Chris Dixon ผู้นำของ a16z กล่าวว่า การกระจายอำนาจและ Crypto นั้นเป็นพรมแดนใหม่สำหรับการลงทุนของ a16z จากการที่มันเป็นแรงขับเคลื่อนการประกอบการและคืนอำนาจให้กับผู้สร้าง
Andreessen Horowitz บริษัทร่วมทุนที่มีการลงทุนใน Instagram และ Twitter และมี Marc Andreessen ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในบอร์ดบริหารของ Meta เป็นหุ้นส่วน ยืนยันว่าพวกเขาไม่เคยจินตนาการถึงอินเทอร์เน็ตที่ทรงพลังเช่นที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้
บริษัท — ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการเบนเข็มมาลงทุนใน Web3 ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้กำไรจากการลงทุนในบริษัทเรือธงของ Web2 ก็ตาม — ทำให้เกิดกรณีที่เป็นอุดมคติของโลกอินเตอร์เน็ดที่กระจัดกระจายซึ่งมอบอำนาจให้กับผู้สร้างสรรค์ผลงานในการเป็นหัวเรือใหญ่ด้วยตนเอง
การรวมอำนาจนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดี
Dixon เชื่อว่า การรวมอำนาจไว้ในมือของยักษ์ใหญ่ Web2 สี่หรือหรือรายนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับการร่วมทุนและการเป็นผู้ประกอบการ เพราะมันทำให้เกิดประโยชน์จากผลกระทบของเครือข่ายต่อตัวตนเพียงไม่กี่รายแทนที่จะเป็นผู้สร้าง ผลกระทบจากเครือข่ายเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเมื่อมีผู้ใช้งานมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น เกมอย่าง Fortnite ที่มีการขายสินค้าเสมือนจริงด้วยระบบเศรษฐกิจภายในเกม ซึ่งรายได้ทั้งหมดจะตรงไปยังบริษัทที่อยู่เบื้องหลังเกม Dixon ได้ตั้งคำถามในเรื่องนี้ว่า แล้วทำไมมันถึงไม่สามารถเป็นเศรษฐกิจแบบ Peer-to-Peer ที่ผู้ใช้งานและผู้สร้างแพลตฟอร์มจะได้รับประโยชน์ได้ล่ะ?
ผู้นำของ a16z ให้เหตุผลว่า Economies of Scale (การประหยัดต่อขนาด คือ การที่ธุรกิจมีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำลง เมื่อธุรกิจขยายขนาดการผลิตมากขึ้น) มีความสำคัญน้อยกว่าเมื่อผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถสร้างรายได้จากฐานแฟนๆ ผ่านการขายโดยตรงของ Non-Fungible Tokens แทนที่จะผ่านตัวกลาง ดังนั้น ผู้สร้างสรรค์ผลงานจึงไม่จำเป็นต้องมีผู้ติดตามจำนวนมากบนแพลตฟอร์มอย่างเหมือนอย่าง Spotify เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีได้ Dixon เชื่อว่าการประมวลแนวทางปฏิบัติในการต่อต้านการแข่งขันให้กลายเป็นสัญญาอัจฉริยะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันการผูกขาด แม้แต่ใน Web3 เองก็ตาม
Crypto เป็นจุดหมายปลายทางในอุดมคติสำหรับผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพ เนื่องจาก Google และ Amazons ของโลกมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านั้น เช่น ปัญญาประดิษฐ์และคอมพิวเตอร์ควอนตัม Dixon กล่าว
Andreessen ได้ลงทุน 7.6 พันล้านดอลลาร์ในบริษัท Cryptocurrency รวมถึงตลาดรอง NFT OpenSea บริษัทกระดานเทรด Cryptocurrency Coinbase และ Flowcarbon ที่นำโดย Adam Neumann ซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่ออกแบบมาเพื่อแปลงเครดิตคาร์บอนเป็นโทเค็น
Katie Haun กล่าวว่า โมเดลแบบกระจายอำนาจสามารถอยู่ร่วมกับโมเดลแบบรวมศูนย์ได้
ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับเรื่องการกระจายอำนาจของ Dixon และ a16z วิศวกรซอฟต์แวร์คนหนึ่งชื่อ Molly White กล่าวว่า Web3 จะถูกรวมศูนย์ใหม่อีกครั้ง โดยจะรวมเอาอำนาจไว้ในมือของนักลงทุนกลุ่มเดียวกัน — ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เหล่าผู้บุกเบิก Web2 ก้าวขึ้นสู่อำนาจ — อีกครั้ง
Podcaster และนักข่าว Ezra Klein ยังสะท้อนให้เห็นถึงการวิพากษ์วิจารณ์ทั่วไปเกี่ยวกับการกระจายอำนาจในการสัมภาษณ์ในพอดคาสต์ในปี 2021 กับนักลงทุนคริปโต Katie Haun โดยกล่าวว่า มันคล้ายกับวิธีที่ผู้บริโภค Web2 แลกเปลี่ยนการกระจายอำนาจเพื่อความสะดวกและค่าใช้จ่าย Web3 จะสร้างตัวตนแบบรวมศูนย์สายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เทคโนโลยีการกระจายอำนาจเข้าถึงได้มากขึ้น
Haun ยอมรับว่า แม้ว่ามันจะเป็นความจริง แต่ผู้สร้างสรรค์ผลงานยังคงเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ บริษัทต่างๆ เช่น OpenSea แค่เพียงได้รับรายได้จากการทำธุรกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับบริษัทที่อยู่ใน Web2 เช่น YouTube ซึ่งหักค่าธรรมเนียมเป็นตัวเลขสองหลัก ผู้สร้าง Non-Fungible Tokens (NFTs) ซึ่งวางขายอยู่บน OpenSea สามารถเข้ารหัส NFTs ที่พวกเขาขายเพื่อรับค่าลิขสิทธิ์ทุกครั้งที่การสร้างของพวกเขาเปลี่ยนมือได้
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ โมเดลธุรกิจทั้งแบบรวมศูนย์และแบบกระจายอำนาจสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ Haun กล่าว
ข้อจำกัดความรับผิด
หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ