Trusted

Blockchain Oracle คืออะไร? นี่คือคู่มือเบื้องต้นเกี่ยวกับมัน

2 mins
อัพเดทโดย Nonthachai Sukkankosol

Oracles นั้นเป็นอินเทอร์เฟซระหว่าง Blockchain และโลกแห่งความเป็นจริง Blockchain นั้นเป็นระบบนิเวศที่แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น มันจึงไม่สามารถดึงข้อมูลจากโลกแห่งความเป็นจริงได้ บทความเบื้องต้นนี้จะอธิบายถึงคอนเซปต์พื้นฐานว่า Blockchain Oracle คืออะไร? และยังจะอธิบายถึงข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีดังกล่าว

💡 ต้องการรับทราบข่าวสารที่ร้อนแรงที่สุดเกี่ยวกับบล็อกเชนยอดนิยมหรือไม่? มาเข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram สิ: อ่านข่าวสารใหม่ๆ, สนทนากันเรื่อง Crypto, สอบถามเรื่องบทวิเคราะห์ทางเทคนิคเกี่ยวกับเหรียญต่างๆ, และคุณจะได้รับคำตอบสำหรับคำถามเหล่านั้นจากจากนักเทรดมืออาชีพ! มาเข้าร่วมเลยเดี๋ยวนี้

Oracles บน Blockchain

Bitcoin นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์แบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer) แต่ในไม่ช้า ผู้ใช้งาน Crypto ก็เข้าใจถึงศักยภาพดั้งเดิมของ Blockchain ที่จะมีผลกระทบในวงกว้าง วันนี้ Bitcoin มีแอปพลิเคชั่นอยู่มากมาย เช่นเดียวกับ กระดานเทรด Crypto แบบพื้นฐาน แต่มันไม่สามารถรวบรวมข้อมูลจากโลกแห่งความเป็นจริงได้ ดังนั้น มันจึงจำเป็นจะต้องมี Oracle เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อ

การใช้ Blockchain เพื่อดึงข้อมูลภายนอก

กระดานเทรดแบบกระจายศูนย์ที่สร้างขึ้นบน Bitcoin (หรือ Blockchain อื่นๆ) ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ระบบจะสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่าน Oracles ได้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชั่นการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) จะไม่สามารถทำงานได้หากไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนได้

ตลาดการประกันภัยหรือการคาดเดาข้อมูลต่างๆ ก็ต้องการฟีดข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ในโลกแห่งความเป็นจริง Oracles จึงเป็นเหมือนเป็นสะพานที่ช่วยให้ข้อมูลจากโลกแห่งความเป็นจริงสามารถเขียนลงในสัญญาอัจฉริยะได้ นอกเหนือจาก DeFi แล้ว ข้อมูลแบบเรียลไทม์ก็ยังคงเป็นที่ต้องการอยู่: สำหรับตลาดการคาดการณ์ข้อมูลเพื่อจ่ายเงินให้แก่ผู้ชนะเดิมพันหรือระบบประกันเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาท

ปัญหาที่มีอยู่ของ Oracles

การใช้ Centralized Oracle (Oracle แบบรวมศูนย์) บนเทคโนโลยีแบบ Decentralized (กระจายอำนาจ) จะทำให้แอปพลิเคชั่นกลายเป็นแบบรวมศูนย์ นักพัฒนาและสาวกของ Bitcoin ในยุคแรกๆ จึงต้องแก้ปัญหานี้โดยการพัฒนา Oracles ที่สร้างขึ้นมาเฉพาะสำหรับแพลตฟอร์มแบบกระจายอำนาจที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้

โปรโตคอลของ Oracle ทำงานอย่างไร?

มันมีโปรโตคอลของ Oracle อยู่มากมาย (ซึ่งโปรโตคอลที่น่าจะรู้จักกันดีที่สุดก็คือ Chainlink) ต่อไปนี้คือ Blockchain Oracles ดั้งเดิมบางส่วนและวิธีการทำงานของมัน

Reality.eth (RealityKeys)

Reality.eth (ชื่อเดิมคือ RealityKeys) เป็นที่ชื่นชอบอย่างกว้างขวางสำหรับการออกแบบและฟังก์ชั่นการทำงานที่เรียบง่ายและเป็นเอกลักษณ์ของมัน แนวคิดพื้นฐานของโปรโตคอลนี้ประกอบด้วย “การสร้าง” องค์ความรู้สำหรับสัญญาอัจฉริยะ แทนที่จะใช้แหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

เมื่อจำเป็นต้องใช้ข้อมูล ก็จะมีการตั้งคำถามกับโปรโตคอล ผู้ใช้งานที่ทราบคำตอบแล้วจะสามารถส่งคำตอบไปได้ คำตอบจะได้รับการยอมรับเว้นเสียแต่ว่ามันจะถูกท้าทายโดยผู้ใช้งานรายอื่นๆ คำถามจะถูกเสนอต่ออนุญาโตตุลาการภายนอก (โดยปกติจะเป็น Kleros ซึ่งเป็นศาลที่มีการกระจายอำนาจ) หากข้อพิพาทไม่ได้รับการแก้ไข

Truthcoin

Truthcoin (Hivemind) นั้นน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับโปรเจกต์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามมา เช่น Augur หรือ DelphiSystems โปรโตคอลนี้จะใช้ประโยชน์จากจุดรวมความสนใจเพื่อแก้ปัญหาการประสานงาน ผู้รายงานบน Truthcoin สามารถลงคะแนนต่อผลลัพท์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการคาดการณ์เรื่องตลาดได้ โดยจะทำการ Staking เหรียญโหวตแทนชื่อเสียงของผู้รายงาน หากผลการโหวตไม่ใช่ “จุดรวมความสนใจ” เหรียญโหวตของผู้รายงานจะถูกตัดออกไป หรือไม่อย่างนั้น พวกเขาจะได้รับรางวัล Truthcoin เป็นหนึ่งใน Oracles ที่มีอยู่ไม่กี่ตัวที่ยังคงสนับสนุน Bitcoin Blockchain และใช้ Sidechain เพื่อลดผลกระทบจากการคำนวณบนเครือข่ายหลัก

Provable Things (Oraclize)

Provable Things (เดิมชื่อ Oraclize) เป็นต้นกำเนิดของ Oracles สมัยใหม่ เช่น Chainlink แนวคิดพื้นฐานนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวคิดของ “การควบคุมการไหล” ซึ่งอ้างถึงคำสั่ง IF/THEN มันถูกใช้ในวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างผลต่อเนื่องของการกระทำต่างๆ ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้งานคลิกปุ่มเมาส์ขวา ให้ทำการดำเนินการตามคำสั่งนี้ เป็นต้น

สคริปต์ Bitcoin อาจจะระบุไว้ว่า “หาก (IF) ตรงตามเงื่อนไขนี้ ถ้าเช่นนั้น (THEN) ให้ทำธุรกรรมนี้” Oraclize จะยืนยันเงื่อนไขด้วย “Proof-of-Authenticity” (หลักฐานพิสูจน์ความถูกต้อง) นี่แสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นไม่ได้ถูกแก้ไขก่อนที่จะเขียนลงในสัญญาอัจฉริยะ

จุดอ่อนของ Oracle

โดยปกติทั่วไปแล้ว วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ นั้นก็จะต้องมีจุดอ่อน เราลองมาดูกันดีกว่า

แรงจูงใจทางเศรษฐกิจ

แรงจูงใจทางเศรษฐกิจ เช่น รางวัลสำหรับการเล่น “ตามกฎ” จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อรางวัลนั้นๆ สูงกว่าผลตอบแทนที่ได้รับจากการฝ่าฝืนกฎ ยิ่งไปกว่านั้น มันยังไม่สามารถป้องกันพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล เช่น การรับการลงโทษโดยมีจุดประสงค์เพื่อทำร้ายแพลตฟอร์ม สุดท้ายแล้ว เนื่องจากความผันผวนของพื้นที่ Crypto มันจึงไม่มีการรับประกันได้จริงๆ ว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าหากเล่นตามกฎในระยะยาว หากแพลตฟอร์มหรือราคาโทเค็นพังทลายลง ปัญหาเดียวกันก็จะเกิดขึ้นกับรางวัลของ Oracles ที่ซื่อสัตย์

ข้อบกพร่องและความผิดปกติในการทำงาน

เรื่องสัญญาของ Oracle นั้น มันยังมีมาตรฐานที่ยังคงไม่เป็นที่ยอมรับอยู่ ดังนั้น สิ่งที่เขียนขึ้นโดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์อาจจะมีความผิดปกติในการทำงานได้

เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย สัญญาบางตัวอาจจะไม่ได้รับการตรวจสอบโดยบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ สัญญาเหล่านี้อาจจะมีข้อบกพร่องที่ส่งผลเป็นอย่างมากต่อประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม ในทางกลับกัน ต่อให้ Oracle ทำงานได้ดี แต่อาจจะพิสูจน์ได้ว่าแหล่งข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

การโจมตีแบบซีบิล

ในรูปแบบการลงคะแนน การโจมตีแบบซีบิลหมายถึงปฏิบัติการของบุคคลที่แอบอ้างเป็นผู้ใช้งานหลายคนเพื่อปั่นผลการลงคะแนน

บนบล็อกเชน การโจมตีแบบซีบิลนั้นเป็นอันตรายเนื่องจากความเป็นนิรนามของผู้ใช้งาน โปรโตคอล Decentralized Oracle ที่ใช้งานการลงคะแนนจะเปราะบางต่อรูปแบบการโจมตีประเภทนี้

อนาคตของ Oracles

มันมีดีไซน์ของ Oracle ที่แตกต่างกันอยู่มากมาย ซึ่งทั้งหมดนั้นก็ต่างมีคุณสมบัติเฉพาะตัว อย่างไรก็ตาม ทุกๆ ตัวนั้นยังคงได้รับแรงบันดาลใจจากโปรแกรมที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้นเป็นหลัก โชคไม่ดีที่การแฮ็กและการควบคุมข้อมูลต่างๆ ในพื้นที่ DeFi นั้นแสดงให้เห็นแล้วว่ามันไม่มีสิ่งใดที่ไม่สามารถพังทลายลงได้

ความสนใจต่างๆ ในพื้นที่นี้นั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เราจึงสามารถคาดหวังได้ถึงเรื่องดีไซน์ของ Oracle ที่จะมีความเป็นเอกลักษณ์และแข็งแกร่งมากขึ้นในอนาคต การจำกัดการใช้งาน Oracle ก็เป็นเส้นทางที่น่าสนใจเช่นกัน กลุ่มสภาพคล่องที่นำเสนอโดย Bancor Protocol เป็นตัวอย่างของแอปพลิเคชั่น DeFi ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Oracles ในการดำเนินการ

คำศัพท์ทางเทคนิคในบทความ

  • Interface (อินเตอร์เฟซ): ส่วนประสานหรือการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบหนึ่งถึงระบบหนึ่ง ซึ่งสามารถถ่ายโอนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ เช่น User Interface ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้เพื่อทำการติดต่อกับระบบได้
  • Peer-to-Peer (เพียร์ทูเพียร์): ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำการเชื่อมต่อกันโดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องโดนไม่ผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์หลัก และสามารถแชร์ไฟล์/ข้อมูลให้กันและกันได้
  • Centralized (รวมศูนย์): ระบบรวมศูนย์ซึ่งเป็นระบบที่มีตัวกลางซึ่งอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ รวมไปถึงดูแลรักษาระบบการทำงานทั้งหมด
  • Decentralized (กระจายอำนาจ): ระบบกระจายอำนาจที่จะตัดตัวกลางออกไป ทำให้มันมีลักษณะที่กระจายอำนาจ ไม่ขึ้นอยู่กับตัวตนใดตัวตนหนึ่ง
  • Blockchain (บล็อกเชน): คือเทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายอำนาจ หรือที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่ใช้หลักการ Cryptography (การเข้ารหัส) ร่วมกับกลไกฉันทามติ ข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้นจะทำการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงได้ยาก ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล

คำถามที่พบบ่อย

Oracles ใช้ทำอะไร?

จุดประสงค์ของ Oracles ใน Crypto คืออะไร?

Oracle มีความหมายอย่างไรใน Blockchain?

Oracles จำเป็นมากสำหรับแอปพลิเคชั่นในโลกแห่งความเป็นจริงหรือไม่?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน