
Ankr 1.0 สู่ 2.0 เพิ่มความ Decentralize
Ankr หนึ่งในผู้ให้บริการประมวลผลซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน Web3 เตรียมอัพเกรด Network 2.0 ซึ่งในไวท์เปเปอร์ฉบับใหม่ระบุว่าเป็น “ตลาดกระจายอำนาจสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของ Web3” การอัพเกรดนี้จะนำเสนอเทคโนโลยีและบริการแบบ Decentralized เต็มรูปแบบเเละจะเป็นโครงสร้างอันสำคัญต่อการเติบโตของ Web3
ก่อนมาเป็น 2.0
ระบบ 1.0 เปิดตัวขึ้นในลักษณะรวมศูนย์ (centralization) เพื่อเติมเต็มความต้องการของโหนดโครงสร้างพื้นฐานบนโลก Web3.0 ข้อดีอย่างหนึ่งของการเริ่มต้นแบบรวมศูนย์ คือการเติบโตที่รวดเร็วรวมถึงความสามารถในด้าน scaling แม้ปัจจุบันโหนดส่วนใหญ่ถูกรันโดยตัวบริษัทเอง แต่อีกส่วนหนึ่งยังมีโปรโตคอลชื่อดังอื่นๆ ร่วมรันด้วย เช่น Fantom Polygon, IoTeX, Pocket, Quicknode, Debooks แม้จะมีความรวมศูนย์สูงแต่โครงสร้างปัจจุบันก็สามารถจัดแจงมากกว่า 7.2 พันล้าน RPC ต่อวัน (remote procedure call หรือ การเรียกใช้งานฟังก์ชั่นบนบล็อกเชน) ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี
ข้อกังขาบนโลก Web3 ที่การอัพเกรดต้องการแก้ไข
มีข้อกังวลมานานแล้วว่า Web3 อาจไม่ได้กระจายอำนาจตามที่ผู้สนับสนุนกล่าวอ้าง เพราะในความเป็นจริง โครงสร้างพื้นฐานของเซิร์ฟเวอร์หรือโหนด (node) ส่วนใหญ่สำหรับบล็อคเชนนั้นโฮสต์โดยบริษัทที่รวมศูนย์ หรือแม้แต่เวอร์ชั่น 1.0 เองก็ตาม แต่การอัพเกรด 2.0 จะแก้ปัญหาสำคัญนี้ด้วยบริการเว็บแบบกระจายศูนย์ที่มากขึ้น โดยการสร้างโปรโตคอลที่อนุญาตให้ “โหนดอิสระ” เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างนักพัฒนาและ dApps กับบล็อคเชน เเละจะได้รับรางวัลเป็นการตอบแทนเป็นเหรียญกลับมา ทางโปรโตคอลใช้เวลามากกว่า 1 ปี ในการเปลี่ยนผ่านระบบโครงสร้างรวมศูนย์ ไปสู่ระบบกระจายศูนย์ 2.0 และจะเป็นเจ้าแรกที่นำร่องระบบโหนดกระจายศูนย์ดังกล่าวผ่านการอัพเกรด
โหนด Ankr ทั้งหมดทำงานอย่างอิสระและ Decentralize มากขึ้น
นอกจากผู้รันโหนดอิสระทั้งหมดจะสามารถเชื่อมต่อกับโปรโตคอลได้เองแล้ว ยังเปิดโอกาสให้กลุ่มโปรโตคอลหันมารันโหนดประมวลผลได้เช่นกัน โปรโตคอลเหล่านั้นสามารถใช้โหนดของตนเองที่ว่างอยู่มาเชื่อมต่อกับระบบได้เลย นอกจากนี้ยังมียังมีการพัฒนาบริการ API ใหม่อีก 3 บริการ (Query API, Token API, และ NFT API) เพื่อให้นักพัฒนานำไปใช้

เหรียญมี Utility เพิ่มขึ้นบนระบบ PoS หลังอัพเกรด
เหรียญ governance เป็นกุญแจสำคัญในปฏิบัติการทั้งหมดของระบบ 2.0 และมีการอัพเกรดดังนี้
- เปิดระบบ DAO เน้นเรื่อง consensus ในการจัดการบริหาร
- นักพัฒนาต้องจ่ายเพื่อเข้าถึงข้อมูลและบริการ On-chain (RPC request)
- ผู้รันโหนดรันเพื่อรองรับการเรียกข้อมูลดังกล่าวบนบล็อกเชน เพื่อรับเหรียญ governance เป็นรางวัลตอบแทน
- กลุ่ม Staker ต้องใช้เหรียญเพื่อคุ้มครองการกระจายอำนาจของโหนดและแบ่งรางวัลตามสัดส่วน
ข้อจำกัดความรับผิด
หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ
