ดูเพิ่มเติม

คริปโต คืออะไร สรุปความรู้คริปโตสำหรับมือใหม่ ต้องเสียภาษีมั้ย [อัปเดต 2024]

11 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

คริปโต คือ สกุลเงินดิจิทัลเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่ทำงานอยู่บนบล็อกเชนหรือเครือข่ายที่กระจายอยู่ในคอมพิวเตอร์จำนวนมาก

บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักเบื้องต้นเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี่ รวมถึงเราจะเริ่มลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งได้อย่างไร มีความเสี่ยงที่ควรระวังอะไรบ้าง และมันมีประโยชน์อะไรต่อระบบการเงินและสังคมในปัจจุบัน

คริปโต คืออะไร?

คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) คือ สกุลเงินดิจิทัลเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่ทำงานอยู่บนบล็อกเชน หรือเครือข่ายที่กระจายอยู่ในคอมพิวเตอร์จำนวนมาก โครงสร้างแบบกระจายอำนาจมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้สินทรัพย์อยู่นอกการควบคุมของรัฐบาล และหน่วยงานส่วนกลาง โดยมักเรียกย่อๆ ว่า คริปโต

เทคโนโลยีที่เป็นรากฐานของ Cryptocurrency

สกุลเงินเสมือนมีความโปร่งใสและการรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส (Cryptography) ทำให้การปลอมแปลงหรือการทำธุรกรรมซ้ำซ้อน (double-spend) เป็นไปได้ยาก

สกุลเงินดิจิทัลหลายสกุลเป็นเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งเป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจ (distributed ledger) ที่บังคับใช้โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน

โครงสร้างของระบบที่ทำให้เกิดคุณสมบัติเหล่านี้ ไม่ถูกควบคุมโดยหน่วยงานกลางใดๆ ทำให้พวกมันมีภูมิคุ้มกันในทางทฤษฎีต่อการแทรกแซงหรือการจัดการของรัฐบาล

การได้มาซึ่ง คริปโตเคอร์เรนซี อาจได้รับจากการขุดคริปโต (Crypto-mining) ซึ่งเป็นค่าตอบแทนหรือรางวัลสำหรับผู้ที่ช่วยตรวจสอบธุรกรรมบน blockchain นอกจากนี้สำหรับนักลงทุน พวกเขาสามารถซื้อคริปโตโปรเจคต่างๆ ได้จากกระดานแลกเปลี่ยนอีกด้วย

ความสัมพันธ์ Cryptocurrency และเทคโนโลยีบล็อกเชน

ประเภทของเหรียญ คริปโตเคอร์เรนซี

ไม่ว่าคุณเป็นนักลงทุน นักพัฒนา หรือผู้ที่ชื่นชอบในเทคโนโลยีนี้ การทำความเข้าใจความสามารถและคุณสมบัติของเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีแต่ละประเภทคงจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

กลุ่มรักษามูลค่า (Store of Value)

หากคุณปวดใจกับระบบเงิน Fiat ปัจจุบัน ที่อุปสงค์และอุปทานถูกควบคุมและแทรกแซงโดยรัฐบาลที่ทำให้เงินของคุณเสื่อมค่าลงจากเงินเฟ้อเพราะการพิมพ์ธนบัตรของธนาคารกลางในการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ “Bitcoin” คือ โซลูชั่นของปัญหานี้

Bitcoin ถูกขนานนามว่าเป็นทองคำดิจิตอล เพราะไม่มีผู้ใดจะสามารถแทรกแซงอุปทานของมันได้ เพราะมันเกิดขึ้นจากคณิตศาสตร์และการเข้ารหัสลับล้วนๆ ทำให้มีอุปทานอย่างกำจัดเพียง 21 ล้านเหรียญเท่านั้น หากมีการยอมรับและการใช้งานเพิ่มขึ้นมูลค่าของมันย่อมสูงขึ้นตามจึงมีคุณสมบัติที่เป็น Store of Value ในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

การจะเปลี่ยนแปลงกฎเหล็กนี้เป็นได้ยากมาก เพราะต้องได้รับความเห็นชอบจากนักขุดส่วนมากบนระบบทั่วโลก แน่นอนว่าคนกลุ่มนี้ก็ไม่ต้องการทำให้สินทรัพย์ที่ถือครองอยู่เสื่อมค่าเพราะไปเพิ่มอุปทานของมัน ก่อนหน้านี้มีความพยายามหลายครั้งในการเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐานของ Bitcoin แต่ก็ไม่สำเร็จและทำให้เกิดการ Fork ขึ้นเป็นเหรียญอื่นๆ อย่าง Bitcoin Cash

กลุ่มสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)

“สัญญาอัจฉิรยะ” (Smart Contract) เป็นกระบวนการทางดิจิทัลที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมแบบอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ทำให้มีความโปร่งใสสูงและคาดเดาผลลัพธ์ได้อย่างแม่นยำ

Smart Contract ทำให้นักพัฒนาสามารถต่อยอดและสร้างแพลตฟอร์ม Application ต่างๆ ได้มากมาย โดยมีจุดเด่นเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย ชุมชนคริปโตมักเรียกระบบบล็อกเชนปฏิบัติการนี้ว่า “Layer 1” เช่น Ethereum, Solana, และ Polkadot

กลุ่ม Stablecoin

สิ่งที่ขาดไปไม่ได้หากโลกนี้ยังคงมีระบบเงิน Fiat เป็นพื้นฐานก็คือ “Stablecoin” หรือก็คือ เงิน Fiat ที่ทำงานบนบล็อกเชนที่ถูกค้ำมูลค่าด้วยเงิน Fiat แบบ 1:1 อีกทีหนึ่ง ทำให้การเทียบมูลค่าและการแลกเปลี่ยนเป็นไปได้ เช่น USDT และ USDC

Stablecoin สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ Fiat-Collateralized (อ้างอิงด้วยเงินเฟียต) เช่น USDT และ USDC, Commodity-Collateralized (อ้างอิงด้วยสินค้าโภคภัณฑ์) เช่น GOLD ของ Paxos, Crypto-Collateralized (อ้างอิงด้วยคริปโตฯ) เช่น DAI และ Non-Collateralized (ไม่อ้างอิงด้วยอะไรเลย)

อย่างไรก็ตาม Stablecoin ยังคงมีความเสี่ยงที่นักลงทุนควรระวัง นั่นคือความโปร่งใสของสินทรัพย์ค้ำมูลค่า ซึ่งในบางครั้งยากที่จะตรวจสอบเพราะเหรียญเหล่านี้เกิดขึ้นจากหน่วยงานหรือบริษัทเอกชนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งเพียงเท่านั้น

กลุ่ม DeFi

“DeFi” ย่อมาจาก “Decentralized Finance” ซึ่งแปลว่า ระบบการเงินไร้ตัวกลาง ที่ถูกสร้างขึ้นบน Smart Contract ของบล็อกเชน Layer 1 เช่น Ethereum, Binance Smart Chain, และอื่นๆ ระบบการเงินนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยน คริปโต โดยไม่ต้องพึ่งพากระดานแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ (Centralized Exchange) หรือ CEX (อ่านเพิ่มเติมข้อแตกต่างระหว่าง CeFi และ DeFi)

ธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกชำระผ่าน Blockchain อย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ แตกต่างจาก CEX ที่จะชำระบัญชีภายในแพลตฟอร์มของตนเองเพียงเท่านั้น ทำให้ไม่มีการประกาศธุรกรรมต่อสาธารณะ แน่นอนว่าการใช้งาน DeFi จำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าและมีความซับซ้อนในการใช้งานมากกว่า

ปัจจุบันมีการพัฒนาใหม่ๆ เกิดขึ้นเช่นการ Bridge หรือค้ำมูลค่าเหรียญบนบล็อกเชนประเภทหนึ่ง เพื่อให้สามารถส่งเหรียญนั้น ไปยังบล็อกเชนอื่นๆ ได้ เช่นการส่ง BTC ไปยัง Ethereum เมื่อส่งไป BTC จะถูกล๊อคไว้และพิมพ์ WBTC ใหม่ขึ้นมาในจำนวนเท่ากันบน Ethereum เนื่องจากปกติแล้วเหรียญของแต่ละบล็อกเชนจะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้เพราะถูกเขียนบนระบบปฎิบัติการที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม Cross-chain และ ที่อาจเรียกว่า Layer 0 บล็อกเชนประเภทนี้พยายามเชื่อมต่อบล็อกเชนประเภทต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานข้ามบล็อกเชนให้มากขึ้น

ตัวอย่างเหรียญในกลุ่ม DeFi ได้แก่ Maker (MKR), SushiSwap (SUSHI), Uniswap (UNI), Pancakeswap (CAKE) และ Aave (AAVE) ส่วนกลุ่ม Layer 0 ได้แก่ Cosmos (ATOM) และ Polkadot (DOT)

กลุ่ม Metaverse และ GameFi

ในช่วงปี 2021-2022 เป็นช่วงที่การพัฒนา Metaverse และ GameFi เฟื้องฟูและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างมาก โปรเจคเหล่านี้เกิดจากการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนบล็อกเชนกลุ่ม Smart Contract เพื่อสร้างอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นบนเทคโนโลยีนี้ ที่ต่อยอดเพิ่มเติมขึ้นมาจากระบบการเงินที่เป็นเอกลักษณ์ของบล็อกเชน

Metaverse คือ แพลตฟอร์มโลกเสมือนจริงที่ทำหน้าที่เป็น Social Space ผู้คนสามารถมีปฎิสัมพันธ์กันได้มากขึ้น ก่อให้เกิดชุมชนและวัฒนธรรมต่างๆ มากมายบนโลกบล็อกเชน เช่น Sandbox (SAND) และ Decentraland (MANA) อีกทั้งยังทำให้เกิดอุตสาหกรรม NFT (non-fungible token) หรือตลาดของสะสมตามมาอีกด้วย เช่น Bored Age Yacht Club (BAYC)

แน่นอนว่าตัวอย่างของอุตสาหกรรม Entertainment ที่เกิดขึ้นตามมาคือ GameFi หรือการเล่นเกมผ่านโลกเสมือนเหล่านี้บนปฎิบัติการของบล็อกเชน สิ่งที่หลายๆ คนเคยฝันไว้ว่า “จะเป็นอย่างไรหากเราเล่นเกมและได้เงิน” ได้เกิดขึ้นจริง ยกตัวอย่างเช่น Axie Infinity และ Mir4

Coin และ Token แตกต่างกันอย่างไร

หลังจากเราทราบประเภทหลักๆ ของ คริปโตเคอร์เรนซี ลักษณะต่างๆ แล้ว ยังมีความสับสนอยู่อีกอย่างหนึ่ง นั่นคือความแตกต่างระหว่างคำว่า “Coin และ Token” ที่มักถูกเรียกแทนกันอยู่เสมอ แต่จริงๆ แล้ว 2 อย่างนี้มีความแตกต่างกันอยู่บางประการ

Coin และ Token แตกต่างกันอย่างไรใน คริปโตเคอร์เรนซี

Coin คืออะไร

Coin คือ เหรียญคริปโตที่ถูกสร้างขึ้นเป็นสกุลเงินหลักของบล๊อกเชน Layer 1 หรือ Native Blockchain นั้นๆ มักถูกใช้เป็นสื่อกลางในการทำงานของเครือข่ายชั้นปฎิบัติการ ยกตัวอย่างเช่น การใช้เพื่อจ่ายค่าทำธุรกรรมบนบล็อกเชน ไม่ว่าจะเป็นการโอนสินทรัพย์ หรือเรียกใช้งาน Smart Contract บางชนิด ยกตัวอย่างเช่น BTC หรือ ETH

Token คืออะไร

Token คือ เหรียญคริปโต “ที่ไม่ได้มีบล็อกเชนเป็นของตัวเอง” สิ่งที่สังเกตได้ง่ายคือ โทเค็นมักเป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นโดย Application ที่สร้างอยู่บน Native Blockchain

อีกนัยหนึ่งหากแปลอย่างตรงตัวแล้ว มันคือ “สิ่งแสดงสิทธิ์” ที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ ยกตัวอย่างเช่น เหรียญ UNI ของ Uniswap ที่ถูกใช้เพื่อแสดงสิทธิ์ในการโหวตเปลี่ยนแปลงนโยบายของแพลตฟอร์ม และ LINK ของ Chainlink ที่ใช้เพื่อจ่ายค่าบริการของแพลตฟอร์มเมื่อเรียกใช้งานบริการ Oracle ทั้ง 2 โปรเจคนี้ทำงานอยู่บนบล็อกเชน Ethereum อีกทีหนึ่ง

เริ่มต้นลงทุน คริปโต อย่างไรดี

หากนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว การลงทุนในคริปโตมีความเสี่ยงที่สูงกว่าการลงทุนสินทรัพย์อื่นๆ มาก นักลงทุนควรทำความเข้าใจว่ามีความเสี่ยงใดๆ บ้างก่อนตัดสินใจ หัวข้อนี้เราจะแบ่งปันสิ่งที่ควรพิจารณาก่อนการลงทุน

ศึกษาความเสี่ยงในการลงทุน คริปโตเคอร์เรนซี

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา

ตลาดคริปโตเคอเรนซี่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน เพราะ Blockchain เป็นระบบออนไลน์ที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายทั่วโลก ราคาของสินทรัพย์ต่างๆ จึงผันผวนตลอดเวลา

นอกจากนี้ สภาพคล่องของตลาดคริปโตค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะกับเหรียญของโปรเจคเล็กๆ ทำให้กำแพงของราคามีไม่มากนัก เวลาเพียงไม่กี่นาทีอาจมีการเคลื่อนไหวมากถึง 10% ก็สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ

  • ความเสี่ยงด้านกฎหมาย

นักลงทุนควรศึกษากฎหมายของการลงทุนคริปโตในแต่ละประเทศให้ดี เพราะแต่ละพื้นที่ทางกฎหมายมีข้อกำหนดแตกต่างกัน ทำให้เข้าถึงบริการและภาระทางภาษีที่แตกต่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น กระดานซื้อขาย Future อาจไม่ถูกอนุญาตให้ซื้อขายได้ในบางประเทศ และภาษีคริปโตก็แตกต่างกันไปแต่ละประเทศเช่นกัน นักลงทุนควรติดตามความเคลื่อนไหวเหล่านี้ตลอดเวลา

สุดท้าย โปรเจคคริปโตบางโปรเจคอาจถูกหน่วยงานรัฐบาลสั่งคว่ำบาตรได้ ยกตัวอย่างเช่น Tornado Cash ที่ทางการสหรัฐบังคับไม่ให้ผู้ใช้งานชาวอเมริกันใช้งาน

  • ความเสี่ยงจากความไม่โปร่งใส

ความไม่โปร่งใสเกิดขึ้นอยู่ทุกหนแห่งและตลาดคริปโตก็ไม่เว้น นักลงทุนควรระวังโปรเจคของมิจฉาชีพและไม่โปร่งใส่ที่มักเรียกว่า “Rug pull” ในปี 2022 มีคดีเกิดขึ้นมากมายทั้งการล่มสลายของ Terra และ FTX กระดานซื้อขาย CEX อันดับ 2 ของโลก ที่ทำให้นักลงทุนต้องสูญเสียความมั่งคั่งไปมากมาย นอกจากนี้ยังมีการแฮ็กผ่านช่องโหว่ใน Smart Contract ของแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น กรณี Mango Market ที่แฮ็กเกอร์พบช่องโหว่ในแพลตฟอร์มและสูบเงินออกไป

ศึกษา White Paper ก่อนลงทุน

โปรเจคแต่ละโปรเจคควรมีคำชี้แจงเกี่ยวกับโปรโตคอลของตนเองที่เรียกว่า White Paper รายละเอียดภายในควรระบุ Tokenomics และวิสัยทัศน์ของโปรเจคอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ข้อกำจัดต่างๆ ในการสร้างอุปทานของเหรียญโทเค็นนั้นๆ หรือแม้กระทั้งเหรียญนั้นๆ มีการ Pre-sale หรือไม่ หากมีคนกลุ่มนั้นมีข้อจำกัดอะไรบ้าง เช่น มี lock period เป็นเวลา 3 ปี ไม่เช่นนั้นอาจมีการแทรกแซงตลาดหรือผูกขาดแพลตฟอร์มได้

เปิดบัญชีซื้อขาย Cryptocurrency

ปัจจุบันการเปิดบัญชีมีตัวเลือกค่อนข้างมาก ทั้งกระดานในประเทศและต่างประเทศอย่าง Bitkub และ Binance กระดาน CEX ประเภทนี้ทำหน้าที่คล้ายกับโบรกเกอร์หรือเป็น Custodian ให้ในตลาดหุ้น ทางกระดานซื้อขายต้องทำ KYC ต่อลูกค้าและอยู่ภายในเขตอำนาจของหน่วยงานต่างๆ

อีกตัวเลือกหนึ่ง คือ การซื้อขายด้วย DeFi เนื่องจากปีที่ผ่านมามีการพัฒนา Dapps (Decentralized Application) มากมาย ผู้ใช้งานสามารถเปิดกระเป๋า non-custodial wallet เก็บคริปโตเคอร์เรนซีได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องฝากสินทรัพย์ของตนไว้กับใคร เช่น กระเป๋า software wallet อย่าง Metamask หรือ กระเป๋า Hardware Wallet อย่าง Ledgers

ผู้ใช้งานสามารถซื้อคริปโตและโอนมายังกระเป๋าของตัวเองเหล่านี้ และเชื่อมต่อกับกระดาน DeFi อย่าง Uniswap เพื่อซื้อขายเหรียญ หรือแม้แต่ใช้บริการซื้อขายแบบ spot, future, และ option ผ่านแพลตฟอร์มอย่าง DYDX ทว่าผู้ใช้งานควรศึกษาให้ดีก่อนใช้บริการลักษณะนี้ เพราะมีความซับซ้อนอยู่ในระดับหนึ่ง

กระดานเทรด คริปโตเคอร์เรนซี มีหลายแพลตฟอร์มให้ใช้ โดยจะแบ่งหลักๆ เป็น CeFi กับ DeFi

ประโยชน์ของการลงทุนใน คริปโตเคอร์เรนซี

หากใช้งาน คริปโตเคอร์เรนซี ผ่านบล็อกเชนโดยตรง มันจะเป็นระบบที่จะขจัดความเป็นไปได้ของความล้มเหลวเพียงจุดเดียว (single point of failure) เช่น ธนาคารขนาดใหญ่ที่ต้องล่มสลายจากวิกฤตการณ์ในปี 2008 เพราะความล้มเหลวของสถาบันในสหรัฐอเมริกาหรือแม้กระทั่ง FTX ที่ปัจจุบันล้มละลายและทำให้นักลงทุนไม่สามารถถอนเงินของตนเองได้

การใช้งาน คริปโตเคอร์เรนซี ไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้ เช่น ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิต การถ่ายโอนแบบกระจายอำนาจดังกล่าวได้รับการรักษาความปลอดภัยและความโปร่งใสที่สูง เพราะผู้โอนและผู้รับสามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยตรงผ่านบันทึกบนบล็อกเชน ทำให้ทำธุรกรรมได้เร็วกว่าการโอนเงินแบบมาตรฐาน

Flash loan ในระบบการเงินแบบกระจายอำนาจเป็นตัวอย่างที่ดี เงินกู้เหล่านี้ดำเนินการได้โดยไม่มีหลักประกันและสามารถดำเนินการได้ภายในไม่กี่วินาที

นอกจากนี้ยังเป็นโซลูชั่นของเศรษฐกิจและการเงินใหม่ โดยเฉพาะ Bitcoin มันสามารถทำหน้าที่เป็นสกุลเงินกลางเพื่อปรับปรุงการโอนเงินข้ามพรมแดน สกุลเงิน fiat จะถูกแปลงเป็น Bitcoin หรือ คริปโต อื่น เพื่อโอนข้ามประเทศและแปลงเป็นสกุลเงิน fiat ที่ปลายทางในภายหลัง วิธีนี้ทำให้กระบวนการโอนเงินคล่องตัวขึ้นและทำให้มีต้นทุนที่ต่ำลง

สุดท้ายแล้วคุณสมบัติของการเป็น Store of value ของมันอาจสร้างโครงสร้างทางการเงินใหม่ได้ เช่นใน El Salvador ที่เลือกใช้มันเป็นสกุลเงินหลัก หลังต้องเผชิญกับปัญหาค่าเงินอ่อนค่ามานับครั้งไม่ถ้วน และยังมีการแทรกแซงค่าเงินจากต่างประเทศที่คอยทำลายระบบการเงินภายในประเทศมาเสมอ BTC อาจเป็นทางออกของปัญหาเหล่านี้ก็เป็นได้

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มีนาคม 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน