Trusted

Standford University: ที่มากับข้อเสนอ ERC-20R และ ERC-721R ตอนที่ 2

1 min
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

สรุปย่อ

  • Proposal ERC-20R และ ERC-721R
  • คำวิจารณ์ต่อข้อเสนอ
  • Promo

ERC-20R และ ERC-721R เป็นชื่อของ 2 มาตรฐานโทเค็นใหม่ที่ Kaili Wang, Qinchen Wang และ Dan Boneh จาก Standford University เสนอเพื่อแก้ปัญหาการโจรกรรม Crypto

หากพูดให้เข้าใจง่ายแล้ว สิ่งที่พวกเขาเสนอคือ การทำธุรกรรมบนบล็อกเชนจะมีช่วงเวลาสั้นๆ ที่สามารถย้อนกลับธุรกรรมได้ หรือก็คือ Reversible ที่เป็นตัว R ต่อท้ายมาตรฐานดังกล่าวนั่นเอง

มาตรฐานเหล่านี้บน Ethereum ทำหน้าที่เป็นคู่มือสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการสร้างโทเค็นใหม่ และโค้ดที่ถูกเขียนจะถูกกำหนดโดยมาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้าบางประการ มาตรฐานเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนแม่แบบ นักพัฒนาสามารถโคลนแม่แบบโทเค็น เปลี่ยนพารามิเตอร์สองสามตัว และสร้างสกุลเงินดิจิทัลใหม่เอี่ยมที่เข้ากันได้กับแอป Ethereum ส่วนใหญ่ได้โดยอัตโนมัติ

Proposal ERC-20R และ ERC-721R

กลุ่มนักวิจัยเสนอมาตรฐานเพิ่มเติมสำหรับมาตรฐานที่หลายๆ ท่านอาจคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว นั่นคือ ERC-20 และ ERC-721 หรือมาตรฐานสำหรับเหรียญคริปโตสกุล ETH และ non-fungible token (NFT) นั่นเอง

“ภายในระยะเวลาอันสั้นในขั้นตอนของ Dispute period ผู้ส่งธุรกรรมสามารถขอยกเลิกธุรกรรมได้โดยการโน้มน้าวและร้องขอให้ ‘กลุ่มผู้พิพากษาที่กระจายอำนาจ’ ระงับทรัพย์สินที่มีข้อพิพาทก่อน จากนั้นจะสามารถร้องขอให้พวกเขาย้อนกลับธุรกรรมได้” นักวิจัยอธิบายในเอกสารวิจัยของพวกเขา

Source: Kaili Wang

เมื่อหนึ่งในนักวิจัย Kaili Wang โพสต์ข้อความทวีตที่อธิบายข้อเสนอนี้ Crypto Twitter ก็รุกเป็นไฟทันที และก่อให้เกิดการวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับ “ชุดผู้พิพากษาที่กระจายอำนาจ” ที่ถูกเสนอขึ้นมา

คำวิจารณ์ต่อข้อเสนอ

ทวีต FatMan หรือนักสืบ crypto มีผู้ติดตามจำนวนมากกล่าวแย้งว่าระบบแบบเดียวกับที่เสนอในรายงานใช้ไม่ได้ผล “ระบบศาลแบบกระจายอำนาจโดยใช้แบบจำลองกระบวนการยุติธรรมที่คุณเสนอนั้นมีอยู่แล้ว เช่น Kleros และโชคไม่ดีที่ระบบดังกล่าวเต็มไปด้วยการทุจริต โดยกลุ่ม Founder และผู้ถือโทเค็นในยุคแรกที่มีอำนาจ”

ในขณะเดียวกัน Luke Youndblood, co-founder จาก Lunar Labs DeFi ก็ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้โดยมุ่งไปที่ประเด็นด้านกฎเกณฑ์และโครงสร้างอำนาจ เขากล่าวว่า “มันสร้างช่องโหว่ด้านกฎระเบียบและการเซ็นเซอร์ ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ สามารถย้อนกลับธุรกรรมคริปโตได้ด้วยอำนาจที่มี ดังนั้นจึงเป็นการละเมิดแนวคิดเรื่อง Anti-censorship และ Immutability ของบล็อคเชน” หากบล็อกเชนไม่มี 2 คุณลักษณะนี้มันก็ไม่ต่างไปจากระบบธนาคารทั่วไปในปัจจุบันที่มีอยู่แล้ว

ด้านกลุ่มนักวิจัยยอมรับว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาและคำวิจารณ์นั้นสมเหตุสมผล โดยกล่าวว่า อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ในข้อเสนอของพวกเขาคือ “มันเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะสร้างกระบวนการยุติธรรมที่เป็นกลางจริงๆ และหากทำได้มันควรทำด้วยวิธีใด” แน่นอนว่างานวิจัยนี้ยังอยู่ขั้นตอนเบื้องต้นเท่านั้น และมันอาจเป็นคำถามชวนให้ชุมชนคริปโตชุกคิดเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025

ข้อจำกัดความรับผิด

หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน