ดูเพิ่มเติม

โหนด (Node) คืออะไร? Nodes มีกี่ประเภท มันทำงานอย่างไรใน Blockchain?

2 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

Node (โหนด) คือ ผู้ที่มีส่วนร่วมทุกๆ คน หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับระบบ Blockchain โดยโหนดแต่ละโหนดก็คือ คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์แต่ละเครื่องนั่นเอง โดยโหนดจะมีส่วนสำคัญมาดในระบบเครือข่ายแบบ Decentralization ในการเชื่อมต่อสื่อสารหากัน

Nodes คืออะไร? องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการปฏิวัติ Bitcoin ที่เรียกว่าคือการใช้บล็อกเชน — ซึ่งเป็นบัญชีแยกประเภทสาธารณะแบบกระจายอำนาจ สิ่งนี้ทำให้ธุรกรรมทั้งหมดเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์และกระจายอำนาจ แต่มันก็หมายความว่าชุมชนของผู้ที่ชื่นชอบ Bitcoin จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่ทำได้ผ่านการรัน Network Nodes (โหนดเครือข่าย)

บทความนี้เราจะมาเจาะลึก ทำความเข้าใจถึงความสำคัญของ Nodes ในเทคโนโลยีบล็อกเชน นอกจากนี้ เราก็จะมาดูกันว่าการกระจายอำนาจมีความหมายต่อ Cryptosphere อย่างไร และเรายังจะตรวจสอบว่าการเรียกใช้ Mining Nodes (โหนดการขุด) ยังคงเป็นสิ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคุณได้มากอยู่หรือไม่

Node คืออะไร

Node (โหนด) คือ คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดๆ ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายบล็อกเชน เครือข่ายสกุลเงินดิจิทัล โดยทุกๆ โหนดจะเชื่อมต่อกัน เพื่อที่จะสื่อสารและช่วยดูแล ตรวจสอบความถูกต้อง และความปลอดภัยให้ Blockchain

Node มีความสำคัญกับระบบบล็อกเชน เนื่องจาก Blockchain คือ ระบบแบบกระจายศูนย์ (Decentralization) ไม่ได้มีตัวกลาง จึงต้องพึ่งพาระบบ Peer-to-Peer (P2P) ที่ทำให้โหนดต้องเข้ามาเชื่อมต่อกันเพื่อสื่อสารกัน เมื่อบล็อกเชนถูกเพิ่มข้อมูลเข้ามา โหนดจะเชื่อมต่อสื่อสารไปยังโหนดอื่นๆ ภายในเครือข่ายและส่งข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมและ Block ใหม่ที่เข้ามานั่นเอง

โหนดมีกี่ประเภท? (Types of Blockchain Nodes)

ตอนนี้เรารู้แล้วว่า โหนดเป็นคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายที่รับและแบ่งปันข้อมูลอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะใช้ในการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของเครือข่าย อย่างไรก็ตาม โหนดเองก็สามารถมีลักษณะที่แตกต่างกันได้ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับพลังภายในเครือข่ายและความสามารถของพวกมัน

โหนดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • Full Node
  • Light Node

โหนดประเภท Full Node

จะเป็นโหนดที่เก็บข้อมูลธุรกรรม (Transactions) ต่างๆ ใน Blockchain ทั้งหมดตั้งแต่เริ่มแรกจนปัจจุบัน ซึ่งทำให้โหนดประเภทนี้จะต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความจำสูงมาก โดยจะยังสามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

Archival Full Nodes

Full Nodes นี้เป็นอยู่ที่ใจกลางของเครือข่ายบล็อกเชน พวกมันมีความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่องที่ว่าพวกมันจะมอบสิทธิในการกำกับดูแลให้ มันจะต้องใช้คะแนนโหวตโหนดส่วนมากในการยอมรับข้อเสนอต่างๆ นอกจากนี้ เสียงส่วนใหญ่นี้ยังสามารถนำไปสู่การจัดทำ Hard Fork

ไม่เหมือนกับโหนดอื่นๆ ในบทความ Archival Full Nodes จะบันทึกบล็อกเชนทั้งหมด โดยระบุรายละเอียดของทุกธุรกรรม การตรวจสอบความถูกต้องของโหนดและการบำรุงรักษาฉันทามติเป็นการใช้งานหลักของมัน Archival Nodes บางโหนดสามารถเพิ่มบล็อกให้กับเครือข่ายได้ ในขณะที่บางโหนดไม่สามารถทำได้

โหนดประเภทนี้สามารถแยกย่อยได้อีก 4 โหนด

  • Mining Nodesจะยืนยันธุรกรรมที่จำเป็นสำหรับการสร้างบล็อกข้อมูลใหม่โดยใช้ระบบฉันทามติแบบ Proof of Work เพื่อให้บรรลุสิ่งนี้ หรือคือการใช้คอมพิวเตอร์แก้สมการในระบบหรือเรียกว่าการขุดนั่นเอง โดยนักขุดจะได้รับรางวัลสำหรับผลประโยชน์เพิ่มเติมที่พวกเขานำมาสู่บล็อกเชน
  • Authority Nodesใช้สำหรับบล็อกเชนแบบรวมศูนย์ เจ้าของเครือข่ายเหล่านี้จะตัดสินใจเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม ในระบบ Delegated Proof of Stake ผู้ใช้งานของเครือข่ายจะลงคะแนนว่าใครจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกต่อไป อย่างไรก็ตาม ในเชิงเทคนิค Authority Nodes มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ Full Nodes
  • Master Nodes – Master nodes นั้นคล้ายกับ Full Nodes แต่ไม่สามารถเพิ่มบล็อกให้กับเครือข่ายและจะทำงานในการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมเท่านั้น ในกรณีนี้ เช่นเดียวกับนักขุด เจ้าของ Masternodes นั้นจะได้รับรางวัลที่เป็นตัวแทนโทเค็นดั้งเดิมของเครือข่าย
  • Staking Nodes – เป็นโหนดประเภทที่เพิ่มบล็อคเข้าไปโดยใช้ระบบฉันทามติแบบ Proof of stake โดยเป็นการฝากเหรียญเข้าระบบ เพื่อแลกกับการผลตอบแทนจากการฝาก

Pruned Full Nodes

Pruned Full Nodes นั้นจะช่วยประหยัดพื้นที่จัดเก็บเช่นกัน พวกเขาจะ “ตัด” บล็อกที่เก่ากว่าในเครือข่ายโดยการลบมันออก ในท้ายที่สุด Pruned Full Nodes จะเก็บรักษาเฉพาะธุรกรรมล่าสุดตามข้อกำหนดการจัดเก็บที่กำหนดโดยเจ้าของ

โหนดประเภท Light Nodes

เป็นโหนดที่ดึงแค่ข้อมูลบางส่วนจากบล็อคเชนที่จำเป็นเท่านั้น ในการนำมาตรวจสอบธุรกรรม โดยจะมีประเภทย่อยๆ ดังนี้

  • Lightweight Nodes คืออีกชื่อหนึ่งของมัน Light Nodes เหล่านี้จะช่วยประหยัดพื้นที่จัดเก็บโดยการดาวน์โหลดเฉพาะข้อมูลที่เลือก การตรวจสอบการชำระเงินแบบง่าย (SPV) จะใช้งานโหนดเหล่านี้ Light Nodes ไม่สามารถใช้งานได้หากไม่มี Archival Full Nodes
  • Lightning Nodes ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมแบบ Off-Chain โดยการเชื่อมต่อผู้ใช้งานจากภายในและภายนอกของบล็อกเชน ธุรกรรมที่ดำเนินการในลักษณะนี้มักจะรวดเร็ว ราคาถูก และปลอดภัย Lightning Nodes นั้นช่วยลดต้นทุนการใช้เครือข่ายเช่น Bitcoin เป็นอย่างมาก

ความสำคัญของ Blockchain Nodes

โหนด (Node) มีหน้าที่เหมือนเป็นตัวเชื่อม สื่อสารในระบบ Blockchain ที่เป็นแบบ Decentralization ด้วย

มันไม่มีทางที่จะไปดูแคลนความสำคัญของการกระจายอำนาจ จากการที่มันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ทำให้ Crypto กลายมาเป็นทางเลือกของการใช้งานแทนระบบการเงินกระแสหลัก Bitcoin และเครือข่ายอื่นๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยหน่วยงานเดียว แต่การควบคุมนั้นเป็นของสมาชิกชุมชนทั่วทั้งเครือข่ายแบบกระจายอำนาจ

หน้าที่ของพวกเขาคือดูแลให้เครือข่ายทำงานได้อย่างราบรื่น ผู้ตรวจสอบเหล่านี้จะยืนยันว่าไม่มีใครใช้เครือข่ายเพื่อทำการโกง นอกจากนี้ มันยังช่วยยืนยันด้วยว่าธุรกรรมไม่สามารถย้อนกลับได้

พวกเขาทำได้โดยมอบพลังการคำนวณของคอมพิวเตอร์ของพวกเขาให้ เครือข่ายบล็อกเชนที่เก่ากว่า เช่น เครือข่ายที่ใช้โดย Bitcoin ทำงานโดยใช้กลไก Proof-of-Work มันใช้พลังในการคำนวณเพื่อตรวจสอบธุรกรรม สร้างเหรียญใหม่ และมอบรางวัลให้

Nodes นั้นจะมีสำเนาบล็อกเชนทั้งหมด ด้วยวิธีนี้ มันจะทำหน้าที่เป็นระบบบัญชีแยกประเภทสากล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมบนเครือข่ายจากจุดใดก็ได้ในประวัติของมัน ซึ่งหมายความว่าความถูกต้องของธุรกรรมทั้งหมดนั้นสามารถตรวจสอบได้

Network Nodes นั้นใช้เพื่อสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรม สุดท้ายแล้ว พวกมันจะมีส่วนช่วยในการมอบฉันทามติในหมู่ผู้ใช้งานบล็อกเชนเหล่านี้ มันคืออัลกอริทึมที่เป็นเอกฉันท์ในการทำงาน โหนดนั้นทำงานแบบเป็นกฎเกณฑ์ หรือถ้าจะให้พูดในทางเทคนิคแล้ว พวกมันเป็นเหมือนจุดในเครือข่ายที่มีการสร้าง รับ และส่งข้อมูล

โหนดเป็นส่วนพื้นฐานของ Blockchain

เทคโนโลยี Blockchain มีประโยชน์มากมาย อย่างไรก็ตาม หลักการสำคัญประการหนึ่งคือความสำคัญของการปฏิบัติตามระบบกระจายอำนาจ เพื่อให้มันทำงานได้ เครือข่ายนั้นพึ่งพาการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานทั่วไป พวกเขามีส่วนช่วยในการทำงานของระบบ พวกเขาสามารถลงคะแนนในประเด็นสำคัญภายในเครือข่าย และพวกเขาก็จะได้รับรางวัลสำหรับความพยายามของพวกเขา

กลไก Proof-of-Work อาจจะถูกด่าทอมากมาย สาเหตุหลักมาจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม ใช่แล้ว มันเป็นความจริงที่การใช้งานระบบดังกล่าวต้องใช้พลังในการคำนวณจำนวนมหาศาล อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของมันอาจจะมีมากกว่าข้อเสีย

Nodes จะช่วยให้เครือข่ายสาธารณะประเภทนี้ทำงานได้ บุคคลทั่วไปอาจจะมีแรงจูงใจต่างๆ ในการเรียกใช้ Node ของตนเอง บางคนทำเพื่อหวังผลกำไร ในขณะที่คนอื่นๆ ก็อาจจะกังวลกับการช่วยให้เครือข่ายทำงานได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม Nodes นั้นยังคงจะเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายบล็อคเชนต่อไป

โหนดกับการใช้ระบบฉันทามติ คืออะไร?

เนื่องจากไม่มีอำนาจกลางในการตรวจสอบธุรกรรมบนบล็อกเชนแบบกระจายอำนาจ มันจึงดำเนินการผ่าน Node Validators (ตัวตรวจสอบโหนด) อัลกอริธึมฉันทามติจะนำข้อมูลทั้งหมดที่โหนดให้มาและทำให้แน่ใจว่าได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้ว สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของธุรกรรมเครือข่าย

บล็อกนั้นเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่เพิ่มลงในบล็อกเชน นักขุดจะไม่ยืนยันการทำธุรกรรมทีละรายการ แต่บล็อกดังกล่าวมีข้อมูลสำหรับธุรกรรมเหล่านี้จำนวนมาก บล็อกจะกลับสู่ตำแหน่งเดิมเมื่อข้อมูลได้รับการยืนยันแล้ว นี่คือเหตุผลที่เครือข่ายดิจิทัลนั้นเป็นบล็อกเชนอย่างแท้จริง

เมื่อบล็อกปิดลง และบล็อกอื่นๆ จะสามารถรับเพิ่มได้อีกเมื่อข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมได้รับการตรวจสอบแล้ว โหนดดังกล่าวจะรับประกันว่าข้อมูลที่บันทึกไว้ในบล็อกมีเพียงเวอร์ชันจริงของเหตุการณ์เท่านั้น

แต่ผู้ใช้งานคริปโต แต่ละคนจะมีแรงจูงใจให้เข้าร่วมได้อย่างไร? ผู้ใช้งานคริปโต หลายคนทำหน้าที่เป็นนักขุดบนบล็อกเชนสาธารณะ นักขุดมีหน้าที่ช่วยสร้าง “แฮช (Hash)” ของธุรกรรม ซึ่งก็คือตัวบ่งชี้ที่ทำงานเหมือนกับหมายเลขบนใบเสร็จ เพื่อที่จะทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น นักขุดจำเป็นต้องแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน

Hash Mining คืออะไร? และความสัมพันธ์ของโหนด

เป้าหมายของการขุดคริปโต คือการยืนยันธุรกรรมให้เร็วที่สุดที่จะทำได้ โดย Mining Node จะมีลักษณะคล้าย Full Node

เป้าหมายของการขุด Crypto คือการยืนยันธุรกรรมให้เร็วที่สุดที่จะทำได้ ความเร็วและความแม่นยำนั้นเป็นความต้องการทั้งจากเครือข่ายและนักขุดแต่ละคน มันมีข้อกำหนดในการสร้างคำตอบโดยเฉพาะสำหรับปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มี ด้วยเหตุนี้ จำนวนนักขุดและพลังในการคำนวณที่มากขึ้นจะช่วยให้เครือข่ายได้รับคำตอบเร็วมากขึ้น

Mining Nodes นั้นจะมีลักษณะเหมือนกับ Full Nodes หรือได้รับข้อมูลจากโหนดอื่น สำหรับงานเพิ่มเติมที่พวกเขาทำเสร็จ พวกเขาจะได้รับรางวัล Crypto เมื่อมีการขุดบล็อกใหม่บนเครือข่าย

นักขุดส่วนใหญ่ในเครือข่ายจะใช้ ASIC (Application Specific Integrated Circuits) คอมพิวเตอร์เฉพาะทางที่ออกแบบมาเพื่อคำนวณแฮชโดยเร็วที่สุด การคำนวณแฮชต่อวินาทีได้มากขึ้นก็เท่ากับโอกาสในการค้นหาคำตอบที่ต้องใช้ในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้นด้วย

การมีอัตราแฮชที่สูงขึ้นหมายถึงการที่เราสามารถคำนวณแฮชต่อวินาทีได้มากขึ้น นักขุดจะใช้ข้อมูลหนึ่งบล็อกและใช้มันเป็นข้อมูลอินพุตสำหรับฟังก์ชันแฮชที่พวกเขาใช้งาน นักขุดจะได้รับรางวัลเมื่อค่าแฮชต่ำกว่าค่าความยากของเครือข่าย หากไม่ใช่ นักขุดจะคำนวณแฮชเพิ่มเติมต่อไป เมื่อธุรกรรมได้รับการยืนยัน มันก็จะถูกเพิ่มลงไปในบล็อกเชน ส่วนหนึ่งของสกุลเงินดิจิทัลที่เพิ่งสร้างใหม่จะกลายเป็นของรางวัลให้กับนักขุด

ทำไมคุณจึงควรพิจารณาใช้งาน Node?

โหนดนั้นก็มีบทบาทสำคัญในการรักษาการทำงานที่ราบรื่นของเครือข่ายบล็อกเชน โหนดนั้นจะไม่ได้รับรางวัล เหมือนการขุด

เมื่อเราทราบกันแล้วว่า Node คืออะไร? ในส่วนของการใช้งาน โหนดนั้นก็มีบทบาทสำคัญในการรักษาการทำงานที่ราบรื่นของเครือข่ายบล็อกเชน โหนดนั้นจะไม่ได้รับรางวัลทางการเงินซึ่งต่างจากนักขุด อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าการกระทำนั้นๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวบุคคลและชุมชน

ก่อนอื่น การใช้งานโหนดของคุณเองจะเพิ่มระดับความปลอดภัยสำหรับธุรกรรมของคุณเอง มันจะช่วยให้คุณมีอิสระมากขึ้น ไม่มีข้อกำหนดในการยื่นอุทธรณ์ต่อบริการของบริการบุคคลที่สาม และแน่นอนว่า นี่หมายถึงการควบคุมเงินของคุณได้ดีกว่าระบบการเงินแบบคลาสสิก

นอกจากนี้ คุณก็ยังจะมีส่วนในการปกป้องความปลอดภัยของเครือข่ายบล็อกเชน Bitcoin นั้นคงจะไม่เหลืออยู่แล้วหากไม่มีคนทำงานนี้!

ไม่เพียงเท่านั้น แต่คุณยังจะสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการกำกับดูแลได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณมีสิทธิ์ในความคิดเห็นจริงๆ ตัวอย่างเช่น เรื่องการอัพเดตระบบ หรือแม้กระทั่งในกรณีของการ Fork คุณจะมีสิทธิได้รับเงินดิจิทัลจำนวนหนึ่งบนเครือข่ายใหม่ที่สอดคล้องกับยอดคงเหลือที่มีอยู่ของคุณ

สุดท้ายนี้ ถึงแม้ว่าคุณอาจจะต้องปรับปรุงเรื่องความรู้ด้านเทคนิคของคุณ แต่คุณก็คงจะยินดีที่ได้รู้ว่าการเรียกใช้ Node นั้นมีราคาที่ไม่แพงมาก มันไม่ต้องการซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง ซึ่งแตกต่างจากงานของการเป็นนักขุด Crypto คอมพิวเตอร์ราคาไม่แพง การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่แรงพอ และความเต็มใจที่จะเรียนรู้ด้านเทคนิคบางประการนั้นคือสิ่งที่มันต้องการ

พลังการคำนวณนั้นไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่ต้องการสำหรับการออกเหรียญใหม่เท่านั้น ยิ่งพลังในการคำนวณสูงเท่าใด ระดับความปลอดภัยของเครือข่ายก็จะยิ่งสูงขึ้น มันจะช่วยขัดขวางโอกาสในการแฮ็คเครือข่ายสำเร็จ นอกจากนี้ มันยังรักษาวิสัยทัศน์ดั้งเดิมของ Satoshi Nakamoto สำหรับเครือข่ายแบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริง

พื้นฐานของการตั้งค่าโหนด

วิธีการตั้งค่าโหนด เริ่มต้นด้วยคุณต้องมีคอมพิวเตอร์ มี RAM ขั้นต่ำ 2GB และมีการเชื่อมต่อที่ไม่จำกัด และให้เวลาโหนดทำงานอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน

การใช้งาน Bitcoin Full Nodes ด้วยตัวคุณเองนั้นอาจจะเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่า มันไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมีส่วนร่วมในการสร้างระบบนิเวศของ Crypto เท่านั้น แต่มันยังช่วยให้คุณได้รับความเชี่ยวชาญทางเทคนิคใหม่ๆ อีกด้วย

แม้ว่ามันจะมีแง่มุมทางเทคนิคหลายเรื่องที่ต้องการการตรวจสอบอย่างละเอียด แต่มันก็มีองค์ประกอบหลายอย่างที่คุณต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน

ประการแรก มันมีข้อกำหนดขั้นต่ำหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโหนด อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ มันไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับพลังการคำนวณ

  • คุณจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน Windows, Linux หรือ macOS เวอร์ชันล่าสุด
  • คุณจะต้องมี RAM อย่างน้อย 2 GB และพื้นที่ว่างในดิสก์ 200 GB
  • สุดท้าย คุณจะต้องมีการเชื่อมต่อที่ไม่จำกัดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวันในช่วงที่โหนดสามารถทำงานได้

Raspberry Pi เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับการใช้งาน Bitcoin Node Raspberry Pi เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กราคาประหยัดที่มีพื้นที่จัดเก็บและกำลังประมวลผลเพียงพอสำหรับงานเฉพาะนี้ จากนี้ไป คุณจะต้องติดตั้งฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ Bitcoin เพื่อเรียกใช้งานโหนดของคุณ

ผู้ให้บริการ Blockchain Node

ผู้ให้บริการ Blockchain Node เป็นทางเลือกแทนสำหรับคนที่ต้องการใช้งานโหนดด้วยตัวเอง ผู้ให้บริการเหล่านี้เสนอ API ที่ช่วยให้นักพัฒนาสร้างเวิร์กโฟลว์อัตโนมัติสำหรับจัดการโหนดของ Blockchain

ดังที่เราได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ มีปัญหามากมายที่ผู้ใช้งานอาจจะไม่ต้องการหรือไม่สามารถจัดการได้เมื่อตั้งค่าโหนด บริการ blockchain-as-a-service เหล่านี้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงาน การขุดบนคลาวด์สามารถทำได้ผ่านบริการเหล่านี้

บริษัทเหล่านี้สามารถให้การเข้าถึงเครือข่ายบล็อกเชน เช่น Bitcoin, Ethereum, Monero และอื่นๆ ตามความต้องการของลูกค้า บริการเหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลบล็อกเชนได้ตลอดเวลา

ค่าใช้จ่ายของบริการเหล่านี้กำหนดโดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง (บุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฯลฯ) ตลอดจนต้นทุนการดำเนินงาน มันยังมีผู้ให้บริการที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจำนวนหนึ่ง เช่น Infura, GetBlock และ Alchemy บริษัทเหล่านี้มีชื่อเสียงที่ดีและมีผู้ใช้งานจำนวนมาก

คำถามที่พบบ่อย

Node ใน Blockchain คืออะไร?

Blockchain Nodes มีกี่ประเภท

โหนดใน Bitcoin คืออะไร?

Wallet เป็น Node หรือไม่?

Crypto Wallet เป็น Nodes หรือไม่?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | เมษายน 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

bic_photo_6.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน