Trusted

SKALE Network คืออะไร เหรียญ SKL เครือข่ายบล็อกเชนแบบกระจายอำนาจที่ยืดหยุ่น [2024]

17 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

SKALE (SKL) คือ โทเค็น Ethereum ที่ขับเคลื่อน SKALE Network โดย SKL เป็นโทเค็น ERC-777 โดยมีอุปทานสูงสุดอยู่ที่ 7 พันล้านโทเค็น โดยเน้นจุดเด่นว่าเป็น “เครือข่ายดั้งเดิมบน Ethereum ด้วยมติเอกฉันท์ที่ไม่ต้องจำเป็นต้องมีผู้นำ ออกแบบมาเพื่อให้ทำงานได้บนโหนดอิสระในจำนวนที่มากมายนับไม่ถ้วน”

หลายๆ โปรเจกต์ได้ให้กำเนิดโซลูชั่นมากมาย เพื่อแข่งขันในการปรับขนาดบล็อกเชนเลเยอร์ 1 อย่าง Ethereum ในบทความนี้ เราจะไปดูรายละเอียดต่างๆ ของ SKALE Network ซึ่งเป็น 1 ในโซลูชั่นการปรับขนาดของ Ethereum ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของเครือข่ายบล็อกเชนแบบกระจายอำนาจที่ยืดหยุ่นนี้ ฟีเจอร์ต่างๆ ของมัน และประโยชน์การใช้งานของเครือข่าย

เข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram: อ่านข่าวสารที่ร้อนแรงที่สุดในแวดวงคริปโต อ่านบทความวิเคราะห์ทางเทคนิคเกี่ยวกับเหรียญต่างๆ และสอบถามข้อมูลต่างๆ ที่คุณต้องการจากนักเทรดมืออาชีพ! เข้าร่วมตอนนี้เลย!

SKALE คืออะไร?

SKALE คืออะไร

ต้นกำเนิด

SKALE Network ประกอบไปด้วยไซด์เชนที่เชื่อมต่อกันซึ่งใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อปรับขนาด Ethereum DApps และเนื่องจากมันถูกสร้างขึ้นบน Ethereum นั่นหมายความว่าเชนของ SKALE นั้นสามารถสื่อสารกับเชนอื่นๆ ที่มีพื้นฐานจาก Ethereum ได้

ผู้ร่วมก่อตั้ง Jack O’Holleran และ Stan Kladko ได้เปิดตัวเครือข่ายนี้ในปี 2018 หลังจากการเปิดตัว โปรเจกต์นี้ใช้เวลาพัฒนาและทดสอบถึง 2 ปีครึ่ง ก่อนที่จะปล่อย Mainnet ในปี 2020 ซึ่งเปิดตัวใน 3 เฟส: เฟสแรกในเดือนมิถุนายน เฟสที่ 2 ในเดือนตุลาคม และเฟสสุดท้ายในเดือนธันวาคม

ทีมงาน

ปัจจุบัน O’Holleran และ Kladko เป็นผู้นำของทีมงานหลักของ SKALE ซึ่งยังคงทำงานกับโปรเจกต์อย่างต่อเนื่องด้วยความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน O’Holleran เป็น CEO ในขณะที่ Kladko เป็น CTO และทีมงานหลักนั้นทำงานในนามของ SKALE Labs

นอกจากทีมงานหลักแล้ว เครือข่ายยังมีตัวแทนที่ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการให้ทุน เรื่องงบประมาณ และการลงคะแนนในเครือข่าย ตัวแทนดังกล่าวประกอบไปด้วยนักพัฒนา DApp นักลงทุน และผู้ตรวจสอบความถูกต้อง ในช่วงเริ่มแรกนั้น Network of Decentralized Economics Foundation (N.O.D.E) Foundation มีหน้าที่รับผิดชอบในการลงคะแนนเลือกตัวแทนเหล่านี้ แต่ผู้ถือครองโทเค็นจะรับช่วงต่อการลงคะแนนเพื่อเลือกตัวแทนเหล่านี้ต่อไปในอนาคต สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ไว้ก็คือ N.O.D.E เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่สนับสนุนเครือข่าย SKALE

นอกจากนี้ SKALE Network ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของ SKALE DAO ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกกว่า 50 ราย รวมถึงองค์กรธุรกิจต่างๆ DAO อื่นๆ และบริษัทต่างๆ เดิมทีการลงคะแนนแบบออนไลน์มีกำหนดที่จะเริ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2023

การระดมทุน

ในเดือนตุลาคม 2018 Multicoin Capital เป็นผู้นำในรอบการระดมทุนที่ระดมทุนให้กับ SKALE Labs ได้ถึง 9.65 ล้านดอลลาร์ นักลงทุนรายอื่นๆ ได้แก่ Signia Venture Partners, Blockchange Ventures, Hack.VC, FLOODGATE Fund, Galaxy Digital และ Aspect Ventures

ประมาณหนึ่งปีต่อมา SKALE Network ระดมทุนได้กว่า 17.1 ล้านดอลลาร์ในช่วงการเปิดตัว Mainnet โดย SKALE Labs มีส่วนร่วมเป็นจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ และนักลงทุนรายอื่นๆ เป็นผู้เติมเต็มในส่วนที่เหลือ บรรดานักลงทุนเหล่านี้ ได้แก่ HashKey, Winklevoss Capital, ConsenSys Labs, Arrington XRP Capital, Multicoin Capital และ Recruit Holdings

ในเดือนกันยายน 2020 SKALE ได้เปิดรอบการขายโทเค็นบนแพลตฟอร์ม Activate ของ ConsenSys และระดมทุนได้ถึง 5 ล้านดอลลาร์จากนักลงทุนประมาณ 4,000 รายใน 90 ประเทศ

โร้ดแมป

SKALE ยังไม่ได้มีการเปิดเผยถึงโร้ดแมปบนเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้ประกาศถึงแผนการที่จะผสานรวม Zero-Knowledge (ZK) Proofs (เทคโนโลยีที่จะช่วยพิสูจน์ความถูกต้องของข้อมูลได้โดยไม่ต้องเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลที่ละเอียดอ่อน) ในช่วงต้นปี 2023 และเปิดตัวการลงคะแนนเสียงบนเครือข่าย และยังได้เปิดตัวความคิดริเริ่ม “ที่จะผสานรวม ZK เป็นตัวเลือกในการตั้งค่าสำหรับนักพัฒนา” ตามประกาศบน Twitter

ยิ่งไปกว่านั้น เครือข่ายได้ประกาศว่าการลงคะแนนบนเครือข่ายจะเริ่มต้นขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2023

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2023 โปรเจกต์ได้มีการปล่อย SKALE 2.1 ซึ่งเป็นการอัพเกรดที่ปรับปรุงความเร็วและความเสถียรของเครือข่าย และวางแผนที่จะนำเกมใหม่ 2 เกม ได้แก่ Kryptoria และ OxBattleground มาเปิดให้บริการบนเครือข่ายอีกด้วย

SKALE ทำงานอย่างไร?

สิ่งที่มันทำได้

SKALE Network เป็น โซลูชั่นการปรับขนาดที่ใช้รูปแบบฉันทามติแบบ Proof-of-Stake (PoS) ที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเพลิดเพลินไปกับความสามารถในการปรับขนาดที่ดียิ่งขึ้น การทำธุรกรรมแบบไร้ค่าธรรมเนียม และการประมวลผลธุรกรรมที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เชนของ SKALE มอบพื้นที่จัดเก็บฐานข้อมูลแบบกระจายอำนาจ พลังการประมวลผล Ethereum Virtual Machine (EVM) และฟังก์ชั่นการทำงานอื่นๆ เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนและปรับขนาด DApps

Staking

SKALE Network ดำเนินการผ่านกลุ่มของ Validator Nodes (โหนดตรวจสอบความถูกต้อง) ที่จะยืนยันการทำธุรกรรมภายในเชนที่พวกเขาดำเนินการอยู่ โหนดเหล่านี้ทำการโต้ตอบกับ SKALE Manager ซึ่งประกอบด้วยสัญญาอัจฉริยะมากกว่า 35 ตัวบนบล็อกเชน Ethereum เพื่อที่จะเข้าร่วมในการสร้างเครือข่ายและกลายเป็น Validator Nodes ผู้ใช้งานจะต้อง Stake โทเค็น SKL โดยจะทำได้ผ่านเลเยอร์ฐานของ Ethereum ซึ่งหมายความว่า SKALE Manager จะถูกใช้งานอยู่บน Ethereum Mainnet ในปัจจุบัน (กลางเดือนพฤษภาคม 2023) องค์กรอิสระมากกว่า 45 องค์กรกำลังเรียกใช้งานโหนดมากกว่า 150+ โหนดบนเครือข่าย

เซตย่อยของ Validator ภายใน SKALE Network จะจัดการกับกลุ่มของโหนดย่อยที่รับผิดชอบในการดำเนินงานในเชน โหนดเหล่านี้จะได้รับรางวัลตามประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาเมื่อสิ้นสุดเครือข่ายในแต่ละช่วง (Epoch) ซึ่งจะกินเวลา 1 เดือน โทเค็นที่นักพัฒนา Stake ไว้จะถูกย้ายไปสู่กลุ่มของเงินรางวัลในแต่ละเดือน อีกทั้ง โปรโตคอลจะสร้างโทเค็นใหม่ผ่าน Inflation Event (เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเฟ้อของค่าเงิน) โทเค็นเหล่านี้ก็จะถูกย้ายไปที่กลุ่มของเงินรางวัลด้วยเช่นกัน Validator และ Delegators (ผู้มอบสิทธิ์) จะได้รับรางวัลเป็นโทเค็นจากกลุ่มของเงินรางวัลเหล่านี้

ข้อกำหนดการ Staking ขั้นต่ำเพื่อใช้งานโหนดคือ 20 ล้านโทเค็น SKL ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 600,000 ดอลลาร์ ณ ขณะที่เขียนบทความนี้ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าการ Stake SKL นั้นมีราคาที่แพงกว่า ETH เนื่องจากการ Stake 32 ETH ที่ราคาปัจจุบันที่ 1,901 ดอลลาร์ จะมีค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 60,832 ดอลลาร์

หากคุณไม่ต้องการสร้างโหนดของคุณเอง การมอบสิทธิ์โทเค็น SKL ให้กับ Validator ที่ลงทะเบียนไว้ก็ถือเป็นตัวเลือกหนึ่ง รางวัลสำหรับ Delegators นั้นจะขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ระยะเวลาที่ Staking จำนวนโทเค็นที่ Stake ไว้ และเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชันที่กำหนดโดย Validator

SKALE Chain

SKALE Chain นั้นเป็นบล็อกเชนแบบยืดหยุ่น (หรือที่รู้จักกันในฐานะ การรวมตัวกันของ Sidechains) ที่เข้ากับและทำงานร่วมกับ Ethereum ได้ ยิ่งไปกว่านั้น โหนด 16 โหนดจะขับเคลื่อนแต่ละไซด์เชน ในขณะที่ทุก SKALE Chain จะชับเคลื่อน DApps นักพัฒนาสามารถสร้าง SKALE Chain ของตนเองได้โดยการ Stake โทเค็น SKL ในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อแลกกับการรักษาความปลอดภัย และ ความสามารถในการปรับขนาดที่เพิ่มมากขึ้นที่จะได้รับจากเครือข่าย เมื่อระยะเวลาของเชนสิ้นสุดลง อายุการใช้งานของ SKALE Chain ก็อาจจะสิ้นสุดลง เว้นเสียแต่ว่า นักพัฒนาจะขยายเวลาของมันเพิ่มเติมด้วยการ Stake โทเค็น SKL เพิ่ม ปัจจุบัน SKALE Network มีเชนอยู่ 20 เชนในขณะที่เขียนบทความนี้

sFUEL

sFUEL เป็น Native Token (โทเค็นดั้งเดิมของเครือข่าย) ของ SKALE Chain มันไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและเป็นโทเค็นไม่ต้องเสียค่าแก๊ส ผู้ใช้งานจะต้องใช้โทเค็นนี้เพื่อทำธุรกรรมบน SKALE Chain ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยการใช้ sFUEL นักพัฒนาจะสามารถปรับขนาด DApps ของพวกเขาในเชิงเศรษฐกิจและในแง่ของความเร็วได้ ผู้ใช้งานจะได้รับ sFUEL ในระหว่างการเริ่มต้นใช้งานของ DApp ทุกตัว

ความสามารถในการทำงานร่วมกัน

SKALE นั้นสามารถทำงานร่วมกับ Ethereum ได้ นั่นหมายความว่าเครือข่ายทั้ง 2 สามารถสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย Interchain Messaging Agent (IMA) มีหน้าที่เป็นสะพานที่เชื่อมโยงข้อความและโทเค็นระหว่างทั้ง 2 เครือข่าย

ฟีเจอร์หลักๆ ของ SKALE

ไร้ค่าแก๊ส

เครือข่ายให้ผู้ใช้งานปลายทางไม่ต้องเสียค่าแก๊สในการทำธุกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้ยินกันมากนักในพื้นที่บล็อกเชน สิ่งนี้ทำได้ผ่านการสมัครสมาชิกรูปแบบใหม่ ซึ่งนักพัฒนาจะต้อง Stake โทเค็น SKL เพื่อเข้าถึงระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายและทรัพยากรที่ปรับขนาดได้สำหรับเครือข่ายของพวกเขา โทเค็นที่ Stake ไว้เหล่านี้จะถูกใช้เป็นรางวัลแก่ Validators และ Delegators ที่มีส่วนร่วมกับเครือข่าย นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถใช้ sFUEL เพื่อทำธุรกรรมบนเครือข่ายของ SKALE ได้ โทเค็นแบบไร้ค่าแก๊สนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายใดๆ ในการทำธุรกรรม

การไม่ต้องจ่ายค่าแก๊สในการทำธุรกรรมทำให้ SKALE เป็นตัวเลือกในการใช้งานแทน Ethereum ที่ยอดเยี่ยม เพราะต่อให้เทียบกับค่าแก๊สในระดับต่ำที่สุดของบล็อกเชนเลเยอร์ 1 แล้ว SKALE ก็จะเอาชนะไปได้อย่างง่ายดาย

การเก็บไฟล์บนเครือข่าย SKALE

SKALE Nodes จะมีเซิร์ฟเวอร์ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลบนเครือข่ายสำหรับ DApps ของพวกเขาให้กับแต่ละ Sidechain ซึ่งหมายความว่านักพัฒนาสามารถจัดเก็บ Static Content (เนื้อหาต่างๆ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและสามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว) เช่น วิดีโอ ไฟล์ และรูปภาพ พื้นที่จัดเก็บไฟล์มีให้บริการตลอดอายุการใช้งานของ SKALE Chain

Pooled Security ของ SKALE

SKALE Chains จะได้รับประโยชน์จาก Pooled Security (ระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้งานร่วมกันได้) ซึ่งจะช่วยให้สามารถแชร์ระบบรักษาความปลอดภัยระหว่างเซตของ Validator ได้ ด้วยเหตุนี้ Validator Node ใดๆ จะสามารถทำงานบน SKALE Chains หลายๆ เครือข่ายพร้อมกันได้ Validators จะมีบทบาทสำคัญในเครือข่าย เนื่องจากพวกมันจะช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมบนเครือข่ายและช่วยรักษาความปลอดภัย

เพื่อช่วยให้เครือข่ายมีความมั่นคง โปรโตคอลจะสุ่มเลือก Validator Nodes สำหรับ SKALE Chains ขึ้นมา นอกจากนี้ เครือข่ายยังจะหมุนเวียนโหนดเหล่านั้นเพื่อป้องกันการสมรู้ร่วมคิดกันระหว่าง Validators ซึ่งอาจจะทำให้เครือข่ายเกิดความเสียหายได้ ด้วยมาตรการเหล่านี้จึงทำให้มั่นใจได้ว่า SKALE จะทำให้เครือข่ายมีความปลอดภัยและสามารถต้านทานการโจมตีที่เป็นอันตรายได้

การขยายตัวอย่างไร้ขีดจำกัด

เครือข่ายมีความจุที่ไม่จำกัด ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีโหนดเข้าร่วมเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ผู้ใช้งานจะสามารถใช้โหนดใหม่เพื่อสร้างเชนใหม่ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณงานของธุรกรรมและพลังในการคำนวณมากยิ่งขึ้นไปอีก

ข้อดีและข้อเสียของ SKALE

ข้อดี

  • ผู้ใช้งานปลายทางไม่ต้องจ่ายค่าแก๊สเพื่อจูงใจ Validators ในเครือข่ายเพราะว่ามันมีในส่วนของค่าสมัครสมาชิกที่นักพัฒนาจ่ายเพื่อสร้าง SKALE Chains อยู่แล้ว
  • เครือข่ายสามารถประมวลผลได้ 397.7 ธุรกรรมต่อวินาที จากการศึกษาข้อมูลบล็อกเชนล่าสุดของ Dartmouth พบว่า SKALE กลายเป็นบล็อกเชนที่เร็วที่สุด
  • SKALE มีความสามารถในการปรับขนาดได้สูงทำให้มีความจุเกือบจะไม่จำกัด
  • มี 3rd Party (บุคคลที่สาม) ตรวจสอบสัญญาอัจฉริยะของ SKALE Manager และ IMA อยู่เป็นระยะๆ

รู้หรือไม่ว่า
บางคนกล่าวว่า SKALE Network นั้นทำงานได้สมชื่อของมัน โดยการเป็นโซลูชั่นการปรับขนาดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน การทดสอบของ Dartmouth พบว่า SKALE นั้นแซงหน้า Solana Polygon และ Ethereum ไปแล้ว โดย SKALE Network มีความเร็วมากกว่า Ethereum ถึง 32 เท่า และเร็วกว่า Polygon ถึง 19 เท่า

ข้อเสีย

  • อาจจะมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของเครือข่ายได้หากมี Validators จำนวนไม่มากพอ

โทเค็น SKL

ต่อไป เรามาดูรายละเอียดของโทเค็น SKL ซึ่งเป็นโทเค็นของ SKALE Network กันดีกว่า

โทเค็นโนมิคส์

SKL เป็นโทเค็น ERC-777 โดยมีอุปทานสูงสุดอยู่ที่ 7 พันล้านโทเค็น โปรเจกต์ได้แบ่งและแจกจ่ายอุปทานส่วนใหญ่ตามนี้: 33% สำหรับเป็นรางวัลให้กับ Validator เพื่อจูงใจให้พวกเขาเข้าร่วมเครือข่าย 28.1% ถูกสงวนไว้ให้สำหรับ Delegators และ 16% ให้กับทีมงานผู้ก่อตั้ง นอกจากนี้ โปรเจกต์ยังมอบ 10% ให้กับ SKALE Foundation 7.7% ให้กับ Protocol Development Fund 4% ให้กับ Core Team Pool และอีก 1.3% ให้กับ Ecosystem Fund

กำหนดการปลดล็อกโทเค็นของ SKALE จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะใช้เวลารวม 12 ปี โทเค็นที่ค่อยๆ ปลดล็อกนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของเครือข่ายในระยะยาว พร้อมกันนั้น ก็เป็นการให้รางวัลที่เพียงพอแก่ Validators และ Delegators ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัยและความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่าย

ในขณะที่เขียนบทความ อุปทานทั้งหมดของโทเค็นคือ 5,447,166,667 และมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 172,330,011 ดอลลาร์ ราคาของ SKL อยู่ที่ 0.03 ดอลลาร์ ซึ่งลดลงประมาณ 96% จากราคาสูงสุดตลอดกาล (ATH) ที่ 1.2 ดอลลาร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2021 กราฟด้านล่างแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพตลอดเวลาที่ผ่านมาของ SKL นับตั้งแต่เปิดตัว

SKALE ราคา SKL
ประสิทธิภาพของ SKL ตั้งแต่เปิดตัว: CoinMarketCap

Airdrop

SKALE Network ได้ทำการแจกจ่าย Airdrop เมื่อปี 2021 โดยมีผู้เข้าร่วม 786 คน โปรเจกต์ได้ทำการ Airdrop โทเค็น SKL ทั้งหมด 50,000 โทเค็น นอกจากนี้ พวกเขายังต้องการให้ผู้เข้าร่วมทำภารกิจบางอย่างให้สำเร็จเพื่อรับโทเค็น SKL ฟรี

ประโยชน์การใช้งานของ SKL

SKL เป็นโทเค็นสารพัดประโยชน์ที่มีการใช้งานอยู่ 4 ฟังก์ชั่น ได้แก่:

ใช้รักษาความปลอดภัย และ ใช้ Staking

Validators จะทำการ Stake โทเค็น SKL เพื่อรันโหนด พวกเขาจะช่วยตรวจสอบธุรกรรม ทำให้เครือข่ายปลอดภัย และดำเนินการสัญญาอัจฉริยะ

การกำกับดูแล

ผู้ถือโทเค็น SKL จะสามารถเข้าร่วมการลงคะแนนเครือข่ายเพื่อตัดสินใจเรื่องเศรษฐกิจทั้งหมดของเครือข่าย SKALE ได้

เป็นรางวัลให้สำหรับ Validators และ Delegators

Validators และ Delegators จะได้รับรางวัลในแต่ละเดือน รางวัลเหล่านี้จะมาจากค่าสมัครสมาชิกของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และ อัตราเงินเฟ้อของเครือข่าย

ใช้ชำระค่าสมัครสมาชิก

นักพัฒนาสามารถสร้าง SKALE Chains ได้โดยการจ่ายค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกในรูปแบบของการ Staking โทเค็น SKL ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างเชนที่จะใช้งานได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่ออายุการใช้งานของเชนดังกล่าวหมดอายุ พวกเขาจะต้อง Stake โทเค็นเพิ่มเติมเพื่อขยายเวลา

SKALE Wallet

ในฐานะที่เป็นเครือข่ายแบบ Multichain ที่ทำงานร่วมกับ Ethereum ได้ SKALE สามารถทำงานร่วมกับ MetaMask ซึ่งเป็นหนึ่งในกระเป๋าเงิน Ethereum ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด SKALE Wallet อื่นๆ ได้แก่ WalletConnect, Bitski, Magic และ Torus กระเป๋าเงินเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานโต้ตอบกับ DApps ที่ใช้งานบน SKALE Chains ได้ และยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโอนโทเค็นจาก Ethereum ไป/มายัง SKALE Chains ได้ผ่าน IMA Bridge

คุณรู้หรือไม่ว่าคุณสามารถรับ Cashback มูลค่า 10 ดอลลาร์ ได้จากการชวนเพื่อนมาใช้งาน ZenGo Wallet?

1. สมัคร ZenGo Wallet โดยการใช้ลิ้งค์นี้

2. ไปที่ Settings ในแอป ZenGo Wallet ของคุณ แล้ว คัดลอกโค้ดโปรโมชั่นส่วนตัวของคุณ

3. ชวนเพื่อนด้วยการใช้โค้ดโปรโมชั่นดังกล่าว เมื่อเพื่อนของคุณซื้อคริปโตมูลค่ารวม 500+ ดอลลาร์ ทั้งคุณและเพื่อนจะได้รับ Cashback มูลค่า 10 ดอลลาร์

อนาคตของ SKALE จะเป็นอย่างไร?

ในฐานะที่เป็นโซลูชั่นการปรับขนาดของ Ethereum SKALE Network แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโซลูชั่นเลเยอร์ 2 ในการรับมือกับความท้าทายในการปรับขนาดบล็อกเชน พัฒนาการของโปรเจกต์ในเรื่องการปรับปรุงความเร็วในการทำธุรกรรม จะเป็นพัฒนาการที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งในอนาคต

ในมุมมองของการลงทุน โทเค็นของ SKALE มีมูลค่าลดลงถึง 96% จากระดับสูงสุดตลอดกาลในช่วงตลาดหมีนี้ ซึ่งอาจจะสันนิษฐานได้ว่ามันอาจจะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งกว่าที่ราคาของโทเค็นจะฟื้นตัวและกลับไปสู่ระดับสูงสุดที่เคยเป็นก่อนหน้านี้ได้

คำถามที่พบบ่อย

SKALE เป็นบล็อกเชนใช่หรือไม่?

SKL เป็นเหรียญคริปโตที่ดีหรือไม่?

SKL ใช้ทำอะไร?

ใครคือผู้ก่อตั้ง SKALE?

SKALE Network คืออะไร?

Elastic Sidechains คืออะไร?

SKALE Network ช่วยปรับปรุงการปรับขนาดของบล็อกเชนได้อย่างไร?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน