Trusted

Demand Supply Zone คืออะไร ใช้ในการเทรดได้อย่างไร ตียังไง

7 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

Demand Supply Zone คือ โซนของราคาที่มีการซื้อมากหรือขายมากหรือมีราคาขึ้นและลงมาสัมผัสมาก โดยจะเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งเราอาจเรียกว่า อุปสงค์ อุปทาน นั่นเอง โดยปกติ Demand & Supply Zone จะใช้ควบคู่กับ แนวรับ แนวต้าน ด้วย

ในทุกๆ ตลาดสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น คริปโตเคอเรนซี่, หลักทรัพย์ หรือ สินค้าโภคภัณฑ์ การซื้อขายย่อมเป็นไปตามกลไกของตลาดของ อุปสงค์ และ อุปทาน ซึ่งในการเทรดมักเรียกว่า Demand Supply Zone นักเทรดสามารถวิเคราะห์เพื่อหาจุดเข้าสะสมและขายทำกำไรได้หากมีความรู้ที่เหมาะสม

การวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทั้งนักลงทุนระยะยาว และนักเก็งกำไรระยะสั้น ซึ่งในปัจจุบันนับเป็นศาสตร์หนึ่งของ Technical Analysis หรือ การวิเคราะห์เชิงเทคนิคผ่านกราฟราคา บทความนี้จะทำให้ผู้อ่านรู้จักแนวคิด และวิธีการนำไปประยุกต์ใช้เบื้องต้น

Demand Supply Zone คืออะไร

Demand Supply Zone คือ โซนของราคาที่มีการซื้อและขายมาก หรือโซนที่มีราคามาสัมผัสมาก โดยจะเป็นไปตามกลไกตลาดที่ซึ่งเราอาจเรียกว่า อุปสงค์ อุปทาน นั่นเอง

หากแปลอย่างตรงตัวแล้ว มันคือ โซนที่อุปสงค์ หรือโซนที่มีความต้องการซื้อ (Demand Zone) และอุปทาน หรือ โซนที่มีความต้องการขาย (Supply Zone) เกิดขึ้น  แต่ในแง่หนึ่งมันเป็นความหมายเชิงจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดเรื่อง “แนวรับ และ แนวต้าน” (Support & Resistance) เวลาที่คุณตีเส้นบนกราฟราคา Price Action นั่นเอง

ทำให้เวลาที่นักเทรดใช้โดยปกติ Demand & Supply Zone จะใช้ควบคู่กับ แนวรับ แนวต้าน ด้วยอยู่แล้ว

เมื่อคุณสามารถตีความ แนวรับและแนวต้าน ด้วยหลักการของจิตวิทยาตลาดเบื้องหลังได้แล้ว คำสบประมาณที่ว่า “เส้นต่างๆ ในกราฟไม่มีความหมาย เป็นแค่จินตนาการ” ก็จะไม่เป็นจริงอีกต่อไป เพราะการเคลื่อนไหวของราคาเป็นสิ่งสะท้อนที่ความคิดของผู้ซื้อและผู้ขายในแต่ละชั่วขณะนั้นๆ

รูปแบบของ Demand Zone

โซนของความต้องการซื้อจะมีรูปแบบเบื้องต้น 2 รูปแบบ ดังนี้

Demand Zone : Drop Base Rally (DBR)

DBR จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดเทรนขาลง (Drop) มาก่อน แล้วเกิดการพักตัวที่เรียกว่า (Base) และกลับตัวเปลี่ยนเป็นเทรนขาขึ้น (Rally) รูปแบบนี้ ส่งสัญญาณว่าอาจมีการกลับตัวของเทรนขาลงเกิดขึ้นแล้ว โดยจุดที่เป็น Base แสดงถึงความต้องการซื้อที่มากขึ้น และความต้องการขายชะลอตัวจนถึงจุดสมดุล ทำให้เกิดแนวรับ

Demand Zone รูปแบบ Drop Base Rally

Demand Zone : Rally Base Rally (RBR)

RBR จะเกิดขึ้นในช่วงที่เทรนเป็นขาขึ้น (Rally) และเกิดการพักตัวระหว่างเทรน (Base) นัยยะหนึ่งคือ มีผู้คนกลุ่มหนึ่งเลือกเก็บกำไรบางส่วนเพื่อป้องกันความเสี่ยง แต่ในขณะเดียวกันยังมีผู้ต้องการซื้อที่อาจพลาดจากเทรนขาขึ้นครั้งแรกเข้ามาเพิ่มเติม ทำให้เกิดเทรนขาขึ้นต่อไป (Rally)

Demand Zone รูปแบบ Rally Base Rally

รูปแบบของ Supply Zone

โซนของความต้องการขายจะมีรูปแบบเบื้องต้น 2 รูปแบบ ดังนี้

Supply Zone : Rally Base Drop (RBD)

RBD จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดเทรนขาขึ้น (Rally) มาก่อน แล้วเกิดการพักตัวที่เรียกว่า (Base) และกลับตัวเปลี่ยนเป็นเทรนขาลง (Drop) รูปแบบนี้ ส่งสัญญาณว่าอาจมีการกลับตัวของเทรนขึ้นลงเกิดขึ้นแล้ว โดยจุดที่เป็น Base แสดงถึงความต้องการขายที่มากขึ้น และความต้องการซื้อชะลอตัวจนถึงจุดสมดุล ทำให้เกิดแนวต้าน

Supply Zone รูปแบบ Rally Base Drop

Supply Zone : Drop Base Drop (DBD)

DBD จะเกิดขึ้นในช่วงที่เทรนเป็นขาลง (Drop) และเกิดการพักตัวระหว่างเทรน (Base) นัยยะหนึ่งคือ มีผู้คนกลุ่มหนึ่งมองว่าราคาเริ่มต่ำกว่าความเป็นจริงและเริ่มเข้าสะสม แต่ในขณะเดียวกันยังมีผู้ต้องการขายที่มากกว่าทำให้ราคาร่วงต่อเป็นเทรนขาลงต่อไป (Drop)

Supply Zone รูปแบบ Drop Base Drop

วิธีการวิเคราะห์ความแข็งแกร่งของ Demand Supply Zone และ แนวรับ แนวต้าน

หลังจากเราเรียนรู้รูปแบบเบื้องต้นแล้ว เรายังสามารถวิเคราะห์รายละเอียดเชิงลึกเพื่อพิจารณาความแข็งแกร่งของรูปแบบที่เกิดขึ้นได้อีกด้วยผ่านการศึกษาเครื่องมือการวิเคราะห์เชิงเทคนิค

วิเคราะห์แท่งเทียน (Candle Stick Analysis)

ประการแรกคือ “ลักษณะของโซนและแท่งเทียน” Narrow Price Range หรือ ไส้เทียนที่ยาวแต่การแกว่งของราคาอยู่ในกรอบแคบๆ หากเลือก Time Frame ที่ยาวขึ้นอาจเห็นเป็นแท่งตระกูล Doji ซึ่งเป็นแท่งเทียนชนิดหนึ่ง กรอบที่แคบแสดงถึงราคาที่ยังไม่สามารถเลือกทิศทางได้และมีความผันผวนและไม่แน่นอนสูง

เมื่อมันสะท้อนถึงความมั่นใจที่ไม่มากนัก จึงอาจไม่ใช่โซนที่เหมาะแก่การเข้าสะสมสินทรัพย์สักเท่าไหร่ และยังเสี่ยงต่อการ Fake breakout และ Stop Loss อีกด้วย ทว่า หากแท่งเทียนเป็นแท่งยาวและทำ Breakout ออกจากกรอบและแทบไม่มีไส้เทียน นั้นหมายความว่า แรงซื้อแข็งแกร่งมากและมีโอกาสพัฒนาเป็นเทรนสูง

วิเคราะห์ระยะเวลาและสัดส่วน (Proportion Analysis)

หากคุณเริ่มมองเห็นการก่อตัวของ Base ให้คุณสังเกตระยะเวลาก่อนการ Breakout เป็นเทรนให้ดี โดยทั่วไปหากราคาอยู่นิ่งเป็นเวลามากเกินควร นั่นหมายความว่า ราคาไม่สามารถไปต่อได้และเป็นสัญญาณของการกลับตัวของเทรนที่อาจเกิดขึ้น

วิธีการพิจารณามีหลากหลายรูปแบบ ว่าแพทเทิร์นที่เกิดขึ้นกินระยะเวลานานเกินไปไหม แต่รูปแบบที่นิยมคือ การเทียบเคียงแบบสัมพัทธ์ (Relatively) เช่น หากเทรนขาลงก่อนหน้าอาจใช้เวลา 5 แท่งเทียน แต่ราคากลับมาพักตัวเป็นโซนนานกว่า 10 แท่งเทียน นั่นอาจหมายความว่า แรงขายได้หมดลงแล้ว เมื่อมีความต้องการซื้อหรือข่าวดีเข้ามา ราคาพร้อมจะ Breakout เป็นขาขึ้นทันที

การทดสอบของ แนวรับ แนวต้าน

โดยทั่วไปแล้ว หากราคา Breakout ออกจากกรอบ การย่อกลับลงมาทดสอบที่แนวรับและแนวต้าน เป็นสัญญาณที่ไม่ดีสักเท่าไหร่ เพราะมันหมายความว่า ยังมีแรงขายหลงเหลืออยู่จากช่วงเวลาก่อนหน้ามากพอที่จะกลับมาทดสอบโซนที่ทะลุไปแล้ว

ยิ่งมีการทดสอบหลายครั้ง ยิ่งหมายความว่าแรงเทขายยังคงหลงเหลืออยู่มากเท่านั้นและมีโอกาสที่จะเกิด False Breakout ทะลุแนวรับเก่าได้ แต่ในแง่หนึ่งมันหมายความว่า แนวรับนั้นมีความสำคัญเชิงจิตวิทยาสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อจริง อย่างไรก็ตามการ Breakout และไม่กลับมาทดสอบย่อมแสดงถึงความแข็งแกร่งที่มากกว่าอย่างชัดเจน

จุดเข้าเทรดสำหรับการใช้ Demand Supply Zone

อ้างอิงจากรูปแบบของ Demand Zone ข้างต้น เราสามารถกำหนดกลยุทธ์ในการเข้าถือครองสถานะได้ ว่าควรเข้าซื้อ Take Profit และ ตั้ง Stop Loss ณ จุดใดที่ความเสี่ยงต่ำที่สุดและคุ้มค่ากับกำไรที่มีโอกาสสำเร็จสูงดังนี้

การเทรด DBR และ RBR

เมื่อเรามองเห็นแพทเทิร์น DBR และ RBR แล้ว นักเทรดสามารถเข้าซื้อเมื่อราคาใกล้เคียงกับแนวรับมากที่สุด ยิ่งใกล้ยิ่งลดความเสียหายในกรณีที่การวิเคราะห์ผิดพลาดได้มากเท่านั้น และกำหนดจุดทำกำไรเป็นแนวต้านเก่า

Demand Supply Zone และการเทรด DBR และ RBR

การเทรด RBD และ DBD

แพทเทิร์นทั้ง 2 นี้เป็นแพทเทิร์นขาลงจึงควรใช้กับการถือสถานะ Short ในตลาด Futures โดยแนวคิดมีลักษณะเดียวกันกับการเทรดในช่วงขาขึ้นแต่กลับหัว หมายความว่า คุณควรเปิดสถานะให้ใกล้กับแนวต้านมากที่สุด เพื่อลดความเสียหายหากวิเคราะห์ผิดพลาด และปิดสถานะเมื่อราคาปะทะกับแนวรับเก่านั่นเอง

การเทรดขาลงด้วยแพทเทิร์น RBD และ DBD

สรุปเรื่อง Supply Demand Zone

หลังจากที่เราเรียนรู้จิตวิทยาเบื้องหลังตลาดผ่านการศึกษา Demand Supply Zone หรือ อุปสงค์ และ อุปทาน ในการเทรดแล้ว นักลงทุนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย และอาจทำให้มีความเข้าใจในเทคนิคอื่นๆ มากขึ้น เช่น ทฤษฎี Dow, ทฤษฎี Wyckoff และ ทฤษฎี Elliot Wave เพราะโครงสร้างของแนวคิดเหล่านี้ ล้วนมาจากการวิเคราะห์จิตวิทยาตลาดที่พัฒนาต่อยอดขึ้นไปจากแนวคิดเรื่องโซนอุปสงค์และอุปทานเป็นทฤษฎีที่มีความซับซ้อนมากขึ้นความเข้าใจเหล่านี้อาจยกระดับการเทรด Cryptocurrencies ของคุณขึ้นไปได้อีกระดับก็เป็นได้

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน