Trusted

Flare Network: คำแนะนำเกี่ยวกับ FLR Token สำหรับมือใหม่

3 mins
โดย Alex Lielacher
แปลแล้ว Akradet Mornthong

มันมีเสียงร่ำลือมากมายเกี่ยวกับ Flare Network และศักยภาพที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรม Crypto ของมัน ระบบนิเวศของพวกเขาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากการดรอปโทเค็น FLR ซึ่งถูกคาดหวังไว้อย่างมาก ตอนนี้ เมื่อมีการแจกจ่ายโทเค็น FLR แล้ว เครือข่ายก็ได้เปิดให้บริการสำหรับธุรกิจต่างๆ อย่างเป็นทางการแล้วเช่นกัน เราต้องเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ Flare Network? ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงภาพรวมว่า Flare Network (FLR) คืออะไร? มันทำงานอย่างไร? ฟีเจอร์หลัก, โทเค็นโนมิคส์ และภารกิจของพวกเขาคืออะไร? ไปดูกันเลยดีกว่า!

💡 ต้องการรับทราบข่าวสารที่ร้อนแรงทั้งหมดเกี่ยวกับโปรเจกต์ Crypto ยอดนิยมอย่าง Flare Network หรือไม่? มาเข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram สิ: อ่านข่าวใหม่ๆ พูดคุยกันเรื่อง NFT และสอบถามเรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิคต่างๆ จากเหล่านักเทรดมืออาชีพ! เข้าร่วมเลยเดี๋ยวนี้

Flare Network คืออะไร?

Flare Network เป็นบล็อกเชน Proof-of-Stake เลเยอร์ 1 ที่ทำงานร่วมกันกับบล็อกเชนอื่นๆ ได้ซึ่งใช้ประโยชน์จาก Ethereum Virtual Machine (EVM) Flare (FLR) ถูกสร้างขึ้นในปี 2020 จุดมุ่งหมายของพวกเขาคืออะไร? ก็เพื่อนำสัญญาอัจฉริยะและความสามารถในการทำงานร่วมกันมาสู่บล็อกเชน

Ripple Blockchain ที่ขับเคลื่อนโดย XRP เป็นหนึ่งในเป้าหมายและแรงบันดาลใจหลักของ Flare Network Flare นำเสนอการปรับขนาดบล็อกเชน PoS โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของพวกเขา พวกเขาทำได้โดยการทำให้แน่ใจว่าความปลอดภัยของเครือข่ายนั้นไม่ได้เชื่อมโยงแค่เพียงกับโทเค็นดั้งเดิมของเครือข่าย เช่นเดียวกับเครือข่าย PoS ส่วนใหญ่

ทีมงาน

ผู้ก่อตั้ง 3 คนได้สร้างโซลูชั่นที่ทะเยอทะยานนี้ขึ้นมา คนแรกคือ Hugo Philion ซึ่งเป็น CEO ของโปรเจกต์ Hugo นั้นมีประสบการณ์การทำงานเป็นผู้จัดการพอร์ตการลงทุนอนุพันธ์สินค้าโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ เขายังมีปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาแมชชีนเลิร์นนิงจาก UCL (University College London) ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับผู้ร่วมก่อตั้งคนอื่นๆ

Flare Network

Sean Rowan เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Flare Network คนที่ 2 เขาได้เข้าเรียนที่ UCL และได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาแมชชีนเลิร์นนิงเช่นเดียวกัน Sean ทำงานในโปรเจกต์บล็อกเชนมาหลายโปรเจกต์ตั้งแต่ปี 2015 รวมถึงการสร้างโปรโตคอลการสื่อสารของยานพาหนะที่ปลอดภัยซึ่งใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานของ Public Key ที่ขับเคลื่อนด้วยบล็อกเชน ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Flare

สุดท้ายคือ Dr. Nairi Usher ปัจจุบันเธอเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ที่ Flare และมีวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาฟิสิกส์และปริญญาเอกสาขาคอมพิวเตอร์ควอนตัมจาก UCL ก่อนที่จะมาสร้าง Flare Network Dr. Nairi เคยร่วมงานกับ Siemens เพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นด้านการดูแลสุขภาพและการจดจำภาพโดยใช้อัลกอริธึมควอนตัม

นอกจากผู้ร่วมก่อตั้งแล้ว Flare Network ยังมีทีมงานขนาดใหญ่ ตั้งแต่วิศวกร สมาชิกในทีมการเงิน ไปจนถึงผู้จัดการชุมชน

นับตั้งแต่ก่อตั้ง ทีมงาน Flare Network ได้รับเงินทุนจากหลายแหล่ง เงินทุนก้อนแรกมาจาก Ripple ในปี 2019 ผ่าน Xpring บริษัทการลงทุนของพวกเขา ต่อมาในปี 2021 ทีมงาน Flare ได้รับเงินทุนอีกประมาณ 11.3 ล้านดอลลาร์ในรอบการระดมทุน ซึ่งมาจาก Digital Currency Group, Kinetic Capital, Ripple, Charlie Lee และ Do Kwan เป็นนักลงทุน ปัจจุบัน Flare Network มีนักลงทุนอยู่ 19 ราย

แผนงาน

Flare Network กำลังดำเนินการไปตามแผนงานด้วยเงินทุนที่ได้มา แผนงานที่ประสบความสำเร็จไปแล้วได้แก่การใช้งาน State Connector และการเปิดตัว Flare

ถัดไป พวกเขามีแผนงานเกี่ยวกับการแจกจ่ายโทเค็น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้แน่ใจว่าการแจกจ่ายโทเค็นในอนาคตจะไม่มีความเสี่ยงจากการที่กระดานเทรดปฏิเสธที่จะการแจกจ่ายโทเค็น นอกจากนี้ ยังเป็นความพยายามสร้างผลทางภาษีในเชิงบวกแก่ผู้ใช้งานและเพิ่มแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมกับเครือข่าย

แผนงานดังกล่าวยังมีแผนการคร่าวๆ ในการสร้าง Flare Foundation องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรนี้จะรับผิดชอบในการวิจัยและพัฒนา, การประชาสัมพันธ์, ความร่วมมือต่างๆ เรื่องการศึกษา, การลงทุน, และอื่นๆ

Flare Network ทำงานอย่างไร?

Flare Network มีเป้าหมายในการส่งเสริมการสื่อสารและการทำธุรกรรมระหว่างเครือข่ายบล็อกเชนต่างๆ และนำสัญญาอัจฉริยะมาสู่เครือข่ายทางเลือก

Flare Network ทำหน้าที่เป็น Byzantine Agreement Network แบบ Turing-Complete ซึ่งใช้งาน Flare Consensus Protocol โดย Turing-Complete นั้นหมายความว่า Flare Network สามารถเรียกใช้สัญญาอัจฉริยะของ Turing ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งสามารถจำลองอัลกอริทึมคอมพิวเตอร์ใดๆ ก็ได้ สิ่งนี้ทำให้นักพัฒนาหรือคอมพิวเตอร์สามารถใช้โค้ดภาษาใดๆ เพื่อเรียกใช้สัญญาอัจฉริยะบนเครือข่ายได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ Flare ยังใช้งาน Ethereum Virtual Machine สำหรับการใช้งานสัญญาอัจฉริยะนี้ EVM จะช่วยให้นักพัฒนา Ethereum สร้างแอปพลิเคชั่นบน Flare ได้ง่ายขึ้น

เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างบล็อกเชนต่างๆ Flare Network ใช้งาน 2 โปรโตคอล ตัวแรกคือ State Connector และตัวที่สองคือ Flare Time Series Oracle (FTSO) State Connector จะช่วยในการรับข้อมูลภายนอกจากบล็อกเชนอื่นๆ ข้อมูลจะถูกประมวลผลบนเครือข่ายเพื่อให้ฉันทามติเกี่ยวกับสถานะของบล็อคเชนใดๆ ที่ Flare เชื่อมต่ออยู่

ด้วยการทำเช่นนั้น Flare Network สามารถทำซ้ำสิ่งที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชนที่พวกเขาเชื่อมต่อได้ ในทางกลับกัน Flare Time Series Oracle (FTSO) จะช่วยให้ได้รับข้อมูลเฉพาะช่วงเวลาแบบกระจายอำนาจ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมในช่วงเวลาที่สอดคล้องกันบนบล็อกเชนอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะรวมถึงสิ่งต่างๆ อย่างเช่น ดัชนีข้อมูล ราคาสินทรัพย์ และอื่นๆ อีกมากมาย

Flare Network สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านบล็อกเชนหลายๆ ตัวผ่านโปรโตคอลทั้ง 2 ตัวนี้ พวกมันช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างแอปพลิเคชั่นและการใช้งานบนเครือข่ายต่างๆ

ฟีเจอร์ต่างๆ ของ Flare Network

มาดูฟีเจอร์หลักบางประการที่ช่วยให้ Flare Network ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Ethereum Virtual Machine (EVM)

Ethereum Virtual Machine (EVM) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการและใช้งานสัญญาอัจฉริยะบน Ethereum Blockchain นอกจากนี้ มันยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมให้กับนักพัฒนาเพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ (DApps) บนเครือข่าย ใน Flare Network EVM มีบทบาทเดียวกันโดยการสั่งการสัญญาอัจฉริยะและโฮสต์ DApps สิ่งนี้ทำให้เครือข่ายสามารถทำงานให้กับนักพัฒนา Ethereum ได้อย่างหลากหลาย

Flare State Connector Protocol

Flare State Connector Protocol เป็นสัญญาอัจฉริยะที่อนุญาตให้ Flare Network รวบรวมข้อมูลจากบล็อกเชนที่เชื่อมต่อได้ ซึ่งมันจะทำในลักษณะที่กระจายอำนาจและปลอดภัยโดยการใช้ผู้ให้บริการการรับรองอิสระ ผู้ให้บริการเหล่านี้จะดึงข้อมูลจากบล็อกเชนที่สนใจโดยอิสระ Flare Network จะเผยแพร่ข้อมูลนี้เมื่อมีฉันทามติเพียงพอ

Flare Time Series Oracle Protocol (FTSO)

Flare Time Series Oracle Protocol (FTSO) เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลข้ามเชนบน Flare Network FTSO นั้นจะรวบรวมข้อมูลเฉพาะช่วงเวลา (ซึ่งจะทำงานตรงข้ามกับ State Connector Protocol) FTSO จะใช้ผู้ให้บริการข้อมูลอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าการรวบรวมข้อมูลมีการกระจายอำนาจและปลอดภัย ข้อมูลเฉพาะช่วงเวลาอาจจะมาจากสถานที่อย่างเช่นกระดานเทรด Crypto จากนั้นจะมีการถ่วงน้ำหนักโดยอัตโนมัติโดยจะขึ้นอยู่กับอำนาจการลงคะแนนเสียงของผู้ให้ข้อมูล และจะมีการคำนวณค่ามัธยฐานเพื่อสร้างค่าประมาณการที่สามารถใช้กับ Flare ได้เมื่อข้อมูลมีน้ำหนักมากพอ

Songbird

Songbird เป็น ‘Canary Network’ **ของ Flare มันเป็นเครือข่ายที่ใช้ทดสอบ/ทดลองฟีเจอร์ต่างๆ ที่มีคุณสมบัติและการทำงานเหมือนกับ Flare ที่นี่ นักพัฒนาอิสระและทีมงานจาก Flare จะสามารถทำการทดสอบการทำงานเหมือนจริงบนเครือข่ายทดสอบได้ พวกเขาทำเช่นนี้เพื่อดูว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลต่อเครือข่าย Flare อย่างไร สิ่งนี้ทำให้การทดสอบและการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทำได้ง่ายขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยไม่เสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อเครือข่ายหลัก

ข้อดีและข้อเสียของ Flare Network

Flare Network

ข้อดีประการแรกของ Flare Network คือความสามารถในการทำให้บล็อกเชนทำงานร่วมกันได้ นี่เป็นข้อได้เปรียบสำหรับนักพัฒนาและผู้ใช้งานบล็อคเชนในการทำธุรกรรม เทคโนโลยีของ Flare ช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างหลายบล็อกเชนได้

ประการที่ 2 Flare Network ช่วยให้บล็อกเชน PoS เติบโตได้โดยไม่กระทบต่อความปลอดภัยของพวกเขา Flare สนับสนุนสิ่งนี้โดยอนุญาตให้แพลตฟอร์มสัญญาอัจฉริยะปรับขนาดได้โดยการไม่เชื่อมโยงความปลอดภัยเครือข่ายเข้ากับโทเค็นดั้งเดิมเพียงเท่านั้น เครือข่ายยังจัดเตรียมสภาพแวดล้อมสำหรับการสร้าง DApps โดยไม่ต้องกังวลว่าโค้ดจะเข้ากันไม่ได้จากระบบ Turing-Complete ประการสุดท้าย ด้วยการผสานรวม Ethereum Virtual Machine ทำให้ Flare สามารถทำหน้าที่ปรับขนาดเครือข่ายสัญญาอัจฉริยะได้

แม้ว่าจะมีข้อดีอยู่มากมาย แต่มันก็มีข้อเสียบางประการเช่นกัน ข้อเสียหลักและใหญ่ที่สุดคือการที่ Flare ต้องพึ่งพาเครือข่าย Ripple พวกเขาได้เลื่อนการเปิดตัวและการดรอปออกมาเป็นเวลา 2 ปีเนื่องจากเรื่องคดีความในศาลของ Ripple มันถือเป็นข้อเสียเปรียบในระยะยาวหากพวกเขายังต้องพึ่งพาความสามารถในการทำงานของบล็อกเชนเพียงตัวเดียว

โทเค็น FLR

Flare Network

Flare Token (FLR) ซึ่งเดิมเรียกว่า Spark เป็นโทเค็นดั้งเดิมของ Flare Network กรณีการใช้งานของ FLR นั้นรวมไปถึงการชำระเงิน, การ Stake ในโหนดเครื่องมือตรวจสอบความถูกต้อง, การชำระค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม, การลงคะแนนเสียง, และการป้องกันการโจมตีด้วยการสแปม โทเค็น Flare มีสัญลักษณ์เป็น FLR และมีให้ซื้อและแลกเปลี่ยนในกระดานเทรดแบบรวมศูนย์และกระจายอำนาจหลายแห่ง

มีโทเค็น FLR 1 แสนล้านโทเค็นที่สามารถแจกจ่ายให้กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียรายหลักของเครือข่าย 58% ของโทเค็นจะถูกส่งให้กับชุมชน Flare ผ่านการดรอป จากนั้น 19% จะถูกจัดสรรให้กับทีมพัฒนา, ผู้สนับสนุน, และที่ปรึกษา สุดท้าย Flare ได้สำรองโทเค็นไว้ 22.5% สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการลงทุน

การแจกจ่ายโทเค็นครั้งแรกเคยมีกำหนดการณ์อยู่ในปี 2020 แต่เนื่องจากเรื่องคดีความในศาลของ Ripple การดรอปโทเค็นครั้งแรกจึงเกิดขึ้นในวันที่ 9 มกราคม 2023 แทน ผู้ถือ XRP ที่มีสิทธิ์ได้รับโทเค็น FLR 4.28 พันล้านโทเค็นผ่านกระดานเทรดแบบรวมศูนย์ เช่น Binance, Kraken, Kucoin และ OKX

โทเค็น FLR จำนวน 4.28 พันล้านโทเค็นที่ถูกดรอปนั้นคิดเป็น 15% ของโทเค็นที่จัดสรรให้กับชุมชน ส่วนที่เหลืออีก 85% ของโทเค็นจะถูกแจกจ่ายขึ้นอยู่กับการลงคะแนนเสียงของผู้ถือครองในปัจจุบัน

เครือข่ายได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการหลังจากการแจกจ่ายโทเค็น นอกเหนือไปจากการใช้ลงคะแนนว่าโทเค็นที่เหลือจะถูกแจกจ่ายอย่างไร โทเค็น FLR นั้นจะถูกนำไปใช้งานในจุดประสงค์ที่แตกต่างกันในเครือข่าย ประการแรก FLR จะทำหน้าที่เป็นหลักประกันภายใน DApps ของบุคคลที่สามที่สร้างขึ้นบน Flare Blockchains นอกจากนี้ มันยังทำหน้าที่เป็นรางวัลเพื่อจูงใจในการสนับสนุนการจัดหาข้อมูลราคาที่เชื่อถือแบบกระจายอำนาจได้ผ่าน Flare Time Series Oracle (FTSO) ผู้ใช้งานจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมเป็น FLR เพื่อป้องกันการโจมตีด้วยการสแปม และเหมือนที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ โทเค็นนี้ยังอนุญาตให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลเครือข่าย ผู้ใช้งานจะสามารถลงคะแนนกับข้อเสนอต่างๆ ในอนาคตได้โดยการใช้ FLR

กระเป๋าเงินที่รองรับ FLR

มีกระเป๋าเงินคริปโตมากมายที่รองรับ FLR เช่น OKX, Metamask, Ledger, Ellipal, HexTrust และ Copper คือตัวอย่างทั้งหมดของกระเป๋าเงินคริปโตที่ผู้ใช้งาน FLR สามารถใช้เพื่อจัดการโทเค็นของตนเองได้

ทุกสายตาจับจ้องไปที่ Flare Network และโทเค็น FLR

การดรอปโทเค็น FLR ที่รอคอยกันมานานและเครือข่ายที่เปิดให้บริการแล้วถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับ Flare Network ตอนนี้ ทุกสายตาจับจ้องไปที่ทีมงาน Flare ว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนงานได้หรือไม่ Flare นั้นอาจจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายต่อระบบนิเวศ Crypto หากพวกเขาทำงานได้ตามที่วางแผนไว้ อย่างไรก็ตาม เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเครือข่ายจะทำได้ดีแค่ไหน และผู้ใช้งานจะคิดอย่างไรต่อเครือข่ายและผลิตภัณฑ์ของเครือข่าย

คำศัพท์ทางเทคนิคในบทความ

  • Virtual Machine: เครื่องเสมือนที่สามารถจำลองการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 ตัวให้ทำงานอยู่บนเครื่องจริงเพียงเครื่องเดียวได้
  • dApps (Decentralized Application): แอปพลิเคชั่นที่มีการนำบล็อกเชนมาสร้างขึ้นเป็นแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ขึ้นมาโดยดึงข้อเด่นของ Blockchain และ Smart Contract ในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายบนเครือข่ายและความปลอดภัยมาใช้

คำถามที่พบบ่อย

Flare Network ทำอะไรได้บ้าง?

ฉันจะลงทุนใน Flare Network ได้อย่างไร?

ฉันจะซื้อโทเค็น FLR ได้ที่ไหน?

ใครที่จะมีสิทธิ์ได้รับโทเค็น Flare จากการ Airdrop บ้าง?

Flare Network เปิดให้ใช้งานได้จริงแล้วหรือไม่?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน