Trusted

9 เคล็ดลับในการใช้ ChatGPT Prompts เขียน JD ที่สมบูรณ์แบบ

15 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

ChatGPT ของ OpenAI เป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ได้รับความสนใจในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นอย่างมาก แต่คุณจะสามารถใช้เครื่องมืออันทรงพลังนี้ในการสรรหาผู้ที่มีความสามารถได้อย่างไร? ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงศิลปะในการใช้ ChatGPT Prompts เขียน JD อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเรื่องการสร้างคำอธิบายที่น่าสนใจ, แม่นยำ, และน่าดึงดูดสำหรับผู้ที่กำลังมองหางาน หรือ ผู้ที่มีทักษะในระดับสูงได้

หัวข้อต่างๆ ในบทความ

ทำไมต้องใช้ ChatGPT เขียน JD?

ChatGPT แชทบอทที่ขับเคลื่อนโดย AI ซึ่งมีผู้ใช้งานถึง 1 ล้านคนภายในเวลาเพียง 5 วันแรกในช่วงที่มันเปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2022 ถือเป็นความสำเร็จที่น่าทึ่งเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มชั้นนำอื่นๆ เช่น Netflix และ Twitter

ช่วงเวลาในการมีผู้ใช้งานถึง 1 ล้านคนของ ChatGPT
ช่วงเวลาในการมีผู้ใช้งานถึง 1 ล้านคนของ ChatGPT: Tooltester.com

ChatGPT เป็นเครื่องมือประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI แชทบอทเหล่านี้จะสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติ (เหมือนมนุษย์) และสามารถตอบคำถามและช่วยเหลือคุณในงานต่างๆ ได้ เช่น การเขียนอีเมล, การเขียนเรียงความ, หรือ การเขียนโค้ด เป็นต้น

ChatGPT มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการช่วยให้เหล่า Recruiter (ผู้ที่สรรหาบุคลากรให้กับองค์กร) และ HR (ฝ่ายบุคคล) สามารถสร้าง Job Descriptions (คำบรรยายลักษณะงาน) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะมี ChatGPT คุณจะต้องสรุปข้อมูลโดยละเอียด และแบ่งรายละเอียดงานออกเป็นส่วนต่างๆ ซึ่งอาจจะประกอบด้วยตำแหน่งงาน, รายละเอียดงาน, ความรับผิดชอบของงาน, ทักษะที่ต้องการ และอื่นๆ อีกมากมาย

ด้วย ChatGPT เหล่า HR จะสามารถสร้าง JD ได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่ามันจะไม่สามารถช่วยทำงานทั้งหมดให้กับคุณได้ แต่ก็จะสามารถช่วยเหลือคุณได้อย่างแน่นอน สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ เรียนรู้วิธีการเขียน ChatGPT Prompts อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้คุณได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับ Job Descriptions ของคุณ ถึงแม้ว่าแชทบอทอาจจะมีความสามารถที่หลากหลาย แต่ความสามารถของผู้ใช้งานในการป้อน Prompts (ชุดคำสั่ง) ที่เหมาะสมก็ถือเป็นกุญแจสำคัญในการใช้เครื่องมือนี้ให้ประสบผลสำเร็จ

ค้นหาผู้ที่เหมาะสมกับงานของคุณ

ค้นหาผู้ที่เหมาะสมกับงานของคุณ

Be[in]Crypto Job Board
เรียนรู้เคล็ดลับจาก Web3 HR ระดับมืออาชีพ

เรียนรู้เคล็ดลับจาก Web3 HR ระดับมืออาชีพ

คอมมูนิตี้สำหรับชาว Web3 HR มืออาชีพ

วิธีการใช้ ChatGPT เขียน JD ให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

วิธีการใช้ ChatGPT เขียน JD อย่างประสิทธิภาพ

Job Descriptions (JD) หรือ คำบรรยายลักษณะงาน ไม่เพียงแต่อธิบายถึงบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งงานเท่านั้น แต่มันยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดผู้สมัครที่มีศักยภาพอีกด้วย ดังนั้น แทนที่จะรวมทุกอย่างไว้ใน Prompts เดียว เราขอแนะนำให้แยกเนื้อหางานใหญ่ๆ ออกเป็นงานย่อยๆ จะดีกว่า ซึ่งเราได้สรุปส่วนที่สำคัญและรวม ChatGPT Prompts ต่างๆ ไว้ให้ในแต่ละขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว

1. เข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการ

ก่อนที่คุณจะเริ่มเขียน JD ด้วยตัวเอง หรือ ขอให้ ChatGPT เขียน JD ให้กับคุณ สิ่งที่สำคัญก็คือ คุณจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทที่คุณต้องการจะรับสมัครอย่างชัดเจน

บางครั้ง Hiring Manager (ผู้จัดการฝ่ายการจ้างงาน) อาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงความคาดหวังจากสิ่งที่ต้องการจากผู้สมัครได้อย่างชัดเจน หรือบางครั้ง พวกเขาก็เพียงแค่ให้คำอธิบายของลักษณะงานโดยทั่วไปแก่ฝ่าย HR ซึ่งมีรายละเอียดไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้สมัครเข้าใจเนื้อหางานในเชิงลึกได้ ในกรณีเช่นนี้ หากคุณไม่คุ้นเคยกับความเชี่ยวชาญพิเศษในสาขานั้นๆ คุณสามารถใช้ ChatGPT เพื่อระดมความคิดและเลือกไอเดียบางอย่างขึ้นมาได้ เช่น ความรับผิดชอบหลัก, คุณสมบัติที่ต้องการ และทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานดังกล่าว

ตัวอย่าง Prompts: “ขอรายละเอียดเกี่ยวกับความรับผิดชอบหลัก, คุณสมบัติ, และทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง [ตำแหน่งงาน] ของบริษัทของเรา”

หมายเหตุ: ถึงแม้ว่า ChatGPT อาจจะช่วยคุณได้เป็นอย่างมาก แต่อย่าใช้มันเป็นเพียงแหล่งข้อมูลเดียวของคุณ นำข้อมูลที่คุณได้รับมาจาก ChatGPT ไปตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถเข้าใจมันได้หรือไม่ จากนั้น ให้ปรึกษาเรื่องคำอธิบายเหล่านี้กับ Hiring Manager ของคุณ มันถูกต้องหรือแม่นยำตามที่ต้องการหรือไม่? จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงใดๆ หรือไม่? คุณจะปรับข้อความเหล่านี้ให้สื่อถึงตำแหน่งงานที่คุณต้องการรับสมัครได้อย่างถูกต้องได้อย่างไร?

2. กำหนดหน้าที่หลักของตำแหน่งงาน

ยิ่งมีรายละเอียดของตำแหน่งงานในเนื้อหาที่ใช้ลงประกาศรับสมัครงานมากเท่าใด โอกาสที่จะค้นหาคนที่เหมาะสมกับงานได้ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เราขอให้ ChatGPT เขียนหน้าที่หลักของตำแหน่งงานสำหรับวิศวกรซอฟต์แวร์ และนี่คือสิ่งที่เราได้รับ:

ในฐานะวิศวกรซอฟต์แวร์ของ [ชื่อบริษัท] หน้าที่หลักของคุณคือ:

  • การออกแบบและพัฒนาโซลูชั่นซอฟต์แวร์ล้ำสมัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผลิตภัณฑ์ของเรา
  • ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับทีมงานต่างๆ เช่น ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ และ นักออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติที่หลากหลายขึ้นมา
  • ใช้ทักษะในการแก้ไขข้อบกพร่องและปัญหาต่างๆ เพื่อทำการระบุและแก้ไขข้อบกพร่องและปัญหาด้านประสิทธิภาพต่างๆ ของซอฟต์แวร์
  • รับประกันคุณภาพโค้ดที่ดีโดยการจัดทำเอกสารอย่างละเอียด รวมไปถึง สร้างตัวควบคุมเวอร์ชั่น และมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบโค้ด
  • อัพเดตข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเทรนด์ของเทคโนโลยี, เฟรมเวิร์ค, และภาษาโปรแกรมล่าสุด เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์เพื่อให้แน่ใจว่า ทรัพยากรจะถูกใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม
  • นำเสนอแนวคิดของคุณในการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการออกแบบระบบ, วางแผนในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพ, และการปรับปรุงความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์
  • มีส่วนร่วมในวิธีการพัฒนาแบบ Agile ส่งเสริมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการปรับปรุงซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง
  • ให้คำปรึกษาแก่นักพัฒนาระดับ Junior, แบ่งปันความรู้และทักษะของคุณ, และส่งเสริมวัฒนธรรม Technical Excellence (ความเป็นมืออาชีพในการพัฒนาซอฟต์แวร์)
  • การสร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาซอฟต์แวร์, เสนอแนะเรื่องการปรับปรุงกระบวนการและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้งาน
  • เข้าร่วมทีมของเราและมีส่วนร่วมในภารกิจของการสร้างโซลูชั่นซอฟต์แวร์ที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง และนำบริษัทของเราไปสู่การประสบความสำเร็จ

ที่ BeInCrypto ทีมงานฝ่าย HR และ Recruitment ของเราจะให้ข้อมูลรายละเอียดงานให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อช่วยให้ผู้สมัครงานมั่นใจได้ว่า ตำแหน่งงานดังกล่าวดังกล่าวเหมาะสมกับพวกเขาหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ใน JD บางส่วน ทีม HR จะเน้นย้ำถึงเป้าหมายในอนาคตของบริษัท และโปรเจกต์บางส่วนที่ผู้สมัครจะเข้ามามีส่วนร่วม

ในกรณีนี้ เราสามารถใช้ ChatGPT เพื่ออธิบายถึงหน้าที่หลักๆ ของตำแหน่งงานได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ผู้สมัครเข้าใจได้ว่า การมีส่วนร่วมของพวกเขาจะส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรได้อย่างไร

ตัวอย่าง Prompts: “เขียนคำอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับหน้าที่หลักของตำแหน่ง [ตำแหน่งงาน] โดยเน้นย้ำด้วยว่า บุคคลในตำแหน่งนี้จะมีส่วนช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างไร”

3. เลือก Prompts ที่เหมาะสม

ด้วย Prompts ที่ออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลจะสามารถได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและแม่นยำจาก ChatGPT ได้

การสร้าง Prompts ที่ดีนั้นเป็นเรื่องง่ายเมื่อคุณใช้โครงสร้างที่ถูกต้องและขจัดความไม่แน่นอนออกไป ยิ่ง Prompts ของคุณมีความละเอียดมากเท่าไหร่ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

Lucas Pimentel, นักพัฒนา AI: Forbes

ในทางปฏิบัติ คุณสามารถทำได้โดยการใช้ Prompts ทั่วไปที่มีความตรงไปตรงมา (เช่น เขียน Job Description ง่ายๆ สำหรับ Copywriter ใน Web3) หรือ คุณอาจจะกำหนดบทบาทและมอบหมายงานที่มีความชัดเจนและแม่นยำให้กับแชทบอท ซึ่งอาจจะมีลักษณะดังนี้: “ลองจินตนาการว่าคุณเป็น Copywriter ใน Web3 ที่กำลังหางานในบริษัทที่มีการกระจายอำนาจและเน้นการทำงานจากระยะไกลซึ่งเชี่ยวชาญด้าน Crypto”

ตัวอย่าง Prompts: “คุณจะรับบทบาทเป็น [ตำแหน่งงาน] และให้คำแนะนำเกี่ยวกับทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งหมดสำหรับสายงานนี้ [เช่น] และสิ่งใดที่พวกเขากำลังมองหาในงาน [ตัวอย่าง] และในบริษัท”

4. สร้างชื่อตำแหน่งงานที่สมบูรณ์แบบด้วย ChatGPT

ตอนนี้ก็ได้เวลา Copy-Paste ผลลัพธ์ที่คุณได้ในมาในเอกสารเบื้องต้นแล้ว จากนั้น ให้ลองเล่นกับ ChatGPT Prompts ของคุณเล็กน้อย

การเลือกใช้ชื่อตำแหน่งงานที่เหมาะสมสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมาก มันจะช่วยให้ผู้สมัครค้นหาและเข้าถึงตำแหน่งงานดังกล่าวผ่าน “เซิร์ชเอนจิ้น” หรือ “กระดานข่าวรับสมัครงาน” ได้ง่ายยิ่งขึ้น หากคุณไม่แน่ใจว่าจะสร้างชื่อตำแหน่งงานที่น่าสนใจได้อย่างไร ให้ลองใช้ ChatGPT เพื่อสร้างชื่อตำแหน่งงานที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทของตำแหน่งงานนั้นได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่าง Prompts: “แนะนำชื่อตำแหน่งงานสำหรับตำแหน่ง [ตำแหน่งงาน] ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบของหน้าที่ของตำแหน่งงานได้อย่างถูกต้องและสามารถดึงดูดผู้สมัครยุคใหม่ได้”

5. สร้างคำอธิบายตำแหน่งงานที่กระชับและมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้อ่านได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการแบ่งรายละเอียดงานออกเป็นส่วนย่อยต่างๆ ได้แก่ ตำแหน่งงาน, ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร, ข้อความที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับงาน, คุณสมบัติและทักษะที่จำเป็น, และข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับบริษัท

หัวเรื่องและคำเปิดถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากมันจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการถามคำถาม, แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่ชัดเจน, หรือ เน้นย้ำถึงค่านิยมของบริษัทที่กำลังเปิดรับสมัครงาน ตัวอย่างเช่น ที่ BeInCrypto การกระจายอำนาจ, ความเป็นอิสระของพนักงาน, และสภาพแวดล้อมในการทำงานจากระยะไกล มักจะเป็นข้อเสนอที่ดึงดูดความสนใจของผู้สมัครได้เป็นจำนวนมาก

ในส่วนนี้ ให้หลีกเลี่ยงการใช้ข้อความยาวๆ และใช้ Bullet Points แยกหัวข้อย่อยซึ่งจะช่วยให้ผู้สมัครอ่านข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ มันยังเป็นความคิดที่ดีเสมอที่จะตรวจสอบไวยากรณ์อีกครั้งก่อนที่จะนำไปใช้งานจริง

Julia Motorina, หัวหน้าทีม HR ของ BeInCrypto ให้คำแนะนำว่า:

อย่าพึ่งพา ChatGPT เพียงอย่างเดียวในทุกๆ สถานการณ์ ฉันอยากจะแนะนำให้ลองตรวจสอบข้อมูลและไวยากรณ์ดูอีกครั้ง ใช้มันเพื่อเป็นเครื่องมือพิเศษในการช่วยเหลือคุณ แทนที่จะใช้มันเป็นแหล่งข้อมูลเดียวในการหาข้อมูลหรือเขียน JD ของคุณ ฉันมักจะขอให้มันปรับปรุง JD ที่ฉันมีอยู่แล้ว และลองเปลี่ยนภาษาให้มีความเป็นทางการน้อยลงซักนิด เป็นต้น

Julia Motorina, หัวหน้าทีม HR ที่ BeInCrypto

ตัวอย่าง Prompts: “ใช้ Bullet Points เพื่อแสดงหัวข้อย่อยของความรับผิดชอบที่ซับซ้อนของตำแหน่ง [ตำแหน่งงาน] ให้เป็นคำอธิบายที่กระชับและมีความชัดเจน ซึ่งผู้ใช้งานจะสามารถอ่านและทำความเข้าใจข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว”

ประโยชน์ของการใช้ ChatGPT เขียน JD

6. เน้นย้ำเรื่องคุณสมบัติและทักษะที่จำเป็นต้องมี

การเน้นย้ำเรื่องทักษะที่จำเป็นต้องมีใน Job Descriptions มีความสำคัญอย่างมากด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ ซึ่งรวมไปถึง การดึงดูดผู้สมัครที่เหมาะสม, การคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ, การประเมินระดับความสามารถของผู้สมัคร และอื่นๆ อีกมากมาย

ป้อนรายการทักษะและคุณสมบัติที่ต้องการลงใน ChatGPT เพื่อสร้าง JD ที่สามารถสื่อสารถึงสิ่งที่องค์กรกำลังมองหาในตัวผู้สมัครได้อย่างชัดเจน อย่าลืมใส่ข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ใน Prompts ของคุณเพื่อช่วยให้แชทบอททำงานได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อ Pimentel ขอให้ AI เขียนรายละเอียดให้กับเขา เขาจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสไตล์การเขียนที่เขาชอบ, วัตถุประสงค์ของข้อความ, และข้อมูลความเป็นมาใดๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนผลงานชิ้นนี้

ตัวอย่าง Prompts: “สร้างคำอธิบายที่สื่อสารได้อย่างชัดเจนถึงทักษะ, คุณสมบัติ, และประสบการณ์ที่เรากำลังมองหาในผู้สมัครสำหรับตำแหน่ง [ตำแหน่งงาน]”

7. เน้นย้ำถึงวัฒนธรรมองค์กร

การใส่ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมของบริษัทไว้ใน Job Descriptions ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากมันจะช่วยให้ผู้สมัครสามารถรับทราบถึงข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน, ค่านิยม, และความคาดหวังของบริษัทได้ ปัจจัยต่างๆ เช่น ความเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กร, สไตล์การทำงาน, ชื่อเสียง, ความหลากหลาย, ค่านิยม, และพันธกิจ ฯลฯ จะช่วยป้องกันเรื่องความไม่สอดคล้องและดึงดูดผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมได้

ใช้ ChatGPT เพื่ออธิบายถึงวัฒนธรรมองค์กร, สภาพแวดล้อมการทำงาน, และ สิทธิประโยชน์หรือสิทธิประโยชน์พิเศษใดๆ ของบริษัท คุณสามารถนำสิ่งนี้ไปรวมกับ JD ที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ และปรับแต่งมันได้ตามที่เห็นสมควร

ตัวอย่าง Prompts: “อธิบายถึงวัฒนธรรมองค์กร, สภาพแวดล้อมการทำงาน, และสิทธิประโยชน์หรือสิทธิพิเศษต่างๆ ของบริษัทในลักษณะที่สอดคล้องกับผู้สมัครที่สมัครในตำแหน่ง [ตำแหน่งงาน]”

8. ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับ “น้ำเสียงของบริษัท”

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ยิ่ง Prompts ของคุณเจาะจงมากเท่าใด ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น โดยทั่วไปแล้ว ChatGPT จะสร้างข้อความขึ้นมาในรูปแบบที่เป็นทางการ อย่างไรก็ตาม แชทบอทนี้ก็มีความสามารถในการเขียนในสไตล์หรือโทนเสียงที่แตกต่างออกไปได้ เพื่อทำเช่นนั้น คุณสามารถวางส่วนของข้อความ 2 ส่วนที่ตัดมาจากเว็บไซต์ของบริษัท และขอให้ ChatGPT สร้าง JD โดยอิงจาก Tone of Voice ดังกล่าวได้

ตัวอย่าง Prompts: “ปรับเปลี่ยนคำบรรยายลักษณะงานสำหรับ [ตำแหน่งงาน] เพื่อให้สะท้อนถึงน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของบริษัทของเรา โดยการผสมผสานรูปแบบของการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการและมีความสร้างสรรค์ของเราเข้าด้วยกัน ในขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งความเป็นมืออาชีพและการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์”

9. อย่าลืม CTA

ทำการสรุป Job Descriptions ด้วยคำกระตุ้นการตัดสินใจ (CTA) ที่ชัดเจน ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้สมัครรู้วิธีที่จะสมัครงานในตำแหน่งที่ว่างอยู่ก่อนที่จะออกจากเพจไป ChatGPT สามารถช่วยในการสร้างข้อความปิดท้ายซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้สมัครทำการสมัครงาน และทำการเน้นย้ำถึงขั้นตอนการสมัครงานได้

ตัวอย่าง Prompts: “สร้างย่อหน้าปิดท้ายที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการสมัครงานในตำแหน่ง [ตำแหน่งงาน] อย่างกระตือรือร้น โดยทำการสรุปขั้นตอนการสมัคร และแสดงให้เห็นถึงความตื่นเต้นที่มีต่อผู้สมัครที่มีศักยภาพ”

ChatGPT: เครื่องมือสารพัดประโยชน์ที่มาพร้อมข้อจำกัดที่ชัดเจน

ถึงแม้ว่าซอฟต์แวร์นี้จะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก และการเขียน JD ด้วยการใช้ ChatGPT จะช่วยประหยัดเวลาและให้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม แต่มันก็มาพร้อมกับข้อจำกัดบางประการ เมื่อ ChatGPT ให้ข้อมูล มันจะไม่ระบุแหล่งที่มาหรืออธิบายว่าเหตุใดมันจึงสำคัญ ลองนึกภาพการค้นคว้าในหัวข้ออะไรก็ตามโดยที่ไม่มีความรู้ใดๆ มาก่อน ในกรณีเช่นนี้ ChatGPT จะไม่มีการให้ข้อมูลอ้างอิงเพื่อระบุที่มาของข้อมูล ซึ่งทำให้เราเกิดความสงสัยเกี่ยวกับความรู้ในเชิงลึกของแชทบอทตัวนี้ได้

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบกรณีที่แชทบอทสร้างผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นถึงอคติ หรือในบางครั้ง ก็แสดงให้เห็นแม้กระทั่งการเหยียดเชื้อชาติ, การกีดกันทางเพศ, การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ, หรือองค์ประกอบที่เป็นปัญหาอื่นๆ วิธีที่ดีที่สุดคือการเลือกใช้งานมันอย่างระมัดระวัง และให้พิจารณาข้อมูลที่ได้รับมาด้วยความสงสัย กล่าวโดยสรุปก็คือ อย่ายกงานในการเขียน “คำบรรยายลักษณะงาน” ให้กับ ChatGPT อย่างเต็มที่ แต่ให้ใช้มันเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับผลงานของคุณแทน ปรับเปลี่ยนและแก้ไขไปตามที่คุณต้องการ และตรวจสอบดูอีกครั้งว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวถูกต้องและสอดคล้องกับคำถามของคุณหรือไม่

คำถามที่พบบ่อย

ChatGPT ช่วยปรับปรุงความแม่นยำในการเขียน “คำบรรยายลักษณะงาน” (JD) ได้อย่างไร?

การเน้นย้ำถึงวัฒนธรรมองค์กรใน JD มีความสำคัญอย่างไร?

การใช้ ChatGPT ในการเขียน JD มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน