หนึ่งในปัญหายุ่งยากแรกๆ ที่ผู้ใช้งาน Crypto หน้าใหม่ต้องเผชิญก็คือกระเป๋าเงิน — ซึ่งเป็นที่ที่สินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมดถูก “จัดเก็บ” เอาไว้ ในทางเทคนิคแล้ว มันไม่เหมือนเงินสดที่อยู่ในกระเป๋าเงินจริงๆ สินทรัพย์ Crypto นั้นไม่เชิงว่าอยู่ในกระเป๋าเงินดิจิทัลจริงๆ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระเป๋าเงิน Crypto นั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะมีส่วนร่วมในระบบการเงินแบบกระจายอำนาจที่เติบโตอย่างรวดเร็วนี้ เมื่อถึงจุดหนึ่ง พวกเขาจะต้องเลือกระหว่าง Custodial หรือ Non-Custodial Wallet ในบทความนี้ เราจะอธิบายว่า Non-Custodial Wallet คืออะไร แล้วข้อดีและข้อเสียของการใช้กระเป๋าเงินนี้คืออะไร?
Cryptocurrency Wallet ทำงานอย่างไร?
สินทรัพย์ Crypto นั้นเป็นเพียงข้อมูลบนบล็อกเชน Crypto Wallet (กระเป๋าเงินสำหรับสกุลเงินดิจิทัล) นั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เจ้าของ Crypto สามารถเข้าถึงทรัพย์สินของพวกเขาบน Blockchain ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ใครก็ตามที่ต้องการส่งสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านเครือข่ายบล็อกเชนจะต้องใช้งานสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เช่น ที่อยู่ของกระเป๋าเงิน (Wallet Addresses)/คีย์ (Key)
Crypto Wallet ทุกๆ ตัวนั้นจะมีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่าง:
- Public Key (คีย์สาธารณะ): หากคุณต้องการส่ง Crypto ให้กับใครซักคน คุณจะต้องรู้ Public Key ของพวกเขาและในทางกลับกัน
- Private Key (คีย์ส่วนตัว): เหมือนกับชื่อของมัน มันควรจะถูกเก็บเป็นความลับ/เป็นส่วนตัวโดยเจ้าของกระเป๋าเงิน เจ้าของกระเป๋าเงินจะต้องลงชื่อในธุรกรรมใดๆ ที่ย้ายสินทรัพย์ดิจิทัลออกจากกระเป๋าเงินด้วยการใช้ Private Key
Wallet Keys สามารถเก็บไว้บนอินเทอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์ผ่านซอฟต์แวร์กระเป๋าเงินได้ Keys ยังสามารถพิมพ์/เขียนไว้บนกระดาษ หรือเก็บไว้ในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้ ด้วยเหตุนี้ Cryptocurrency Wallet (กระเป๋าเงินดิจิทัล) จึงสามารถอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันได้
Custodial Wallet คืออะไร?
ก่อนที่จะเจาะลึกถึงเรื่องการพูดคุยเกี่ยวกับรูปแบบทางกายภาพ/ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่กระเป๋าเงินดิจิทัลสามารถเป็นได้ สิ่งสำคัญคือจะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง Custodial และ Non-Custodial Wallets เสียก่อน
Custodial Wallet นั้นก็คือการที่นักลงทุน Crypto ได้มอบความไว้วางใจในการจัดการ/การปกป้อง Wallet Keys ของพวกเขาให้กับบุคคลที่สาม ซึ่งบุคคลที่สามนี้จะรับหน้าที่เป็น “Custodian” (ผู้ดูแล) ซึ่งจะมีหน้าที่ในการเก็บรักษาทรัพย์สินของเจ้าของ Crypto
บัญชีซื้อขาย Crypto ในกระดานเทรดส่วนใหญ่นั้นจะประกอบไปด้วย Custodial Wallets ตัวอย่างเช่น สมมติว่านักลงทุนสกุลเงินดิจิทัลหน้าใหม่ได้สมัครบัญชีกับกระดานเทรด Crypto รายใหญ่เช่น Binance หรือ Coinbase หลังจากที่พวกเขาซื้อสกุลเงินดิจิทัล พวกเขาก็จะเก็บมันไว้ในบัญชีซื้อขายของพวกเขา
Crypto ของพวกเขาจะถูกเก็บไว้ใน Custodial Wallet ของ Binance/Coinbase ผู้ซึ่งตอนนี้เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการ Wallet Keys
ความนิยมของ Custodial Wallets นั้นก็เพิ่มมากขึ้นควบคู่ไปกับความสนใจของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์การลงทุน Crypto ต่างๆ Exchange Traded Funds (ETFs) และ Exchange Traded Products (ETPs) ของ Crypto/สินทรัพย์ดิจิทัลก็ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
ผู้ออก ETF/ETP นั้นทำหน้าที่เป็น “Custodian” ของกองทุนรวมของนักลงทุน รวมถึงในกรณีของ Crypto ซึ่งนั่นหมายความว่าพวกเขามีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ Keys ของกระเป๋าเงินที่นักลงทุน Crypto ได้ถือครองไว้
ข้อดีของ Custodial Wallets
สำหรับนักลงทุนที่มีความเข้าใจอย่างจำกัดเกี่ยวกับเทคโนโลยี Crypto การอนุญาตให้บุคคลที่สามจัดการการถือครองของพวกเขาอาจจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ นักลงทุนหน้าใหม่มักจะทำผิดพลาดในการทำ Wallet Keys สูญหายและสูญเสียการเข้าถึงสินทรัพย์ที่พวกเขาถือครองไว้
ผู้ใช้งาน Crypto หน้าใหม่อาจจะยินดีมอบความรับผิดชอบในการจัดการ Wallet Keys ให้กับมืออาชีพที่มีความเข้าใจในเทคโนโลยีบล็อกเชนมากกว่า ตัวอย่างเช่น กระดานเทรดสกุลเงินดิจิทัลยักษ์ใหญ่ที่เก็บเงินของผู้ใช้งานไว้ในกระเป๋าเงินฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน ซึ่งมันอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับนักลงทุน Crypto ทั่วไปที่จะมีความปลอดภัยในระดับที่ซับซ้อนเช่นนี้
ข้อเสียของ Custodial Wallets
Custodial Wallets นั้นไม่ใช้ว่าจะปราศจากความเสี่ยง ผู้ถือครอง Crypto จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะสูญเสียทรัพย์สินไปหากระบบความปลอดภัยหรือทรัพย์สินหมุนเวียนของผู้รับฝากทรัพย์สินถูกบุกรุก
ผู้ที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับแวดวง Cryptp น่าจะจำเกี่ยวกับเรื่องการล้มละลายอย่างกะทันหันของ Celsius Network บริษัทผู้ให้บริการกู้ยืม Cryptocurrency ได้ แพลตฟอร์มดังกล่าว — ซึ่งก่อนหน้านี้เคยจัดการกองทุนของนักลงทุนมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์ — จู่ๆ ก็ได้ระงับการถอนเงินของผู้ฝากในเดือนมิถุนายน
แพลตฟอร์มผู้ให้บริการกู้ยืม Crypto รายอื่นๆ ก็ประสบปัญหาตามๆ กันมา ทิ้งให้นักลงทุน Crypto สูญเสียเงินลงทุนของพวกเขามูลค่ารวมกันหลายพันล้าน
ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ใช้งานสกุลเงินดิจิทัลบางคนกล่าวว่า Custodial Wallets ส่งผลให้เกิดการรวมศูนย์ที่ขัดกับหลักการกระจายอำนาจของสกุลเงินดิจิทัล ผู้ถือครองที่จัดเก็บ Crypto เอาไว้ใน Custodial Wallets อาจจะถูกยึดไปโดยผู้รับฝากทรัพย์สินหรือหน่วยงานของรัฐที่ควบคุมผู้รับฝากทรัพย์สิน
สิ่งนี้ทำให้ Cypto ของพวกเขาเสี่ยงต่อการถูกยึด ในขณะเดียวกัน ผู้รับฝากทรัพย์สินของ Crypto มักจะอยู่ภายใต้กฏระเบียบ Anti-Money Laundering (AML) และ Know Your Customer (KYC) สาวก Crypto หลายคนมองว่านี่เป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน Crypto
ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการรับฝากทรัพย์สิน (Custodial Providers) บางรายจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นกำไรได้
Non-Custodial Wallet คืออะไร?
ตอนนี้ เราเข้าใจแล้วว่า Custodial Wallet และข้อดีและข้อเสียหลักๆ ของมันคืออะไร แล้ว Non-Custodial Wallet คืออะไร? มันคือกระเป๋าเงินดิจิทัลประเภทหนึ่งที่เจ้าของ Crypto จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการ Keys ของพวกเขาโดยตรง
นั่นหมายความว่าหากเจ้าของทำ Keys หาย/ลืมไว้ที่อื่น Crypto ในกระเป๋าเงินนั้นก็อาจจะสูญหายไปตลอดกาล ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ กระเป๋าเงินเหล่านี้อาจจะเป็นในรูปแบบของซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์, ซอฟต์แวร์ที่ดาวน์โหลดได้ทั่วไป, ฮาร์ดแวร์, หรือในรูปแบบของเอกสาร กระเป๋าเงินแบบฮาร์ดแวร์นั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการจัดเก็บ Wallet Keys
ข้อดีของ Non-Custodial Wallets
ในฐานะสาวก Crypto ผู้ซึ่งพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการควบคุมของรัฐบาลแบบรวมศูนย์/สถาบันทางการเงิน Non-Custodial Wallets มอบอำนาจให้กับนักลงทุนในการควบคุมทรัพย์สินของตนได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อเก็บไว้ใน Non-Custodial Wallets จะไม่มีตัวตนรวมศูนย์ใดๆ จะสามารถยึดหรืออายัดสินทรัพย์ดิจิทัลของพวกเขาได้
ด้วย Non-Custodial Wallets จะไม่มีอุปสรรคในการเข้าร่วมในระบบนิเวศของ Crypto ทั่วโลก ใครก็ตามที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ก็จะสามารถสมัครกระเป๋าเงินได้โดยไม่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดของ KYC
ข้อดีอีกประการของ Non-Custodial Wallets คือมันใช้โอนสินทรัพย์ดิจิทัลได้ง่ายกว่า เนื่องจากพวกมันโต้ตอบกับบล็อกเชนโดยตรง ซึ่งหมายความว่า Non-Custodial Wallets — ซึ่งแตกต่างจาก Custodial Wallet — นั้นสามารถเข้าถึงระบบนิเวศ Decentralized Finance (DeFi) ที่กำลังเติบโตได้โดยตรง
ข้อเสียของ Non-Custodial Wallets
ความรับผิดชอบในการจัดการ Keys ของตนเองเป็นเรื่องใหญ่สำหรับนักลงทุนสกุลเงินดิจิทัลใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพวกเขาถือครองสินทรัย์ที่มีมูลค่าสูง จากที่เคยได้กล่าวไว้ข้างต้น ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในเทคโนโลยี Crypto อาจจะเสี่ยงต่อการสูญเสียการเข้าถึงเงินทุนหากพวกเขาประมาท
เมื่อเทียบกับการลืมรหัสผ่านของบัญชีซื้อขายในกระดานเทรด ปัญหาที่ปกติจะแก้ไขได้อย่างรวดเร็วด้วยฝ่ายสนับสนุนลูกค้า ผู้ใช้งาน Non-Custodial Wallets ****หน้าใหม่นั้นก็มีความเสี่ยงที่จะถูกการโจมตี Phishing, การแฮ็ก Crypto, และการ Scams มากกว่าผู้ที่ใช้ Custodial Wallets
นักลงทุน Crypto ที่ดูแลทรัพย์สินของตนเองควรจะปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ดีที่สุดเสมอ เช่น การใช้รหัสผ่านที่รัดกุมและการตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัยหากสามารถทำได้
Non-Custodial Wallets จำนวนมากนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นมิตรกับผู้ใช้งานหรือผู้ใช้งานหน้าใหม่ แต่การย้าย Crypto จากกระดานเทรดไปยัง Non-Custodial Wallet นั้นยังคงเป็นอุปสรรคใหม่สำหรับมือใหม่ สำหรับหลายๆ คน การปล่อยให้ Crypto ของตนอยู่ในการควบคุมของกระดานเทรดอาจจะง่ายและปลอดภัยกว่า
Custodial vs. Non-Custodial Wallets
หากกระเป๋าเงินเป็นแบบ Non-Custodial มันจะให้ Private Keys ที่เกี่ยวข้องกับ Public Address กับคุณและแค่คุณเท่านั้น หากไม่เป็นเช่นนั้น ผู้อื่นก็จะสามารถเข้าถึง Private Keys ได้เช่นกัน ซึ่งหมายความว่ามันไม่ใช่ Non-Custodial Wallet
กระเป๋าเงินแบบไหนดีกว่ากัน?
มันขึ้นอยู่กับความต้องการและความชอบของผู้ใช้งาน มือใหม่ที่ต้องการเพียงแค่ซื้อ Crypto และ HODL อาจจะต้องการปล่อย Crypto ไว้ในกระดานเทรด นักลงทุนสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงในระดับที่ใหญ่ขึ้นที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยี Crypto อาจจะเลือกซื้อ Crypto ผ่าน ETF และ ETP
นักลงทุนสกุลเงินดิจิทัลที่มีความรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นอาจจะต้องการใช้มันแบบผสมผสานกันไป พวกเขาอาจจะเก็บรักษา Crypto บางส่วนในกระเป๋าเงินในกระดานเทรดของผู้รับฝากทรัพย์สินเพื่อการซื้อขายที่รวดเร็ว บางคนอาจจะเก็บ Crypto ไว้ใน Custodial Wallets ที่เป็ยซอฟต์แวร์เพื่อที่จะสามารถย้ายเงินเข้าและออกจากแพลตฟอร์ม DeFi ต่างๆ
นอกจากนี้ บางคนยังอาจจะต้องการเก็บ Crypto บางส่วนไว้ในกระเป๋าเงินแบบฮาร์ดแวร์ หรือ “Cold Storage” เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
วิธีการสร้าง Non-Custodial Wallet
ก่อนอื่น คุณจะต้องดาวน์โหลด MetaMask ซึ่งเป็นส่วนขยาย Chrome จากในร้านค้านแอปพลิเคชั่น
เมื่อเสร็จแล้ว มันจะปรากฏเป็นส่วนขยายของ Chrome ที่มุมขวาบน คลิกที่ส่วนขยายดังกล่าวเพื่อเริ่มใช้งานกระเป๋าเงิน
ผู้ที่มีกระเป๋าเงิน MetaMask อยู่แล้วในอุปกรณ์อื่นจะสามารถเข้าถึงมันได้ด้วย Secret Recovery Phrase ซึ่งเป็น Private Key ของพวกเขา มิฉะนั้น ให้คลิกที่ “Create a Wallet”
MetaMask จะแจ้งให้คุณสร้างรหัสผ่านใหม่ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันซับซ้อนมากพอ เมื่อคุณทำเสร็จแล้ว คุณจะเห็นหน้าเพจที่ MetaMask จะอธิบายว่า Secret Recovery Phrase ทำงานอย่างไร และเหตุใดการรักษาความเป็นส่วนตัวจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
โดยพื้นฐานแล้ว Phrase นี้จะช่วยให้คุณเข้าถึงกระเป๋าเงินจากอุปกรณ์อื่นได้ หากมันถูกเจาะ โจรอาจจะขโมย Crypto ทั้งหมดที่คุณถืออยู่ในกระเป๋าเงิน MetaMask ไปได้ สิ่งที่สำคัญคือต้องบันทึก Secret Recovery Phrase ไว้ด้วยวิธีที่ปลอดภัย นั่นเป็นเพราะว่า หากมันสูญหายไป คุณอาจจะสูญเสียการเข้าถึงเงินทุนในกระเป๋าเงิน และ MetaMask จะไม่สามารถช่วยเหลือคุณได้
ในหน้าถัดไป MetaMask จะแสดง Secret Recovery Phrase จดมันเอาไว้ MetaMask จะขอให้คุณระบุ Secret Recovery Phrase ในหน้าถัดไป
เมื่อเสร็จแล้ว กระเป๋าเงินก็พร้อมใช้งาน ตอนนี้คุณพร้อมที่จะซื้อ, ส่ง, และแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลกับบล็อกเชนต่างๆ แล้ว
5 อันดับ Non-Custodial Wallets แบบ Web-Based ยอดนิยม
คุณจะมีตัวเลือก Non-Custodial Wallets อยู่มากมาย ต่อไปจะเป็นรายชื่อ Non-Custodial Wallets ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 อันดับ
1. MetaMask
นับตั้งแต่มันเปิดตัวในปี 2016 MetaMask ก็ได้กลายเป็นหนึ่งใน Non-Custodial Cryptocurrency Wallets ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ความนิยมนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง “ฤดูร้อนของ DeFi” ปี 2020 ในขณะนั้น MetaMask เป็นหนึ่งในกระเป๋าเงินไม่กี่รายที่เข้าถึงบล็อกเชนสัญญาอัจฉริยะหลายตัว
นักวิจารณ์กล่าวว่า MetaMask เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ใช้งานได้ง่ายที่สุดในตลาด มันทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของเบราว์เซอร์ ผู้ใช้งานกระเป๋าเงิน MetaMask สามารถซื้อและขายสกุลเงินดิจิทัลได้โดยตรงบนแอปพลิเคชั่นผ่านฟังก์ชันการซื้อขาย
ข้อเสียใหญ่ประการหนึ่งของกระเป๋าเงิน MetaMask คือมันสามารถโต้ตอบกับเครือข่ายที่ทำงานบน Ethereum หรือ Ethereum Virtual Machine (EVM) เท่านั้น นั่นหมายความว่าผู้ใช้งานไม่สามารถโต้ตอบกับเครือข่าย Bitcoin และ Solana ได้ แต่กระเป๋าเงินนั้นรองรับ Non-Fungible Tokens (NFTs) และมีการผสานรวมเป็นพิเศษกับ OpenSea ซึ่งเป็นตลาด NFT ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
2. MyEtherWallet
MyEtherWallet หรือ MEW เป็นอีกหนึ่งกระเป๋าเงินที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 เช่นเดียวกับ MetaMask MEW โฟกัสไปที่เครือข่าย Ethereum เป็นหลัก
กระเป๋าเงินสามารถโต้ตอบกับ DApps ที่ทำงานบน Ethereum/EVM ได้หลากหลายและยังรองรับ NFT อีกด้วย มันแตกต่างจาก MetaMask ตรงที่มันรองรับการสวอป Bitcoin แต่มีความเข้ากันได้เพียงเล็กน้อยกับเครือข่าย Altcoin ที่ไม่ใช่ Ethereum/EVM
นักวิจารณ์มองว่ากระเป๋าเงินนี้นั้นใช้งานได้ง่ายมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งาน MEW มักจะตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีแบบ Phishing
3. Coinbase Wallet
Coinbase เปิดตัว Non-Custodial Wallet ในปี 2018 และได้กลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมในหมู่นักลงทุน Crypto จากประสบการณ์การใช้งานที่เรียบง่าย มันเข้ากันได้กับเครือข่ายบล็อกเชนที่ใหญ่กว่ากระเป๋าเงินที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้น
ผู้ใช้งานสามารถเก็บ Bitcoin, Ethereum, Solana และโฮสต์ของเหรียญและโทเค็นอื่นๆ มันทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของเบราว์เซอร์เหมือนกับ MetaMask และโต้ตอบกับ DApps ในลักษณะเดียวกัน ค่าธรรมเนียมของกระเป๋าเงินอยู่ในกลุ่มที่แข่งขันได้มากที่สุดในตลาด
กระเป๋าเงินของ Coinbase นั้นแยกจากบริษัทแม่โดยสิ้นเชิง ซึ่งหมายความว่ามันไม่มีข้อกำหนด KYC ไม่เหมือนกับการสมัครบัญชีของกระดานเทรด กระเป๋าเงินสามารถเชื่อมต่อกับบัญชีซื้อขายของ Coinbase เพื่ออำนวยความสะดวกในการโอน Crypto ได้อย่างง่ายดาย แต่มันก็เป็นแค่ตัวเลือกเท่านั้น
ไม่เหมือนกับ MetaMask และ MyEtherWallet โค้ดที่อยู่เบื้องหลังกระเป๋าเงินของ Coinbase ไม่ใช่โอเพ่นซอร์ส แม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่ปัญหาสำหรับนักลงทุน Crypto หลายคน แต่สาวกของการกระจายอำนาจมักจะไม่ไว้วางใจโค้ดที่ไม่เปิดให้มีการตรวจสอบโดยสาธารณะ
4. Trust Wallet
Trust Wallet ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Binance เป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการ Non-Custodial Wallet ที่ได้รับความนิยม Trust Wallet เข้ากันได้กับบล็อกเชนมากมายและเช่นเดียวกับ DApps มากมายในระบบนิเวศของ Ethereum และ EVM กระเป๋าเงินนี้ยังเข้ากันได้กับ NFT และคอลเล็กชั่นงานศิลปะดิจิทัล ผู้ใช้งานสามารถ Stake Cryptocurrency บนบล็อกเชน Proof-of-Stake ได้โดยตรงภายในแอป
กระเป๋าเงินมีคุณสมบัติในการซื้อขายภายใน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถดูราคาและชาร์ตได้โดยไม่ต้องออกจากแพลตฟอร์ม กระเป๋าเงินมีเลเยอร์ของความปลอดภัยเพิ่มเติมรวมไปถึงการสแกนไบโอเมตริกซ์และรหัส PIN เช่นเดียวกับ MetaMask และ MyEtherWallet โค้ดของ Trust Wallet เป็นโค้ดแบบโอเพ่นซอร์ส นอกจากนี้ — เช่นเดียวกับกระเป๋าเงินอื่นๆ ในรายการนี้ — นักวิจารณ์มองว่ากระเป๋าเงินนี้นั้นใช้งานง่ายมาก
5. Crypto.com DeFi Wallet
Crypto.com DeFi Wallet นำเสนอวิธีที่ราบรื่นให้แก่ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม Crypto.com ในการย้ายสินทรัพย์ของพวกเขาไปยัง Non-Custodial Wallet และเข้าถึงคุณสมบัติที่หลากหลาย เหมือนกับชื่อของมัน กระเป๋าเงินนี้อนุญาตให้ผู้ใช้งานเข้าถึงแอปพลิเคชั่นและผลิตภัณฑ์ DeFi ต่างๆ ได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างผลตอบแทนจากทรัพย์สินของตนได้อย่างง่ายดาย
กระเป๋าเงินนี้จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านบล็อกเชนและระบบนิเวศต่างๆ รวมถึงการรองรับ NFT และมีคุณสมบัติการสวอปที่ช่วยให้การซื้อและขายโทเค็นนั้นทำได้ง่ายมาก เช่นเดียวกับกระเป๋าเงินอื่นๆ ในรายการนี้ กระเป๋าเงิน Crypto.com ยังทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของเบราว์เซอร์ ปรับปรุงความสามารถในการใช้งานเมื่อผู้ใช้งานเรียกดูแพลตฟอร์ม DeFi
แล้ว Hardware Wallets ล่ะ?
กระเป๋าเงิน 5 ใบข้างต้นเป็นตัวอย่างทั้งหมดของ “Hot Wallets” ซึ่งทำงานบนอินเทอร์เน็ต Keys ของกระเป๋าเงินเหล่านี้ของคุณจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ต ถึงแม้ว่ามันจะให้ความสะดวกและใช้งานได้ง่ายที่สุด แต่มันก็ยังทำให้ Private Keys ของคุณเสี่ยงต่อการถูกโจมตีโดยแฮ็กเกอร์มากขึ้น
วิธีที่ปลอดภัยกว่าเล็กน้อยในการจัดเก็บ Wallet Keys ของคุณคือในฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์ของคุณผ่าน Software Wallet (กระเป๋าเงินที่ถูกสร้างขึ้นด้วยซอฟต์แวร์) การทำเช่นนี้ทำให้ Keys ของคุณมีความเสี่ยงน้อยลงสำหรับแฮ็กเกอร์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะปลอดภัยไปซะทั้งหมด เนื่องจากคอมพิวเตอร์ยังคงมีความเสี่ยงที่จะติดมัลแวร์ประเภท Key-Hunting ซึ่งยังคงสามารถเจาะเข้ามายัง Software Wallet ได้
ตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุดคือ Hardware Wallet (กระเป๋าเงินที่อยู่ในรูปแบบของฮาร์ดแวร์ เช่น USB เป็นต้น) กระเป๋าเงินเหล่านี้จะเก็บ Private Keys ของคุณไว้ในฮาร์ดไดรฟ์ที่แยกจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางครั้งจะถูกเรียกว่า “Cold Wallets” โดยปกติแล้ว Hardware Wallet จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อออกอากาศไปยังเครือข่ายสกุลเงินดิจิทัลที่มีการลงนามธุรกรรมด้วย Private Keys — ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำภายในอุปกรณ์ — เท่านั้น
หมายความว่าข้อมูลเกี่ยวกับ Private Keys จะไม่มีทางออกไปจาก Hardware Wallet วิธีเดียวที่จะเอา Private Keys ออกไปจาก Hardware Wallet ได้คือการถูกโจรขโมยไปจริงๆ ในโลกแห่งความเป็นจริง
ข้อเสียหลักประการหนึ่งของ Hardware Wallet คือมันสะดวกน้อยกว่า โดยปกติแล้ว มันจะต้องนำไปเสียบ, เปิดเครื่อง, และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต กระบวนการตรวจสอบธุรกรรม Crypto นั้นยุ่งยากกว่ามากเมื่อเทียบกับ Software Wallet และพวกมันจะมีราคาอยู่ที่ระหว่าง 50 ถึง 200 ดอลลาร์
สำหรับนักลงทุน Crypto ขนาดเล็กที่ต้องการดูแล Crypto ของพวกเขาเอง Hot Wallets อาจจะถือว่าใช้ได้ สำหรับผู้ถือครองรายใหญ่ การผสมผสานการใช้งาน Hot Wallets เพื่อการซื้อขายที่สะดวกง่ายดายกับ Hardware Wallet เพื่อความปลอดภัยนั้นอาจจะดีกว่า
3 อันดับ Hardware Wallets ยอดนิยม
มีผู้ผลิต Hardware Wallet รายใหญ่อยู่ 3 ราย ซึ่งเราจะให้คำอธิบายในแต่ละรายด้านล่าง
1. Ledger Nano S
Ledger นั้นถูกมองว่าเป็นผู้ให้บริการ Hardware Wallet ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลในปริมาณมาก จากชื่อเสียงที่ยอดเยี่ยมในด้านความปลอดภัยของมัน บริษัทได้เปิดตัว Hardware Wallet ตัวแรกในปี 2016
กระเป๋าเงิน Nano S ของ Ledger เป็นหนึ่งในกระเป๋าเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดและถือว่าเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน/มือใหม่เป็นอย่างมาก กระเป๋าเงินรองรับ Cryptocurrency มากกว่า 1100 รายการ อย่างไรก็ตาม การที่มันไม่มีที่เก็บข้อมูลหมายความว่ามันจะสามารถเก็บ Keys ได้เพียง 3-5 กระเป๋าในคราวเดียวเท่านั้น สำหรับผู้ที่ต้องการจัดเก็บ Cryptocurrency หลายสกุลใน Hardware Wallet ใบเดียว นี่อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด
2. Trezor Model One
Trezor’s Model One ซึ่งเปิดตัวในปี 2014 เป็นอีกหนึ่ง Hardware Wallet ยอดนิยม เช่นเดียวกับ Nano S ของ Ledger กระเป๋าเงิน Model One มีชื่อเสียงว่าเป็นมิตรกับผู้ใช้งานหน้าใหม่มาก
เจ้าของ Model One จะสามารถซื้อ Crypto ได้โดยตรงในกระเป๋าเงินโดยใช้แอป Wallet ของ Trezor โดยใช้สกุลเงิน Fiat คุณสมบัตินี้จะช่วยลดอุปสรรคสำหรับมือใหม่ได้มากยิ่งขึ้นโดยอนุญาตให้พวกเขาข้ามการสมัครบัญชีในกระดานเทรดสกุลเงินดิจิทัล
คำวิจารณ์เรื่องหนึ่งของมันก็คือถึงแม้ว่ามันจะมีราคาเพียงประมาณ 80 ดอลลาร์ แต่มันก็ดูเป็นของราคาถูกๆ เมื่อเทียบกับ Nano S ของ Ledger ที่ให้ความรู้สึกโฉบเฉี่ยวกว่ามาก
3. SafePal S1
SafePal เปิดตัวรุ่น S1 ในเดือนมกราคม 2019 ดังนั้น มันจึงเป็นกระเป๋าเงินที่ค่อนข้างใหม่ในพื้นที่นี้ กระเป๋าเงินนี้รองรับบล็อกเชนกว่า 20 ตัวและโทเค็นมากกว่า 10,000 รายการซึ่งรวมไปถึง NFT ด้วย หลายคนมองว่า S1 ของ SafePal เป็นหนึ่งในกระเป๋าเงินที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน/มือใหม่ที่สุดในตลาด ด้วยราคาที่ประมาณ 40 ดอลลาร์ ก็ถือว่ามันเป็นกระเป๋าเงินที่ค่อนข้างคุ้มค่าเงินเลยทีเดียว
สาวก Crypto บางรายนั้นชอบคุณสมบัติการทำลายตัวเองของกระเป๋าเงิน คุณสมบัตินี้ออกแบบมาเพื่อป้องกันการโจมตีของมัลแวร์ SafePal ได้รับการสนับสนุนโดย Binance Labs ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของกระดานเทรด Binance
Non-Custodial Wallets เหมาะกับการถือครองในระยะยาว
การตัดสินใจเลือกกระเป๋าเงินดิจิทัลนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนสำหรับนักลงทุน Crypto ในท้ายที่สุด แต่ละคนจะต้องชั่งน้ำหนักเรื่องการตั้งค่าของตนเกี่ยวกับการควบคุม Crypto และรวมไปถึงความชื่นชอบด้านความปลอดภัยกับความสะดวกเองก็เช่นกัน กระเป๋าเงินดิจิทัลแต่ละประเภทนั้นก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน
คำถามที่พบบ่อย
Non-Custodial Wallet คืออะไร?
อะไรคือความแตกต่างระหว่าง Custodial และ Non-Custodial Wallet?
Coinbase เป็น Non-Custodial Wallet หรือไม่?
Trust Wallet เป็น Non-Custodial Wallet หรือไม่?
MetaMask เป็น Non-Custodial Wallet หรือไม่?
Non-Custodial Wallet ปลอดภัยกว่าหรือไม่?
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์