Trusted

ตรวจสอบบล็อกเชนที่มีจริยธรรมด้วย Sustainable Development Goals (SDGs)

2 mins
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

COP27 นั้นเป็นชื่อของการประชุมที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในปี 2022 แต่มันเคยทำให้อะไรแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่? World Economic Forum (WEF) ระบุว่าความคืบหน้า(ของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงให้สภาพอากาศดีขึ้น)นั้น “น่าผิดหวัง”; สำนักข่าวรอยเตอร์นั้นใช้คำว่า “เชื่องช้า” ความล่าช้าของเหล่าผู้นำและสถาบันระดับโลกนั้นช่างแตกต่างจากความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพื้นที่บล็อกเชนอย่างสิ้นเชิง ความพยายามที่จะทำให้เทคโนโลยีนี้ปราศจากมลพิษและยั่งยืนในแวดวงอุตสาหกรรมนั้นเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ความเคลื่อนไหวด้านจริยธรรมในภาคส่วนบล็อกเชนก็เติบโตยิ่งขึ้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การอัพเกรด Ethereum Merge ที่ช่วยลดการใช้พลังงานโดยรวมลงถึงกว่า 99% ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ถูกนำไปใช้โดยภาคส่วนอื่นๆ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมใสสะอาดก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน อันที่จริงแล้ว ตัวอย่างของโปรเจกต์บล็อกเชนที่มีจริยธรรมที่พยายามจะสรรสร้างสิ่งดีๆ นั้นมีอยู่มากมาย แต่การที่จะวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโปรเจกต์เหล่านี้ก็ถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย มันมีวิธีการบางอย่างที่เราจะสามารถใช้ได้ และการใช้ Sustainable Development Goals (SDGs หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน) ของ UN ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เรามาดูกันดีกว่าว่ามันจะนำไปใช้งานจริงได้อย่างไร

💡 ต้องการรู้ข้อมูลเชิงลึกของโปรเจกต์บล็อกเชนที่มีมีจริยธรรมและผลกระทบที่มันมีต่อความยั่งยืนหรือไม่? มาเข้าร่วม BeInCrypto Trading Community สิ: รับข่าวสารล่าสุด, เริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับการเทรดด้วยหลักสูตรการเทรดขั้นพื้นฐานที่เรียนรู้ได้ฟรีของเรา และพูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มของสกุลเงินคริปโตต่างๆ กับนักเทรดมืออาชีพ! เข้าร่วมเลยเดี๋ยวนี้

วัดผลบล็อกเชนด้วย Sustainable Development Goals (SDGs)

เราจะสามารถวัดผลหรือสถิติตัวเลขว่าบล็อกเชนที่มีจริยธรรมนั้นช่วยพัฒนาโลกได้อย่างไร? วิธีหนึ่งคือการพิจารณาบล็อกเชนในบริบทของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) มันคือเป้าหมาย 17 ข้อที่ UN ตั้งขึ้นเพื่อยุติความยากจน, ปกป้องโลก, และสร้างหลักประกันว่าทุกคนจะมีสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองภายในปี 2030

เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนี้นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของภาครัฐ, ภาคประชาสังคม, และภาคธุรกิจ ตัวอย่างเช่น รายงานปี 2021 พบว่า 83% ของธุรกิจสนับสนุนเรื่องนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของภาคธุรกิจที่ทำแบบสำรวจให้คำมั่นต่อเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้

เรามาดูตัวอย่างโปรเจกต์ที่ใช้งานบล็อกเชนเพื่อมีส่วนร่วมในการสนับสนุน SDGs อย่างน้อย 1 ข้อหรือมากกว่าอย่างชัดเจนกันดีกว่า

ตัวอย่างของโปรเจกต์บล็อกเชนเชิงจริยธรรมที่มีความสอดคล้องกับ SDGs:

  • Binance Charity Foundation แจกจ่าย Pink Care Tokens (PCAT) และส่งมอบชุดผ้าอนามัยแบบใช้ซ้ำได้ให้แก่เด็กนักเรียนหญิงในยูกันดา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการบรรเทาความยากจนเป็นระยะ สิ่งนี้สอดคล้องกับ SDG 3 (“สร้างหลักประกันให้มีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกๆ คนในทุกๆ ช่วงอายุ” และ 5 (“บรรลุความเท่าเทียมทางเพศและมอบอำนาจให้แก่สตรีและเด็กผู้หญิงทุกคน”)
  • สร้าง Lisk SDK “Bazar Network Platform” ซึ่งเป็นตลาดแบบกระจายอำนาจ มันจะใช้บล็อกเชนเพื่อแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่แปลงเป็นโทเค็น เช่น อะโวคาโด, โกโก้, และกาแฟ และตรวจสอบสถานะของผลิตภัณฑ์ในแต่ละขั้นตอนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน สิ่งนี้สอดคล้องกับ SDG 12 (“รับประกันรูปแบบการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน”)
  • เครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและทำให้การวัดผล, การรายงาน, และการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศในโรงงานผลิตเป็นแบบดิจิทัล DMRV ใช้ IOTA เพื่อรักษาความปลอดภัยและตรวจสอบข้อมูล ตัวอย่างเช่น โรงกลั่นไวน์ในชิลีสามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของพวกเขาและอนุรักษ์น้ำและดินได้ด้วยวิธีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 9 (“สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม”) เช่นเดียวกับข้อ 12
  • Empowa ใช้ประโยชน์จาก Cardano เพื่อเสนอ DeFi ที่ช่วยในการจัดหาที่อยู่อาศัยราคาย่อมเยาในแอฟริกาเพื่อชุมชนที่ถูกกีดกันจากสังคมแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ถูกใช้ในการติดตาม, บันทึก, และตรวจสอบการชำระเงินค่าที่อยู่อาศัย, สร้างแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือของข่าวกรองของตลาดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในแอฟริกา โดยอ้างอิงจากการชำระเงินจริงๆ ของผู้คน สิ่งนี้สอดคล้องกับ SDG 9 และ 11 (“ช่วยทำให้เมืองและถิ่นฐานของมนุษย์ให้มีความครอบคลุม, ปลอดภัย, ยืดหยุ่น, และยั่งยืน”)

ทำให้โลกใสสะอาด: เทคโนโลยีบล็อกเชนเชิงจริยธรรมที่ช่วยประหยัดพลังงาน

สิ่งสำคัญก็คือบล็อกเชนที่ใช้ในโปรเจกต์ต่างๆ เช่นที่ระบุไว้ข้างต้นนั้นจะต้องประหยัดพลังงาน มันคงจะไม่มีประโยชน์ใดๆ เลยที่จะทำให้โปรเจกต์เหล่านี้เสียชื่อเพราะการใช้เทคโนโลยีที่มีการใช้พลังงานที่สูงมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนเชื่อว่าบล็อกเชนยังคงเป็นแบบนั้นอยู่

ภาพลักษณ์ของบล็อกเชนในฐานะเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดมลพิษที่เกิดจากการใช้ Proof-of-Work เป็นกลไกฉันทามติ เหล่านักขุดต่างก็แข่งขันกันเพื่อให้ได้เป็นคนแรกที่สามารถแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์และใช้พลังงานเป็นจำนวนมากในการทำเช่นนั้น แต่ก็เหมือนตัวอย่างที่เราได้เอ่ยไปก่อนหน้าอย่างเช่น Ethereum บล็อกเชนจำนวนมากนั้นกำลังเปลี่ยนไปใช้รูปแบบของบล็อกเชนที่ใช้พลังงานน้อยกว่าที่เรียกกันว่า Proof-of-Stake รูปแบบนี้ ผู้ตรวจสอบความถูกต้องจะล็อกโทเค็นคริปโตไว้ในสัญญาอัจฉริยะเพื่อรับโอกาสในการตรวจสอบธุรกรรมใหม่ๆ และได้รับรางวัล ผู้ตรวจสอบความถูกต้องจะสูญเสียโทเค็นเหล่านี้ไปหากพวกเขายืนยันข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือฉ้อฉล มันทำให้ไม่จำเป็นต้องทำการคำนวณอย่างเข้มข้นซึ่งจะกินพลังงานเป็นอย่างมากในการ”พิสูจน์การทำงาน”

และนั่นเป็นแค่เรื่องของบล็อกเชนเท่านั้น เทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจรุ่นใหม่ๆ ช่วยเลี่ยงปัญหาดังกล่าวโดยใช้ Directed Acyclic Graph (DAG) เป็นสถาปัตยกรรมพื้นฐานของพวกเขา ต่างจากบล็อกเชน DAG นั้นทำงานคู่ขนานกันหลายสาย IOTA นั้นเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ธุรกรรมใหม่แต่ละรายการใน IOTA จะต้องมีการยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมก่อนหน้านี้อย่างน้อย 2 รายการก่อนที่มันจะสามารถได้รับการยืนยันได้ สิ่งนี้ช่วยให้เครือข่ายที่ใช้พลังงานต่ำ เช่น Tezos หรือ Cardano สามารถทำงานบน Raspberry Pi ได้ (คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลเพียง 2,4 หรือ 8GB) ลองเปรียบเทียบมันกับ Solana ซึ่งแนะนำให้ใช้งานฮาร์ดแวร์ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูล 128 GB ดูสิ

แล้วผลลัพธ์หล่ะ? ข้อมูลของการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเปิดใช้ธุรกรรมเดี่ยวบน IOTA 2.0 โปรโตไทป์จะใช้พลังงานน้อยกว่าการจุดไฟคริสต์มาส 1 ดวงเป็นเวลา 1 วินาที

บล็อกเชนเพื่อโลกที่ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างข้างต้นนั้นเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีความพยายามที่จะทำให้บล็อกเชนเป็นพลังแห่งการทำความดีเพื่อสังคม โดยใช้ SDGs เป็นเครื่องมือวัดผล

องค์กรที่เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้นั้นรวมถึง Positive Blockchain ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่โฟกัสเรื่องศักยภาพของบล็อกเชนที่มีผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม Blockchain for Good เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศตนให้กับผู้มีบทบาททางด้านบล็อกเชนและการพัฒนาที่ยั่งยืน Global Blockchain Business Council มีส่วนร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลและธุรกิจต่างๆ ในการควบคุมบล็อกเชนเพื่อให้เกิดสังคมที่ปลอดภัย, เท่าเทียม, และนำไปปฏิบัติได้จริง

International Association for Trusted Blockchain Applications (INATBA) มีคณะทำงานด้านผลกระทบทางสังคมและความยั่งยืนโดยเฉพาะ คณะทำงานจะทำการตรวจสอบโปรเจกต์ที่สร้างผลกระทบทางสังคมและจัดการกับ SDGs ผ่านบล็อกเชน/DLT พวกเขาได้เผยแพร่รายงานเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับ Blockchain for Social Impact รวมถึงคำนิยามของผลกระทบทางสังคมและรูปแบบของผลกระทบทางสังคมของพวกเขา ซึ่งจะเป็นแนวทางให้โปรเจกต์บล็อกเชนในการประเมินและแสดงผลกระทบที่พวกมันมีต่อสังคม

องค์กรเช่นนี้ช่วยสร้างกรณีศึกษาที่เป็นรูปธรรมสำหรับการใช้งานบล็อกเชนเพื่อให้บรรลุ SDGs นอกจากนี้ มันยังเป็นแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมสำหรับทุกคนที่ต้องการเข้าใจว่าบล็อกเชนช่วยให้โลกของเราดีขึ้นได้อย่างไร

เลือกอุตสาหกรรมบล็อกเชนที่ดีกว่า

เรื่องอื้อฉาวล่าสุดในอุตสาหกรรม Crypto นั้นทำให้เรานึกถึงด้านที่ไม่ดีของบล็อกเชน พวกเราได้ยินเรื่องเกี่ยวกับการ Rug-pulls, การหลอกลวง, และชีวิตที่ถูกทำลายลงไปด้วยการทุจริตของคนในแวดวง Crypto ที่แอบอ้างเป็นคนดีมาบ่อยครั้ง แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องยอมพ่ายแพ้ต่อคำดูถูกถากถางเหล่านั้น ความล้มเหลวเหล่านี้เป็นผลมาจากความโลภของมนุษย์ทั้งนั้น ส่วนเทคโนโลยีนั้นเป็นแค่เพียงเครื่องมือ เราจะใช้มันทำอะไรก็เป็นทางเลือกของเราเอง ทุกวันนี้ มันมีโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาครัฐมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ คนโปรเจกต์ต่างก็ทุ่มเทเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และต่อสู้กับวิกฤตการณ์ของสภาพอากาศผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน

สำหรับผู้ที่ทำงานในภาคส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย, การนำไปใช้, หรือการพัฒนา นี่เป็นโอกาสของเราที่จะก้าวไปสู่เส้นทางที่ถูกต้อง เราต้องช่วยให้โปรเจกต์ที่ดีเหล่านี้ขยายขอบเขตไปสู่ระดับโลกและสร้างผลกระทบในเชิงบวกที่ทุกคนต้องการเป็นอย่างยิ่ง

คำถามที่พบบ่อย

บล็อกเชนถูกใช้ในโปรเจกต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร?

คุณจะทำให้บล็อกเชนมีความยั่งยืนมากขึ้นได้อย่างไร?

SDGs คืออะไร?

องค์กรใดบ้างที่ให้ความสำคัญกับบล็อกเชนเพื่อความยั่งยืน?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน