เมื่อธนาคารกลางและรัฐบาลเริ่มประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่ และประชาชนต้องเผชิญกับการว่างงาน ความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันก็เริ่มที่จะเป็นจริงมากขึ้นกว่าเดิม ‘ภาวะเศรษฐกิจถดถอย’ และ ‘ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ’ นั้นเป็นคำศัพท์ที่สามารถใช้แทนกันได้ในสถานการณ์ดังกล่าว
มาพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจของเราเผชิญกับการถดถอยครั้งสำคัญและเปรียบเทียบมันกับวิกฤตทางการเงินในอดีต หลังจากที่เรียนรู้เรื่องภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอดีตแล้ว คุณจะสามารถนิยามภาวะเศรษฐกิจถดถอยและทำความเข้าใจเรื่องผลกระทบของมันได้
“ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” คืออะไร?
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจหยุดเติบโต
องค์กรทางการเงินส่วนใหญ่นิยาม “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” ว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจขาลงซึ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง โดยปกติ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะวัดผลเป็นเดือน โดยทั่วไป รัฐบาลกำหนดให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นภาวะเศรษฐกิจขาลงหลังจากมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ติดลบในช่วง 2 ไตรมาสติดต่อกัน
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยสามารถจำกัดได้เฉพาะภูมิภาคหรือประเทศเดียว เพื่อให้สามารถระบุภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ เราจะต้องดูที่เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (NBER) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในสหรัฐฯ ให้คำจำกัดความว่า “ภาวะเศรษฐถดถอย” เป็น “การที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงอย่างมีนัยสำคัญซึ่งกระจายไปทั่วภาคเศรษฐกิจและกินเวลานานกว่า 2-3 เดือน” แม้ว่าจะมีเกณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่น ความลึก ระยะเวลา และการแพร่กระจาย ที่ต้องเกิดขึ้นในระดับหนึ่งเพื่อเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่มีเพียงหนึ่งในเกณฑ์เหล่านี้ก็อาจจะชดเชยภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้
เศรษฐกิจนั้นเกิดขึ้นเป็นรอบวัฏจักร และภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็มักจะคาดเดาได้ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจจะหมายถึงค่าแรงที่ลดลง ต้นทุนที่สูงขึ้น และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง สำหรับผู้ที่ต้องการบรรลุอิสรภาพทางการเงิน มันควรค่าที่จะพิจารณาถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คุณจะต้องประสบพบเจอ
บางคนอ้างอิงภาวะเศรษฐกิจถดถอยว่าเป็น “ตัวเลือกที่ย่ำแย่น้อยกว่าจากทั้งสองตัว” นั่นเป็นเพราะว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
อะไรที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย?
มีอยู่หลายปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด สาเหตุอื่นๆ ของภาวะเศรษฐกิจถดถอยคือการเกิดฟองสบู่แตกของสินทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์และหุ้น การชะลอตัวของการผลิต และการสูญเสียความเชื่อมั่นของผู้บริโภค การล่มสลายของตลาดหุ้นหรืออัตราดอกเบี้ยที่สูงก็อาจจะทำให้เกิดสถานการณ์เหล่านี้ได้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทั่วโลกทำให้ธุรกิจจำนวนมากต้องปิดตัวลง ซึ่งทำให้การว่างงานเพิ่มขึ้นทันที สิ่งนี้นำไปสู่การที่ผู้บริโภคขาดรายได้ซึ่งทำให้ไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายรายเดือนได้ นำไปสู่หนี้สินที่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก คาดว่าภาวะเศรษฐกิจนั้นจะย่ำแย่ลงจนกว่าประชาชนจะสามารถกลับไปทำงานและใช้ชีวิตตามปกติได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องมือในปัจจุบันและข้อเสนองานผ่านโลกออนไลน์มากมาย บางคนนั้นอาจจะพบว่ามันเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิมที่จะเอาตัวรอดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากมีงานฟรีแลนซ์ที่ให้ค่าตอบแทนสูงมากมายทางออนไลน์
ลักษณะของภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นจะตกลง และการว่างงานจะเพิ่มขึ้น NBER ได้ออกรายงานระบุว่า สหรัฐฯ อาจจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยภายในสิ้นปี 2021
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจจะจำแนกได้ด้วยพัฒนาการทางเศรษฐกิจเหล่านี้:
- อัตราการว่างงานสูง: บริษัทต่างๆ จะเลิกจ้างพนักงานในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพื่อตอบสนองถึงความต้องการที่ลดลง
- ราคาและยอดขายอสังหาริมทรัพย์และบ้านลดลง
- ตลาดหุ้นตก: นักลงทุนสูญเสียศรัทธาในระบบเศรษฐกิจ พวกเขาได้เห็นถึงการที่ธุรกิจนั้นล้มเหลวในการทำกำไร
- ค่าจ้างที่ลดลง: ผู้บริโภคอาจจะมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการชำระค่าใช้จ่ายเมื่อรายได้ของพวกเขาซบเซาหรือที่แย่กว่านั้นคือลดลง
- GDP ติดลบ: หมายความว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายน้อยลง ส่งผลให้ความต้องการสินค้าลดลง
สิ่งสำคัญคือต้องกล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นเกิดขึ้นในระหว่างวัฏจักรของเศรษฐกิจ มันเคยเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาทั้งหมด 13 ครั้งนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ครั้งที่รุนแรงที่สุดคือภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในปี 2008 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งล่าสุดนี้เริ่มต้นในเดือนธันวาคม 2007 และสิ้นสุดในอีกเกือบ 2 ปีต่อมาในเดือนมิถุนายน 2009
สาเหตุหลักของภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่คือวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ สิ่งนี้นำไปสู่การล่มสลายของตลาดที่อยู่อาศัยและจุดชนวนวิกฤตการเงินการธนาคารทั่วโลก
สถิติบางส่วนจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในปี 2008:
- กว่าครึ่งของครอบครัวทั้งหมดสูญเสียทรัพย์สินไป 25%
- 1 ใน 4 ของครอบครัวในสหรัฐฯ สูญเสียทรัพย์สินไป 75%
- การจ้างงานมากกว่า 8.7 ล้านตำแหน่งหายไประหว่างเดือนธันวาคม 2007 ถึง 2010
ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ แต่ต้องไม่สับสนมันกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เรามาดูความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 อย่างและเปรียบเทียบภาวะเศรษฐกิจถดถอยกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำกัน
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย กับ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ: ความแตกต่างที่สำคัญ
จากรายละเอียดข้างต้น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นจะหมายถึงเทรนด์ขาลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรเศรษฐกิจ และมีลักษณะเฉพาะจากการว่างงานและการลดลงของการผลิต รายได้ของครัวเรือนที่ลดลงและการลงทุนที่จะถูกเลื่อนออกไป
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหมายถึงการที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง จะมีการลดลงเป็นอย่างมากในการผลิตของภาคอุตสาหกรรม การว่างงานในวงกว้าง และการลดลงเป็นอย่างมากในการค้าระหว่างประเทศและการเคลื่อนไหวของเงินทุน บริษัทต่างๆ ลดการผลิตและปิดโรงงานผลิต ส่งผลให้มีการส่งออกน้อยลง
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นไม่เหมือนกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นสามารถจำกัดทางภูมิศาสตร์ได้ (จำกัดเพียงประเทศเดียว) ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอาจจะส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ (เช่น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ 1930)
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) เกิดขึ้นในปี 1929 ถึง 1939 และมีผลที่ตามมาที่ร้ายแรงทั้งในแง่ของความรุนแรงและผลกระทบ The Great Depression เป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มันเริ่มขึ้นในอเมริกาในปี 1929 ด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยก่อนที่มันจะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของโลก โดยเฉพาะยุโรป
The Great Depression ในช่วงปี 1930s
ประเทศสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับสิ่งต่อไปนี้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่:
- การว่างงานพุ่งสูงขึ้นเป็นอย่างมาก: ในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุด พนักงานเกือบ 25% ตกงาน
- ค่าแรงที่ลดลง: แม้แต่คนที่ไม่ตกงานก็เริ่มมีรายได้ที่น้อยกว่าที่พวกเขาทำก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ระหว่างปี 1929 ถึง 1933 ค่าจ้างลดลงถึง 42.5%
- GDP ลดลงเป็นอย่างมาก
ในช่วง The Great Depression ธนาคารหลายแห่งล้มละลายระหว่างปี 1930 ถึง 1933
อย่างที่คุณเห็น ในการเปรียบเทียบภาวะเศรษฐกิจถดถอย กับ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อย่างหลังนั้นย่ำแย่กว่ามาก และโชคดีที่เราไม่ได้เผชิญกับมันบ่อยมากนัก
เช่นเดียวกับวิกฤตเศรษฐกิจในระยะยาว มันมีเหตุการณ์มากกว่าหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ มันเป็นการรวมกันของหลายๆ เหตุการณ์ รวมถึงการล่มสลายของตลาดหุ้นในปี 1929 และความแห้งแล้งอย่างรุนแรงในช่วงทศวรรษที่ 1930
ก่อนที่จะเกิดการล่มสลาย เศรษฐกิจนั้นก็ตกต่ำอยู่แล้ว การว่างงานเพิ่มมากขึ้น และการผลิตลดลง ทำให้หุ้นมีมูลค่าสูงเกินไป ในวันที่ 24 ตุลาคม 1929 หรือที่เรียกกันว่า “Black Thursday” นักลงทุนเทขายหุ้นเกือบ 13 ล้านหุ้นเพื่อส่งสัญญาณให้ผู้บริโภคทราบว่าพวกเขาคิดถูกเกี่ยวกับความมั่นใจที่ขาดหายไปของพวกเขา นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงระยะเวลาของหนี้ที่เพิ่มขึ้น การเข้ายึดสังหาริมทรัพย์ และความล้มเหลวของธนาคาร
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย กับ ภาวะเงินเฟ้อ
ภาวะเงินเฟ้อ นั้นจะแสดงถึงการเพิ่มสูงขึ้นของต้นทุนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเมื่อเวลาผ่านไป ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ค่าเงินจึงลดลง ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถซื้อบริการและผลิตภัณฑ์ได้น้อยลงในมูลค่าของเงินที่เท่าเดิม นั่นส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าภาวะเงินเฟ้อในระดับปานกลางอาจจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ เนื่องจากมันอาจจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้ แต่ภาวะเงินเฟ้อที่สูงจะเป็นข่าวร้ายสำหรับผู้บริโภคและเงินออมของพวกเขา
ภาวะเงินเฟ้อเกิดจากความต้องการบริการและผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น เมื่ออุปสงค์เพิ่มขึ้นจนเกินอุปทาน ราคาก็สูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้ออาจจะแสดงออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ มันเป็นการลดลงของกำลังซื้อของสกุลเงิน
ประเภทของภาวะเงินเฟ้อ
- ภาวะเงินเฟ้อจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น: นี่คือช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ นี่คือภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเมื่อมีความต้องการมากกว่าที่เศรษฐกิจจะผลิตได้
- ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มของต้นทุน: หมายถึงอัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายสูงขึ้น
- ภาวะเงินเฟ้อทั่วไป: เกิดจากเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลถึงปัจจุบัน คนงานอาจจะสามารถเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นได้
เมื่อสินทรัพย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ภาวะเงินเฟ้อจะเอื้ออำนวยต่อเจ้าของสินทรัพย์ มันจะไม่ส่งผลดีต่อผู้ที่มีเงินสดเนื่องจากมูลค่าของสกุลเงินจะลดลง โดยทั่วไปแล้ว ภาวะเงินเฟ้อควรจะถูกควบคุมโดยนโยบายการเงิน โดยธนาคารกลางจะกำหนดจำนวนเงินที่สามารถใช้ได้และในอัตราเท่าใด
ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากขึ้นกำลังวางแผนสำหรับการเกษียณอายุ คุณควรตระหนักว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นความชั่วร้ายที่จำเป็นภายในเศรษฐกิจของประเทศใดๆ ก็ตาม และคุณต้องคำนวณมันในกองทุนเพื่อการเกษียณของคุณด้วย
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยพร้อมภาวะเงินเฟ้อคืออะไร?
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยพร้อมภาวะเงินเฟ้อหรือที่เรียกว่า Stagflation (ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ) เป็นช่วงเวลาที่เงินเฟ้อสูงในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ตลอดช่วงเวลานี้ การว่างงานยังอยู่ในระดับสูง นักเศรษฐศาสตร์พบว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นเรื่องยากที่จะจัดการ เนื่องจากนโยบายใดๆ ที่จะช่วยสถานการณ์หนึ่งจะทำให้อีกฝ่ายแย่ลง นับตั้งแต่วิกฤตการณ์น้ำมันในทศวรรษ 1970 เศรษฐกิจของเราต้องเผชิญกับช่วงซบเซาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แม้ว่าครั้งหนึ่งพวกเราจะเคยคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่ตอนนี้นักเศรษฐศาสตร์ก็มีคำอธิบายหลายประการสำหรับช่วงเวลาของภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อนี้
ทฤษฎีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดข้อหนึ่งที่อธิบายว่าอะไรเป็นสาเหตุของภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็คือราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างกะทันหัน มันจะทำให้กำลังการผลิตของระบบเศรษฐกิจลดลง ตัวอย่างหนึ่งคือการคว่ำบาตรในปี 1973 ต่อประเทศตะวันตกที่กำหนดโดยองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ในช่วงเวลานี้ ค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาแพงกว่าในการผลิต และการขนส่งไปยังชั้นวางมีราคาแพงมากขึ้น ราคาพุ่งสูงขึ้นแม้ว่าผู้คนจะถูกเลิกจ้าง อย่างไรก็ตาม คนอื่นๆ เชื่อว่าการขึ้นราคาน้ำมันอย่างกะทันหันไม่ได้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อหรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยพร้อมกัน
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อในอดีต ได้แก่ นโยบายเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และการสูญเสียมาตรฐานของทองคำ
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย vs. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ vs. ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในช่วงเวลาเหล่านี้ เราจะได้เห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้จัดการได้ยาก หากการว่างงานเพิ่มมากขึ้น สิ่งต่างๆ จะเลวร้ายลงอย่างมาก และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รัฐบาลทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งสองอาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ
ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อนั้นเป็นมากกว่าการรวมกันของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำและอัตราเงินเฟ้อที่มากเกินไป ในช่วงนี้ ผู้บริโภคจะปรับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของตนเองเพื่อให้ตอบสนองต่อนโยบายการเงิน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาสูงขึ้นโดยไม่สัมพันธ์กับการว่างงานลดลง แต่อัตราการว่างงานอาจจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามผลกระทบทางเศรษฐกิจที่แท้จริงที่เศรษฐกิจรับรู้ได้ สรุปได้ว่าในช่วงที่เศรษฐกิจชะงักงันนั้น รัฐบาลอาจจะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินแบบขยายตัว ทำให้ราคาของสิ่งต่างๆ สูงขึ้นโดยไม่เป็นการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่างส่งผลกระทบ
โดยการตระหนักถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนวิกฤตเหล่านี้ คุณจะสามารถเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับภาวะเศรษฐกิจในขาลงได้ มันเป็นเรื่องปกติที่แต่ละคนจะเริ่มสูญเสียความมั่นใจในระบบเศรษฐกิจ แต่เพื่อความอยู่รอด เราต้องตระหนักถึงสถานการณ์ก่อน นอกจากนี้ การตระหนักถึงเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจนั้นควรจะเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางของคุณเพื่อบรรลุอิสรภาพทางการเงิน
โปรดจำไว้ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเกิดขึ้นเป็นประจำในทุกประเทศ และมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาจำกัด ตั้งแต่ 2-3 เดือนไปจนถึง 2 ปี แต่ยิ่งมันเกิดนานมากขึ้น ผลกระทบของมันอาจจะเริ่มมีมากขึ้น และในที่สุดก็อาจจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งสุดท้ายที่โลกประสบคือ The Great Depression ในช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าเราต้องไม่กังวล อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินเฟ้อเริ่มเข้าใกล้จุดที่น่าตกใจ และผู้บริโภคควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะอยู่รอดในช่วงเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้
คำถามที่พบบ่อย
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแตกต่างจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างไร?
ปี 2008 เป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ?
ใครได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย?
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเลวร้ายกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่?
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือไม่?
อะไรเกิดก่อนกันระหว่าง ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ?
อะไรเลวร้ายกว่ากันระหว่าง The Great Depression หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอย?
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นเหมือน The Great Depression หรือไม่?
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์