Trusted

สรุปวิกฤต Evergrande บริษัทอสังหาริมทรัพย์เบอร์ 2 ของจีน

3 mins
อัพเดทโดย Nonthachai Sukkankosol

สรุปย่อ

  • เกิดอะไรขึ้นกับ Evergrande
  • วิกฤตอาจเพิ่งเริ่มขึ้นเพียงเท่านั้น
  • Promo

การยื่นล้มละลายของ Evergrande บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่อันดับ 2 ของจีนในสหรัฐฯ คือบทสรุปของโมเดลการเติบโตแบบทุ่มสุดตัวที่ที่ผลักดันจีนมาตลอดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่พวกเขาเคยเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของจีน และกู้หนี้สินในเป็นจำนวนมากในขณะที่เศรษฐกิจของจีนกำลังขยายตัว ในช่วงนั้นชาวจีนมีความต้องการในด้านอสังหาริมทรัพย์สูงมาก ทำให้บริษัทรับเหมามักจะขายห้องชุดล่วงหน้าให้กับผู้ซื้อก่อนที่การก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์

แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในนโยบายของผู้นำจีนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ทำให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของประเทศต้องดิ้นรนหาเงินมาเพื่อใช้หนี้พร้อมกับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สิ่งนี้ทำให้ระบบการเงินภายในประเทศและบริษัทยักษ์ตกอยู่ในความเสี่ยงที่สูง

เกิดอะไรขึ้นกับ Evergrande

วิกฤตเริ่มก่อตัวขึ้นในปี 2021 เมื่อรัฐบาลกลางเคลื่อนไหวเพื่อควบคุมการกู้ยืมที่มากเกินไปเพื่อพยายามชะลอการเพิ่มขึ้นของราคาบ้าน ซึ่งเป็นการตัดแหล่งเงินทุนหลักสำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างรุนแรง

การเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบายทำให้ทางบริษัทมีหนี้สินถึง 300,000 ล้านดอลลาร์ และทำให้พวกเขาไม่สามารถหาเงินสดมาได้เร็วพอที่จะชำระหนี้ได้ทัน

การผิดนัดชำระหนี้ในเดือนธันวาคม 2564 ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในตลาดเป็นอย่างมาก คลื่นของการผิดนัดชำระหนี้ตามมาเป็นระลอกๆ ทำให้ปัจจุบันตลาดอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของจีนยังไม่ฟื้นตัวแม้จะผ่านมาถึง 2 ปีแล้วก็ตาม อาคารหลายสิบโครงการถูกระงับ ทำให้ลูกค้าที่จองซื้อ “Pre-sale” ที่อยู่อาศัยจำนวนมากไม่มีบ้านใหม่และมีภาระหนี้ก้อนโต

สุดท้ายทางบริษัทจึงตัดสินใจยื่นฟ้องล้มละลาย (Chapter 15) ในตลาดสหรัฐอเมริกาที่ทางบริษัทมาจัดทะเบียน เพื่อเข้าสู่กระบวนการการปรับโครงสร้างหนี้ โดยล่าสุดหนี้ภายนอกประเทศจีนของพวกเขาอยู่ที่ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์

วิกฤตอาจเพิ่งเริ่มขึ้นเพียงเท่านั้น

วิกฤตของทางบริษัทอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเพียงเท่านั้น เพราะยังมีผู้สร้างรายใหญ่รายอื่นๆ ในประเทศจีนได้ผิดนัดชำระหนี้เช่นเดียวกัน และทั้งหมดทั้งพวงมีสาเหตุที่คล้ายคลึงกันกับพวกเขา

อีกหนึ่งบริษัทที่นักลงทุนทั่วโลกกำลังเฝ้าดูคือ Country Garden ซึ่งมีพนักงานกว่า 300,000 คน ได้ผิดการชำระหนี้มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ถึง 2 ครั้ง นอกจากนี้ทางบริษัทยังกล่าวอีกว่าพวกเขากำลังพิจารณา “มาตรการจัดการหนี้ต่างๆ”

การล่มสลายของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์เหล่านี้ ทำให้นักวิเคราะห์หลายๆ คนนึกถึงช่วงวิกฤต Subprime ในปี 2008 และทำให้นักลงทุนทั่วโลกต่างวิตกกังวล แม้แต่ Michael Burry จาก The Big Short ผู้ทำกำไรจากวิกฤต Subprime ก็ได้ทำการ Short ตลาดหุ้นสหรัฐเป็นที่เรียบร้อย การลงทุนในช่วงเวลานี้จึงต้องอาศัยความระมัดระวังเป็นอย่างมาก

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน