Trusted

CEX vs DEX: ทำไมผู้ใช้งานจึงชื่นชอบกระดานเทรดแบบรวมศูนย์มากกว่า?

1 min
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

สรุปย่อ

  • แฮ็กเกอร์ทำรายได้กว่า 3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 จากการแฮ็ก 125 ครั้ง
  • ผู้ใช้งานรายงานว่าสินทรัพย์ในบัญชี MetaMask ของพวกเขาถูกหายไปแม้ว่าจะระมัดระวังก็ตาม
  • ผู้ใช้งานกำลังย้ายเงินกลับไปที่ CEX เพื่อความปลอดภัย
  • Promo

CEX vs DEX: ในเดือนตุลาคมนี้ เราได้เห็นมูลค่าที่สูญเสียไปการโจมตีช่องโหว่ใน DeFi สูงสุดในปี 2022 ด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ มันจึงทำให้ผู้ใช้งานสงสัยเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของ CEX vs DEX

แม้จะเชื่อกันว่า DeFi จะเป็นอนาคตของการเงิน แต่การโจมตีช่องโหว่ของ DeFi ในเดือนนี้ได้เป็นการพิสูจน์แล้วว่ายังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่มันจะสามารถเป็น[อนาคตของการเงิน]ได้

CEX vs DEX ข้อเปรียบเทียบ

CEX ย่อมาจาก Centralized Exchanges (กระดานเทรดแบบรวมศูนย์) ในขณะที่ DEX นั้นย่อมาจาก Decentralized Exchanges (กระดานเทรดแบบกระจายอำนาจ)

ผู้ใช้งาน Crypto หน้าใหม่นั้นมักจะเอนเอียงไปทาง CEX มากกว่า ส่วนต่อประสานผู้ใช้งาน (UI) จะดูดีกว่าเสียเป็นส่วนใหญ่และเข้าใจได้ง่ายกว่าสำหรับผู้ใช้งานใหม่ DEX นั้นอาจจะดูซับซ้อนเมื่อลองสำรวจไปรอบๆ ผู้ใช้งานมักจะบ่นว่า พวกเขาคิดว่า DEX นั้นแทบจะใช้งานไม่ได้เลย ซึ่งปัญหาเกิดจาก UI ของมัน

มันมีคำพูดที่เป็นที่นิยมในโลกของ Web3 ว่า “ถ้าคุณไม่ใช่เจ้าของคีย์ คุณก็ไม่ใช่เจ้าของที่แท้จริง” ผู้ใช้งานนั้นจะไม่ได้รับสิทธิ์ในการดูแลทรัพย์สินอย่างเต็มที่เมื่อใช้กระดานเทรดแบบรวมศูนย์ กระดานเทรดนั้นจะมีการดูแล แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาจะสามารถเข้าถึงเหรียญของพวกเขาเพื่อซื้อขายหรือนำไปดูแลเองโดยการโอนไปยังกระเป๋าเงินแบบกระจายอำนาจ

เนื่องจาก CEX จะเก็บเงินทุนของผู้ใช้งานทั้งหมดไว้ในความดูแล พวกเขาจึงมีสภาพคล่องมากกว่า ในขณะที่ DEX ใช้อัลกอริธึมในการจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขาย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลาง

ใน DEX ผู้ใช้งานจะได้รับสิทธิ์ในการดูแลทรัพย์สินของตนอย่างสมบูรณ์ แต่การดูแลมาพร้อมกับความรับผิดชอบในการรักษาคีย์ส่วนตัวให้อยู่อย่างปลอดภัย ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเข้าถึงเงินของพวกเขาได้อีกต่อไปหากคีย์ส่วนตัวถูกขโมยหรือสูญหายไป เนื่องจากไม่มีตัวกลางอยู่เบื้องหลัง DEX จึงจะไม่มีใครที่สามารถช่วยผู้ใช้งานกู้คืนเงินทุนของพวกเขาได้หากพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงคีย์ส่วนตัวได้อีกต่อไป

คุณเป็นเจ้าของคีย์ แต่แฮ็กเกอร์เป็นเจ้าของ Crypto?

ผู้ใช้งาน Metamask รายงานบน LinkedIn ว่า ETH ในบัญชีของเขาถูกหายไปจากกระเป๋าเงินของเขา ถึงแม้ว่าเขาจะระมัดระวังโดยการเก็บ Seed Phrase ของเขาไว้บน “กระดาษจริงๆ” ก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวและข่าวเรื่องการแฮ็กบางอย่างใน DeFi เกือบทุกวันทำให้ผู้ใช้งานสงสัยว่า “การกระจายอำนาจ” เป็นเพียงข้อแก้ตัวของผู้ให้บริการในการปัดความรับผิดชอบของพวกเขา

ช่องโหว่ที่แฮ็กเกอร์ใช้เพื่อโจมตีกระเป๋าเงินแบบกระจายอำนาจคืออะไร? ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการแฮ็กเหล่านี้สงสัยว่า ใครกันที่ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเงินของพวกเขาถูกขโมยไปในขณะที่คีย์ส่วนตัวถูกเก็บไว้เป็นอย่างดี?

ตอนนี้ ชุมชน Crypto เชื่อว่ามันยังเร็วเกินไปสำหรับกระดานเทรดแบบกระจายอำนาจที่จะได้รับการยอมรับในวงกว้าง พวกเขาหวังว่าวัฏจักรขาขึ้นรอบต่อไปอาจจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่สำหรับตอนนี้ ผู้ใช้งานกำลังย้ายเงินกลับไปที่ CEX เพื่อความปลอดภัย

DeFi

เงินของคุณที่อยู่กับ CEX ปลอดภัยหรือไม่?

CEX ก็ตกเป็นเหยื่อของการแฮ็กเช่นกัน Mt. Gox กระดานเทรดแบบรวมศูนย์ของญี่ปุ่นที่มีการจัดการธุรกรรม Bitcoin ทั้งหมดทั่วโลกมากกว่า 70% เป็นตัวอย่างคลาสสิกของกรณีนี้ Bitcoin ประมาณ 850,000 Bitcoins ได้ถูกขโมยไปและกระดานเทรดได้ระงับการซื้อขาย และปิดเว็บไซต์และบริการแลกเปลี่ยนของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม จากสถิติของ Chainalysis นั้นพบว่า การแฮ็กส่วนใหญ่ตอนนี้ได้พุ่งเป้าไปยังโปรโตคอล DeFi แต่ — แม้กระทั่งในปี 2022 — แพลตฟอร์มอย่าง Voyager และ Vauld ก็ยังมีการระงับการถอนและฝากเงิน และยื่นขอล้มละลาย ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็ไม่สามารถเข้าถึงเงินลงทุนของตนเองได้อีกต่อไป

เราทุกคนต่างรอคอยวันที่สามารถตัดสินใจได้อย่างง่ายดายว่าจะใช้งาน CEX หรือ DEX ดี ในโลกแห่งอุดมคติ ทั้งสองตัวเลือกควรจะเป็นตัวเลือกที่ดี

คุณต้องการที่จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง CEX และ DEX หรือเรื่องอื่นๆ หรือไม่? เขียนมาหาเราหรือเข้าร่วมการสนทนาในแชแนล Telegram ของเราสิ! คุณยังสามารถติดตามเราได้ที่ Facebook หรือ Blockdit

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน