ก.ล.ต. ไทย เผยปัจจุบันมีผู้กำลังยื่นขอใบอนุญาตทำธุรกิจ Digital Asset Custodian หรือ ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ที่อยู่ในระหว่างหารือแล้วร่วม 4 ราย
ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ส่วนใหญ่แล้วกระเทรดซื้อขายจะใช้บริการรับฝากของต่างประเทศ สิ่งนี้เป็นสัญญาณที่อุตสาหกรรมคริปโตในประเทศไทยกำลังเดินหน้าไปอีกก้าว
ข้อจำกัดด้านกฎหมายในปัจจุบัน
ตามกฎหมายการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลกำหนดไว้ว่า ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเก็บสินทรัพย์ของลูกค้าไม่น้อยกว่า 80% ไว้ใน cold wallet ของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ และจัดเก็บไว้ใน hot wallet หรือ cold wallet ของตนเองได้ประเภทละไม่เกิน 10% เท่านั้น
ข้อจำกัดดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยเลือกใช้บริการผู้จัดเก็บสินทรัพย์ในต่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับการรับรองจากเขตอำนาจนั้นๆ แทน ยกตัวอย่างเช่น Anchorage Digital, BitGo, และ Coinbase
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ก.ล.ต. แห่งประเทศไทยจึงเล็งเห็นโอกาสว่า ทางหน่วยงานสามารถสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้เช่นกัน และมีข้อสรุปในเบื้องต้นหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นไปก่อนหน้านี้
ก.ล.ต. ไทย ปรับกฎดึงดูดการใช้งาน Digital Asset Custodian ในประเทศ
นาย อเนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ทางหน่วยงานกำลังปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมภาคส่วนนี้ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และผลักดันอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ในเบื้องต้นมีรายละเอียดดังนี้
1.ปลดข้อจำกัด same roof แก่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนและบริษัทย่อยที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศเพื่อให้สามารถให้บริการผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีผู้ถือผู้รายใหญ่ร่วมกันได้ โดยต้องมีความเป็นอิสระต่อกันตามข้อบังคับ
2.ปรับอัตรา Net Capital (NC) ใน Cold wallet ที่ผู้ประกอบการฝากไว้กับผู้รับฝากในประเทศไทย ให้ต่ำกว่าอัตราที่บังคับไว้กรณีฝากไว้กับผู้รับฝากในต่างประเทศ เพื่อดึงดูดให้ใช้บริการของผู้รับฝากในประเทศไทย
ข้อจำกัดความรับผิด
หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ