Trusted

7 Indicator (อินดิเคเตอร์) สำหรับ นักเทรดมือใหม่

7 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

อินดิเคเตอร์ (Indicator) เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเทรดบนการวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) เราขอแนะนำเครื่องมือ 7 อย่างที่เหมาะสำหรับมือใหม่มากที่สุดไว้ในบทความนี้

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเทรดระยะสั้น ระยะกลาง หรือ ระยะยาว การใช้อินดิเคเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุดในการติดตามการเคลื่อนไหว หาแนวโน้มของตลาดและวางแผนการเทรด นักเทรดควรมีความเข้าใจถึงลักษณะต่างและประเภทต่างๆ ของเครื่องมือเหล่านี้และนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสไตล์ของตนเอง

Indicator คือ อะไร?

อินดิเคเตอร์เป็นเครื่องมือดัชนีชี้วัดหรือตัวบ่งชี้ นับเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ตลาดและตัดสินใจซื้อหรือขายสินทรัพย์นั้นๆ โดยแต่ละเครื่องมือเกิดขึ้นจากสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์เชิงสถิติที่แตกต่างกันออกไป และบ่งบอกมุมมองหรือมิติของตลาดที่ไม่เหมือนกัน

นักเทรดที่ชำนาญจะพิจารณาอินดิเคเตอร์หลายๆ ประเภทเพื่อประกอบออกมาเป็นข้อสรุปว่า ตลาดมีแนวโน้มไปในทิศทางใด หลักการนี้ถูกใช้ร่วมกันระหว่างนักเทรดทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Scalper, Swing Trader, หรือ Day Trader ก็ตาม

ประเภทของอินดิเคเตอร์

ดังที่กล่าวมาข้างต้น การวางแผนเทรดควรใช้เครื่องมือที่บ่งบอกตลาดในมุมมองที่แตกต่างกัน และไม่ควรใช้อินดิเคเตอร์ประเภทเดียวกันหลายๆ ตัวเพราะนอกจากมันจะบ่งชี้สิ่งเดียวกันแล้ว มันอาจก่อความสับสนให้แก่นักวิเคราะห์ได้โดยไม่จำเป็น ในเบื้องต้น ประเภทหลักๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท : “Trend, Momentum, และ Volume”

  • ประเภทบ่งบอกถึงแนวโน้ม (Trend)

เครื่องมือประเภทนี้ใช้เพื่อบ่งชี้แนวโน้มโดยรวมของตลาดผ่านการเคลื่อนตัวของราคา เช่น เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) Trendline หรือ Bollinger Bands  นักเทรดควรใช้เพื่อค้นหาสภาวะของตลาดว่าอยู่ใน แนวโน้มขาขึ้น แนวโน้มขาลง หรือ ตลาดไซด์เวย์

  • ประเภทบ่งบอกถึงโมเมนตั้ม (Momentum)

เครื่องมือประเภทนี้ใช้เพื่อบ่งชี้ลักษณะแรงซื้อขายของตลาดผ่านการเคลื่อนตัวของราคา เช่น MACD, RSI, หรือ Stochastic Oscillator นักเทรดควรใช้เพื่อค้นหาอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา เพื่อทำความเข้าใจถึงพัฒนาการของราคาที่เกิดจากแรงซื้อแรงขายในระยะต่างๆ

  • ประเภทบ่งบอกถึงปริมาณการซื้อขาย (Volume)

เครื่องมือประเภทนี้ใช้เพื่อบ่งบอกปริมาณการซื้อขายในแต่ละช่วงเวลา หรือในแต่ละระดับราคา เช่น Volume หรือ Visible Range แต่ส่วนมากอาจเป็นอินดิเคเตอร์ที่เป็นส่วนผสมระหว่างประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น OBV ที่เป็นส่วนผสมระหว่าง Momentum กับ Volume

7 Indicator แนะนำสำหรับมือใหม่

1.Moving Average (MA)

เครื่องมือพื้นฐานที่สุดคือ เส้นค่าเฉลี่ย (MA) เป็นเครื่องมือประเภท Trend โดยพื้นฐานจะนำราคาปิดของแท่งเทียนจำนวนหนึ่งมาหารหาค่าเฉลี่ย เช่น กรณีการใช้ MA 50 คือ การนำค่าเฉลี่ยราคา 50 แท่งเทียนมาพล็อต

การใช้งาน นักวิเคราะห์สามารถใช้เส้นค่าเฉลี่ยได้หลายเส้น เพื่อบ่งบอกแนวโน้มของแต่ละระยะ เช่น ระยะสั้นใช้ MA 10 ระยะกลางใช้ MA 50 และ ระยะยาวใช้ MA 200

วิธีการวางแผนเทรด สามารถใช้กลยุทธ์ Crossover หรือ ใช้เส้นค่าเฉลี่ยเป็น แนวรับและแนวต้านได้ โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมโดยระเอียดได้ “ที่นี่”

2.Exponential Moving Average (EMA)

EMA คือ เส้นค่าเฉลี่ยที่เคลื่อนที่แบบ Exponential มีวิธีการใช้งานเหมือนกับ Moving Average ธรรมดาที่กล่าวไปข้างต้น แต่การคำนวณจะถ่วงน้ำหนักกับราคาช่วงล่าสุดมากกว่า หมายความว่า EMA จะมีการเคลื่อนไหวที่ตอบสนองต่อราคาปัจจุบันได้มากกว่า MA ทำให้นักเทรดระยะสั้นอย่าง Scalper หรือ Day Trader เลือกใช้มากกว่า

EMA 50, SMA 50, TMA 50

3.Bollinger Bands (BB)

Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ที่ถูกพัฒนามาจากเส้นค่าเฉลี่ยโดยพื้นฐานจะใช้ MA 20 และพล็อตกรอบบนและล่างด้วยสูตรคำนวณที่นำค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) มาใช้ ปกติแล้วจะตั้งไว้ที่ 2 SD

เครื่องมือนี้ถูกพัฒนาโดย John Bollinger ในปี 2001 ผ่านหนังสือชื่อ Bollinger on Bollinger Bands วิธีการใช้งานมีหลากหลายมากและเป็นอินดิเคเตอร์ที่มาพร้อมกับกลยุทธ์การเทรดในตัว

นอกเหนือจากเส้นค่าเฉลี่ยที่บ่งบอก Trend แล้ว นักวิเคราะห์สามารถวิเคราะห์ Momentum ได้จากลักษณะหดขยายของ Band บนและล่างได้

  • กลยุทธ์ Breakout

ในตลาด Sideway กรอบบนและล่างจะบีบแคบลงเป็นเส้นขนาน กรอบบนและล่างจะทำหน้าที่เป็น “แนวรับและแนวต้าน” แต่หากมีการ Breakout ราคาจะทะลุกรอบที่บับอยู่อย่างรุนแรง และกรอบบนกับล่างจะขยายปากออกไปในทิศทางตรงข้ามกัน

  • กลยุทธ์ Trend Following

หลังจากราคา Breakout แล้ว นักเทรดสามารถใช้เส้นกลาง MA 20 เป็นตัวบ่งชี้เทรนแบบกลยุทธ์ Trend Following ได้ นักเทรดสามารถตัดสินใจ Stop loss ไว้ใต้กรอบล่างก่อนที่ราคาจะ Breakout หรือ Trailing Stop เมื่อราคาขึ้นสูงและราคากลับตัวลงมาปิดต่ำกว่าเส้น MA 20

4.Relative Strength Index (RSI)

RSI เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือยอดฮิต เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการแรงซื้อและแรงขายโดยอยู่ในสเกล 0 – 100 โดยหากดัชนีสูงกว่า 70 จะถูกเรียกว่า Overbought บ่งบอกว่าตลาดเริ่มมีแรงซื้อมากเกินกว่าปกติ หากต่ำกว่า 30 จะถูกเรียกว่า Oversold บ่งบอกว่าตลาดเริ่มมีแรงขายมากเกินกว่าปกติ

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ RSI สามารถตีความได้หลากหลาย และควรนำ อินดิเคเตอร์ อื่นๆ มาร่วมพิจารณา เพราะในสถานะของตลาดที่แตกต่างกัน

การตีความและวางแผนเทรดก็จะต่างกันไปด้วย เช่น ในตลาด Sideway การเข้าโซน Overbought อาจเป็นสัญญาณขาย แต่ในตลาดที่มีเทรนขาขึ้นเกิดขึ้นอย่างรุนแรง Overbought อาจบ่งชี้ถึงสถาวะตลาดที่กระทิงและแข็งแรง

สิ่งที่สำคัญควรพิจารณาถึง Divergent มากกว่า เพราะมันบ่งชี้ว่า แรงซื้อหรือแรงขาย เริ่มอ่อนตัวลง และเมื่อมีอินดิเคเตอร์อื่นๆ ช่วยคอนเฟริมนักเทรดจึงตัดสินใจซื้อขาย

RSI

5.Moving Average Convergence and Divergence (MACD)

MACD เป็นอีกอินดิเคเตอร์ยอดนิยมในการวิเคราะห์ Momentum ของตลาดโดยมีเส้น MACD ที่ค่ามาตรฐานจะนำ EMA 12 – EMA 26 และเส้น Signal Line ที่ค่ามาตรฐานคือ EMA 9 ของเส้น MACD ในช่องการตั้งค่าจะแสดงค่า 26/12/9 นอกจากนี้บางแพลตฟอร์ม เช่น Tradingview จะมี Histogram ให้ด้วย ซึ่งแสดงถึงค่าความต่างระหว่าง MACD ลบกับ Signal Line

  • การใช้งาน MACD Crossover

การตัดกันของ MACD และ Signal Line มักถูกใช้เป็นการคอนเฟริมสัญญาณซื้อและขาย ที่บ่งบอกการเปลี่ยนสถานะของเทรน

  • การพิจารณาเส้น Zero Line

เส้น Zero Line คือเส้น ที่มีค่าเป็น 0 เมื่อเส้น MACD และ Signal Line อยู่เหนือ 0 จะถูกมองว่า ตลาดโดยรวมเป็นตลาดกระทิง หากต่ำกว่า 0 จะถูกมองเป็นตลาดหมี การตัดกันของเส้นกรณีอยู่เหนือ 0 อาจเป็นสัญญาณ Take Profit หรือ Trialing Stop หากเกิดขึ้นใต้โซน 0 อาจเป็นสัญญาณกลับตัวจากลงเป็นขึ้น

  • การพิจารณา Histogram

Histogram แสดงถึงส่วนต่างที่เปลี่ยนไประหว่าง เส้น MACD และ Signal Line ยิ่งส่วนต่างมาก ยิ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของเทรน ในแง่หนึ่งสามารถใช้ Divergent วิเคราะห์ได้เช่นเดียวกันกับ RSI เมื่อแนวโน้มเริ่มอ่อนตัวลง

MACD

6.Fibonacci

Fibonacci เป็นเครื่องมือเพื่อค้นหาแนวรับเสียเป็นส่วนใหญ่โดยใช้ Fibonacci Retracement วัดจากจุดสูดของ Swing High มาที่ Swing Low ก่อนหน้า โดยมีแนวรับเชิงจิตวิทยาที่ 0.68 เป็นระดับที่สำคัญที่สุด เครื่องมือนี้มีที่มาจากแนวคิดที่ว่า Golden Ratio หรือสัดส่วนทองคำ เกิดขึ้นทุกที่รวมถึงในตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน

ใน Elliot Wave Theory การใช้ Fibonacci Retracement และ Fibonacci Extension เป็น 2 เครื่องมือหลักในการวัดแรงซื้อและแรงขาย รวมถึงหาเป้าหมายของราคา

Fibonacci Retracement

7. Stochastic Oscillator (STO)

STO เป็น momentum indicator ที่อยู่ในกรอบดัชนี 0 – 100 โดยมีค่า 80 เป็น Overbought และ ต่ำกว่า 20 เป็นโซน Oversold วิธีการใช้งานคล้ายกับ RSI แต่ การเคลื่อนไหวในแต่ละรอบ OverSold – Overbought จะสั้นกว่ามาก นักเทรดสาย Scalper และ Day trader จึงนิยมใช้กันมากในการจับจังหวะรอบสั้นๆ ของแต่ละ Swing เช่น เลือกซื้อเมื่อ STO อยู่ในโซน Oversold และราคาอยู่ที่แนวรับพอดี และขายเมื่อ STO อยู่ในโซน Overbought และชนกับแนวต้านพอดี

Stochastic Oscillator

สรุปประเด็นสำคัญ

Indicator (อินดิเคเตอร์) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพของตลาด โดยมีคุณลักษณะ 3 ประเภทหลักๆ คือ ประเภท Trend, Momentum, และ Volume ซึ่งนักเทรดสามารถนำเครื่องมือทั้ง 7 อย่างที่เราแนะนำ ไปประยุกต์ใช้หาจุดซื้อขาย Stop loss และ Take Profit ได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเทรดสาย Scalper, Day Trader, หรือ Swing Trader ก็ตาม

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน