The Graph เป็นหนึ่งในโปรโตคอลและสินทรัพย์ดิจิทัลที่มียูทิลิตี้ที่ไม่ซ้ำใครและเป็นหนึ่งในโปรเจคโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในอนาคต โปรเจคนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 โดย Yaniv Tal, Brandon Ramirez และ Jannis Pohlmann
โปรเจคนี้เป็นโปรโตคอล open-source ที่ใช้ DLT (Distributed Ledger Technology) ซึ่งได้รับการออกแบบตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจเพื่อรวบรวมข้อมูลบล็อคเชนโดยไม่มีบุคคลที่สามที่เกี่ยวข้อง
โปรโตคอลนี้ให้บริการ API สาธารณะสำหรับการจัดทำดัชนี จัดระเบียบ และสืบค้นข้อมูล พวกเขาทำให้เข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้ง่ายและประมวลผลผ่านภาษาการเขียนโปรแกรม GraphQL
ที่มาของ The Graph
โปรโตคอลก่อตั้งขึ้นในปี 2018 โดย Yaniv Tal, Brandon Ramirez และ Jannis Pohlmann Tal โดยมีแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ส่วนตัวของเขาว่าการสร้าง dApps ใหม่บน Ethereum นั้นยากเพียงใด ทำให้พวกเขาสร้าง The Graph ด้วยแนวคิดเพื่อออกแบบตัวจัดทำดัชนีแบบกระจายศูนย์หรือ indexing และ querying เป็นครั้งแรก เนื่องจากไม่มีอะไรที่คล้ายคลึงกันในตลาด ณ เวลานั้น
ในปี 2020 ทีมงานได้เปิดตัว The Graph mainnet เพื่อก้าวไปข้างหน้าในการกระจายอำนาจการใช้งาน dApps อย่างเต็มที่ ซึ่งยังเพิ่มปริมาณการสร้าง subgraph บนเครือข่ายอีกด้วย เป้าหมายสูงสุดของโครงการคือการทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึง Web 3 และเปิดใช้งานการสร้าง dApps โดยไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์หรืออำนาจจากส่วนกลาง
อะไรที่ทำให้โปรโตคอลนี้แตกต่าง
พวกเขาเปิดตัวเป็นโครงการบล็อกเชนแห่งแรกในประเภทนี้ ในฐานะที่เป็นตลาดกระจายอำนาจแห่งแรกสำหรับการสืบค้นและจัดทำดัชนีข้อมูลสำหรับ dApps ทำให้โปรเจคนี้มียูทิลิตี้ที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่น่าสนใจในอุตสาหกรรม blockchain และ cryptocurrencies
เอกลักษณ์ของโปรเจคมาจากจุดประสงค์ของโครงการเช่นกัน นั้นคือการให้ข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับผู้บริโภคบนเครือข่าย โปรโตคอลนี้ทำงานโดยได้รับการสนับสนุนจากผู้เข้าร่วมเครือข่าย โดยที่กลุ่ม Indexer จะทำหน้าที่เป็นตัวดำเนินการโหนดเพื่อสร้างตลาดเฉพาะสำหรับการจัดทำดัชนีและสืบค้นข้อมูลจากแหล่งบล็อกเชนต่างๆ เช่น Ethereum
พวกเขาจึงเป็นตลาดกระจายอำนาจแห่งแรกที่จัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง dApps และแก้ไขปัญหาในเรื่องการจัดทำดัชนีและประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ
Tokenomics และข้อมูลทั่วไป
ด้วยการเปิดตัว mainnet ทีมงานได้ปูทางไปสู่การกระจายอำนาจของแอปพลิเคชั่นให้สมบูรณ์ สร้างเครือข่ายของผู้ให้บริการให้แอพที่กระจายอำนาจสามารถทำงานได้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และข้อมูลบล็อคเชนก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วย API แบบเปิดและสาธารณะที่เรียกว่า subgraphs ทำให้ dApps หลายพันตัวสามารถทำงานบนเครือข่ายได้
โปรเจคนี้มีทั้งการขายแบบ Public sale และ Private sale โดยระดมทุนได้ 12 ล้านดอลลาร์จากการขายโทเค็นสาธารณะ และระดมทุนได้อีก 5 ล้านดอลลาร์จากการแบบ Private ที่ได้รับทุนจาก Coinbase Ventures, Digital Currency Group และ Framework Ventures นอกจากนี้ Multicoin Capital ยังลงทุน 2.5 ล้านดอลลาร์ในโปรเจคอีกด้วย
เครือข่ายอาศัยโหนดในการรัน mainnet เพื่อมอบสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบสำหรับ dApps และ Developer ในขณะที่ Indexer, Curators, และ Delegators เข้าร่วมในตลาดซื้อขายด้วยโทเค็น GRT ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัล native ของเครือข่าย และสามารถใช้มันเพื่อจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในระบบนิเวศของโปรโตคอล
อุปทานของ GRT
อุปทานของโปรเจคเริ่มต้นที่ 10 พันล้าน GRT โดยมีการออกโทเค็นใหม่เป็นรางวัลสำหรับผู้จัดทำดัชนี อัตราการออก GRT ประจำปีเริ่มต้นที่ 3% แต่ขึ้นอยู่กับการกำกับดูแลด้านเทคนิคในอนาคต
The Graph จะเผาผลาญภาษีการถอนเหรียญที่เรียกเก็บจากผู้ที่เป็น curator พร้อมกับ 1% ของค่าธรรมเนียมจากการสืบค้นข้อมูล (query) แต่อัตราการเผาเหรียญจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลด้านเทคนิคในอนาคตด้วย หมายความว่า GRT จะเป็นสินทรัพย์ที่เฟ้อหรือฝืดได้ ขึ้นอยู่กับจำนวนการเรียกใช้งานหรือ query ในอนาคต
คุณค่าเชิง Fundamental ของโปรเจค
โปรโตคอลนี้มีทั้งมูลค่าทางเทคนิคและมูลค่าตลาด เนื่องจากโทเค็น GRT มีการซื้อขายในตลาดสกุลเงินดิจิทัล มันมีปัจจัยเฉพาะมากมายที่กำหนดมูลค่าของโปรเจคและราคาของ GRT
สิ่งหนึ่งที่ให้คุณค่ากับโปรเจคก็คือ โครงสร้างสถาปัตยกรรมบล็อคเชน เช่น อุปทานทั้งหมด อุปทานหมุนเวียน แผนงานโครงการ คุณลักษณะทางเทคนิค การใช้งานที่แพร่หลาย กฎระเบียบ การนำไปใช้ การอัพเดต การอัพเกรด และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้ คือสิ่งที่กำหนดมูลค่าตลาดของ The Graph
คุณค่าที่แท้จริงของโปรเจคถูกกำหนดโดยสิ่งที่พวกเขานำเสนอแก่ผู้ใช้และอุตสาหกรรมในวงกว้าง ซึ่งในกรณีนี้คือการดูแล (curating) จัดทำดัชนี (indexing) และจัดระเบียบข้อมูลที่รวบรวมจากเครือข่ายอื่น ๆ ให้เข้าถึงได้ง่าย ปัจจุบันโครงการกำลังพัฒนาสู่เป้าหมายสูงสุดในการบรรลุการกระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์ของ dApps เพื่อเป็นประตูสู่อุตสาหกรรม Web 3
The Graph ทำงานอย่างไร?
เนื่องจาก DeFi และ Web3 กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น ทำให้โปรเจคนี้มีบทบาทมากขึ้นในอุตสาหกรรมคริปโตและบล็อกเชนที่กำลังเติบโต
โปรเจคนี้ช่วยให้นักพัฒนาและผู้เข้าร่วมเครือข่ายสามารถเรียกใช้ API สาธารณะเพื่อสร้าง subgraph สำหรับ dApps ต่างๆ สำหรับการสืบค้น จัดทำดัชนี และรวบรวมข้อมูล ในเดือนเมษายนปี 2021 เพียงเดือนเดียว บริการนี้ได้ประมวลผลการเรียกใช้ข้อมูลไปแล้วกว่า 2 หมื่นล้านครั้ง
เครือข่ายได้รับการสนับสนุนโดย Graph Node ซึ่งสแกนฐานข้อมูล blockchain ที่ผู้เข้าร่วมเครือข่ายใช้เพื่อจัดระเบียบข้อมูล นักพัฒนาและผู้เข้าร่วมเครือข่ายสามารถใช้โทเค็น GRT เพื่อชำระเงินสำหรับการใช้บริการและสร้าง subgraph ได้
การจัดทำดัชนีข้อมูล หรือ indexing นักพัฒนาสามารถกำหนดโครงสร้างของข้อมูลในแง่ของการระบุวิธีที่ dApps ควรใช้ ตัวสร้างดัชนีจะสร้างตลาดแบบกระจายศูนย์สำหรับผู้ที่ต้องเรียกใช้ข้อมูล ผู้บริโภคสามารถชำระเงินด้วย GRT เพื่อใช้บริการเหล่านี้บนเครือข่าย
เครือข่ายมีโครงสร้างอยู่บน Delegators, Indexers และ Curators ที่ให้บริการดูแลจัดการและจัดทำดัชนีแก่ผู้บริโภคเพื่อแลกกับโทเค็น GRT นี่คือวิธีที่ผู้เข้าร่วมตลาดได้รับแรงจูงใจในการปรับปรุง API และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ
บนเครือข่ายนี้ ผู้บริโภคที่เรียกใช้ subgraph ต้องจ่ายเงินให้ผู้เข้าร่วมเครือข่ายเป็นโทเค็น GRT เพื่อเป็นทางผ่านสำหรับการเข้าถึงข้อมูล โดยมี Indexer เป็นตัวดำเนินการโหนดที่ stake เหรียญ GRT ไว้เปิดใช้งาน indexing และ querying หรือการเรียกใช้
ผู้ใช้เครือข่ายสามารถสร้างและใช้แอพบน Ethereum, IPFS และ PoA ผ่าน GraphQL แน่นอนว่าทางเครือข่ายจะพัฒนาการเข้าถึงให้มากขึ้นไปอีกในอนาคต
ระบบ Proof of Stake ของเครือข่าย
เหรียญ GRT ไม่สามารถขุดได้เพราะมันงานด้วยระบบ Proof of Stake กลุ่ม delegator บนเครือข่ายสามารถ stake GRT ของตนได้โดยการมอบสิทธิ์ให้กับตัวดำเนินการโหนด หรือ Indexer ผู้มอบสิทธิ์จะได้รับแรงจูงใจให้เข้าร่วมในเครือข่ายด้วยรางวัลที่พวกเขาได้รับ เพื่อให้มั่นใจว่าเครือข่ายมีความปลอดภัยและใช้งานได้จริง
วิธีการใช้งาน The Graph
ทางเครือข่ายเพื่อเปิดใช้งานการทำงานอย่างต่อเนื่องและการสร้าง dApps ตลอดจนการใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากเครือข่ายบล็อคเชนต่างๆ โทเค็น GRT ถูกใช้โดยผู้เข้าร่วมเครือข่ายทั้งหมดเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
GRT มีความสำคัญในระบบการให้รางวัลของเครือข่าย เนื่องจาก indexer, curator, และ delegator ได้รับแรงจูงใจให้ปรับปรุงตลาดและดำเนินการไปพร้อมกัน
Delegator สามารถ stake โทเค็น GRT ของตนเพื่อมอบสิทธิ์การถือครองให้กับ indexer เพื่อใช้ GRT ที่ล็อกไว้ในการดำเนินการโหนดบนเครือข่าย Curator ยังได้รับรางวัล GRT สำหรับบริการการดูแลจัดการของพวกเขา และผู้บริโภคคือผู้ใช้เครือข่ายที่ชำระค่าบริการด้วย GRT โทเค็น GRT ยังใช้เพื่อปลดล็อก dApps เพื่อใช้งานแบบ interoperable หรือทำงานข้ามเชน
การทำงานเชิงเทคนิค
โปรโตคอลใช้ Subgraph Manifest เพื่อสร้างดัชนีข้อมูลที่รวบรวมจากเครือข่ายที่รองรับ เช่น Ethereum subgraph จะถูกกำหนดโดยกฎที่กำหนดไว้ล่วงหน้าโดย Subgraph Manifest ซึ่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์บล็อคเชนและสัญญาอัจฉริยะ ก่อนที่ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในเครือข่ายและจัดทำดัชนีโดยผู้เข้าร่วมเครือข่าย
กระบวนการเริ่มต้นด้วย dApps เพิ่มข้อมูลลงในเครือข่ายโดยใช้สัญญาอัจฉริยะ นำไปสู่ความสมบูรณ์ของข้อมูลที่บันทึกไว้ ข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมและข้อมูลอื่น ๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแหล่งที่มาของมัน
โหนดของโปรโตคอลจะกรองข้อมูลนั้นและจัดเก็บไว้บนเครือข่าย ข้อมูลต่างๆ จะถูกรวบรวมตามการเรียกใช้ของผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานสามารถเรียกข้อมูลเหล่านี้ผ่าน subgraph เพื่อรับข้อมูลที่ต้องการ GRT จะถูกใช้เพื่อจ่ายค่าใช้บริการ และถูกแจกจ่ายให้กับผู้ที่เข้าร่วมเครือข่ายหรือเป็นผู้ให้บริการ
สรุป
The Graph เป็นโปรเจคที่ไม่เหมือนใครและบุกเบิกตลาดใหม่ในการให้บริการข้อมูลที่เข้าถึงได้จากหลากหลายบล็อกเชนมารวมกันระหว่าง Mainnet ของโปรเจคกับบล็อกเชนชื่อดังต่างๆ
เป้าหมายสูงสุดของผู้สร้างโปรเจคคือการทำให้ Web3 สามารถเข้าถึงได้ง่ายระหว่างบล็อกเชนต่างๆ และให้บริการ DLT ที่ dApps สามารถทำงานได้โดยไม่หยุดชะงัก
ข้อจำกัดความรับผิด
หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ