Trusted

เจาะลึก Bitcoin กับ CPI สรุปแล้วสัมพันธ์กันอย่างไร?

4 mins
อัพเดทโดย Nonthachai Sukkankosol

สรุปย่อ

  • แนวโน้มการต่อสู้กับ เงินเฟ้อ ในตอนนี้
  • ความสัมพันธ์ระหว่างราคา Bitcoin กับ CPI และ M2
  • หากเป็นดังที่กล่าว ทำไม Bitcoin ถึงตกต่ำลงช่วงเงินเฟ้อพุ่งสูงปี 2022?
  • Promo

Bitcoin กลับมาเหยียบ 30,000 ดอลลาร์ทันที หลัง FED ประกาศ เงินเฟ้อ (CPI) ลดลงเหลือ 5% ซึ่งต่ำกว่าคาดที่ 5.2% แต่ราคาก็ปรับตัวลดลงกลับมาที่เดิมในไม่ช้า สรุปแล้วเงินเฟ้อกับนโยบายทางการเงินสัมพันธ์กับ บิตคอยน์ อย่างไรกันแน่

อัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่าคาด นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีอย่างยิ่งต่อทั้งตลาดทุนและตลาดคริปโตเคอเรนซี่ BTC สะท้อนข่าวดีนี้เช่นกันโดยราคาฟื้นจากการย่อตัวลงกลับมาเหยียบที่ 30,000 ดอลลาร์ ในทันที แต่กลับปรับตัวลงในเวลาต่อมา ท่ามกลางความซับสนของการต่อสู้กับเงินเฟ้อที่ยังคงไม่สิ้นสุด เพราะเป้าหมายของ FED ยังอยู่ที่ 2% BTC ทำไมพฤติกรรมของ BTC ถึงน่าสับสนเหตุผลคืออะไร เราจะมาหาคำตอบกัน

แนวโน้มการต่อสู้กับ เงินเฟ้อ ในตอนนี้

ตัวเลขเดือน มิถุนายน ที่เพิ่งประกาศออกมา นับว่าออกมาดีกว่าคาดมาก หากนับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2022 ที่ตัวเลขเงินเฟ้อเริ่มลดลงแล้ว การลดลงถึง 1% จาก 6% เป็น 5% เป็นตัวเลขที่ลดลงมากที่สุดในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขโดยรวมจะดีขึ้นมาก แต่ในเชิงรายละเอียดยังคงมีส่วนที่ต้องจับตามอง core CPI หรือเงินเฟ้อพื้นฐานที่ตัดตัวแปรราคาอาหารและพลังงานออก

แม้ว่าเงินเฟ้อพื้นฐานจะลดลงจาก 0.5% เป็น 0.4% แต่หากเทียบ YoY แล้ว นับว่ายังคงเพิ่มขึ้นอยู่จาก 5.5% เป็น 5.6% ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการอัดฉีดเพื่ออุ้มธนาคารในช่วงปลายเดือน มีนาคม ก็เป็นได้

ตัวเลขที่ดีกว่าคาดมากอาจเป็นเพราะผลกระทบจากการพิมพ์เงินอาจจะยังไม่ถูกเผยออกมา ตัวเลขที่ดีในเดือนนี้อาจทำให้ FED เลือกเร่งเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อกดเงินเฟ้อที่มาจากหลากหลายสาเหตุให้ลง

ความสัมพันธ์ระหว่างราคา Bitcoin กับ CPI และ M2

ปัจจุบันพบว่า ราคาของ บิตคอยน์ ตอบสนองกับอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยค่อนข้างมาก ทุกๆ ครั้งที่มีการประกาศตัวเลข ราคาจะมีการเคลื่อนไหวออกจากการ sideway โดยเฉพาะในปี 2023

รายงานจาก Skrill เผยว่า ปกติแล้ว BTC กับ CPI มีความสัมพันธ์ที่เป็นลบ นั่นหมายความว่า เมื่อเงินเฟ้อสูง BTC มักจะราคาสูงขึ้น และทำหน้าที่คล้ายสินทรัพย์หลบภัย ซึ่งปัจจุบัน แม้อัตราเงินเฟ้อจะค่อยๆ ลดลง แต่ยังถือว่ายังอยู่ในอัตราที่สูงอยู่พอสมควร

CPI Correlation

ดังนั้นตัวเลขล่าสุดที่ 5% ที่มาพร้อมกับความกังวลที่ว่า การพิมพ์เงินเมื่อปลายเดือนที่แล้วอาจจะยังไม่แสดงผลกระทบจึง เป็นปัจจัยเอื้อให้ราคาอาจจะคงระดับไว้ที่ 28,000 – 30,000 ดอลลาร์ไว้ได้ แต่ก็อาจไม่ได้เป็นปัจจัยที่มีนัยยะพอที่จะผลักดันราคาให้สูงขึ้นไป

อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อ BTC คือ M2 หรืออุปทานของเงินที่ไหลเวียนในระบบ ส่วนนี้อาจมีความซับซ้อนอยู่บ้าง โดยทั่วไป เมื่อ M2 สูงขึ้น ตัวเลข CPI มักสูงตาม แต่นั่นไม่ใช่เสมอไป เพราะ CPI วัดจากราคาของสินค้าและบริการต่างๆ บางครั้ง M2 ที่สูงขึ้น อาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ CPI มากเท่าไหร่

ในกรณีที่กล่าวมานี้ หาก M2 หมุนเวียนมากขึ้น และ CPI ไม่ได้เติบโตรุนแรงมักจะส่งผลให้ BTC เติบโตตามไปด้วย ช่วงปลายปี 2021 และ ต้นปี 2022 เป็นช่วงที่ M2 พุ่งสู่จุดสูงสุด ก่อนที่ CPI จะพุ่งสูงทะลุเพดานอย่างรวดเร็ว ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ BTC ทำจุดสูงสุดที่ 60,000 ดอลลาร์ ซึ่งพฤติกรรมจะคล้ายกับหุ้น Tech

M2 Correlation

หากเป็นดังที่กล่าว ทำไม Bitcoin ถึงตกต่ำลงช่วงเงินเฟ้อพุ่งสูงปี 2022?

ในมุมมองของผู้เขียนมองว่า CPI และ M2 มีผลต่อมูลค่าของ BTC ในระดับมหภาค แต่เรายังหลีกหนีความเป็นจริงที่ว่า นักลงทุนรายใหญ่ส่วนมากยังคงมองว่ามันเป็นสินทรัพย์เสี่ยงที่มีความผันผวนสูงอยู่ เมื่อมีเงินไหลเวียนในระบบสูง สถาบันที่เริ่มลงทุนใน BTC ช่วงปี 2021 จึงมีทุนเพื่อเพิ่มความเสี่ยงในสินทรัพย์เสี่ยงที่มีความผันผวนทางราคาสูงได้

มันจึงตอบคำถามที่ว่า ทำไมช่วงเงินเฟ้อเริ่มรุนแรงขึ้นถึงทำให้ราคา BTC กลับลดตัวลงเหมือนหุ้น Tech นั่นเพราะเงินลงทุนรายใหญ่มีความจำเป็นต้องป้องกันความเสี่ยงนั่นเอง นั่นหมายความว่า M2 อาจสะท้อนความสัมพันธ์ได้ดีกว่า

ในอนาคตหาก BTC มี Market Cap ที่ใหญ่ขึ้นและความผันผวนน้อยลง ผู้เขียนมองว่า ปัจจัยความสัมพันธ์ด้านนโยบายและตัวเลขด้านมหภาคจะมีอิทธิพลเชิงราคามากขึ้นกว่าเดิม

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน