Hop Protocol คือ กลไกสำหรับการถ่ายโอนโทเค็นผ่านเครือข่าย Layer 1 ที่ใช้ร่วมกันอย่างรวดเร็วและไม่ต้องใช้ตัวกลาง มันให้บริการลูกค้าด้วยโทเค็นบริดจ์แบบ two-pronged สำหรับเครือข่าย Layer 2 ของ Ethereum
ปัจจุบันเครือข่าย Ethereum มีโซลูชันการปรับขนาดอยู่มากมาย โดยแต่ละโซลูชันก็จะมีโทเค็นการกำกับดูแลของตนเอง โซลูชันที่หลากหลายเหล่านี้ยังทำให้การถ่ายโอนโทเค็นจาก Layer 1 ไปยัง Layer 2 มีปัญหาเล็กน้อย นั่นคือตอนที่ Hop Protocol ก้าวเข้ามา โปรโตคอลนี้มีกลไกในการแลกเปลี่ยนโทเค็นระหว่างโซลูชันการปรับขนาด Ethereum ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ว่า Hop Protocol (HOP) คืออะไร? รวมถึงวิธีการทำงานและคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของมัน
Hop Protocol คืออะไร?
Hop Protocol เป็นกลไกสำหรับการถ่ายโอนโทเค็นผ่านเครือข่าย Layer 1 ที่ใช้ร่วมกันอย่างรวดเร็วและไม่ต้องใช้ตัวกลาง มันให้บริการลูกค้าด้วยโทเค็นบริดจ์แบบ two-pronged สำหรับเครือข่าย Layer 2 ของ Ethereum โซลูชันนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายโทเค็นอย่างรวดเร็วระหว่าง Layer 2 และโทเค็นการกำกับดูแลของโซลูชันการปรับขนาด
Hop Protocol ยังตั้งเป้าที่จะสร้างองค์กรอิสระแบบกระจายอำนาจ (DAO) ที่เน้นชุมชนซึ่งพยายามปรับปรุงความสามารถในการปรับขนาด Layer 2
Hop Protocol ทำงานอย่างไร?
Hop Protocol ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เลเวอเรจจาก Bonders ซึ่งได้รับค่าธรรมเนียมจากการให้สภาพคล่อง ในทางเทคนิคแล้ว ผู้ใช้งานจะส่งโทเค็นจำนวนเท่าใดก็ได้ไปยัง Bonders ในเชนต้นทาง ซึ่งเป็นที่ที่สินทรัพย์ถูกส่งไป หลังจากกระบวนการดังกล่าว Bonder จะส่งสินทรัพย์ไปยังคู่สัญญาของผู้ใช้งานในเชนปลายทาง
Hop Protocol มีส่วนสำคัญในการทำธุรกรรมโดยทำให้แน่ใจว่า Bonders ได้ส่งโทเค็นไปแล้ว ผู้ใช้งานคงจะไม่ยินดีหากพวกเขาส่งโทเค็นของพวกเขาไปยัง Bonders แต่พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงบล็อกเชนปลายทางได้ นอกจากนี้ ระบบยังใช้โทเค็นบางประเภทที่เรียกว่า hTokens โทเค็นเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นเทคนิคเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกรรมทั้งหมดได้รับการบันทึกอย่างถูกต้อง
hToken สามารถข้ามผ่านได้หลายเชน อย่างเช่น Ethereum ถึงโปรโตคอล L2 และในทางกลับกัน สิ่งที่สำคัญก็คือต้องเน้นว่าการย้ายโทเค็นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งอาจจะใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ ซึ่งอาจไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้งาน ดังนั้น Bonders จะจัดเตรียมสภาพคล่องให้กับลูกค้าเพื่อให้พวกเขาสามารถมีโทเค็นได้พร้อมๆ กันขณะที่พวกเขารอให้เครือข่ายโอน hTokens ให้เสร็จสิ้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถคิดได้ว่า hToken เป็นโทเค็นเงาที่ตามหลังโทเค็นของแท้มา
อะไรที่ทำให้ Hop Protocol ไม่เหมือนใคร?
ด้านล่างนี้คือคุณสมบัติเฉพาะของ Hop Protocol ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อโทเค็น ERC-20 ได้โดยทั่วไป
- Hop Protocol นำเสนอโรลอัพที่ปรับขนาดได้เพื่อโรลอัพโทเคนบริดจ์ทั่วไป การดำเนินการนี้ทำงานผ่าน Automated Market Maker (AMM) เพื่อสลับโทเค็นบริดจ์แต่ละตัวและโทเค็น Canonical ที่เกี่ยวข้องกันในแต่ละโรลอัพเพื่อให้มีสภาพคล่องตามราคาแบบที่เปลี่ยนแปลงได้ และสร้างแรงจูงใจในการปรับสมดุลสภาพคล่องของสภาพคล่องทั่วทั้งเครือข่าย
- Hop ใช้การป้องกันในระดับเดียวกับโรลอัพพื้นฐาน หมายความว่าผู้ใช้งานจะไม่มีวันสูญเสียหรือถูกขโมยทรัพย์สินไปได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือต้องทราบว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือ Bonders ออฟไลน์ ถึงอย่างนั้น ผู้ใช้งานจะได้ประสบกับความล่าช้าที่เทียบเท่ากับเวลาออกของโรลอัพ
- Hop มีกลยุทธ์ two-pronged เพื่อสร้างโทเค็นข้ามเครือข่าย และด้วยการใช้ AMM ทำให้มันสามารถทำธุรกรรมได้เป็นอันดับแรกและมีประสิทธิภาพ
- การเชื่อมต่อที่กำลังจะเกิดขึ้นเนื่องจากมันรองรับเครือข่ายปลายทางมากมาย มันจึงให้การเชื่อมต่อที่ดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ถูกจำกัดไว้ที่ Ethereum Mainnet และ Layer 2 เท่านั้น
- ในแง่ของการเก็บข้อมูลธุรกรรม Hop มีข้อจำกัดบางประการในด้านความสามารถในการถ่ายโอนสินทรัพย์เฉพาะทาง เนื่องจากตอนนี้ มันรองรับเฉพาะสินทรัพย์ 5 ประเภทเท่านั้น
hToken คืออะไร?
hTokens เป็นโทเค็นบริดจ์ข้ามเครือข่ายที่ผู้ใช้งานสามารถถ่ายโอนเป็นกลุ่มจากโรลอัพถึงโรลอัพ จากนั้นจึงรับสินทรัพย์ใน Layer 2 สำหรับสินทรัพย์อ้างอิงได้ พวกเขายังทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ตัวกลางภายใน Hop Protocol มันคือสะพานที่อนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนที่ไม่ต้องผ่านตัวกลาง นอกจากนี้ ผู้ใช้งานปลายทางจะไม่ได้โต้ตอบกับ hToken โดยตรง แต่โต้ตอบกับโทเค็น Canonical ของโรลอัพที่เหมาะสมแทน เหรียญ Hop Bridge แต่ละเหรียญแสดงถึงเงินฝาก Layer 2 ในสัญญา Hope Bridge Layer 2
หากคุณลงทุน 4 ETH ในสัญญา Hope Bridge Layer 2 คุณสามารถสร้าง 4 Hop ETH จากสัญญา Hop Bridge ของ Layer 2 ได้ ผู้ใช้งานสามารถแลกโทเค็น Hop Bridge กับสินทรัพย์พื้นฐานของพวกเขาใน Layer 2 ได้ ซึ่งจะทำให้โทเค็น Hop Bridge ที่ถูกแลกใน Layer 2 ถูกเผาไป ดังนั้นโทเค็น Hop Bridge ที่ถ่ายโอนจากโรลอัพหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งจึงถูกเผาและสร้างขึ้นในโรลอัพปลายทาง
Canonical Token: มันคืออะไร?
คำว่า “Canonical Token” หมายถึงโทเค็น Layer 1 ที่เชื่อมต่อภายในโปรโตคอล Layer 2 ตัวอย่างเช่น โทเค็น DAI ของ Layer 2 จะเป็นโทเค็น Canonical ของโทเค็น DAI ของ Layer 1 การใช้โทเค็นบริดจ์อย่างเป็นทางการสำหรับ Layer 2 ผู้ใช้งานอาจจะส่งและรับโทเค็น Layer 1 และโทเค็น Layer 2 ที่เป็นตัวแทนที่มีมูลค่าเทียบเท่าของโทเค็น Layer 1
นอกจากนี้ มันยังอาจจะให้ตัวเลือกแก่ผู้ใช้งานในการแปลงเป็นโทเค็น Layer 2 ที่เป็นตัวแทนได้ ถึงแม้ว่าจะมีตัวแทนของโทเค็น Layer 2 มากมายสำหรับ Layer 1 แอพพลิเคชันมักจะพึ่งพาตัวแทนโทเค็น Layer 1 ตัวเดียวมากกว่า มันก็เพื่อประโยชน์สูงสุดของโปรแกรมที่จะเข้ากันได้กับแอพอื่นๆ ในโรลอัพ
รูปแบบ Canonical ของโรลอัพ (canonical ETH/ canonical DAI) เป็นตัวแปรที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุด อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ โทเค็น Canonical จะถูกสร้างขึ้นโดยใช้โทเคนบริดจ์ดั้งเดิม เว้นแต่จะมีโทเค็นของแอพพลิเคชันอยู่ ในกรณีนี้ เวอร์ชันที่สร้างผ่านการเชื่อมต่อแอพพลิเคชันจะถูกเลือกมาใช้งานแทน
โทเค็น HOP คืออะไร?
เพื่อให้เข้าใจ Hop Protocol มากยิ่งขึ้น มันจำเป็นจะต้องเข้าใจว่าโซลูชัน Layer 2 ทำงานอย่างไร โซลูชันเหล่านี้อยู่บนเมนเน็ตของบล็อกเชนหรือ Layer 1 และใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันเพื่อเพิ่มปริมาณการทำธุรกรรมและลดต้นทุนการทำธุรกรรม มันช่วยรักษาความปลอดภัยของเชน Layer 1 ในขณะที่เปิดใช้งานการประมวลผลธุรกรรมเพิ่มเติม
เมื่อคุณใช้ Hop Protocol เพื่อถ่ายโอนโทเค็น จะมีการสร้างโทเค็นใหม่ที่เรียกว่า hToken ขึ้นมา โทเค็นเหล่านี้ระบุสถานะของคุณ (hETH, hDAI เป็นต้น) และอาจจะโอนข้ามเครือข่ายได้ในราคาถูก จากนั้น hToken เหล่านี้จะถูกแลกเปลี่ยนเป็นโทเค็นบนเชนที่เหมาะสมและส่งมอบมันให้กับผู้ส่ง เทคนิคการแลกเปลี่ยนโทเค็นนี้จะเป็นการหลีกเลี่ยงการส่งโทเค็นโดยตรงและขึ้นอยู่กับตัวแทนโทเค็นเพื่อลดค่าใช้จ่าย โปรโตคอลนี้ยังได้เปิดใช้งานการรวมกลุ่มโทเค็นและการ Staking โซลูชั่น Layer 2 หลายตัว ช่วยให้ผู้ใช้’koได้รับรางวัลโดยไม่ต้องโอนโทเค็นไปยังเครือข่ายหลัก
การจัดสรรโทเค็น HOP
โทเค็น HOP เป็นโทเค็นการกำกับดูแลของบล็อกเชน มันให้อำนาจแก่ผู้ใช้งานในการโหวตตามจำนวนโทเค็นที่พวกเขาเป็นเจ้าของ พวกเขาอาจจะใช้คะแนนเสียงเหล่านี้เพื่อพิจารณาไอเดียต่างๆ เช่น โทเค็นที่สามารถซื้อขายได้ การเพิ่ม Layer 2 และการบริหารเงินคงคลัง
ราคาซื้อขายของ Hop ในปัจจุบันคือ 0.10 ดอลลาร์ อุปทานสูงสุดคือ 1 พันล้านเหรียญ HOP และการจัดสรรโทเค็นมีดังนี้:
- 60.5% อยู่ในคลัง
- 22.45% เป็นงบประมาณให้กับทีม
- 8% ให้กับ Airdrops
- 6.25% สำหรับผู้ถือหุ้น
- 2.8% สำหรับทีมงานทีมต่อไป
วิธีการซื้อโทเค็น HOP
HOP นั้นมีให้บริการในกระดานเทรดแบบกระจายอำนาจ (DEX) เช่น SushiSwap หรือ Uniswap ค้นหา HOP และซื้อขายสินทรัพย์ที่คุณถืออยู่ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามี ETH จำนวนเล็กน้อยเพื่อชำระค่าแก๊ส คุณจะต้องมีสินทรัพย์บางส่วนเพื่อเริ่มซื้อขายภายในกระเป๋าเงินของคุณ
จักรวาลแห่งความสามารถที่ไม่ธรรมดาของ Hop
Hop Protocol กำลังทำงานเกี่ยวกับปัญหาที่สำคัญภายในโซลูชันการปรับขนาด Ethereum มันสามารถปรับปรุงการใช้โซลูชันการปรับขนาดเหล่านี้ได้ ซึ่งสามารถปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดียิ่งขึ้นไปอีก มันยังมีแนวคิดที่น่าสนใจบางอย่างที่กำลังดำเนินการอยู่ แต่ก็มีเพียงเวลาเท่านั้นที่จะบอกได้ว่ามันจะเป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่
HOP นั้นยังเป็นโครงการที่น่าจับตามอง คุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของมันอาจจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโดยรวม เนื่องจากการปรับขนาด Ethereum นั้นเป็นส่วนสำคัญของตลาด DeFi
คุณยังไม่แน่ใจหรือว่า Hop Protocol ทำงานอย่างไร? คุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดหลักๆ ที่มันกำลังดำเนินการอยู่งั้นหรือ? ลองเข้าไปดูที่กลุ่ม BeInCrypto Telegram สิ สมาชิกในกลุ่มทุกคนนั้นพร้อมที่จะตอบคำถามของคุณอย่างเต็มใจและมีความสุขแน่นอน
คำถามที่พบบ่อย
Hop Protocol คืออะไร?
คุณจะใช้ Hop Protocol ได้อย่างไร?
Hop Protocol มีโทเค็นหรือไม่?
โทเค็น HOP คืออะไร?
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์