ท่ามกลางการบังคับใช้กฎหมายคริปโตในสหรัฐฯ ที่กำลังร้อนระอุ ในฐานะนักลงทุนชาวไทยเราควรทราบว่า อุตสาหกรรมคริปโตในประเทศไทยกำลังเดินหน้าไปในทิศทางใด บทความนี้จะมาเปรียบเทียบกฎระหว่าง SEC ไทย และ สหรัฐฯ
ตลาดคริปโตสูญเสียมูลค่าเป็นอย่างมากหลังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (ก.ล.ต.) สั่งฟ้องร้องกระดานซื้อขายที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Binance และ Changpeng Zhao (CZ) รวมถึง Coinbase ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา โดยเครื่องมือที่ทางหน่วยงานนำมาใช้คือ “กฎหมายหลักทรัพย์” ในการสั่งฟ้อง
การกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลโดย SEC สหรัฐฯ
ก.ล.ต. สหรัฐฯ บังคับใช้ “กฎหมายหลักทรัพย์” ในการโจมตีกระดานซื้อขายคริปโตเคอเรนซี่ต่างๆ โดยอ้างว่าบริษัทเหล่านี้ เสนอขาย “หลักทรัพย์” ที่ไม่ได้จดทะเบียน
เกณฑ์การพิจารณาถูกอ้างอิงจากหลัก Howey Test ซึ่งประกอบด้วย
1.มีการลงทุนด้วยเงิน
2.เป็นการลงทุนในกิจการ
3.มีความคาดหวังผลกำไรจากการลงทุน
4.กำไรที่ได้เกิดจากความพยายามของบุคคลอื่น
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวทำให้เหรียญคริปโตหลายสกุลถูกจัดเป็นหลักทรัพย์ เช่น เหรียญชื่อดังอย่าง ADA, MATIC, และ SOL นั่นหมายความว่า “สินทรัพย์ดิจิทัล” กำลังถูกควบคุมโดย “กฎหมายหลักทรัพย์” เป็นหลักในสหรัฐ
การกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลโดย SEC ไทย
ประเด็นสำคัญที่แตกต่างกันคือ ประเทศไทยมี “กฎหมายหลักทรัพย์ และ กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน” อ้างอิงตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 (พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล)
พ.ร.ก.ดังกล่าว ครอบคลุมถึง คริปโตเคอเรนซี่ โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) และ โทเค็นดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้ ไม่ถือเป็น “หลักทรัพย์”
นอกจากนี้ทาง ก.ล.ต. ไทย มีแนวทางการกำกับดูแลที่อ้างอิงจากแนวทางในสหภาพยุโรปเป็นหลัก ตามหลัก Markets in Crypto-Assets Regulation (MiCA) ไม่ใช่ตามแนวทางของสหรัฐในปัจจุบัน
ข้อจำกัดความรับผิด
หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ