ดูเพิ่มเติม

JPMorgan ร่วมวง Tokenization บน DeFi

1 min
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

สรุปย่อ

  • JPMorgan Chase & Co นำร่องแปลง DeFi เป็นโทเค็นบนบล็อกเชน
  • โครงการนำร่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและการเพิ่มมูลค่าคริปโดโดยธนาคารกลางสิงคโปร์
  • โครงการนี้เกี่ยวข้องกับการใช้งานพันธบัตรที่แปลงเป็นโทเค็นแล้วและเงินฝากใน Liquidity Pool ที่ได้รับอนุญาตสำหรับแอ็ปพลิเคชัน DeFi
  • The World Needs a STAGE: Discover Music 3.0 Read now!
  • Promo

ธนาคารเพื่อการลงทุนของสหรัฐอเมริกา JPMorgan Chase & Co ได้จัดทำโครงการนำร่องการทำ Tokenization ของ DeFi บนบล็อคเชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจและกรณีการใช้งานเพื่อเพิ่มมูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลางของสิงคโปร์

โครงการนำร่องนี้มีชื่อว่า ‘Project Guardian’ โดยมีบริษัทข้ามชาติของสงิครโปร์อย่าง DBS Bank Ltd และ Marketnode ผู้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านตลาดดิจิทัลเข้าร่วม โดยสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและ JPMorgan จะทำหน้าที่เป็น Trust Anchor

ข้อมูลจาก Monetary Authority of Singapore (MAS) ซึ่งเป็นธนาคารกลางของเมือง โครงการนี้จะศึกษาความเป็นไปได้ของการแปลงสินทรัพย์เป็นโทเค็นและการเงินแบบไร้ตัวกลาง (DeFi) โดยใช้เครือข่ายแบบเปิดซึ่งทำให้สกุลต่าง ๆ ทำงานร่วมกันได้

มีการคาดการณ์ว่าจะสามารถซื้อขายสินทรัพย์คริปโต ข้ามแพลตฟอร์มได้ รวมถึงที่จะใช้งานบนโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่มีอยู่แล้ว

นอกจากนี้ จะมีการสำรวจประเด็นต่างๆ ทั่วทั้งอุตสาหกรรมบล็อกเชน รวมถึงโปรโตคอล DeFi ระดับสถาบันเพื่อจัดการกับการก่อกวนตลาดและความเสี่ยงต่าง ๆ

MAS กล่าวว่าการทดลองใช้ในอุตสาหกรรมภายใต้ครั้งแรกของ ‘Project Guardian’ ข้องเกี่ยวกับการใช้พันธบัตรและเงินฝากที่เป็นโทเค็นใน Liquidity Pool ที่ได้รับอนุญาตสำหรับแอปพลิเคชัน DeFi เพื่อดำเนินการกู้และให้กู้บนเครือข่ายบล็อกเชนสาธารณะ

Sopnendu Mohanty หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้าน Fintech ของ MAS กล่าวในแถลงการณ์ว่า “การทำ Tokenization สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency)การเข้าถึง (Accessibility) และความสามารถในการซื้อหามาครอบครอง (Affodability) สินทรัพย์ในระบบการเงิน ทั้งยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องในตลาดการเงิน และสร้างการมีส่วนร่วมทางธุรกิจ (Economic Inclusion)”

การทำให้ DeFi เป็นที่นิยมโดยสาธารณชน

Tokenization ทำให้โทเค็นคริปโตเป็นเครื่องมือสำหรับใช้นำเสนอสินทรัพย์ทั่วไป เช่น หุ้น

โปรแกรมนำร่อง MAS ซึ่งกำหนดเป้าหมายตลาดเงินทุนขายส่ง ดูเหมือนว่าจะทำงานในลักษณะเดียวกับโปรโตคอล DeFi Aave ซึ่งมี Liquidity Pools ที่ได้รับอนุญาต

โดยปกติแล้ว ธนาคารที่ถือเงินจำนวนหนึ่งในรูปแบบของพันธบัตรที่ถูกทำให้เป็นโทเค็นแล้ว จะใช้พันธบัตรดังกล่าวเป็นหลักประกัน ซึ่งถูกล็อคไว้ในสัญญาอัจฉริยะ ตามที่ผู้สังเกตการณ์ได้เปิดเผยข้อมูล

ทั้งนี้ นิติบุคคลสามารถขอกู้ยืมเงินได้ถึง 75% เมื่อเทียบกับเงินฝากในขณะที่จ่ายดอกเบี้ย

ในขณะเดียวกัน ผู้ฝากเงินรายอื่นที่ต้องการรับดอกเบี้ยจากเงินสดที่ถูกทำให้เป็นโทเค็นแล้วสามารถกระทำการดังกล่าวได้ โดยการจัดหา Liquidity ให้กับกลุ่มที่จ่ายดอกเบี้ยส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการยืม 75% รวมถึงจากธนาคารอื่น ๆ ที่อาจกู้ยืมมาจากพันธบัตรดังกล่าว

นักวิเคราะห์กล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คำนวณโดยใช้อัลกอริธึมตามอุปสงค์และอุปทาน ความต้องการจากผู้กู้ที่สูงขึ้นทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นไปด้วย และถ้ามีความต้องการจากผู้กู้ต่ำ อัตราดอกเบี้ยจะลดลง

Tokenization ในลักษณะนี้สามารถช่วยเปลี่ยนบทบาทของผู้ให้กู้เชิงพาณิชย์ในการทำการใช้ Cryptocurrency และ Blockchain เกิดขึ้นในวงกว้าง

Umar Farooq CEO ของ Onyx ธนาคารของบริษัทในเครือสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับการซื้อขายตราสารหนี้กล่าวว่า “JP Morgan พบว่าเงินฝากสามารถเข้าถึงได้บนบล็อคเชนสาธารณะ นี่ถือเป็นขั้นตอนต่อไปในวิวัฒนาการของเงินธนาคารพาณิชย์ดิจิทัล…”

มีรายงานว่าหน่วยงานดังกล่าวได้ทำธุรกรรมไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2020

DBS Bank JPMorgan และ Temasek ผู้เป็นเจ้าของร่วมของ Marketnode ได้มีส่วนร่วมในการทดลองระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารแบบบล็อคเชนของสิงคโปร์ที่เรียกว่า Partior แล้ว

แพลตฟอร์มสำหรับองค์กรตัวนี้มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงความเร็วและลดต้นทุนของการชำระเงินข้ามพรมแดน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 156 ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปี 2022

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | เมษายน 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ

ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน