Trusted

Blockchain ในไทย ปี 2023 ไปถึงไหนแล้ว? ทิศทางที่ส่งผลต่อธุรกิจในอนาคต

5 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

Blockchain หนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกไม่ต่างไปจากการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะระบบการเงินโลกทั้งในแง่ของมหภาคและจุลภาค สำหรับประเทศไทย ตอนนี้เราพัฒนาไปถึงจุดไหนแล้วในอุตสาหกรรมนี้?

บล็อกเชน คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์แบบไร้ตัวกลาง (Distributed Ledger) ทำให้ต้นทุนนั้นต่ำกว่า และมีการกระจายอำนาจข้ามพรมแดน ทำให้ระบบการเงินโลกเข้าสู่กระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ไร้ขอบเขตยิ่งกว่าเดิม

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ประชากรมีความสนใจในเทคโนโลยีนี้สูง แม้ในช่วงแรกเริ่มผู้คนจะถูกดึงดูดด้วยตลาด Cryptocurrency แต่ปัจจุบันมีผู้ที่ศึกษาและทำความเข้าใจมากขึ้นถึงโครงสร้างเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่เป็นรากฐานและนำมาประยุกต์ใช้สร้างกรณีการใช้งานในแง่ต่างๆ มากขึ้น ทำให้เกิดธุรกิจ และบริษัทใหม่ๆ ในประเทศ

ตลาด Blockchain ในประเทศไทย

ตลาดบล็อกเชนในไทย เริ่มเติบโตขึ้นโดยเฉพาะความนิยมที่ล้นหลามในช่วงตลาด Bitcoin Bull Run ปี 2018 จวบจนถึงปัจจุบัน

ความนิยมดังกล่าว ทำให้เกิดกระดานซื้อขายรวมศูนย์ภายในประเทศอย่าง Bitkub, Zipmex, Bitazza, และอื่นๆ อีกมากมาย ดังที่เราจะเห็นโฆษณาบิลบอร์ดในกรุงเทพอยู่เต็มไปหมดในช่วง 2018-2021 ก่อนที่ตลาดหมีจะเกิดขึ้น ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลเริ่มมีนโยบายต่างๆ ในการควบคุมและลดกระแสความนิยมลงไป

ท่ามกลางตลาดที่ซบเซา สิ่งที่ตามมาคือ “การศึกษาเทคโนโลยีบล็อกเชน” ที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักลงทุน สถาบันทางการเงิน บริษัทเอกชน หรือแม้แต่หน่วยงานรัฐ ทำให้ช่วงปี 2022 ถึงปัจจุบัน เราเริ่มเห็นบริษัทบล็อกเชนใหม่ๆ เกิดขึ้น หรือแม้แต่การพัฒนา CBDC หรือเงินดิจิทัลในประเทศไทย

การใช้งานบล็อกเชนในไทย

ปัจจุบันองค์กรที่ใช้ระบบ ERP (ERP, WPS, MES, CRM) อยู่ เริ่มมีการทดสอบและนำบล็อกเชนมาใช้ เพื่อช่วยในการจัดการธุรกรรมทางการเงิน การติดตามการซื้อและส่งสินค้า และการดูแลลูกค้า ให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วของลูกค้าโดยเราสามารถแบ่งกรณีการใช้งานคร่าวๆ ได้ดังนี้:

การใช้งานบล็อกเชนในไทย
  • ธุรกิจที่ต้องการความโปร่งใส ยกตัวอย่างเช่น การบริจาคเงินให้กับองค์กรต่างๆ
  • การติดตามสินค้าภายใน ยกตัวอย่างเช่น การติดตามเส้นทางขนส่งตั้งแต่ต้นทางผู้ผลิตไปจนถึงหน้าร้าน และการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ความปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น Toyota ที่นำบล็อกเชนมาปรับใช้กับระบบภายใน เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดเก็บข้อมูลจากผู้ผลิตรถยนต์และผู้ใช้งาน มาวิเคราะห์และเสริมความปลอดภัยทางด้านข้อมูลภายใน จากการโจมตีจากภายนอก
  • สำรองข้อมูล บล็อกเชน เป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อการสำรองข้อมูลภายในที่ดี เพราะจะไม่ถูกทำลายหรือถูกเปลี่ยนแปลงจากผู้ไม่หวังดีอย่างแน่นอน หากระบบการตรวจสอบแบบกระจายศูนย์ภายในถูกออกแบบเอาไว้ได้ดีพอ
  • ลิขสิทธิ์ ยกตัวอย่างเช่นแพลตฟอร์ม Streaming ชื่อ Peer Tracks ผู้ฟังสามารถจ่ายเงินได้โดยตรงไปยังศิลปินเจ้าของเพลง โดยไม่ต้องผ่านทางค่าย นอกจากนี้ยังมีตลาด NFTs ต่างๆ ที่ศิลปินสามารถขายงานของตนเองได้โดยตรง
  • การแพทย์ ในอนาคตอาจมีการนำบล็อกเชนมาเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลข้ามหน่วยงานของผู้ป่วย ที่จะช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคได้รวดเร็วมากขึ้น แทนระบบปัจจุบันที่ต้องรอการส่งมอบแฟ้มประวัติเวลาย้ายสถานที่การรักษา

บริษัท Blockchain ในไทย

เราจะจำแนกบริษัทออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้

กลุ่มกระดานซื้อขาย CEX

  • Bitkub
  • Zipmex
  • Bitazza
  • Satang
  • Coins.co.th

กลุ่ม Venture Capital

  • SCB/SCB10X (ธนาคารไทยพานิชณ์ ล่าสุดมีกองทุน Venture Capital มูลค่า 50 ล้านดอลลาร์ เพื่อการลงทุนริเริ่มในสินทรัพย์ดิจิทัล DeFi และบล็อกเชนในระยะเริ่มต้น รวมถึงการทำ Tokenization เช่น RealX และ ICO Portal)
  • Digital Ventures (เป็นบริษัทลูกของ SCB ที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ในระบบธนาคาร)
  • Krungsri Finnovate (เป็น Venture Capital ของธนาคารกรุงศรีเน้นสนับสนุนเงินทุนแก่บริษัทสตาร์ทอัพ)

กลุ่มพัฒนาบล็อกเชนเพื่อองค์กร

  • TBWG (คณะทำงานบล็อกเชนแห่งประเทศไทย เป็นการร่วมมือกันระหว่าง I AM Consulting, AtomicPay, Satang และ J Ventures)
  • Setis Co. LTD (บริษัทด้าน AI และการพัฒนา Machine Learning รวมถึงการใช้บล็อกเชนในการแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มธุรกิจ)
  • Atato (บริษัทเทคโนโลยีด้านสินทรัพย์ดิจิทัล เน้นบริการเพื่อเชื่อมต่อธุรกิจต่างๆ เข้ากับบล็อกเชน)
  • Finema Co. LTD (ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือสำหรับเทคโนโลยีการระบุตัวตนแบบไม่ใช้รหัสผ่าน)
  • OmiseGo (เป็นเครือข่าย L2 บน Ethereum บนเครือข่าย OMG โดยมีบริษัทแม่คือ SYNQA ที่เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนและการให้บริการ Digital Transformation และวางระบบการชำระเงินออนไลน์ให้กับองค์กรต่างๆ)
  • PolarBear100x (องค์กร Global Financial Robotics ที่นำ AI มาใช้สำหรับการซื้อขายอัตโนมัติ เพื่อการจัดการกองทุนในบล็อกเชนและผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนต่างๆ ทั้ง Futures, FX, และ Crypto บน DeFi ก่อตั้งโดย กิตตินุ หมวยเต็ง)

สรุป อนาคตของ Blockchain ในประเทศไทย

ดังที่ได้กล่าวมา เราเริ่มเห็นความสนใจในด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนที่มากขึ้นเรื่อยๆ จากทั้งสถาบันทางการเงิน กลุ่ม Fintech และการใช้งานสำหรับธุรกิจหรือองค์กรภายใน

นอกจากนี้สำหรับประเทศไทย องค์กรการกำกับดูแลก็มีการสนับสนุนทางด้านนี้ด้วยเช่นกัน ดังที่จะได้เห็นจากนโยบายทางด้านภาษี เพื่อผลักดันการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลและ RWA หรือ Tokenized Real-world Asset

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน