Trusted

Take Profit และ Stop Loss คืออะไร วิธีตั้ง TP และ SL ในการเทรดปี 2023

6 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

In Brief

  • ทำไมต้องตั้ง Stop Loss และ Take Profit
  • Stop Loss และ Take Profit คืออะไร
  • Trailing Stop คืออะไร
  • Risk to Reward Ratio (R/R) คืออะไร
  • ข้อดี และ ข้อเสีย ของการตั้ง SL และ TP
  • สรุป

หากคุณเป็นนักเทรดไม่ว่าจะ คริปโตเคอเรนซี่ หุ้น หรือ สินค้าโภคภัณฑ์ สิ่งที่ขาดไปไม่ได้คือ “การกำหนดและจำกัดความเสี่ยง” ในการลงทุน และวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การกำหนดจุด Take Profit และ Stop Loss หรือที่จะเรียกย่อๆ ว่า TP และ SL นั่นเอง

หากคุณมีเงินสักก้อนหนึ่งเพื่อมาลงทุน คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการเข้าซื้อสินทรัพย์ของคุณเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแม้ว่าคุณจะทำการบ้านเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้นมาอย่างดีก็ตาม ในระยะแรกคุณอาจเข้าซื้อและเริ่มเห็นกำไร แต่วันถัดมาอาจเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น

จากทั้ง 2 เหตุการณ์นี้ คำถามคือ คุณจะยอมแพ้กับสินทรัพย์นี้เมื่อไหร่ หรือคุณจะปล่อยให้การขาดทุนรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และหากสินทรัพย์เติบโตขึ้น จุดไหนคุณถึงจะตัดสินใจขายเพื่อทำกำไร

Take Profit และ Stop Loss คืออะไร

Stop Loss (SL) คือ คำสั่งใช้เพื่อการป้องกันเงินต้นของคุณ และกำหนดความเสี่ยงในการเทรดในแต่ละครั้ง เมื่อคุณตั้งค่าแล้วหากสินทรัพย์ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับราคาที่ตั้งไว้ คำสั่งจะทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งนักเทรดส่วนใหญ่จะตั้งให้ทำ Market Order หรือ ขาย ณ ราคาตลาดทันที

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณซื้อ Bitcoin ที่ราคา 10,000 ดอลลาร์ และต้องการ Cut loss หากราคาเหลือเพียง 9,000 ดอลลาร์ นั่นหมายความว่า คุณจำกัดความเสี่ยงไว้ที่ 10% ของสถานะที่เข้าถือครองหากคุณเข้าซื้อด้วยเงินต้น 100% กรณีที่คุณเปิดสถานะ Short ในตลาด Future หากคุณตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ 11,000 ดอลลาร์ ให้ทำการปิดสถานะขาดทุน 10%

คำสั่ง Take Profit (TP) คือ คำสั่งการวาง Limit Order หรือตั้งขายทิ้งเอาไว้ ณ ราคาที่คุณต้องการเก็บกำไร เมื่อสินทรัพย์เคลื่อนไหวในทิศทางที่คุณคาดเดาไว้ หรือในบางกรณีอาจเป็น Market Order ก็ได้เช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณซื้อ Bitcoin ที่ราคา 10,000 ดอลลาร์ และต้องการขายเก็บกำไรที่ 11,000 ดอลลาร์ คุณแค่เพียงตั้งขายไว้ และเมื่อราคาไปถึงระบบจะขายทำกำไรให้คุณอัตโนมัติ

ทำไมต้องตั้ง TP และ SL

คำถามเหล่านี้ คือสิ่งที่นักลงทุนจะต้องตอบให้ได้ก่อนเข้าเทรดสินทรัพย์ และหากคุณซื้อขายในกรอบเวลาที่สั้น เช่น การเทรดรายวัน การกำหนด TP และ SL คือ ตัวช่วยที่ดีที่สุดในการตัดสินใจ เพราะมันคือการกำหนดราคาเป้าหมายล่วงหน้า เพื่อพิจารณาและจำกัดความเสี่ยงต่อการลงทุนในแต่ละครั้ง

โดยเฉพาะกับการลงทุนใน Cryptocurrency แพลตฟอร์มส่วนมากทั้งกระดานรวมศูนย์และ DeFi ล้วนให้คุณตั้งกลไกให้ทำงานแบบอัตโนมัติได้แม้ว่าคุณจะนอนหลับอยู่ก็ตาม สิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของคุณได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในตลาดที่ผันผวนและความเสี่ยงสูงอย่าง Future ที่อนุญาตให้เปิดสถานะ Short และ Long

ตัวอย่างการตั้ง TP และ SL โดย Take Profit คือจุดทำกำไร Stop Loss คือ จุดตัดขาดทุน

Trailing Stop คืออะไร

ในกรณีที่นักเทรดต้องการปกป้องผลกำไรของตน การพลิกแพลง Stop Loss ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือได้ ซึ่งเรียกกันว่า Trailing stop ที่จะให้ความยืดหยุดมากกว่า ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามเปอร์เซ็นต์หรือยอดเงินที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเปิดเข้าซื้อ Bitcoin ที่ 10,000 ดอลลาร์ และปัจจุบันคุณกำไร 100% เพราะราคาเติบโตไปเป็น 20,000 ดอลลาร์ แต่คุณต้องการปกป้องกำไรของคุณส่วนหนึ่ง

คุณสามารถตั้ง Trailing Stop ให้ทำงานที่ราคา 20,000 ดอลลาร์ ว่า หากราคาลดลงกว่าราคาสูงสุด 10% ให้ทำการขาย นั่นหมายความว่าหากราคาแตะ 20,000 ดอลลาร์แล้วลดลงต่ำกว่า 18,000 ดอลลาร์ สถานะจะปิดทันที่ พร้อมปกป้องกำไรไว้ 80%

Risk to Reward Ratio (R/R) คืออะไร

หากคุณนำทั้งการ SL และ TP มาใช้ คุณจะสังเกตได้ว่า ก่อนการลงทุนในทุกๆ ครั้ง คุณจะสามารถกำหนดความเสี่ยงและเป้าหมายในการทำกำไรได้ล่วงหน้า ว่า “อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง” คุ้มค่าหรือไม่ หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่า Risk to Reward Ratio (R/R)

หัวใจสำคัญในการสร้าง setup เพื่อเทรดคือ การสร้าง R/R คือการกำหนดจุดทั้ง 2 อย่างสมเหตุสมผล โดยทั่วไปแล้ว R/R ที่เหมาะสม R/R ควรมากกว่า 2:1 เป็นอย่างน้อย หรือกก็คือ ผลตอบแทนควรสูงกว่าความเสี่ยง 1 เท่า

การกำหนดจุดสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนจะอ้างอิงจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) เช่น การใช้ Dow Theory โดยตั้ง Stop Loss ใต้จุดต่ำสุด หรือใต้แนวรับ และตั้ง Take Profit ที่แนวต้าน ดังนั้นเทคนิคที่ดีเพื่อให้ได้ R/R ที่สูง คือ การเข้าซื้อใกล้แนวรับที่แข็งแกร่งนั่นเอง

risk reward ratio ดูอัตราความคุ้มค่าของการเทรด

ข้อดี และ ข้อเสีย ของการตั้ง TP และ SL

ประโยชน์ของคำสั่ง Stop Loss

  • คำสั่ง Stop-Loss จะช่วยให้การขายสินทรัพย์หรือหุ้นเป็นอัตโนมัติ จึงลดกิจกรรมที่คนต้องทำในพอร์ตของคุณให้เหลือน้อยที่สุด โดยคำสั่งจะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อราคาสินทรัพย์ถึงราคาที่กำหนดไว้
  • คำสั่งจะปกป้องเทรดเดอร์ไม่ให้ขาดทุนจำนวนมากในตลาด ถึงแม้ราคาจะปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาที่ตั้งไว้ แต่เทรดเดอร์ก็จะขาดทุนน้อยที่สุดเท่านั้น
  • Stop-Loss ช่วยส่งเสริมการมีวินัยในตนเองเมื่อเทรด โดยจะสนับสนุนให้ดำเนินการตามวิธีและกลยุทธ์ทางการเงิน ดังนั้นจึงช่วยขจัดความรู้สึกตื่นเต้นมากเกินไปของผู้คน
  • คำสั่งจะช่วยสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงกับผลตอบแทนในการเทรดหนึ่งครั้งในตลาดหุ้น

ข้อเสียของคำสั่ง Stop Loss

  • หากคุณกำลังใช้บริการโบรกเกอร์ โบรกเกอร์บางแห่งจะเรียกเก็บค่าใช้บริการ ดังนั้น คุณจึงอาจต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • เทรดเดอร์ต้องตัดสินใจว่าจะตั้ง Stop-Loss ที่ราคาใดซึ่งท้าทายและจัดการยาก หากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คุณสามารถขอรับความช่วยเหลือได้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินแต่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • ความผันผวนทางราคาระยะสั้นรูปแบบใดก็ตามอาจทำให้คำสั่ง Stop-Loss ทำงาน จึงทำลายวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้
  • บางครั้ง เทรดเดอร์จะถูกบังคับให้ขายสินทรัพย์ของตนเองเร็วเกินไปหรือในทันที ซึ่งจะจำกัดการทำกำไรเพิ่มเติมหรือตัดแนวโน้มที่อาจทำกำไรได้โดยที่เทรดเดอร์อาจรอจนถึงระดับที่มีความเสี่ยงสูง

ประโยชน์ของคำสั่ง Take Profit

  • เทรดเดอร์สามารถรู้ผลตอบแทนหรือความเสี่ยงของการเทรดก่อนเปิดสถานะ เมื่อมีข้อมูลดังกล่าว เทรดเดอร์จะสามารถตัดสินใจได้โดยมีข้อมูลประกอบว่าจะดำเนินการเทรดหรือไม่
  • คำสั่งดังกล่าวจะช่วยขจัดการใช้อารมณ์ของมนุษย์เนื่องจากเทรดเดอร์สามารถเห็นหรืออ้างอิงการตัดสินใจตามกราฟหรือข้อมูลที่ชัดเจน
  • คำสั่งจะช่วยให้เทรดเดอร์เตรียมใจก่อนผลในภายหลัง ไม่ว่าเทรดเดอร์จะขาดทุนหรือไม่ พวกเขาก็จะไม่ตกใจ

ข้อเสียของคำสั่ง Take Profit

  • เทรดเดอร์บางคนไม่สามารถใช้ Take-Profit ได้เนื่องจากต้องอาศัยความรู้บางอย่าง ดังนั้น เทรดเดอร์จะต้องลงทุนกับแหล่งข้อมูลการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายกับเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์
  • เมื่อถึงราคาที่ตั้ง Take-Profit เทรดเดอร์จะไม่สามารถได้กำไรมากกว่านั้น หากการเทรดตั้ง Take-Profit ไว้ที่ $10.25 พวกเขาจะเสียกำไรที่มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ กล่าวคือส่วนที่มากกว่า $10.25 จะหายไป อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์สามารถดำเนินการเทรดใหม่ในกรณีที่ความเคลื่อนไหวของราคายังคงเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
  • ข้อสุดท้าย ยังมีโอกาสที่จะไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการหากราคาไม่ถึงระดับของคำสั่ง Take-Profit ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อราคาปรับตัวไปทางเป้าที่ตั้งไว้แล้วกลับตัวไปยังระดับคำสั่ง Stop-Loss เท่านั้น สรุปแล้ว เป้าของกำไรที่ตั้งไว้สูงจะไม่ประสบความสำเร็จในการเทรดในหลายๆ ครั้ง แต่หากตั้งคำสั่งไว้ใกล้เกินไป ก็อาจจะไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่กำลังแบกรับ

สรุปเรื่องราว TP และ SL

การตั้ง Stop Loss และ Take Profit เป็นเพียงเครื่องมือในการลงทุนเท่านั้น ดังที่กล่าวมา หัวใจสำคัญคือ ความชำนาญในการค้นหาและกำหนดราคาที่เหมาะสม และมีระเบียบวินัยในการทำตามแผนที่วางไว้

แน่นอนว่ากลไกเหล่านี้ย่อมมีข้อดีและข้อเสีย แต่หากนักลงทุนเข้าใจข้อจำกัดและความสามารถของมันแล้ว คุณก็อาจวางแผนได้อย่างแม่นยำมากขึ้นพร้อมป้องกันการสูญเสียเงินต้นทั้งหมดของคุณ หากคุณประสบความสำเร็จ คุณจะมีสถิติในการทำกำไรที่ดีกว่าเดิมพร้อมกับความเสี่ยงที่จำกัดได้ด้วยตัวคุณเอง

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน