Trusted

PoW และ PoS กับสิ่งที่ต้องรู้

1 min
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

Proof of Work (PoW) และ Proof of Stake (PoS) ทั้งคู่นั้นเป็นทั้งวิธีการบรรลุความไว้วางใจและกระจายฉันทามติบน Blockchain

สินทรัพย์ Crypto จำนวนมากใช้กลไกฉันทามติเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เพิ่มลงในบัญชีแยกประเภท สิ่งนี้จะป้องกันการใช้จ่ายซ้ำซ้อน (ส่งสองธุรกรรมด้วยโทเค็นเดียวกัน) และเพิ่มข้อมูลที่ไม่ถูกต้องลงใน Blockchain มันจะมีกลไกฉันทามติที่แตกต่างกันมากมาย พวกมันมีวิธีการที่แตกต่างกันแต่ก็มีจุดประสงค์เดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการมอบหมายและให้รางวัลในการตรวจสอบ กลไกฉันทามติที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 2 แบบก็คือ Proof of Work และ Proof of Stake แต่สิ่งที่พวกมันแตกต่างกันคืออะไร?

เปรียบเทียบระหว่าง PoW และ PoS

เกี่ยวกับ Proof of Work

  • Proof of Work นั้นมีอยู่มาก่อนที่จะมี Bitcoin แนวคิดนี้เผยแพร่ครั้งแรกโดย Cynthia Dwork และ Moni Naor ในปี 1993 โดยอธิบายว่าเป็นวิธีการป้องกันสแปม อย่างไรก็ตาม คำว่า ‘Proof of Work’ นั้นตามมาหลังจากนั้น
  • Proof of Work นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบันสำหรับการใช้กับ Cryptocurrencies ในการผลิต Bitcoin นั้น นักขุดจะแข่งขันกันเพื่อไขปริศนาเพื่อที่พวกเขาจะได้สิทธิ์สร้างบล็อกและได้รับรางวัลเป็นเหรียญที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ ปริศนานี้เป็นสิ่งที่เราเรียกว่า ‘Proof of Work’
  • วิธีเดียวที่จะเพิ่มโอกาสในการไขปริศนาด้วยฉันทามติของ Proof of Work คือการใช้พลังในการคำนวณมากขึ้น โดยพื้นฐานแล้ว โอกาสในการตรวจสอบบล็อกของคุณเท่ากับจำนวนรอบการคำนวณที่ฮาร์ดแวร์ของคุณสามารถผ่านไปได้
  • Proof of Work เป็นกลไกฉันทามติที่ใช้โดย Cryptocurrencies ส่วนใหญ่ รวมไปถึง Bitcoin และ Ethereum แม้ว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 Ethereum จะถูกตั้งค่าให้อัพเกรดเครือข่ายและย้ายไปยังกลไก Proof of Stake

เกี่ยวกับ Proof of Stake

  • Proof of Stake นั้นไม่ได้ใช้ปริศนาทางคณิตศาสตร์ กลับกัน มันขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็นที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งได้รับอิทธิพลจากจำนวนเหรียญที่เดิมพันในช่วงเวลาหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่ง โอกาสในการสร้างบล็อกที่ถูกต้องจะเป็นสัดส่วนกับจำนวนเหรียญที่คุณ “ล็อค” หรือเดิมพัน ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มี 30 เหรียญมีแนวโน้มที่จะได้เป็นผู้ตรวจสอบบล็อกถัดไปมากกว่าผู้ที่มี 10 เหรียญ
  • ด้วย PoS มันจะไม่มีการสร้างเหรียญใหม่ เหรียญทั้งหมดนั้นได้ถูกสร้างขึ้นในตอนเริ่มต้น ผู้ตรวจสอบจะได้รับรางวัลเป็นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมซึ่งต่างจากเหรียญที่เพิ่งสร้างใหม่

เปรียบเทียบระหว่าง PoW และ PoS

1. ปริมาณการใช้ไฟฟ้า

ข้อเสียที่สำคัญประการหนึ่งของ Proof of Work คือการสูญเสียพลังงานมหาศาล จากบทความของ Digiconomist การขุด Bitcoin ต้องใช้พลังงานต่อปี (66.7 TWh) ซึ่งเท่ากับพลังงานที่ใช้โดยสาธารณรัฐเช็กทั้งหมด ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากร 10.6 ล้านคน ส่วน PoS นั้นมีการใช้พลังงานที่ลดลงอย่างมาก เนื่องจากผู้ขุดไม่จำเป็นต้องแข่งขันผ่านไฟฟ้าเพื่อเอาชนะบล็อก

  • ต้นทุนพลังงานที่ต่ำลงเหล่านี้ยังหมายความว่าทุกคนสามารถเข้าถึงบทบาทของการตรวจสอบความถูกต้องได้ เนื่องจากคุณไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ขุดที่ทรงพลังเพื่อเข้าร่วม อย่างไรก็ตาม บางคนรู้สึกว่า PoS นั้นมีความเสมอภาคที่น้อยกว่า ผู้ที่สะสม ETH จำนวนมากนั้นจะมีโอกาสชนะบล็อกสูงกว่า ซึ่งกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้คนรวยรวยยิ่งขึ้น

2. ความปลอดภัย

PoS นั้นค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับระบบ PoW ดังนั้น มันจึงไม่ได้รับการทดสอบอย่างเคร่งครัด PoW โดยกำเนิดนั้นจะกีดกัน Blockchain จากการแยกตัวออก หาก Blockchain แยกตัวออก นักขุดจะต้องตัดสินใจว่าจะสนับสนุนเชนใด นักขุดจะต้องแยกทรัพยากรในการคำนวณของพวกเขา ใน PoS เมื่อ Blockchain แยกตัวออก ผู้ตรวจสอบสามารถลงชื่อออกได้ทั้งสองด้านและเรียกร้องค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเป็นสองเท่า เป็นปัญหาที่เรียกว่า ‘nothing at stake’

3. การกระจายศูนย์

ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากการใช้พลังงานและฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นต้องใช้ การขุดจึงถูกจำกัดให้อยู่ในการดำเนินการในสเกลที่ใหญ่ สิ่งนี้คุกคามธรรมชาติการกระจายศูนย์ของเครือข่ายที่มีความสำคัญยิ่งต่อลักษณะพื้นฐานของทรัพย์สิน Crypto อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคอมพิวเตอร์ตามท้องตลาดได้รับอนุญาตให้ใช้สำหรับ PoS การกระจายศูนย์จึงเป็นไปได้มากขึ้น

4. การกระจายอุปทาน

สำหรับ PoW ค่าใช้จ่ายนั้นจะเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ซึ่งมักจะหมายความว่านักขุดเลือกที่จะขายเหรียญของตนแทนที่จะถือไว้ สิ่งนี้สร้างสภาพคล่องในตลาดอย่างเท่าเทียมกัน ในทางกลับกัน PoS นั้นสนับสนุนการกักตุนเอาไว้เนื่องจากผู้ถือจะได้รับรางวัลสำหรับการมีเหรียญมากกว่า

5. โอกาสของ ‘การโจมตี 51%’

การโจมตี 51% คือเมื่อผู้ขุดหรือกลุ่มขุดควบคุมพลังของคอมพิวเตอร์มากกว่าครึ่งหนึ่งในเครือข่าย ณ จุดนี้ พวกเขาสามารถสร้างบล็อกธุรกรรมที่ฉ้อโกงและทำให้ผู้อื่นเป็นโมฆะได้ ด้วย PoS สถานการณ์นี้จะไม่เอื้ออำนวยต่อนักขุด มันจะไม่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อคุณที่จะมีหุ้น 51% ในเหรียญและโจมตีเครือข่ายที่คุณถือหุ้นใหญ่อยู่ หากมูลค่าของ Cryptocurrency ลดลง มูลค่าที่คุณถือครองจะลดลงด้วย ดังนั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่จึงได้รับแรงจูงใจในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายให้คงอยู่ไว้

นอกจาก Bitcoin แล้ว ยังมี Litecoin ที่ใช้ PoW ส่วน Ethereum นั้นอยู่ระหว่างการเปลี่ยนไปใช้ระบบ PoS

อัลกอริธึมฉันทามติอื่นๆ

มีอัลกอริธึมฉันทามติอื่นๆ อีกหลายประเภทที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ แต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป เหรียญบางเหรียญ (เช่น Peercoin PPC) ยังถึงกับใช้ระบบแบบผสม สุดท้ายแล้ว พวกมันทั้งหมดนั้นพยายามที่จะบรรลุการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างการทำงานและความปลอดภัยพร้อมความสามารถในการปรับขนาด หวังว่าตอนนี้ คุณจะมีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง Proof of Work และ Proof of Stake แล้ว

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน