ดูเพิ่มเติม

ดัชนีความกลัว กับ ดัชนีความโลภ คืออะไร ในโลกคริปโต

15 mins
โดย Rahul Nambiampurath
แปลแล้ว Akradet Mornthong

เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ที่เต็มไปด้วยความผันผวน ตลาดคริปโตก็ได้รับอิทธิพลจากความรู้สึกของผู้คนเช่นกัน ถึงแม้ว่าปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคจะเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะเอาชนะอารมณ์ที่ถูกกระตุ้นได้ ถ้าเช่นนั้น มันจะมีเครื่องมืออะไรที่ดีไปกว่า “ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” ของคริปโต (Crypto Fear and Greed index) ที่จะใช้วัดอารมณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นอาการ FUD ที่เพิ่มขึ้น, อาการ FOMO ที่เริ่มก่อตัว, หรือความคาดหวังว่า “เมื่อไรราคาเหรียญจะพุ่งนะ” — อารมณ์ต่างๆ ของเหล่าสาวกคริปโตนั้นเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและหลากหลาย

ลองจินตนาการดูสิว่า: คุณได้สร้างพอร์ต Bitcoin ที่มั่นคงขึ้นมา โดยการตรวจสอบอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคระยะสั้นต่างๆ เช่น รูปแบบแท่งเทียน หรือ การตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เส้น MA) คุณรู้สึกมั่นใจกับข้อมูลของคุณแล้ว ถึงกระนั้น พอร์ตของคุณก็เริ่มที่จะขาดทุนในทันที ทำให้คุณต้องตั้งคำถามถึงวิธีการและการวิเคราะห์ของคุณ มันมีอะไรผิดพลาดหรือเปล่า?

เมื่อ “ดัชนีความกลัวและความโลภ” อยู่ในโซน “ต่ำมาก” ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มหยุดการซื้อขาย และพลาดโอกาสมากมายในการทำกำไร หากต้องการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ของตลาด และเรียนรู้วิธีการใช้มันเพื่อสร้างรายได้ มาเข้าร่วม BeInCrypto Trading Community สิ! ที่นี่ เทรดเดอร์มืออาชีพจะแบ่งปันเคล็ดลับต่างๆ, วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของราคา, แจ้งเตือนเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญๆ ในตลาด และตอบทุกคำถามของคุณ เข้าร่วมได้แล้ววันนี้!

คำตอบก็คือ: คุณไม่ได้คำนึงถึง “ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” ของ Bitcoin ยังไงหล่ะ! แต่มันก็ยังไม่สายเกินไป ในบทความนี้ เราจะอธิบายว่า ดัชนีความกลัวและความโลภของคริปโต (หรือ Bitcoin) คืออะไร แล้วเราจะใช้งานมันได้อย่างไร

[สารบัญ]

ทำไมเราจึงต้องการดัชนีนี้?

ดัชนีต่างๆ ไม่ได้คำนึงถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้งานและตลาดในวงกว้าง

เดี๋ยวก่อนนะ ไม่ใช่ว่าเรามีดัชนีคริปโต (Crypto Index) อยู่หลายตัวแล้วงั้นหรือ? — NASDAQ Crypto Index (NCI), NYXBT (New York Stock Exchange Bitcoin Index) และ S&P Bitcoin Index (SPBTC) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าดัชนีเหล่านี้จะมีประโยชน์มากเพียงใด แต่หน้าที่หลักๆ ของมันก็คือ การตรวจสอบประสิทธิภาพของสินทรัพย์ ดัชนีเหล่านี้ไม่ได้คำนึงถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้งานและตลาดในวงกว้าง ซึ่งเห็นได้ชัดว่า มันมีช่องโหว่ตรงนี้อยู่

“ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” ของคริปโตนั้นมีไว้เพื่อเติมเต็มช่องโหว่ดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจได้ว่า ผู้คนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับตลาด โดยการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ จำนวนมากแล้วรวมมันเข้าด้วยกัน แต่จะต้องพูดให้ชัดเจนว่า ดัชนีนี้ไม่ใช่เครื่องมือทางการเงิน แต่เป็นตัวชี้วัดที่จะวิเคราะห์สภาวะและอารมณ์ของนักลงทุนในตลาด ซึ่งจะช่วยให้คุณวิเคราะห์เรื่องการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น

เรียนรู้เกี่ยวกับ ดัชนีความกลัวและความโลภ ของคริปโต

ดัชนีความกลัวและความโลภจาก alternative.me

“ดัชนีความกลัวและความโลภ” ของคริปโต (Crypto Fear & Greed Index) คือหนึ่งในอินดิเคเตอร์ด้านอารมณ์/ความรู้สึกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มันเป็นเครื่องมือที่ถูกนำไปใช้บ่อยๆ ในการทำความเข้าใจความคิด**, ความรู้สึก, และการตอบสนองของนักลงทุนสกุลเงินดิจิทัลที่เข้าร่วมตลาด

หมายเหตุ: มันยังมีอินดิเคเตอร์ด้านอารมณ์/ความรู้สึกตัวอื่นๆ อยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ได้แก่ WhaleAlert และ Bull & Bear Index ของ Augmento เป็นต้น

พูดง่ายๆ ก็คือ “ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” จะวิเคราะห์ความรู้สึกและอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับสกุลเงินดิจิทัล (Crypto) ของผู้ใช้งานในทุกๆ วัน โดยสรุปจากแหล่งที่มาต่างๆ และนำเสนอมันออกมาเป็นตัวเลขที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ

ประวัติความเป็นมา

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ “ดัชนีความกลัวและความโลภ” ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบดั้งเดิม โดยมี CNN Money เป็นผู้พัฒนามันขึ้นมาในปี 2012 เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของตลาด — หรือพูดให้ชัดๆ ก็คือตลาดหุ้นนั่นเอง — ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง

ต่อมา มันได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานกับระบบนิเวศของสกุลเงินดิจิทัลโดย Alternative.me เพื่อเป็นดัชนีวัดความเชื่อมั่นทั่วไปในตลาดคริปโต ดัชนีนี้จะวิเคราะห์ Market Indicator (ตัวชี้วัดตลาด) หลายๆ ตัวและแสดงออกมาเป็นค่าตัวเลขจาก 0 ถึง 100 โดย 0 คือระดับของความหวาดกลัวอย่างมาก (ผู้เข้าร่วมตลาดควรระมัดระวัง) และ 100 คือระดับของความโลภอย่างมาก (แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมอย่างมาก/การซื้อจำนวนมาก และ FOMO เพิ่มขึ้น)

องค์ประกอบ

แม้ว่าดัชนีดังกล่าวจะอ้างอิงถึงอารมณ์ที่เฉพาะเจาะจง 2 อย่าง ซึ่งก็คือ ความกลัวและความโลภ แต่การเปลี่ยนจากอารมณ์หนึ่งไปเป็นอีกอารมณ์หนึ่งนั้นจะเกี่ยวข้องกับหลายๆ องค์ประกอบ

ที่ระดับ 100 ผู้เข้าร่วมจะมองโลกในแง่ดีมากที่สุดและทำการซื้ออย่างรวดเร็ว ดัชนีจะแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการทำกำไร และระดับของการมองโลกในแง่ดี (Optimism) จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ระดับของความวิตกกังวล (Anxiety) และจะตามมาด้วยการไม่ยอมรับ (Denial) เมื่อผู้เข้าร่วมปฏิเสธที่จะให้ความสนใจในการลดลงของราคาใดๆ เพื่อเป็นการปรับฐานเล็กน้อย

ราคาที่ลดลงจะเริ่มทำให้ผู้คนเกิดความตื่นตระหนก (Panic) และท้อแท้ (Discouragement) ซึ่งทำให้ ดัชนีความกลัวและความโลภ เคลื่อนตัวเข้าสู่ระดับ 40 จากนั้น ผู้เข้าร่วมจะเริ่มรู้สึกว่า การลดลงของดัชนีนี้อาจจะตามมาด้วยโอกาสในการลงทุนที่ดี ผลักดันให้อารมณ์ก้าวไปสู่ระดับของความหวัง (Hope) และ การมองโลกในแง่ดี (Optimism) อีกครั้ง

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่คุณจะพบได้ว่า ระดับของการมองโลกในแง่ดี (Optimism) เป็นอารมณ์ที่อยู่สุดขั้วของ “ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” ของคริปโต

ต่อไปนี้คือรายละเอียดของระดับที่แสดงอารมณ์ต่างๆ ซึ่งเคลื่อนไหวจาก 100 ไปถึง 0

สภาวะอารมณ์แต่ละระดับของดัชนีความกลัวและความโลภ
สภาวะอารมณ์แต่ละระดับของดัชนีความกลัวและความโลภ: Tixee

“ดัชนีความกลัวและความโลภ” (Crypto Fear & Greed Index) คำนวณอย่างไร?

ดัชนีความกลัวและความโลภนำ Market Indicator หลายๆ ตัวมาพิจารณา ผสานรวมข้อมูลตามน้ำหนักที่กำหนดไว้ และกลั่นกรองทุกอย่างออกมาเพื่อให้ได้ตัวเลขระหว่าง 0 ถึง 100 และต่อไปนี้คือ Sub-Index Indicator ที่ใช้ในการถ่วงน้ำหนักข้อมูลต่างๆ:

1. Volatility (ความผันผวน)

ความผันผวนของตลาดเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญ และมีน้ำหนัก 25% ในการพัฒนาดัชนีความกลัวและความโลภ ตัวชี้วัดนี้จะพิจารณาการลดลงของราคา Bitcoin สูงสุด (สำหรับ Bitcoin Index) และความผันผวนของตลาดในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยความผันผวนรายเดือนและรายไตรมาส ความผันผวนที่สูงหมายถึงระดับความกลัว (Fear) ที่เพิ่มมากขึ้น แต่มันก็อาจจะนำไปสู่ความกระตือรือร้น (Entusiasm) ของนักเทรดได้เช่นกัน

2. Market Momentum (ความเคลื่อนไหวของตลาด)

ตัวชี้วัดนี้เรียกอีกอย่างว่า Crypto Fear and Greed Index Volume Indicator (ตัวชี้วัดปริมาณดัชนีความกลัวและความโลภของคริปโตมันมีน้ำหนัก 25% ในการคำนวณ ดัชนีนี้จะพิจารณาปริมาณการซื้อขาย (การซื้อ) ในปัจจุบันและเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยรายเดือนและรายไตรมาส ปริมาณการซื้อที่สูงในปัจจุบันจะบ่งบอกถึงการเอนเอียงไปทางฝั่งโลภ (Greed) มากจนเกินไป

3. Social Media (โซเชียลมีเดีย)

การมี Social Media Indicator เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีนั้นถือเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้ว มันจะใช้วัดการพูดคุยกันเกี่ยวกับเหรียญที่เฉพาะเจาะจงผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ เป็นหลัก (เช่น BeInCrypto Trading Community บน Telegram ที่ซึ่งเทรดเดอร์และผู้เชี่ยวชาญแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลกัน) ตัวชี้วัดนี้มีน้ำหนัก 15% และคำนวณโดยใช้แฮชแท็กและการตอบสนองทางสังคม

นี่คือแพลตฟอร์ม Lunar Crush ที่อนุญาตให้คุณตรวจสอบการกล่าวถึงและการมีส่วนร่วมทางสังคม:

แพลตฟอร์ม Lunar Crush ที่อนุญาตให้ตรวจสอบการกล่าวถึงและการมีส่วนร่วมทางสังคม

4. Dominance (อิทธิพล)

ด้วยน้ำหนัก 10% มันจึงเป็นหนึ่งใน Sub-Index Indicators ที่ซับซ้อนที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด นี่คือวิธีที่มันเข้ามาเกี่ยวข้องกับนิยามของความกลัว-ความโลภ:

อิทธิพลของ Bitcoin ที่เพิ่มขึ้นหมายถึงความโลภที่ลดน้อยลงสำหรับ Altcoins อื่นๆ ดังนั้น หากเห็นว่าอิทธิพลของสกุลเงินดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ตลาดก็จะเริ่มเคลื่อนไปสู่โซนแห่งความกลัว (Fear) ในทำนองเดียวกัน อิทธิพลของ Bitcoin ที่ลดลงจะเป็นการบอกใบ้ถึงความโลภ (Greed) ที่เพิ่มขึ้น

เนื่องจากการมีอิทธิพลเหนือตลาดกว่า 39%+ ดัชนีความกลัวและความโลภของ Bitcoin จึงมักจะนำไปใช้แทน ดัชนีความกลัวและความโลภของ Crypto ได้

ดัชนีความกลัวและความโลภจะดึงข้อมูลคำค้นหาจาก Google เพื่อกำหนดปริมาณการค้นหาของเหรียญที่เฉพาะเจาะจง — ซึ่งหลักๆ ก็คือ Bitcoin การเปลี่ยนแปลงของปริมาณการค้นหาจะช่วยวัดการเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีได้ ตัวชี้วัดนี้มีน้ำหนัก 10%

6. Surveys (แบบสำรวจ — หยุดใช้ชั่วคราวในขณะนี้)

ตอนนี้ มันถูกหยุดใช้งานชั่วคราว แบบสำรวจนั้นมีน้ำหนักอยู่ที่ 15% เมื่อพูดถึงบทบาทในการช่วยสร้างดัชนีความกลัวและความโลภแล้ว เมื่อมันเปิดใช้งาน แบบสำรวจมักจะประกอบไปด้วยแบบสำรวจเกี่ยวกับคริปโตที่มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2,000 ถึง 3,000 คน

และนั่นคือวิธีที่ “ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” ถูกสร้างขึ้นมา ข้อมูลเหล่านี้จะมีการอัพเดตทุกวัน ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของ Sub-Index Indicators

ประโยชน์ของการใช้งาน “ดัชนีความกลัวและความโลภ”

เมื่อมาถึงตรงนี้ คุณน่าเข้าใจแล้วว่า ดัชนีความกลัวและความโลภ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ตอนนี้ เรามาดูข้อดีของการใช้งานมันกันก่อนดีกว่า:

  • ช่วยให้เห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นของตลาดที่มีความผันผวนอยู่เสมอ
  • มันจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในชั่วข้ามคืน แต่จะเคลื่อนที่ช้าๆ ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งแทน
  • ออกมาเป็นดัชนีสัมพัทธ์ที่เปลี่ยนแปลง (ลดลงหรือเพิ่มขึ้น) ตามระดับของราคา
  • ช่วยให้เทรดเดอร์ประหยัดเวลาอันมีค่าในการศึกษาตลาด เนื่องจากข้อมูลจากดัชนีนี้จะครอบคลุมถึงความผันผวน, อิทธิพล, ปริมาณการซื้อขาย, และแหล่งข้อมูลที่สำคัญอื่นๆ
  • ให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับสภาวะสุดขั้วของตลาด เช่น เมื่อสินทรัพย์มีราคาที่ลดลง และเมื่อเข้าสู่ช่วงฟองสบู่
  • นำเสนอมุมมองที่มีความเหมาะสมมากกว่าสำหรับตลาดคริปโตในช่วงขาขึ้นและช่วงขาลง
  • สามารถใช้ในการตัดสินใจลงทุนในเชิงรุกได้ เช่นเดียวกับการขายชอร์ต Bitcoin หรือสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ
  • ช่วยให้เห็นช่วงระยะเวลาที่มีความเสี่ยงมากที่สุดโดยใช้อารมณ์ของตลาดโดยไม่ต้องให้คำแนะนำทางการเงินโดยตรง

ข้อโต้แย้งที่มีต่อ “ดัชนีความกลัวและความโลภ”

อย่างที่เราเห็น “ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” ของคริปโตนั้นมีข้อดีอยู่ ถึงกระนั้น มันก็ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบ และก็เป็นที่ทราบกันดีว่า มันมีข้อโตแย้งดังต่อไปนี้:

  • เป็นการคาดการณ์การวิเคราะห์ความเชื่อมั่นในระยะสั้น แต่ไม่ได้ช่วยอะไรกับภาพรวมมากนัก
  • ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากปัจจัยที่คาดเดาไม่ได้ 2 ประการ: ความผันผวนและปริมาณการซื้อขาย
  • ไม่มีการสนับสนุนเรื่องการซื้อขายมากนักเมื่อดัชนีอยู่ใกล้ระดับที่เป็นกลาง ที่ระดับ 50 หรือเมื่อ Price Action เป็น Sideways
  • ยังคงต้องมีตัวชี้วัดทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ไม่ได้นำเอากิจกรรมของวาฬ, กระแสเงินทุนที่ไหลเข้ากระดานเทรด, และความเข้มข้นของการซื้อขายมาพิจารณาร่วมด้วย
  • การเปลี่ยนแปลงราคาแม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้

เทรดเดอร์จะใช้งาน Bitcoin Fear & Greed Index ได้อย่างไร?

จะใช้งาน Bitcoin Fear & Greed Index ได้อย่างไร

ถึงแม้ว่ามันจะมีข้อดีมากมายและมีข้อเสียเพียงเล็กน้อย แต่ “ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” ก็เป็นเครื่องมือการซื้อขายที่เชื่อถือได้ นี่คือวิธีที่เทรดเดอร์ใช้งานมันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดที่ไม่สามารถคาดเดาได้

การแบ่งสเกลของดัชนีออกเป็น 4 ส่วน

คุณสามารถแบ่งดัชนีออกเป็น 4 โซนดังนี้:

  1. Extreme Fear (ความกลัวสุดขีด) หรือ โซนสีส้ม (0–24)
  2. Fearful (น่ากลัว) หรือ โซนสีอำพัน/เหลือง (25–49)
  3. Greed (ความโลภ) หรือ โซนสีเขียวอ่อน (50–74)
  4. Extreme Greed (ความโลภสุดขีด) หรือ โซนสีเขียว (75–100)

โซนที่ 1 แสดงให้เห็นถึงความกลัวสุดขีด นอกจากนี้ มันมักจะเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการซื้อ และอาจจะหมายความว่าการกลับตัวของราคาใกล้เข้ามาแล้ว โซนที่ 2 คือโซนน่ากลัว ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อราคาสินทรัพย์เริ่มลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของตลาดหมี ระดับเหล่านี้สามารถเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดกระทิง แต่ในตลาดหมีที่ลึก โซนน่ากลัวมักจะหมายถึงราคาจะลดลงมากยิ่งขึ้

คำเตือน: ไม่มีใครรู้ว่าจุดต่ำสุดจะอยู่ที่ไหน ดังนั้น มันคงจะไม่เป็นการดีที่จะเริ่มซื้อแบบสุ่มสี่สุ่มห้าเมื่อดัชนียังอยู่ในโซนที่ 1 เราควรรอการเคลื่อนไหวเข้าสู่ในโซน 2 เพื่อที่จะระบุโอกาสในการซื้ออย่างชัดเจน

ราคาเริ่มที่จะดีขึ้นในโซนที่ 3 นอกจากนี้ บริเวณนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงราคาน้อยที่สุดด้วย คุณจะได้เห็นปริมาณการซื้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งบ่งบอกเป็นนัยถึงการเพิ่มขึ้นของราคา โซนที่ 4 เป็นช่วงที่ตลาดมีการซื้อมากเกินไป ส่วนนี้เป็นจุดที่ราคามักจะเริ่มลดลง/ปรับฐานอีกครั้ง

เทรดเดอร์สามารถตรวจสอบสเกลทั้ง 4 ของดัชนีแล้วดำเนินการไปตามนั้นได้

นี่คือวิธีที่ชาวทวิตเตอร์ใช้ “ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” เป็นเครื่องมือช่วยในการซื้อขาย:

เราได้ถึงเกี่ยวกับวิธีที่นักเทรดสามารถใช้ดัชนีในโซนต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ นี่คือการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ว่า “ดัชนีความกลัวและความโลภ” ของสกุลเงินดิจิทัล เกี่ยวข้องโดยตรงกับกราฟราคา Bitcoin อย่างไร

หมายเหตุ: เราจะใช้แผนภูมิราคา BTC/USD เนื่องจาก Bitcoin มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ดัชนีความกลัวและความโลภ และ Bitcoin ก็เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีอิทธิพลมากที่สุด

ข้อมูล Crypto Fear & Greed Index (28 ต.ค. 2021 ถึง 27 ต.ค. 2022)

Bitcoin Fear & Greed Index
Bitcoin Fear & Greed Index: Alternative.me

รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา BTC (28 ต.ค. 2021 ถึง 27 ต.ค. 2022)

รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา BTC

มันมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

ลองดูที่เครื่องหมายแรกจากทางด้านซ้ายบนกราฟดัชนีความกลัวและความโลภ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2022 ค่าดัชนีลดลงมาที่ระดับ 10 (โซนความกลัวสุดขีด) บนกราฟราคา BTC/USD จุดนี้ตรงกับวงกลมสีดำซึ่งใกล้กับระดับ 40,000 ดอลลาร์ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าความรู้สึกได้เปลี่ยนไปเป็นความกลัว (Fearful) อย่างรวดเร็วเมื่อราคาของ Bitcoin ลดลงเกือบ 30,000 ดอลลาร์จากระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 68,789.63 ดอลลาร์

ใช่แล้ว ราคาได้ลดลงไปไม่น้อยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นี่แสดงให้เห็นว่า ดัชนีความกลัวและความโลภไม่ได้ลดลงทุกครั้งที่ราคาลดลงไป แต่จะเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ และตามระดับของราคา

เครื่องหมายที่ 2 จากทางซ้ายคือวันที่ 28 มีนาคม เมื่อดัชนีขึ้นไปที่ระดับ 60 เมื่อเทียบกับวันที่ 8 มกราคม ดัชนีความกลัวและความโลภขยับขึ้น 50 จุด แต่ราคาเพิ่มขึ้นไปเพียง 7,000 ดอลลาร์เท่านั้น ความเคลื่อนไหวของราคาแบบ Sideways ในลักษณะนี้เรียกว่า Whipsaws ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนเล็กน้อยและต้องซื้อขายอย่างระมัดระวัง ดัชนีความกลัวและความโลภไม่มีผลมากนักในระหว่างความเคลื่อนไหวแบบ Sideways

อย่างไรก็ตาม 60 เป็นจุดสูงสุดของ ดัชนีความกลัวและความโลภ ในปีนี้ หลังจากนั้น ราคา Bitcoin ก็เริ่มที่จะลดลง ดังนั้น แม้แต่โซนที่ 3 ก็ถือเป็นโซนที่มีการซื้อมากเกินไป (Overbought) สำหรับสกุลเงินดิจิทัลในตลาดหมี

“ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” สามารถเชื่อถือได้หรือไม่?

ความน่าเชื่อถือของดัชนีความกลัวและความโลภ

ก่อนที่เราจะพูดถึงความน่าเชื่อถือของ “ดัชนีความกลัว” และ “ดัชนีความโลภ” เรามาดูสิ่งที่เราสามารถอนุมานได้จากตัวอย่างแบบเรียลไทม์ด้านบน:

  1. ในช่วงตลาดหมี ถึงแม้ว่าค่าดัชนีความกลัวและความโลภจะอยู่ในโซนที่ 1 ที่ต่ำ นั่นก็ไม่ได้หมายความมันจะลงไปถึงจุดต่ำสุด มันอาจจะเป็นเพียงแค่ความตื่นตระหนกและความผันผวนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
  2. ในช่วงตลาดหมี โซนที่ 3 หรือโซนสีเขียวอ่อนสามารถกระตุ้นให้เกิดการเทขายได้เช่นกัน
  3. ดัชนีนี้ไม่ได้แสดงถึงการซื้อขายแบบ Sideways ได้อย่างถูกต้อง
  4. ความรู้สึกอาจจะมีมากเกินไปในช่วงตลาดกระทิงหรือช่วงตลาดหมีคริปโต

คำตัดสินโดยรวมใช่แล้ว ดัชนีความกลัวและความโลภ มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง และจะยิ่งน่าเชื่อถือมากขึ้นเมื่อคุณใช้มันคู่กับตัวชี้วัดทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐาน นอกจากนี้ มันยังสามารถช่วยตรวจสอบความรู้สึกและการตัดสินใจลงทุนในระยะสั้นได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่แนะนำให้ใช้มันสำหรับการวิเคราะห์ในระยะยาว หรือ ไม่แนะนำสำหรับนักลงทุนคริปโตที่ทำการตัดสินใจจากการพูดคุยทางสังคม

ความกลัวและความโลภ < ศึกษาข้อมูลด้วยตัวเอง: บทส่งท้าย

เราสามารถพูดได้ว่า ดัชนีความกลัวและความโลภของสกุลเงินดิจิทัล — อันที่จริง เหมือนจะเป็น ดัชนีความกลัวและความโลภของ Bitcoin เสียมากกว่า — เป็นเครื่องมือที่ดีในการคาดการณ์อารมณ์ของตลาดในภาพรวม อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรจะใช้ดัชนีนี้เพียงอย่างเดียวในการ DYOR (Do Your Own Research หรือ ทำการศึกษาข้อมูลด้วยตัวคุณเอง)

การผสมผสานที่ลงตัวคือการดูโซนซื้อ/ขายในมุมมองที่กว้างขึ้นโดยใช้ Bitcoin Rainbow Chart การวัดความรู้สึกของตลาดโดยใช้ดัชนีความกลัวและความโลภ และสุดท้ายก็ใช้เครื่องมือ On-Chain และ On-Chart เพื่อปรับแต่งการซื้อ/ขาย เพื่อที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น คุณจะใช้เครื่องมือทั้งหมดร่วมกัน นั่นจะส่งผลให้คุณได้ผลลัพธ์ตามที่คุณต้องการ

คำถามที่พบบ่อย

ดัชนีความกลัวและความโลภของสกุลเงินดิจิทัล (Crypto Fear & Greed Index) คืออะไร?

ดัชนีความกลัวและความโลภส่งผลต่อ NFT ด้วยหรือไม่?

ดัชนีความกลัวและความโลภคืออะไร?

ตัวชี้วัดที่ดีที่สุดสำหรับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลคือตัวไหน?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | เมษายน 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

bic_photo_6.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน