ดูเพิ่มเติม

ข้อผิดพลาด 6 ประการในการ Staking Crypto ที่คุณควรหลีกเลี่ยง

3 mins
โดย Kilian Boshoff
แปลแล้ว Akradet Mornthong

Staking คือกระบวนการในการล็อก Crypto ที่คุณถือครองไว้เพื่อช่วยสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายพร้อมกับการได้รับรางวัลตอบแทนด้วย วิธีนี้ได้กลายเป็นวิธียอดนิยมสำหรับเหล่านักลงทุนในการสร้าง Passive Income และถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่มันก็มีอยู่หลายเรื่องที่นักลงทุนควรจะหลีกเลี่ยงเมื่อทำการ Staking Crypto ของพวกเขา บทความนี้ เราจะมาอธิบายเรื่องความผิดพลาด 5 อันดับแรกที่คุณควรจะหลีกเลี่ยงเมื่อทำการ Staking รวมไปถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อทำการ Staking เหรียญของคุณ

ต้องการรับทราบรีวิวต่างๆ เกี่ยวกับแพลตฟอร์ม Crypto ยอดนิยมสำหรับการ Staking หรือไม่? มาเข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram สิ: อ่านรีวิวใหม่ๆ พูดคุยกันเรื่องโปรเจกต์คริปโต และสอบถามเรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิคต่างๆ จากเหล่านักเทรดมืออาชีพ! เข้าร่วมเลยเดี๋ยวนี้

6 ข้อผิดพลาดที่สำคัญในการ Staking Crypto

เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั่วไป การ Staking นั้นมีคอนเซปต์ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของอัตราการแลกเปลี่ยน, อัตราดอกเบี้ย, และปัจจัยที่ช่วยเสริมสภาพคล่อง ต่อไปนี้เป็นข้อผิดพลาดทั่วไป 5 ข้อที่นักลงทุน Crypto มักจะทำเมื่อทำการ Staking และวิธีทำให้มั่นใจว่าคุณจะไม่ทำผิดพลาดเช่นนั้น

1. ตกหลุมพรางต่อผลตอบแทนที่สูง

ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการวัดอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์คือ ผลตอบแทนต่อปีเป็นเปอร์เซ็นต์ (Annual Percentage Return หรือ APR) แพลตฟอร์ม Staking มักจะอวดอ้างถึง APR ที่คุณจะได้รับจากเหรียญ ซึ่งบางแห่งจะเสนอ APR ที่สูงมากเพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาที่แพลตฟอร์มของตน ซึ่ง APR เหล่านั้นมักจะเป็นตัวเลขที่ไม่สมจริง ซึ่งเป็นเหตุมาจากอัตราการเฟ้อของโทเค็นที่สูงเพื่อใช้สำหรับการจ่ายผลตอบแทน

  • อัตราการเฟ้อของโทเค็น — APR 100% สำหรับสินทรัพย์ของคุณอาจจะฟังดูเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ แต่ข้อเสนอเหล่านี้มักจะมาจากโทเค็นใหม่ที่กำลังออก ปัญหาก็คือโทเค็นใหม่เหล่านี้มักจะถูกขายโดยผู้รับเหล่านั้น ทำให้ราคาของเหรียญที่คุณถืออยู่ลดลง ดังนั้น ถึงแม้ว่าคุณจะได้รับ APR 100% แต่ด้วยราคาที่ลดลงจากการเทขายโทเค็น มันอาจจะส่งผลให้คุณขาดทุนได้
  • อัตราผลตอบแทนที่ได้รับการปรับแล้วคืออะไร — อัตราผลตอบแทนได้รับการปรับแล้วคืออัตราผลตอบแทนต่อปีที่ถูกปรับตามค่าอัตราเงินเฟ้อของเครือข่าย นักลงทุนควรจะดูที่ผลตอบแทนที่แท้จริงของพวกเขา (ที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ) ซึ่งจะบอกพวกเขาได้ว่าพวกเขาจะได้รับรายได้จริงๆ เท่าไร
  • ผลตอบแทนที่สูงจะอยู่ได้ไม่นาน – เหรียญที่เพิ่งเปิดตัวอาจจะมี APR ต่อการ Staking ที่สูง นักลงทุนจะต้องทำความเข้าใจว่า มันจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เครือข่ายใหม่ๆ นั้นจำเป็นจะต้องสนับสนุนให้ผู้ถือโทเค็น Staking เหรียญของพวกเขา เมื่อทำเช่นนั้นแล้ว อัตราผลตอบแทนของการ Staking จะลดลงเมื่อมีการ Staking โทเค็นมากขึ้นและอัตราส่วนการ Staking เพิ่มขึ้น

นักลงทุนควรจะทำความเข้าใจเรื่องอัตราเงินเฟ้อ, วิธีสร้างผลตอบแทน, และผลตอบแทนระยะยาวของการ Staking ให้ดีก่อนที่จะทำการ Staking สินทรัพย์ Crypto ของพวกเขา

แล้ววิธีที่ถูกต้องในการวิเคราะห์ผลตอบแทนของการ Staking คืออะไร?

ต่อไปนี้คือวิธีการยืนยัน Crypto ที่ทำกำไรได้สูงสุดในการ Staking:

  1. ศึกษาข้อมูลว่า Crypto ตัวใดที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในการ Staking เว็บไซต์อย่าง Staking Rewards นั้นจะให้ข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนการ Staking
  2. ดูที่คอลัมน์ “Adjusted Yield” บนเว็บไซต์เพื่อค้นหาว่าสินทรัพย์ตัวใดที่ให้ผลตอบแทนที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อที่ดีที่สุด
  3. จากสินทรัพย์ 10 อันดับแรกในรายการ ให้เลือกสินทรัพย์ที่เหมาะกับกลยุทธ์การลงทุนและการจัดการความเสี่ยงของคุณ
  4. ทำตามคำแนะนำ “How to Stake” (วิธีการ Stake) ในหัวข้อคำถามที่พบบ่อย สำหรับสินทรัพย์ที่คุณเลือกเพื่อเริ่มต้นการเดินทางของคุณ

สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักไว้เสมอว่า การ Staking นั้นเป็นกลยุทธ์ของการลงทุนในระยะยาว การกระจายสินทรัพย์ที่คุณ Stake ไว้เป็นสกุลเงินดิจิทัลสกุลต่างๆ และกระจายไปตามเครือข่ายต่างๆ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนได้ ยิ่งไปกว่านั้น คุณควรคอยจับตาดูสภาวะตลาดและอัพเดตข้อมูลของคุณอย่างสม่ำเสมอ

2. เลือก Validator ตัวเลือกแรกในรายการ

แพลตฟอร์มจะขอให้ Staker (ผู้ที่ทำการ Staking) ทำการเลือก Validator (ตัวตรวจสอบความถูกต้อง) ก่อนที่จะทำการ Staking Crypto นักลงทุนมักจะเลือก Validator ตัวเลือกแรกในรายการหรือ Validator ที่มูลค่าการ Stake กับผู้ใช้งานมากที่สุด ซึ่งมันมีปัญหาอยู่ 2 ประการกับวิธีการเช่นนี้:

  • Validator ตัวเลือกแรกในรายการนั้นอาจจะเป็น Validator พื้นฐาน (ซึ่งเครือข่ายก็จะโฮสต์ Validator ของตนเองไว้ด้วย) ซึ่งจะเป็นการทำให้เกิดการรวมศูนย์ของเครือข่าย
  • มันอาจจะเป็น Validator ที่สุ่มขึ้นมาอยู่บนสุดของรายการ ซึ่งไม่น่าจะเป็นตัวเลือก Validator ที่ดีที่สุดที่จะช่วยทำให้คุณได้รับรางวัลจากผลตอบแทนได้ดีที่สุด

นักลงทุนจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีเลือก Validator และทำการตรวจสอบสถานะก่อนที่จะทำการ Staking

3. ไม่รู้วิธีเลือก Validator

การเลือก Validator นั้นเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการ Staking เหรียญของคุณ ความท้าทายในการเลือกใช้งาน Validator นั้นมีอยู่ 2 ประการ ก็คือ:

  1. มันเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจได้ว่าผู้ให้บริการรายใดที่จะเชื่อถือได้ในอนาคต
  2. ส่วนใหญ่แล้ว คุณจะต้องแจกแจงให้ได้ว่าบริษัทใดปฏิบัติตามแนวทางได้ดีที่สุดในอุตสาหกรรม

คุณภาพของ Validator นั้นจะมีบทบาทเป็นอย่างมากต่อผลตอบแทนจากการ Staking ของคุณ และมันยังมีความเสี่ยงที่คุณจะโดน Slashing อีกด้วย (การถูกยึด Crypto ที่ Stake ไว้ในกรณีที่เกิดการละเมิดกฏการ Staking ของโปรเจกต์) Verified Provider Program (VPP) จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าควรจะเลือก Validator ตัวใด VVP นี้เป็นความคิดริเริ่มในการเพิ่มความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสให้กับอุตสาหกรรมการ Staking โดยทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการนั้นจะมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งรวมไปถึงการจัดการความเสี่ยง อายุการใช้งาน และมาตรการรักษาความปลอดภัยด้วย

ด้วยการใช้งานโปรโตคอลการตรวจสอบที่เข้มงวดและการส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางที่ดีที่สุดของอุตสาหกรรม VVP จะช่วยให้ Delegator (ผู้มอบหมายงาน) สามารถตัดสินใจได้มั่นใจมากขึ้นในการเลือกใช้งานจากผู้ให้บริการที่มีอยู่มากมาย ยิ่งไปกว่านั้น มันยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นในการกำหนดมาตรฐานของแนวทางปฏิบัติในอุตสาหกรรม ส่งเสริมความสอดคล้องและความเป็นธรรมของทั่วทั้งระบบนิเวศของการ Staking ให้มากยิ่งขึ้น โดยรวมแล้ว VVP นั้นแสดงให้เราเห็นถึงองค์ประกอบที่สำคัญในเรื่องการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการ Staking

ตัวชี้วัดของเครือข่ายที่สำคัญ

นอกเหนือจากการทำการตรวจสอบสถานะของ Validator ตัวจริงและทีมงานที่อยู่เบื้องหลังแล้ว มันยังมีตัวชี้วัดที่สำคัญที่ควรระวังเมื่อเลือกใช้งาน Validator:

  • ค่าคอมมิชชั่นต่ำ: โปรดจำไว้ว่า อัตราค่าคอมมิชชั่นคือ % ของรางวัลการ Staking ของคุณที่จะถูกแบ่งให้กับ Validator อย่าตกหลุมพรางต่อ Validator ที่มีค่าคอมมิชชั่น ‘0%’ ที่พยายามล่อลวงให้คุณมอบหมายงานให้กับพวกเขาแล้วเปลี่ยนค่าคอมมิชชั่นในภายหลัง
  • อยู่ในชุดที่ใช้งานอยู่หรือไม่: Validator ในชุดที่ใช้งานอยู่จะได้รับรางวัลการเดิมพัน
  • พลังการโหวต > 0%: พลังการโหวตนั้นแสดงให้เห็นถึงน้ำหนักที่ Validator มีเมื่อต้องทำการตัดสินใจด้านการกำกับดูแลบนเครือข่าย โดยปกติแล้ว คุณจะไม่ต้องการเลือก Validator ที่มีอำนาจการลงคะแนนสูงสุด (เนื่องจากจะทำให้เครือข่ายรวมศูนย์มากขึ้น) และคุณจะไม่ต้องการเลือก Validator ที่มีอำนาจการโหวตเป็น 0 ด้วยเช่นกัน
  • Delegator > 0: Validator อาจจะได้รับความนิยมหรือเชื่อถือได้มากกว่าหากมี Delegator มากกว่าผู้อื่น
  • Self > 0%: โปรดจำไว้ว่า Self-Bond นั้นหมายถึงจำนวนของสินทรัพย์ที่ Validator ได้ทำการ Staking เอง ยิ่งตัวเลขนี้สูงเท่าไร ก็ยิ่งมีความสูญเสียสำหรับ Validator มากเท่านั้น และทำให้มันไม่น่าเป็นไปได้ที่พวกเขาจะทำประพฤติกรรมที่มุ่งร้าย

เมื่อคุณทราบถึงวิธีเลือก Validator แล้ว คุณสามารถใช้กระบวนการเดียวกันนี้กับสินทรัพย์ PoS ส่วนใหญ่ได้ โปรดจำไว้ว่า มันไม่มีของฟรีในการ Staking สินทรัพย์ของคุณ การเลือก Validator สามารถช่วยคุณชดเชยความเสี่ยงหลักของการ Staking ส่วนใหญ่ได้

ความเสี่ยงของการ Slashing

Slashing เป็นกลไกการลงโทษที่ใช้ในเครือข่ายบล็อกเชน Proof-of-Stake (PoS) เพื่อลงโทษ Validator (และผู้ที่ทำการ Stake กับพวกเขา) สำหรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจจะรวมถึงการดำเนินการต่างๆ เช่น การเซ็นชื่อซ้ำซ้อนหรือการออฟไลน์เป็นระยะเวลานาน

เมื่อ Validator ถูกลงโทษ Crypto ส่วนนึงที่ Stake ไว้จะถูกหักออกเป็นค่าปรับ จุดประสงค์ของการ Slashing คือการกระตุ้นให้ Validator ดำเนินการอย่างซื่อสัตย์และเชื่อถือได้ เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยและความเสถียรของเครือข่าย

4. เลือกตัวเลือกการ Staking ที่ “ง่ายที่สุด”

นักลงทุนมักจะเลือกตัวเลือกการลงทุนที่ง่ายที่สุดที่ต้องใช้ความพยายามน้อยที่สุด พฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม ในบริบทของการ Staking นักลงทุนมักจะเลือกการ Staking แบบรวมศูนย์โดยไม่พิจารณาทางเลือกอื่นๆ หรือพยายามเรียนรู้วิธีการใช้โซลูชั่นแบบ Non-Custodial เหล่า Staker จำเป็นจะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างการ Staking แบบ Custodial และ Non-Custodial เพื่อทำการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด:

การ Staking แบบ Custodial คืออะไร?

การ Staking แบบ Custodial หมายความว่าคุณกำลังทำการ Staking สินทรัพย์ของของคุณผ่านตัวตนใดๆ แบบรวมศูนย์ (เช่น Binance, Kraken, Coinbase) กระดานเทรดจะเป็นผู้ที่ดูแลสินทรัพย์ของคุณ และผู้ใช้งานจะมอบความไว้วางใจให้พวกเขาจัดการกับ Private Key นอกจากนี้ ผู้ใช้งานจะสละการควบคุมทรัพย์สินให้กับผู้รับฝากทรัพย์สิน และอยู่ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขของพวกเขา

การ Staking แบบ Non-Custodial คืออะไร?

การ Staking แบบ Non-Custodial หมายความว่าคุณมีอำนาจ Private Key ของคุณแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถควบคุม Crypto และดูแลทรัพย์สินของคุณเองได้ กระเป๋าเงินแบบเว็บ เช่น MetaMask หรือกระเป๋าเงินแบบฮาร์ดแวร์ เช่น Ledger นั้นจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่ใช้สำหรับการ Staking แบบ Non-Custodial

Staking

ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างการ Staking แบบ Custodial และ Non-Custodial

การทำความเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตัวเลือกการ Staking แต่ละรูปแบบนั้นมีความสำคัญสำหรับ Staker ทุกคน หนึ่งในข้อผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดที่นักลงทุนทำคือการเลือกตัวเลือกเพียงเพราะว่ามันสะดวก การใช้แค่ความสะดวกสบายเช่นนี้อาจจะทำให้พวกเขาสูญเสียได้เป็นอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากการล่มสลายของตัวตนรวมศูนย์เมื่อไม่นานมานี้

5. จ่ายค่าคอมมิชชั่นมากเกินไป

อัตราค่าคอมมิชชั่นของผู้ให้บริการการ Staking นั้นจะเป็นการชำระเงินสำหรับบริการ Validator ของพวกเขา ค่าธรรมเนียมนั้นอาจจะไม่แน่นอน โดยจะขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์ม สมมติว่านักลงทุนเลือก Validator แบบสุ่มโดยไม่ได้ตรวจสอบสถานะก่อนล่วงหน้า ในกรณีนี้ พวกเขาอาจจะตกหลุมพรางต่อการต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นที่สูงเกินไปให้กับ Validator แพลตฟอร์ม Staking บางแพลตฟอร์มจะใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจำนวนมากสำหรับการใช้บริการ Staking ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานปลายทางมักไม่ทราบ ค่าธรรมเนียมที่ต้องตรวจสอบนั้นได้แก่:

  • ค่าคอมมิชชั่น
  • ค่าธรรมเนียมเครือข่าย

การจ่ายค่าธรรมเนียมบนแพลตฟอร์ม Staking นั้นไม่ใช่เรื่องอันตรายเสมอไป เพียงทำให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าคุณจ่ายค่าอะไรและคุณยินดีจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับบริการเหล่านั้นหรือไม่ ค่าคอมมิชชั่นมักจะอยู่ที่ประมาณ 5–10% ขึ้นอยู่กับเครือข่าย คุณควรจะมองหา Validator ที่อยู่ในช่วงราคานั้น

6. เลือกใช้งานแพลตฟอร์มผิด

เมื่อพูดถึงการ Staking แล้ว การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมคือสิ่งที่รู้กัน การเลือกแพลตฟอร์มที่ผิดพลาดนั้นคือปัญหาที่แท้จริง หากคุณกำลังพิจารณาเรื่องการทำการ Staking คุณจะต้องเลือกแพลตฟอร์มโดยการพิจารณาตามรีวิวของผู้ใช้งาน, ความปลอดภัย, อัตราดอกเบี้ย, สกุลเงินดิจิทัลที่รองรับ, สภาพคล่องของอนุพันธ์ของการ Staking ฯลฯ และแพลตฟอร์มเหล่านี้คือแพลตฟอร์มที่ยอดเยี่ยมสำหรับการทำการ Staking:

1. Kraken

บริการ Staking ของ Kraken นั้นใช้งานได้ง่ายและมี UI ที่เรียบง่ายมาก แทนที่จะเป็นเพียงแค่ HODLing แต่ Staker บน Kraken จะได้รับสูงสุดถึง 24% จาก Crypto ของพวกเขา Kraken นำเสนอสกุลเงินดิจิทัล 21 สกุลที่แตกต่างกัน ซึ่งคุณช่วยให้คุณสามารถรับรางวัลได้ และไม่เหมือนกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ตรงที่พวกเขาไม่มีเวลาขั้นต่ำสำหรับการ Staking บนเครือข่าย

2. eToro

กระบวนการการ Staking บน eToro นั้นค่อนข้างเรียบง่าย ผู้ใช้งานจะได้รับผลตอบแทนทุกๆ เดือน เปอร์เซ็นต์ของผลตอบแทนที่แน่นอนนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับของสมาชิก ตั้งแต่ 75% ถึง 90% ปัจจุบัน eToro รองรับการ Staking ETH, ADA และ TRX

3. ByBit

Bybit ช่วยให้ลูกค้าสามารถ Staking สกุลเงินดิจิทัลของพวกเขาได้โดยไม่มีความเสี่ยง นี่คือหนึ่งในแพลตฟอร์ม Staking ที่ดีที่สุด สำหรับ Stablecoin เช่น USDT และ USDC พวกเขาจะให้ผลตอบแทนสูงสุดถึง 5% ผู้ใช้งานจะมีตัวเลือกในการฝากสินทรัพย์แบบยืดหยุ่นหรือเงินฝากประจำ 30 หรือ 60 วัน

วิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการ Stake Crypto

วิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการ Stake Crypto นั้นจะขึ้นอยู่กับการยอมรับความเสี่ยงและกลยุทธ์การลงทุนที่เฉพาะเจาะจงของคุณ อย่างไรก็ตาม มันยังมีแนวทางทั่วไปบางประการที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้:

  1. ใช้กระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial เช่น MetaMask, Keplr หรือ Trust Wallet
  2. เลือกผู้ให้บริการ Staking ที่มีชื่อเสียง และให้ศึกษาข้อมูลของบริษัทดังกล่าวและตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขามีชื่อเสียงและมีผลงานที่มั่นคง
  3. ทำให้มั่นใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการ Staking เช่น โอกาสที่จะเกิดการ Slashing และมีแผนการที่ชัดเจนสำหรับการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น
  4. ตรวจสอบสถานะของทรัพย์สินที่ Staking และประสิทธิภาพของเครือข่ายอยู่เป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่คาดไว้

โปรดจำไว้ว่า การ Staking นั้นเป็นกลยุทธ์การลงทุนในระยะยาว และตลาด Crypto ก็มีความผันผวนสูง การมีพอร์ตการลงทุนที่หลากหลายและเตรียมพร้อมสำหรับความผันผวนของตลาดนั้นเป็นสิ่งที่ฉลาดเสมอ

แก้ไขข้อผิดพลาดในการ Staking Crypto ของคุณ

การ Staking นั้นอาจจะเป็นกระบวนการที่ดูน่ากลัวสำหรับมือใหม่ในวงการสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากมันอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจศัพท์แสงต่างๆ และทำความเข้าใจกลยุทธ์ทางการตลาดของแพลตฟอร์ม Staking ที่แตกต่างกัน แต่ถ้าคุณเรียนรู้จากข้อผิดพลาด คุณจะอยู่ในเส้นทางที่ปลอดภัยและประสบความสำเร็จในการ Staking

คำศัพท์ทางเทคนิคในบทความ

  • Passive income: รายได้ที่ได้รับจากผลตอบแทนจากการเป็นเจ้าของทรัพย์สินใดๆ เช่น การปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในทรัพย์สินทางการเงิน เช่น หุ้น กองทุน พันธบัตร ฯลฯ
  • Proof of Stake (PoS): เป็นเครื่อข่ายที่มีการนำสินทรัพย์ไปค้ำประกันไว้กับระบบเพื่อรับสิทธิในการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนจากการ Staking อีกด้วย
  • Non-Custodial Wallet: กระเป๋าเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผู้ให้บริการเป็นเพียงผู้พัฒนาโปรแกรมหรือ แอปพลิเคชั่นและไม่ได้ทำหน้าที่เก็บรักษา Private Key ให้แก่ผู้ใช้งาน การใช้งาน Wallet ลักษณะนี้มีข้อดีคือ ผู้ใช้งานจะเป็นผู้เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลเอง จึงไม่ต้องกังวลเรื่องความน่าเชื่อถือหรือระบบในการเก็บรักษา
  • Staking: การที่เราเอาสกุลเงินดิจิทัลเราที่มีไปวางค้ำประกัน(ล็อก)ไว้เฉยๆ จากนั้นแพลตฟอร์มก็จะให้รางวัลตอบแทนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่แพลตฟอร์มกำหนด

คำถามที่พบบ่อย

Crypto ใดที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในการ Staking?

คุณสามารถสูญเสีย Crypto ในขณะที่ทำการ Staking ได้หรือไม่?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | เมษายน 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

bic_photo_6.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน