Trusted

Web5 คืออะไร? แล้วมันแตกต่างจาก Web3 อย่างไร

2 mins
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

Web3 — หรือ Web5 — เป็นคำศัพท์สุดฮิตที่คุณอาจจะเคยได้ยินเมื่อไม่นานมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณเป็นแฟนตัวยงของเทคโนโลยีบล็อกเชน Web3 นั้นเป็นอินเทอร์เน็ตแบบกระจายอำนาจที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมข้อมูลของตนได้ นอกจากนี้ มันยังหมายถึงอินเทอร์เน็ตในเวอร์ชั่นยูโทเปียที่แอพจะไม่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ แต่จะทำงานผ่านเครือข่าย Peer-to-Peer

คอนเซปต์ของ Web3 มีมานานกว่า 7 ปีแล้ว โดยบริษัทยักษ์ใหญ่บางแห่งได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีไปหลายพันล้านในพื้นที่นี้ เมื่อไม่นานมานี้ Jack Dorsey อดีต CEO ของ Twitter พาแนวคิดนี้ไปอีกขั้นด้วยคอนเซปต์ Web5 ของเขา

เราจะมาอธิบายว่า Web5 คืออะไรและแตกต่างจาก Web3 อย่างไร

วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

ในยุคแรกๆ ของอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับ Hypertext อย่างง่ายๆ และพัฒนาเป็นเทคโนโลยีที่ซับซ้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว มันวางรากฐานให้กับเว็บที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ขยายขอบเขตของประเภทของเนื้อหาที่เผยแพร่ทางออนไลน์อย่างต่อเนื่อง

Web2 ตามมาในยุคถัดไป Darcy DiNucci เป็นผู้คิดค้นคำว่า “Web2” ในปี 1999 แพลตฟอร์มนี้โฟกัสไปที่เนื้อหาที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้น, การใช้งานได้ง่าย, วัฒนธรรมการมีส่วนร่วม, และความสามารถของผู้ใช้งานในการแบ่งปันข้อมูล พวกมันจะโฟกัสไปที่การเชื่อมต่อผู้คนผ่านเครือข่ายสังคมและการแบ่งปันข้อมูลในแบบเรียลไทม์

Web3 นั้นก้าวไปอีกขั้น โดยรวบรวมอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทุกรูปแบบไว้ในที่เดียว Gavin Wood ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ได้ประกาศใช้คำนี้ในปี 2014 Web3 ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่ถูกบุกรุกหรือข้อมูลที่ใช้ร่วมกันโดยไม่ได้รับความยินยอม

Web3 เป็นเว็บที่กระจายอำนาจซึ่งผู้ใช้งานสามารถควบคุมข้อมูลของตนได้อย่างสมบูรณ์ มันเป็นที่ที่ผู้คนสามารถค้นพบเนื้อหาใหม่ๆ และเชื่อมต่อได้โดยไม่มีข้อจำกัดขององค์กรซึ่งปัจจุบันควบคุมดูแลอินเทอร์เน็ตอยู่ ผลลัพท์คือผู้ใช้งานสามารถสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องกลัวว่าแพลตฟอร์มจะเปิดเผยหรือละเมิดข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือความตระหนักรู้ใดๆ

สุดท้ายนี้ Web5 ได้มีการประกาศเปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้นั้นคาดว่าจะเป็นเวอร์ชั่นหลักต่อไปของ World Wide Web วัตถุประสงค์หลักคือการทำให้โปรแกรมเมอร์พัฒนาเว็บแอปแบบกระจายอำนาจ (DWA) ได้ง่ายขึ้นซึ่งใช้ข้อมูลประจำตัวที่สามารถตรวจสอบได้โดยอิสระและโหนดของเว็บที่ไม่ได้รวมศูนย์ ตรงข้ามกับระบบที่มีอยู่ — ซึ่งพ่อค้าคนกลางจะเป็นผู้ที่ควบคุมดูแลตัวยืนยัน — ระบบนี้ใช้ตัวยืนยันแบบกระจายอำนาจเพื่อควบคุมดูแลและเป็นเจ้าของข้อมูลอีกครั้ง

Web5 คืออะไร?

จุดประสงค์หลักของ web5 คือเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานมีความเป็นเจ้าของในข้อมูลส่วนบุคคลของตนโดยสมบูรณ์ เพื่อที่จะทำเช่นนั้น ทีมงานนั้นจะสร้างระบบที่กระจายอำนาจมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการข้อมูลประจำตัวและควบคุมตำแหน่งที่จะจัดเก็บข้อมูลได้อย่างง่ายดาย

เว็บไซต์ปัจจุบันนั้นเปิดให้เข้าถึงสำหรับทุกคนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล แต่ไม่มีเลเยอร์หลัก จากข้อมูลของ [TBD],

“เรามีปัญหาในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลด้วยบัญชีและรหัสผ่านนับร้อยที่เราจำไม่ได้ บนเว็บในปัจจุบัน ข้อมูลประจำตัวและข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้กลายเป็นทรัพย์สินของบุคคลที่สาม”

Jack Dorsey นั้นได้แนะนำให้บุคคลต่างๆ ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคใหม่ของ Web3 นอกเหนือจากเรื่องเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของและการจัดการ Web3 นั้นไม่โปร่งใส จากที่เขาคิด

ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้คือสิ่งที่ Web5 มุ่งหวังที่จะแก้ไข แนวคิดคือการกระจายข้อมูลของเราอย่างปลอดภัยในขณะที่ทำให้เราสามารถใช้ข้อมูลของเราได้ง่ายขึ้น!

Tim Berners-Lee กล่าวถึง Web5 ใน TED talk ว่ามันเป็น “เว็บเกี่ยวกับอารมณ์” ในปี 2009 เขาอธิบายว่ามันเป็นระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสร้างข้อมูลประจำตัวดิจิทัลขึ้นมา ผู้คนจะสามารถควบคุมข้อมูลของตนได้อย่างสมบูรณ์และสามารถสร้างรายได้จากข้อมูลดังกล่าวได้หากพวกเขาเลือกที่จะทำ

ในยุคของโทรศัพท์มือถือ — บางคนคาดเดาว่า — Web4 นั้นเกิดขึ้นไปแล้ว พวกเขาหมายถึงว่ามันเป็นสถานที่ที่อุปกรณ์กลายเป็นช่องทางหลักในการรับข้อมูลและพูดคุยกับผู้อื่น

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรก็ได้ทุกที่ทุกเวลาบนโทรศัพท์ของคุณ หลายคนเรียกสิ่งนี้ว่า Web4 เพราะมันอาศัยเทคโนโลยีมือถือมากกว่าคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปหรือแล็ปท็อปเหมือนรุ่นก่อนๆ

ทีมงานเบื้องหลัง Web5

ทีมงานที่อยู่เบื้องหลัง Web5 นำโดย Jack Dorsey อดีต CEO ของ Twitter และ CEO คนปัจจุบันของ Square เขายังเป็นผู้ก่อตั้ง The Block ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่โฟกัสในเรื่องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินใหม่โดยใช้เทคโนโลยี Bitcoin The Block ได้ประกาศแผนการสร้างเว็บกระจายอำนาจใหม่ (Web5) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ Bitcoin เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

บริษัทในเครือแห่งหนึ่งของ Block กำลังทำงานเกี่ยวกับ Web5 — หรือที่รู้จักกันในชื่อ TBD บริษัทได้อธิบายว่า Web5 คืออะไร จากข้อมูลของ TBD, Web5 จะผสานรวมเว็บแบบปัจจุบัน (web2) และ Cryptocurrency เช่น Bitcoin เข้าด้วยกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มันจะนำฟังก์ชั่นเว็บแบบเดิมมาใช้กับเทคโนโลยีบล็อกเชน TBD เป็นหนึ่งในหลายหน่วยธุรกิจที่บริษัท Square ของ Jack Dorsey ที่โฟกัสเรื่องผลิตภัณฑ์สกุลเงินดิจิทัล

Web5 ทำงานอย่างไร?

Web5

ประการแรก DWNs (Decentralized Web Nodes) เป็นแก่นโครงสร้างหลักของเครือข่ายแบบกระจายสำหรับ Web Nodes ที่สร้างเครือข่าย Peer-to-Peer ของผู้ใช้งาน Web5 ผู้ใช้งานจะเรียกใช้ DWNs ด้วยตนเองบนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งาน Web5 ต่างๆ สามารถแชร์, ส่งผ่าน, และยืนยันข้อมูลได้

การกระจาย DWNs ระหว่างผู้ใช้งานส่งผลให้มีที่เก็บข้อมูลแบบเครือข่ายโดยไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลางหรือผู้มีอำนาจควบคุม นอกจากนี้ มันยังทำให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลที่สามเช่น Google หรือ Facebook ซึ่งมักจะมีปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัว

เนื่องจากผู้ใช้งานควบคุม DWN ของตนเอง พวกเขาจึงสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้ข้อมูลของตนเป็นสาธารณะหรือไม่ ผู้ใช้งานสามารถให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลได้ หากไม่เช่นนั้น ข้อมูลจะกลายเป็นส่วนตัว ในกรณีที่ข้อมูลเป็นสาธารณะ แอปพลิเคชั่นจะเรียกใช้งานมันได้โดยอัตโนมัติ

Web5
เสาหลักของ Web5: TBD

Web5 ยังทำงานโดยใช้ DIDs (Decentralized Identifiers) และข้อมูลประจำตัวที่ตรวจสอบได้ มันคือองค์ประกอบพื้นฐานที่คุณสามารถใช้เพื่อสร้าง Self-Sovereign Identities (อัตลักษณ์ที่คุณมีอำนาจในตัวเอง) การผสานรวมดังกล่าวช่วยให้สามารถสร้างเอกลักษณ์แบบกระจายอำนาจได้ ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งานสามารถยืนยันตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่ง DID เป็นเพียงส่วนประกอบที่สัมผัสกับบล็อกเชนสาธารณะ หมายความว่า มันไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในบล็อกเชน

DID เป็นตัวยืนยันตนที่เป็นเอกลักษณ์ พวกเขาสามารถควบคุมข้อมูลของตนเองได้และสร้างขึ้นโดยผู้ใช้งานเอง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถคงความเป็นเจ้าของเหนือข้อมูลประจำตัวของตนได้ ข้อมูลประจำตัวที่ตรวจสอบได้จะใช้เพื่อพิสูจน์ตัวตนในแง่มุมต่างๆ ใช้เพื่อรับข้อมูลประจำตัวจากบุคคลอื่นที่ยืนยันถึงความสามารถ ความน่าเชื่อถือ และชื่อเสียงของผู้ที่เป็นเจ้าของ เมื่อรวมกันเป็นตัวตนทางคอนเซปต์ที่เรียกว่า “Self-Sovereign Identity Services” (SSIS) คอนเซปต์ทั้ง 2 นี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเป็นเจ้าของที่แท้จริงของข้อมูลประจำตัวดิจิทัลของตนได้

Web3 vs. Web5

Web5

วิสัยทัศน์หลักของ Web5 เปรียบได้กับวิสัยทัศน์ของ Web3 ซึ่งแต่ละแนวทางก็มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง คอนเซปต์ของแอป Web3 อยู่ในรูปแบบของสัญญาอัจฉริยะที่ทำงานบนบล็อกเชนสาธารณะเช่น Ethereum บุคคลหลายคนอ้างอิงถึง Web3 ว่าเป็นแอปพลิเคชั่นที่กระจายอำนาจ (DApps) มันเป็นโค้ดพื้นฐานที่อยู่ในเครือข่ายการกระจายอำนาจแบบบล็อกเชน

ในทางกลับกัน Web5 นั้นมีเว็บแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (DWA) ที่ไม่ได้ทำงานบนบล็อกเชน แต่สามารถสื่อสารกับ DWNs ได้ เรื่องนี้ส่งผลให้เกิดการสร้างเครือข่ายรีเลย์แบบ Peer-to-Peer ที่อยู่อย่างอิสระจากบล็อกเชนสาธารณะใดๆ

ด้วย Web5 คุณสามารถควบคุมข้อมูลของคุณได้ ซึ่งคุณสามารถบันทึกมันบน DWNs ได้ ในทางกลับกัน Web3 จะจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่ายแบบกระจายอำนาจหรือระบบไฟล์แบบกระจายด้วย IPFS ที่สามารถกระจายและจัดเก็บข้อมูลในระบบเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer ได้

เมื่อใดที่ Web5 จะพร้อมให้ใช้งานแบบสาธารณะ?

ในปัจจุบัน Web5 เป็นเพียงโปรเจกต์โอเพ่นซอร์สที่ยังคงดำเนินการอยู่ ทีมงานยังต้องการเวลาที่จะวางแผนว่า Web5 จะเปิดตัวเมื่อใดและจะใช้งานมันอย่างไร Mike Brock ซึ่งรับผิดชอบ TBD ได้ยืนยันเมื่อไม่นานมานี้ว่าจะไม่มีโทเค็นที่ใช้ลงทุนในระบบนิเวศของ Web5

Web5 คืออินเทอร์เน็ตแบบกระจายอำนาจที่เราต้องการ

Web5 นั้นจะเป็นอินเทอร์เน็ตในยุคถัดไป มันยังไม่กลายเป็นจริง แต่ก็อยู่ใกล้มากพอที่เราจะเห็นได้ว่ามันมีอะไรอยู่บ้างในเว็บเบราว์เซอร์และบริการเวอร์ชั่นถัดไป

ทีมงานที่อยู่เบื้องหลัง Web5 ได้ทำงานกับเทคโนโลยีโอเพนซอร์สนี้มานานกว่าทศวรรษแล้ว ผู้สร้างและผู้ที่นำแนวคิดนี้ไปใช้งานในช่วงแรกนั้นยังต้องปรับแต่งมันอยู่ เนื่องจากมันยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ยิ่งมีคนใช้งาน Web5 มากเท่าไร โอกาสที่มันจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราก็จะมากขึ้นเท่านั้น

คำถามที่พบบ่อย

Web5 คืออะไร?

Web5 ทำงานอย่างไร?

Web3 มีอนาคตหรือไม่?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน