Trusted

Web2 กับ Web3: ความแตกต่างคืออะไร?

2 mins
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

Web3 นั้นกลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ พร้อมกับการที่บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่หลายแห่งเข้ามาในพื้นที่ด้วย แต่มันเกี่ยวกับอะไรกันแน่? ความแตกต่างระหว่าง Web2 กับ Web3 คืออะไร? — แค่ยุคอินเทอร์เน็ตที่เราอยู่ในปัจจุบันเท่านั้นหรือ?

ในบทความนี้ เราจะอธิบายให้คุณรับทราบถึงรายละเอียดทั้งหมดของ Web2 กับ Web3 รวมถึงความแตกต่างระหว่างทั้งสองอย่าง นอกจากนี้ เรายังจะลองคาดการณ์ว่า Web3 จะเป็นอย่างไรและจะมีการเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี Crypto และ Blockchain อย่างไร

Web1 หรือ Web 1.0 คืออะไร?

อินเทอร์เน็ตเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลกอย่างแน่นอน แต่ก่อนที่มันจะทำอย่างนั้นได้ มันต้องผ่านกระบวนการการวิวัฒนาการก่อน สิ่งที่เรียกว่า Web 1.0 นั้นคือขั้นบุกเบิกของมัน

Web 1.0 เป็นรูปแบบอินเทอร์เน็ตที่มีความก้าวหน้าน้อยกว่าในหลายๆ ด้าน โดยพื้นฐานแล้ว มันคือวิธีการส่งเนื้อหาและแสดงข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียกว่าเว็บไซต์ในปัจจุบัน

การใช้งานและตัวอย่าง

เว็บไซต์เช่น MySpace หรือ LiveJournal อนุญาตให้ผู้ใช้งานทั่วไปผลิตเนื้อหาได้มากขึ้น ไม่มีการแบ่งแยกที่ชัดเจนระหว่าง Web 1.0 และ Web 2.0 ท้ายที่สุดแล้ว มันก็ไม่ใช่คำศัพท์ที่เป็นทางการ และไม่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยมที่แยกทั้งสองสิ่งนี้ออกจากกัน

อย่างไรก็ตาม ตามกฎทั่วไป Web 1.0 นั้นมีการแทรกแซงขององค์กรน้อยกว่ามาก ตัวอย่างเช่น โฆษณาหาได้ยากมากและถูกแบนในหลายๆ เว็บไซต์ นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังประกอบด้วยหน้าเพจคงที่ (หน้าเพจแบบไม่มีการเคลื่อนไหว) เป็นส่วนใหญ่ พวกเขาทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์โดย ISP

ข้อมูลมักจะได้รับจากแหล่งกลาง การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่เผยแพร่นั้นมีประสิทธิภาพน้อยกว่ามาก นอกจากนี้ การออกแบบเว็บไซต์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

คุณรู้หรือไม่?

ในยุคของ Web 1.0 ปกติแล้วเว็บไซต์จะถูกสร้างขึ้นมาให้อ่านเท่านั้น

ขาลงของ Web1

ยุคที่เรียกว่า Web 1.0 อนุญาตให้ผู้คนมีส่วนร่วมน้อยลง ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งเนื้อหาที่ถูกเพิ่มบนอินเทอร์เน็ตและการเปลี่ยนแปลงการออกแบบของเพจ

ตัวอย่างเช่น มันจะไม่มีเว็บเช่น Wikipedia ที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้คน บล็อกส่วนตัวยังได้รับความนิยมอย่างมากก่อนยุคของ Facebook และ Twitter อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานมักถูกจำกัดว่าสามารถเพิ่มเนื้อหาประเภทใดได้

สุดท้ายนี้ ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชันที่ใช้บน Web 1.0 เท่านั้น พวกเขาจะไม่เห็นวิธีการทำงานหรือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพวกมันได้ ซอร์สโค้ดนั้นมักจะไม่ค่อยเปิดเผยต่อสาธารณะ

Web2 หรือ Web 2.0 คืออะไร?

Web 2.0 หรือ Web2 เป็นคำศัพท์ที่เริ่มใช้ในยุคฟองสบู่ดอทคอม มันถือกำเนิดขึ้นเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคอินเทอร์เน็ตที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

Web 2.0 นั้นเกี่ยวข้องกับแทรกแซงขององค์กรในระดับที่สูงขึ้น เว็บไซต์รูปแบบใหม่ต่างจากเว็บ 1.0 ตรงที่เว็บไซต์รูปแบบใหม่มักจะมีแผนในการสร้างรายได้ พวกเขายังอนุญาตให้ผู้ใช้งานโต้ตอบกับแพลตฟอร์มได้มากขึ้น และในความเป็นจริงแล้ว บริษัทใหม่ๆ ที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่แม้หลังจากตลาดตกต่ำแล้ว

การใช้งานและตัวอย่าง

เว็บไซต์ที่เป็น Web 2.0 นั้นจะมีลูกเล่นที่ยอดเยี่ยมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ไซต์เหล่านี้อนุญาตให้ผู้ใช้งานปรับเปลี่ยนการออกแบบในรายละเอียดที่มากขึ้น นอกจากนี้ โค้ดที่ใช้สำหรับแอพพลิเคชันจำนวนมากในการทำซ้ำใหม่ของเว็บยังเป็นโอเพ่นซอร์ส ซึ่งหมายความว่าใครก็ตามที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถดู วิเคราะห์ หรือแม้แต่แก้ไขมันก็ได้

แม้ว่าการรวมตัวกันของอินเทอร์เน็ตจะส่งผลอย่างเต็มที่ แต่เว็บไซต์รูปแบบใหม่ก็ให้สิทธิ์ที่ดีกว่าแก่ผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น ไซต์เช่น Amazon อนุญาตให้ผู้ใช้งานเพิ่มบทวิจารณ์ไปยังผลิตภัณฑ์ที่แสดงอยู่ในไซต์ได้ Wikipedia ยังอนุญาตให้ผู้ใช้งานแก้ไขข้อมูลในไซต์ที่มีลักษณะคล้ายสารานุกรม แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ใหม่กว่าเช่น Facebook และ Twitter ช่วยให้ผู้คนโต้ตอบกันในที่สาธารณะในระดับที่มากกว่าที่แพลตฟอร์มก่อนหน้านี้สามารถทำได้

ขาลงของ Web2

แม้ว่ามันจะมีความก้าวหน้าบางอย่างในการเปลี่ยนจาก Web 1.0 เป็น Web 2.0 แต่มันก็มีข้อเสียเช่นกัน

ประการแรก การมีส่วนร่วมขององค์กรนั้นมีส่วนทั้งการช่วยและขัดขวางวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต ในอีกด้านหนึ่ง แพลตฟอร์มที่มีเงินทุนสูง เช่น Twitter หรือ Facebook สามารถลงทุนในการพัฒนาไอเดียของตนได้ ในทางกลับกัน พวกเขามีอำนาจในการปิดบังข้อมูลที่ถือว่าขัดกับแนวทางของชุมชน

นอกจากนี้ เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานโดยแอพต่างๆ นั้นไม่สามารถป้องกันความผิดพลาดได้ หากมันปิดตัวลง มันสามารถส่งผลกระทบทางการเงินแก่ผู้ที่ต้องใช้งานมันในการทำงานได้

สุดท้าย บริการชำระเงินยังกำหนดให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์บางประการ แต่พวกเขาอาจจะเลือกปฏิเสธการจ่ายเงินได้หากรู้สึกว่ามาตรฐานเหล่านั้นไม่ได้รับการปฏิบัติตาม

โดยสรุปแล้ว Web 2.0 นำเสนอความสามารถทางเทคนิคที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม มันถูกนำเสนอโดยบริษัทที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ

Web3 หรือ Web 3.0 คืออะไร?

Web3

ใช่แล้ว Web3 หรือ Web 3.0 เป็น 2 คำที่ฮิตที่สุดในข่าวเทคโนโลยีเมื่อไม่นานมานี้ อย่างไรก็ตาม มันมีเหตุผลที่จะเชื่อว่ามีความตื่นเต้นที่อยู่รอบๆ นั้นเกิดขึ้นอย่างแท้จริง มันให้คำมั่นสัญญาว่าอินเทอร์เน็ตจะมีรูปแบบที่แข็งแกร่ง ปลอดภัยยิ่งขึ้น และมีการกระจายอำนาจ เป็นการทำซ้ำของอินเทอร์เน็ตที่จะพัฒนาเหนือไปยิ่งกว่า Web 2.0 ในปัจจุบัน

Web3 มักจะถูกใช้เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับแอพออนไลน์ต่างๆ มากมาย เป็นที่เชื่อกันว่า Gavin Wood ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ใช้คำว่า Web3 เป็นครั้งแรกในปี 2014 อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าองค์ประกอบที่จะเชื่อมโยงสาระระหว่างแอพ Web3 ทั้งหมดคือการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่ใช้ในการสร้างการกระจายอำนาจ

นอกจากนี้ เรายังสามารถเข้าใจ Web 3.0 ได้ด้วยการเปรียบเทียบกับอินเทอร์เน็ตเวอร์ชันปัจจุบัน ในปัจจุบัน ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมักเข้าถึงข้อมูลที่โฮสต์บนเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท 3rd Party ในทำนองเดียวกัน แอพที่สร้างขึ้นใหม่จะถูกเพิ่มไปยังเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทอื่นๆ เช่น Google Cloud หรือ AWS อย่างไรก็ตาม ตามหลักการแล้ว Web3 จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถพัฒนาและเก็บรักษา DApps (แอพกระจายอำนาจ) ได้

และแน่นอน ในความหมายที่กว้างขึ้น Web3 ยังใช้ในสื่อกระแสหลักเพื่อแสดงถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแห่งอนาคต คุณคงเคยได้ยินบริษัทต่างๆ ที่เตรียมพร้อมการมาถึงของอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ อย่างไรก็ตาม ห้ามพลาด หากสิ่งนี้มีอยู่จริง เทคโนโลยีบล็อกเชนจะมีบทบาทอย่างมากต่อวิธีการที่มันถูกสร้างขึ้น

คุณสมบัติของ Web3

เช่นเดียวกับ Web 2.0 ที่มีระดับความซับซ้อนมากกว่าหน้าเพจคงที่ของ Web 1.0 Web 3.0 ก็ควรแสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคนิคเช่นกัน มันเป็นอย่างนั้นใช่มั้ย?

แอพพลิเคชันออนไลน์ที่ยึดหลักการของ Web3 นั้นมีให้ใช้งานแล้ว อย่างไรก็ตาม การยอมรับในการใช้งานในวงกว้างจะไม่เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน ถึงกระนั้น เราสามารถดูแอพพลิเคชันเหล่านี้บางส่วนและใช้เป็นเทมเพลตสำหรับลักษณะของอินเทอร์เน็ตได้ในอนาคตอันใกล้นี้

คุณสมบัติหลักของ Web3 คือการแบ่งปันข้อมูล ซึ่งเป็นทางเลือกในการเป็นเจ้าของข้อมูล เทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถตรวจสอบข้อมูลและสนับสนุนข้อมูลที่ถูกจัดเก็บได้

Web3 จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse ด้วย กราฟิก 3D ขั้นสูง เช่นเดียวกับการเสริมความเป็นจริงและความเป็นจริงเสมือน จะถูกนำมาใช้งานสำหรับแอพพลิเคชันบน Web3

สุดท้ายและที่สำคัญที่สุดคือ Web3 จะใช้เทคโนโลยีสัญญาอัจฉริยะ สรุปแล้ว สิ่งนี้สามารถช่วยสร้างรูปแบบของอินเทอร์เน็ตที่ไม่ต้องการตัวกลาง และลดความต้องการคนกลางบุคคลที่สามลงเป็นอย่างมาก

การใช้งานและตัวอย่าง

มันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสำหรับแอพพลิเคชันที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับ Web3 นั้น มันจำเป็นต้องมีอิทธิพลต่อศักยภาพของเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งหมายความว่า Cryptocurrency ทั้งหมด, DApps ที่ใช้ Crypto, โครงการ DeFi, Non-Fungible Tokens, DAO ฯลฯ สามารถเพิ่มลงในรายการของเราได้

กล่าวอีกนัยหนึ่ง โครงการ Crypto ที่โอบรับแนวคิดของการกระจายอำนาจนั้นพร้อมสำหรับ Web3 ที่ถูกนำเสนอมา สามารถเห็นได้จากใน Bitcoin เอง, ตลาด NFT เช่น OpenSea, แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับการสนับสนุน Crypto เช่น Steemit, เกมเล่นเพื่อหารายได้ (P2E) หรือแพลตฟอร์มที่สร้างรายได้ เช่น Sweatcoin

ผลประโยชน์ที่ Web3 อาจจะนำมา

มันมีผลประโยชน์มากมายเมื่อพูดถึงการเปลี่ยนไปใช้ Web 3.0 แต่ใครกันคือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์หลัก? มีใครบ้างที่จะสูญเสียจากการพัฒนาเทคโนโลยีประเภทนี้?

หากนำการเปลี่ยนแปลงที่เสนอมาใช้ในวงกว้าง สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป ในทางเทคนิคแล้ว Web3 คือการที่ผู้ใช้งานทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ มันยังหมายความว่าพลังส่วนใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่จะลดลงและถูกแบ่งปันในหมู่ประชากรทั้งหมด

Web3 ก็จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงเช่นกัน มันจะกลายเป็นต้นแบบที่ยั่งยืน มันจะเพิ่มการเชื่อมต่อกับ สัญญาอัจฉริยะซึ่งสามารถช่วยทำให้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นระบบที่ไม่ต้องการตัวกลาง และการใช้ AI และเว็บเชิงความหมายจะช่วยให้มนุษย์ควบคุมพลังของเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ดีขึ้นโดยมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดจากมนุษย์น้อยลง

Web3 จะประสบความสำเร็จหรือไม่?

Web3

อย่างไรก็ตาม มีอยู่บางกรณีที่อาจจะสูญเสียไปจากการเกิดขึ้นของ Web 3.0 หากแผนการกระจายอำนาจที่แท้จริงประสบความสำเร็จ มันจะส่งผลกระทบต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเปลี่ยนไปใช้แนวทางเชิงพาณิชย์ใน Web 2.0

ประธานบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่บางรายได้แสดงถึงความ”ไม่”มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับ Web 3.0 Elon Musk ผู้ก่อตั้ง Tesla ได้กล่าวไว้ว่า สำหรับเขาแล้วรู้สึกเหมือนว่า Web3 นั้นเป็นกลอุบายทางการตลาด นอกจากนี้ Jack Dorsey อดีต CEO ของ Twitter เชื่อว่าการกระจายอำนาจนั้นเป็นไปไม่ได้ Dorsey อ้างว่าบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่จะไม่ยอมให้ตัวเองสูญเสียการควบคุมอำนาจปัจจุบันของตน

สุดท้ายนี้ เพื่อให้ Web 3.0 กลายเป็นความจริง มันจำเป็นจะต้องมีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้มากขึ้น เราได้เห็นแนวโน้มในเชิงบวกอย่างมากเมื่อไม่นานมานี้ หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป เราอาจจะเห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในเร็วๆ นี้

Web2 กับ Web3: ความแตกต่างที่สำคัญ

Web3

Web3 นั้นมีความแตกต่างจาก Web2 อย่างที่สุด มาดูความแตกต่างหลักๆ ระหว่างทั้งสองอย่างกัน

การกระจายอำนาจ

ใน Web 3.0 เครือข่ายแบบกระจายอำนาจจะทำให้แน่ใจว่าบุคคลต่างๆ สามารถควบคุมข้อมูลออนไลน์ของตนได้ นอกจากนี้ มันยังหมายความว่าพื้นที่ในการใช้งานจะถูกยกระดับขึ้น เครือข่ายจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลหรือสถาบันเดียว แต่ทุกคนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการของบล็อกเชนจะแบ่งปันความรับผิดชอบและผลตอบแทนซึ่งกันและกัน

ความเป็นส่วนตัว

ความเป็นส่วนตัวเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ การรั่วไหลของข้อมูลต่างๆ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์โดยสำนักข่าวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า Web3 จะให้ความเป็นส่วนตัวในระดับที่สูงขึ้น การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลแบบกระจายอำนาจจะช่วยให้บุคคลสามารถควบคุมข้อมูลของตนได้ดียิ่งขึ้น

ผู้เสนอแนวคิดนี้เชื่อว่า มันจะทำให้ผู้ใช้งานพึ่งพาบริษัทบุคคลที่สามในการจัดการข้อมูลของตนน้อยลงได้ อย่างไรก็ตาม มันก็ยังมีข้อขัดแย้งกับแนวคิดนี้ ซึ่งอ้างว่า ความคิดที่ว่าข้อมูลทั้งหมดจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณะบนบล็อกเชนนั้นขัดแย้งกับแนวคิดเรื่องความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน

ไม่ต้องการตัวกลางและไม่ต้องขออนุญาติ

ในทำนองเดียวกัน การใช้สัญญาอัจฉริยะสามารถสร้างอินเทอร์เน็ตที่ไม่ต้องการตัวกลางได้ ซึ่งหมายความว่าปัจเจกบุคคลไม่จำเป็นจะต้องเชื่อถือในผู้กระทำที่เป็นบุคคลที่สาม ตัวอย่างเช่น การซื้อขายสามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติตามคุณสมบัติที่เข้ารหัสในสัญญาอัจฉริยะ

อินเทอร์เน็ตก็จะกลายเป็นแบบไม่ต้องขออนุญาติเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งานจะสามารถตรวจสอบธุรกรรมหรือทำเหมืองบนบล็อกเชนได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้คุณสมบัติต่างๆ เช่น การซื้อหรือขายโดยไม่ต้องขออนุญาตจากบุคคลที่สาม

การเชื่อมต่อที่มากขึ้น

อินเทอร์เน็ตแห่งอนาคตนี้จะช่วยให้สามารถทำการเชื่อมต่อกันได้มากขึ้น การใช้ข้อมูลเชิงความหมายควรจะช่วยในการสร้างวิธีการใหม่ๆ ในการจัดระเบียบ การใช้ และการค้นหาข้อมูล ทั้งหมดนี้สามารถนำไปสู่ประสบการณ์ผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากได้

คุณควรเตรียมพร้อมสำหรับ “อินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่” หรือไม่?

Web3 ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ดังนั้น เราจึงยังไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอนว่ามันจะออกมาเป็นอย่างไร มีบางส่วนที่เกือบจะเกิดขึ้นแล้ว ในขณะที่เป้าหมายอื่นๆ ที่มีความคาดหวัง — เช่น การกระจายอำนาจโดยสมบูรณ์ — จะต้องเผชิญกับปัญหาแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ปัจเจกบุคคลควรจะคาดหวังถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในแง่ของวิธีที่เราโต้ตอบบนอินเทอร์เน็ตภายใน 10 ปีข้างหน้า มันจะเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นและเต็มไปด้วยโอกาส

สำหรับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับ Web3 และเทคโนโลยีอื่นๆ ในอุตสาหกรรมบล็อกเชน ลองไปดูที่กลุ่ม BeInCrypto Telegram คุณจะได้ทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าและมีโอกาสได้พูดคุยกับคนที่มีความคิดคล้ายๆ กัน

คำถามที่พบบ่อย

Web2 vs. Web3 คืออะไร?

Web3 ใช้ทำอะไร?

บริษัท Web3 คืออะไร?

Web 3.0 แตกต่างไปอย่างไร?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน