Trusted

NFTs กำลัง disrupt “อุตสาหกรรมศิลปะ” อย่างไร ตอนที่ 1

1 min
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

สรุปย่อ

  • ตัวกลางบนโลกศิลปะที่ถูก disrupt
  • การปฎิวัติรูปแบบ “การกำหนดราคา” ของชิ้นงานศิลปะ
  • Promo

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่าง NFTs กำลังเข้ามาเป็นสื่อกลางใหม่ในการทำงานศิลปะ แต่ไม่เพียงเท่านั้นด้วยโลกของบล็อกเชน มันกำลังสร้างอุตสาหกรรมทางศิลปะที่เป็นระบบนิเวศของตัวเองและกำลัง disrupt โลกศิลปะร่วมสมัยหรือไม่?

NFTs ได้กลายเป็นที่สนใจของศิลปินและนักสะสมทั่วโลก ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ๆ แต่การสนทนาส่วนใหญ่ที่หายไปคือการที่ NFTs กำลังเปลี่ยนโฉมตลาดศิลปะแบบดั้งเดิม ซึ่งมันกำลังดึงดูดทั้งศิลปิน นักสะสม หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ และเวทีประมูลงานศิลปะต่างๆ ด้วย

ชิ้นงานต่างๆ อาจอิงจากงานศิลปะที่จับต้องได้ ผลงานดิจิทัลโดยกำเนิด เพลง ของสะสม หรือสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ก็สามารถทำได้ แล้ว NFT มีบทบาทบนตลาดศิลปะที่มีอยู่ได้อย่างไรบ้าง บางคนอาจคิดว่า NFT เป็นแฟชั่น แต่มันก็มีนัยนะที่น่าสนใจสำหรับโลกของศิลปะร่วมสมัยและอนาคตของโลกศิลปะสื่อกลางดิจิทัล

ตัวกลางบนโลกศิลปะที่ถูก disrupt

เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่ศิลปินและงานศิลปะของพวกเขา ต้องพึ่งพาแกลเลอรี่เพื่อจัดวางงานศิลปะ หรือพิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บรักษางานและบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ และนักสะสมรายได้สูงที่จะมาเป็นแหล่งรายได้ของพวกเขาหรืออาจเป็นตลาดรองอย่าง Sotheby และ Christie’s อีกนัยหนึ่งพวกเขาเป็นผู้กำหนดทิศทางของโลกศิลปะ

NFT และตลาดกลางของพวกเขากำลังเสนอทางออกใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องจำกัดศิลปินและผลงานศิลปะให้ขึ้นอยู่กับตัวกลางเหล่านี้อีกต่อไป พวกเขาสามารถนำเสนอชิ้นงาน ซื้อขาย พูดคุย กับเหล่านักสะสมได้อย่างอิสระ

Sotheby’s Auction House

การปฎิวัติรูปแบบ “การกำหนดราคา” ของชิ้นงานศิลปะ

NFT ยังขัดขวางการกำหนดราคางานศิลปะและวิธีที่แกลเลอรี่และศิลปินได้รับเงิน โดยทั่วไปแล้ว แกลเลอรี่จะมี “มาตรฐาน”การกำหนดราคาสำหรับงานศิลปะอยู่โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ของศิลปิน ศิลปินหน้าใหม่จะถูกกำหนดราคาโดยอ้างอิงจากต้นทุน ขนาด หรือ สื่อกลาง ที่ใช้เป็นส่วนใหญ่

เมื่อเวลาผ่านไป ตลาดรองจะเข้ามาจับจ้องศิลปินที่โด่งดังหรือเริ่มช่ำชองที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่การซื้อขาย ทุกครั้งที่งานศิลปะขายในตลาดรอง รายได้จะตกเป็นของเจ้าของชิ้นงาน ณ ขณะนั้นใน ดังนั้นหลังจากการขายครั้งแรก ศิลปินส่วนใหญ่จะไม่ได้รับประโยชน์จากราคาที่เพิ่มขึ้นในภายหลัง และหากศิลปินจะทำผลงานชิ้นใหม่ พวกเขาจำเป็นต้องพึ่งคนกลางอย่างแกลเลอรี่เพื่อเชื่อมโยงกับนักสะสม แกลเลอรี่ก็จะได้ส่วนแบ่งส่วนหนึ่งไป

NFTs เปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ สัญญา NFT อาจรวมถึงอนุประโยคเพื่อให้ศิลปินได้รับค่าลิขสิทธิ์ในการทำธุรกรรมครั้งต่อๆ ไป โดยได้รับส่วนต่างที่อาจเกิดขึ้น ตลาด NFT ขนาดใหญ่เช่น OpenSea มักจะให้ความสำคัญกับจุดนี้ การกำหนดราคาจึงมักจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงโดย อุปทานและอุปสงค์ นักสะสมจะเป็นผู้ผลักดันราคาที่เหมาะสมให้แก่ผลงานเหล่านั้นเอง โดยไร้ตัวกลาง

การทำให้ตลาดศิลปะเป็นประชาธิปไตยนี้หมายความว่ามีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากขึ้นจากภายในและภายนอกโลกแห่งศิลปะแบบดั้งเดิม พวกเขากำลังทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มที่หลากหลายและแตกต่างกัน และสร้างระบบนิเวศหรืออุตสาหกรรมใหม่ขึ้นด้วยเทคโนโลยีนี้

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน