ดูเพิ่มเติม

Data Visualization ตอนที่ 2: การนำเสนอข้อมูลการเลือกตั้งจากสำนักข่าวต่าง ๆ

3 mins
อัพเดทโดย Nonthachai Sukkankosol

สรุปย่อ

  • BeInCrypto พาทุกท่านวิเคราะห์ Data Visualization ของสองสำนักข่าวชื่อดังอย่าง The Standard และ Workpoint

ข้อมูลที่ได้จากการเลือกตั้งถือเป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับการทำ Data Visualization เนื่องจากเทคนิคในการสื่อสารข้อมูลดังกล่าวช่วยให้ผู้ชมสามารถรับรู้ข้อมูลหรือประยุกต์ใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจใด ๆ ได้ดียิ่งขึ้น BeInCrypto จึงอยากชวนผู้อ่านทุกท่านมาลองชวนวิเคราะห์ Data Visualization ของสำนักข่าวออนไลน์ต่าง ๆ

จากการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นที่จับตามองโดยประชาชนชาวไทยอย่างมาก ทำให้สื่อสำนักต่าง ๆ พยายามประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที BeInCrypto จึงขอกล่าวถึง Data Visualization ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งโดย The Standard และ Workpoint

ผลงานของ The Standard

ภาพที่ 1 ที่มา

สำนักข่าวออนไลน์ชื่อดังอย่าง The Standard เริ่มต้นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพรวม (Overview) ซึ่งทำให้ผู้อ่านรับทราบข้อมูลองค์รวมว่าตัวแทนจากแต่ละพรรคได้คะแนนเท่าใด โดยเน้นตัวเลขผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด รูปภาพของตัวแทนนายกรัฐมนตรีจากพรรคนั้น ๆ และจำนวนที่นั่งสมาชิก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคก้าวไกลและเพื่อไทยได้ นอกจากนี้ The Standard ยังคงใช้สีที่แต่ละพรรคเน้นในการสื่อสารประกอบการนำเสนอเช่นกัน

ภาพที่ 2 ที่มา

ในลำดับถัดมา The Standard ใช้แผนที่และสีประกอบการนำเสนอพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งสูงในแต่ละพื้นที่ ด้านขวาของส่วนที่สองมีการนำเสนอคะแนนรายเขตและบัญชีรายชื่อ นอกจากนี้ ยังมีการให้รายละเอียดคะแนนที่พรรคได้ ทั้งนี้ จุดเด่นของการนำเสนอดังกล่าวมีจุดเด่นอยู่ที่ผู้ใช้งานสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับ Data Visualization ได้

ภาพที่ 3 ที่มา

ความน่าสนใจของส่วนที่ 3 ของ Data Visualization ของ The Standard คือการเอื้อให้ผู้ใช้งานลองจัดตั้งพรรคต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเป็นพรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน เอื้อให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่ง (Customize) พรรคต่าง ๆ ตามขั้วอำนาจทางการเมืองผ่านความเป็นไปได้หลายรูปแบบ

ผลงานของ Workpoint

สำนักข่าวใหญ่อีกแห่งที่มาพร้อมกับ Data Visualization ที่น่าสนใจคือ Workpoint ซึ่งยังคงใช้สีที่พรรคใช้ประกอบการสื่อสารเป็นตัวแทนพรรค มีการเน้นขนาดของตัวเล็กต่างกันไปตามความสำคัญ นอกจากนี้ ส่วนที่เป็นคะแนนของพรรคต่าง ๆ เมื่อกดเข้าไปแล้วจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับพรรค หัวหน้าพรรค ทั้งยังมีฟีเจอร์แว่นขยายเพื่อตรวจสอบเขตที่พรรคนั้น ๆ ชนะการเลือกตั้ง

ภาพที่ 4

ส่วนที่สองของ Data Visualization เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น แต่เมื่อกดเลือกส่วนทางขวาที่เป็นรายละเอียดของพรรค ข้อมูลที่นำเสนอยังคล้ายกับส่วนที่หนึ่ง จุดเด่นของส่วนที่สองคือการใช้แผนที่นำเสนอเขตที่พรรคต่าง ๆ ชนะการเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตัวเลขที่ใหญ่ที่สุดคือปี 2566 ตามมาด้วยจำนวน ส.ส. เขต ทั้งนี้ จำนวน ส.ส. จากแต่ละพรรคไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดตัวเล็ก

ภาพที่ 5

ส่วนที่สามนำเสนอจำนวนพรรคที่ได้จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อมากที่สุดตามลำดับ มีการใช้วงกลมพร้อมสีของแต่ละพรรคตามจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อที่ได้รับการเลือกตั้งเมื่อคลิกแล้ว จะเห็นรายชื่อของ ส.ส. ที่ได้รับการเลือกตั้ง ไม่มีการเน้นจำนวนตัวเลขใด ๆ

สรุป

จาก Data Visualization ของทั้งสองสำนักข่าว จะสังเกตเห็นได้ถึงการใช้สี รูปทรง และขนาดประกอบการนำเสนอข้อมูล สำนักข่าวทั้งสองยังใช้สีที่สอดคล้องกับที่พรรคการเมืองเลือกใช้เพื่อนำเสนอพรรคต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการใช้ฟีเจอร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลได้ ทั้งนี้ การเน้นขนาดของตัวเลขจากทั้งสองสำนักข่าวมีความแตกต่างกัน

อ่านตอนที่ 1: Data Visualization คืออะไร ได้ที่นี่

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | เมษายน 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ

ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน