกี่วกับคริปโตในระดับที่ต่างกัน

ถ้าคำนวณจากผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ผู้ใช้อาจเลือก Yield Farming แต่ข้อถกเถียงไม่ควรหยุดอยู่แค่นี้

Yield Farming อาจเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากกว่าสำหรับนักลงทุนคริปโตหน้าใหม่ และอาจต้องใช้เวลาและข้อมูลมากกว่า ส่วน Staking ให้ผลตอบแทนน้อยกว่า แต่ไม่ต้องการความใส่ใจมากนัก และเงินบางส่วนก็สามารถล็อคเก็บไว้ได้นานกว่า

ในท้ายที่สุด ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณอยากเป็นนักลงทุนแบบไหน และคุณมีประสบการณ์มากแค่ไหนในวงการ DeFi

คำถามที่พบบ่อย

Farming หรือ PancakeSwap คุ้มค่าไหม

Yield Farming เหมือนกับ Staking หรือไม่

การทำ Staking สร้างผลกำไรได้ไหม

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน