Trusted

Wikimedia หยุดรับบริจาค Crypto หวั่นกระทบการบริโภคพลังงาน

1 min
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

สรุปย่อ

  • มูลนิธิ Wikimedia จะยุติการรับบริจาคเป็น Crypto
  • ประมาณ 70% ของผู้ใช้ 400 รายสนับสนุนข้อเสนอที่จะไม่รับบริจาคเป็น Crypto โดยอ้างผลกระทบค่าความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
  • ในช่วงแปดปีที่ผ่านมา WMF ได้รับการบริจาคเป็นสกุลเงินดิจิทัลในรูปของ Bitcoin, Bitcoin Cash และ Ethereum
  • Receive a sweet treat from us — $60 worth of BTC plus an extra $100. Redeem now!
  • Promo

Wikimedia Foundation (WMF) ออกมาประกาศว่าจะหยุดรับบริจาคเป็น Crypto เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ต้นสังกัดของ Wikimedia ทำการตัดสินใจไปเมื่อปลายเดือนที่แล้วหลังจากอภิปรายมาเป็นเวลาสามเดือน

Wikimedia ประกาศว่า “เราเริ่มรับสกุลเงินดิจิทัลโดยตรงในปี 2014 ตามคำขอจากชุมชนของผู้อาสาและผู้บริจาคของเรา และเรากำลังตัดสินใจโดยอิงจากการตอบรับล่าสุดของชุมชนเดียวกัน”

ทั้งนี้ ผู้ใช้ประมาณ 70% ของผู้ใช้ 400 รายสนับสนุนข้อเสนอที่จะไม่รับการบริจาคเป็น Crypto

ในช่วงแปดปีที่ผ่านมา WMF ได้รับการบริจาคเป็นสกุลเงินดิจิทัลในรูปของ Bitcoin Bitcoin Cash และ Ethereum ในปัจจุบันกระบวนการทั้งหมดนี้ใช้พลังงานอย่างหนักหน่วงไปกับ Proof-of-work

ในปีการเงินที่ผ่านมา WMF เปิดเผยว่าได้รับเงินบริจาคมูลค่า 130,100 ดอลลาร์ในสกุลเงินดิจิทัลจากผู้บริจาค 347 ราย ซึ่งคิดเป็น 0.08% ของรายได้ทั้งหมด และ Bitcoin เป็นสกุลเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

WMF ชี้แจงว่า “เราไม่เคยถือสกุลเงินดิจิทัลและแปลงเงินบริจาครายวันในตลาด Spot ให้เป็นสกุลเงิน Fiat (USD) ดังนั้นจึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”

อย่างไรก็ตาม การแปลง “Bitcoin เป็นดอลลาร์ทันทีที่ได้รับถือเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวง” เมื่อพิจารณาจากราคา Token ที่แข็งค่าขึ้นตั้งแต่ปี 2014

WMF อ้างถึงปฏิกิริยาตอบโต้ของ Mozilla

ชุมชนของ WMF เน้นถึงปฏิกิริยาตอบโต้ที่ Mozilla ต้องเผชิญหลังจากหยุดรับบริจาคเป็น Crypto ในเดือนมกราคม ข้อเสนอระบุว่า “หนึ่งในเพื่อนร่วมงานของเราจากองค์กรไม่แสวงหากำไร FOSS space (Mozilla) กำลังประเมินทางเลือกใหม่ที่จะรับการบริจาคเป็น Crypto ถึงแม้ว่าจะมีปฏิกิริยาตอบโต้จำนวนมากจากผู้สนับสนุนของพวกเขา และรวมถึงจาก Jamie Zawinski ผู้ก่อตั้งของพวกเขาเองก็ตาม”

ตามรายงาน ปัญหาสำคัญของสกุลเงินดิจิทัลคือ “ประเด็นเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม” แต่ปัญหานี้มองข้ามบล็อกเชนจำนวนหนึ่งที่สามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่าเพราะไม่ได้ใช้กลไก PoW อย่างเช่น Avalanche Tezos Solana และ Cardano

ผู้เสนอให้ใช้คริปโตเชื่อว่าความสามารถในการบริจาคแบบไม่แสดงตัวตนเป็นสิ่งสำคัญในประเทศที่ Wikipedia ผิดกฎหมายหรือถูกเซ็นเซอร์และหลังจากที่เอลซัลวาดอร์และสาธารณรัฐอัฟริกากลางได้ยอมรับ Bitcoin ให้เป็นเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การกระทำของ WMF จึงเป็นการขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้บริจาคด้วยสกุลเงินที่ประเทศของตนยอมรับให้เป็นเงินถูกกฎหมาย

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ

ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน