‘ERC-721’ และ ‘ERC-1155’ ความแตกต่างที่สาย NFT ต้องรู้ ตอนที่ 2

1 min
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

สรุปย่อ

  • ‘ERC-1155’ มีคุณลักษณะอะไร
  • ERC-721 vs. ERC-1155
  • Promo

‘ERC-1155’ คือมาตรฐานใหม่ที่เจ้าโปรเจคของหรือผู้สร้าง NFTs สามารถเรียกใช้ได้ และถูกนำมาใช้เมื่อปลายปี 2019 ควบคู่ไปกับ ERC-721 แต่ถ้าคุณทำโปรเจคคุณจะเลือกใช้มาตรฐานไหนดี?

ในปี 2021 นับว่าเป็นการจุดพลุเปิดกระแสใหม่ในอุตสาหกรรม NFTs มีโปรเจคที่ทำเงินและกลายเป็น Bluechip ขึ้นมาอย่าง BAYC, Cryptopunk, Azuki และโปรเจคอีกมากมาย รวมถึงเหล่าศิลปินดังอย่าง Damien Hirst, Takashi Murakami, และศิลปินอื่นๆ

การเกิดขึ้นของ ERC-721 ยังทำให้เหล่าศิลปินไร้นามจากทุกมุมโลก นำเสนอผลงานชิ้นเอกของเขาบนโลกออนไลน์ และซื้อขายได้ทำให้เกิดตลาดนักสะสมขึ้นบนโลกบล็อกเชน แต่มากไปกว่านั้นมันทำให้เกิดโปรเจคและอุตสาหกรรมที่เรียกว่า Web3 และ Metaverse ตามมา การเกิดขึ้นของ ERC-1155 คือรูปแบบอีกประเภทหนึ่งของ NFTs ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมทั้ง 2 นี้เติบโตได้อย่างง่ายดายขึ้น

‘ERC-1155’ มีคุณลักษณะอะไร

มาตรฐานโทเค็น ERC-1155 ได้รับการพัฒนาโดยทีมงานที่อยู่เบื้องหลังโปรเจค Enjin ซึ่งมุ่งเน้นไปที่โซลูชันที่ใช้บล็อคเชนสำหรับเกม Enjin เปิดตัวมาตรฐานโทเค็นในปี 2019 และเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างมาตรฐาน ERC-20 และมาตรฐาน ERC-721 และได้รับความนิยมอย่างมากในภายหลังเมื่อ Metaverse และ Web3 มาเป็นกระแสในปี 2021

Enjin ระบุความท้าทายหลายประการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน ERC-721 ที่ค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อมันไม่สามารถดำเนินการโอนแบบกลุ่มได้ ERC-1155 ทำให้สินทรัพย์หลายรายการสามารถเคลื่อนย้ายได้ดด้วย Smart contract เดียว

ส่งผลให้ต้นทุนก๊าซลดลง ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ต้องการขายไอเท็มนับพันในเกมให้กับผู้ใช้รายอื่น เขาสามารถใช้การโอนโทเค็นแบบกลุ่มของ ERC-1155 เพื่อส่งทั้งหมดในคราวเดียวได้ แต่แน่นอนว่า NFTs เหล่านั้นจะต้องสร้างขึ้นจากมาตรฐานนี้เท่านั้น ในแง่หนึ่ง มันจึงสร้าง NFTs ที่มีลักษณะเป็น “Semi-fungible token” หรือ SFTs ได้ด้วย

Sandbox: ERC-1155 ทำให้ใครก็ตามสามารถมิ้นท์ผลงานได้จำนวนไม่จำกัดบน Metaverse

ERC-721 vs. ERC-1155

  • ERC-1155 อนุญาตให้สร้างทั้งโทเค็น NFTs และ SFTs ในขณะที่ ERC-721 อนุญาตเฉพาะ NFTs เท่านั้น
  • ใน ERC-1155 สัญญาอัจฉริยะจะเชื่อมโยงกับ URI หลายรายการ และ ”ไม่จัดเก็บข้อมูลเมตาเพิ่มเติม เช่น ชื่อไฟล์” หรือชิ้นงาน ส่วน ERC-721 รองรับเฉพาะข้อมูล “metadata ที่ห้ามเปลี่ยนแปลง” ที่จัดเก็บโดยตรงบนสัญญาอัจฉริยะสำหรับแต่ละรายการโดยเฉพาะ จึงเพิ่มค่าใช้จ่ายในการปรับใช้และจำกัดความยืดหยุ่น
  • สัญญาอัจฉริยะของ ERC-1155 รองรับโทเค็นจำนวนไม่ จำกัด ในขณะที่ ERC-721 ต้องการสัญญาอัจฉริยะใหม่สำหรับโทเค็นแต่ละประเภทและแต่ละคอนแทรคจะมีตัวตนเพียงหนึ่งเดียว
  • ERC-1155 อนุญาตให้โอนโทเค็นทั้งหมดในคราวเดียว ซึ่งสามารถลดต้นทุนและเวลาในการทำธุรกรรม แต่ ERC-721 หากคุณต้องการส่งโทเค็นหลายรายการ คุณต้องทำธุรกรรมทีละรายการ

แน่นอนว่า ERC-1155 ดูจะมีความคล่องตัวกว่าและต้นทุนที่ถูกกว่า แต่ใช่ว่ามันจะมาแทนที่ ERC-721 โดยสิ้นเชิง เพราะหากพิจารณาดูแล้ว ERC-1155 เหมาะแก่การใช้งานเชิงพาณิชเช่น Metaverse GameFi และ Web3 แต่ในกรณีของชิ้นงานศิลปะและของสะสมที่มักต้องการ “ความเป็นหนึ่งเดียว” (singularity) ERC-721 จึงมักจะเหมาะกว่า ปัจจุบัน ERC-721 จึงยังเป็นที่นิยมอยู่แม้จะมี ERC-1155 ก็ตาม

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กรกฎาคม 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กรกฎาคม 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กรกฎาคม 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน