ประเทศโมร็อกโกกำลังพัฒนาหลักเกณฑ์การกำกับดูแลคริปโต โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้เล่นที่คร่ำหวอดในอุตสาหกรรม
วานนี้ ธนาคารกลางประเทศโมร็อกโกแถลงว่า ได้เริ่มพูดคุยกับ IMF และ World Bank ถึงเกณฑ์มาตรฐานสำหรับกฎระเบียบชุดใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มจะให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมและการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะพิจารณาครอบคลุมถึงมาตรการรับมือกับเหตุก่อการร้ายทางการเงินและการฟอกเงินด้วย นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังได้แนะนำให้ผู้บริโภคพิจารณาถึงความเสี่ยง เมื่อคิดลงทุนในคริปโต
ก่อนหน้านี้ IMF เคยแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับ Cryptocurrency และการทำ Crypto mining รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ หลังจากในเดือนกันยายนที่ผ่านมา รัฐบาลเอลซัลวาดอร์อนุมัติให้บิตคอยน์เป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการโอนเงินข้ามประเทศที่ได้รับความนิยมมาก ด้าน Alex Gladstein ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ของ Human Rights Foundation หน่วยงาน NGO ที่สนับสนุนบิตคอยน์ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Politico ว่า บิตคอยน์คือขั้วตรงข้ามของทุกอย่างที่ IMF สนับสนุน
โมร็อกโกนำทัพแอฟริกาเหนือ เดินหน้าใช้คริปโต
แม้จะยังไม่มีกฎระเบียบ ประเทศโมร็อกโกถือเป็นประเทศที่มีอัตราการใช้คริปโตสูงที่สุดในทวีปแอฟริกาเหนือ โดยมีประชากรร้อยละ 2.5 ที่เริ่มลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ในปี 2021 การซื้อขายคริปโตในประเทศโมร็อกโกมีมูลค่าสูงถึง 6 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นจำนวนที่มากที่สุดอันดับที่ 4 รองมาจากประเทศไนจีเรีย แอฟริกาใต้ และเคนย่า ด้านผู้เชี่ยวชาญย้ำว่า การซื้อขายที่เกิดขึ้นขับเคลื่อนด้วยความสงสัยและความกลัวตกขบวนเป็นหลัก
หน่วยงานที่ควบคุมดูแลตลาดเงินตราของประเทศโมร็อกโกได้สั่งแบน Cryptocurrency ในปี 2017 เนื่องจากกลัวว่าสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้อาจเป็นตัวบ่อนทำลายเศรษฐกิจและเงินกระดาษของประเทศด้วยการนำสกุลเงินต่างประเทศออกจากโมร็อกโก โดยใช้ทรัพยากรในประเทศ
IMF เตือน คริปโตไม่ใช่ยารักษาทุกโรค
ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา IMF ได้ออกมาเตือนว่า Cryptocurrency ไม่ใช่ยารักษาทุกโรคที่ช่วยแก้ไขทุกปัญหาเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกาได้ โดยคำวิจารณ์นี้เกิดขึ้นไม่นานหลังจากสาธารณรัฐแอฟริกากลาง หนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก เริ่มใช้บิตคอยน์เป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ธนาคารแห่งกลุ่มประเทศในแอฟริกากลาง ที่ดูแลนโยบายการเงินของประเทศแอฟริกา 6 ประเทศ ก็ได้เรียกร้องให้สาธารณรัฐแอฟริกากลางเปลี่ยนการตัดสินใจในครั้งนี้และจัดการประเทศอื่นในความควบคุม ด้วยการออกกฎใหม่ที่จะปิดโอกาสไม่ให้สถาบันใดๆ ทำธุรกิจด้วยสกุลเงินดิจิทัลได้
ประเทศโมร็อกโกยังไม่ได้แสดงท่าทีที่จะทำให้บิตคอยน์เป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เพราะสกุลเงินประจำชาติอย่างสกุลเดอร์แฮมมีอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ หรืออยู่ที่ร้อยละ 5.9 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศอาร์เจนติน่าอยู่ที่ร้อยละ 60 นอกจากนี้ ประเทศโมร็อกโกยังกลับมาควบคุมนโยบายการเงินของตนเอง โดยอัตราเงินเฟ้อต่ำแสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้น้อยที่ภาวะเงินเฟ้อจะกระตุ้นให้เกิดการใช้บิตคอยน์ เหมือนสถานการณ์ในประเทศอาร์เจนติน่า
ด้านสาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ได้ประกาศเลิกใช้สกุลเงินโคลอน ซึ่งเป็นสกุลเงินประจำชาติในปี 2000 และหันมาใช้สกุลดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายแทน และล่าสุดได้เพิ่มบิตคอยน์เข้าไปด้วย
Michael Saylor นักเก็งกำไรบิตคอยน์ เข้าพบอดีตประธานาธิบดีประเทศอาร์เจนติน่าในเดือนเมษายนเพื่อหารือการนำ Cryptocurrency มาใช้ โดย Saylor ได้แนะนำว่า เหล่าประเทศที่ไม่อยากถูกวิจารณ์เรื่องใช้คริปโตเป็นเงินชำระหนี้ทางกฎหมายจะได้ประโยชน์จากการประชาสัมพันธ์คริปโตในฐานะที่กักเก็บมูลค่า มากกว่าในฐานะสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ข้อจำกัดความรับผิด
หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ