Trusted

คู่มือเจาะลึก GMX: กระดานเทรดอนุพันธ์แบบกระจายอำนาจ (DEX) ที่น่าจับตามอง

13 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

นักเทรดคริปโตนั้นมีตัวเลือกของกระดานเทรดแบบกระจายอำนาจ (DEXs) ให้เลือกอยู่มากมาย ไม่ว่าพวกเขาต้องการจะเทรดแบบสปอตหรืออนุพันธ์ก็ตาม GMX ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกล่าสุดที่ได้ก้าวเข้ามาสู่พื้นที่ DEX แล้ว GMX แตกต่างจาก DEX รายอื่นๆ หรือไม่? ใน “คู่มือเจาะลึก GMX” นี้ เราจะไปดูทุกเรื่องที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกระดานเทรดแบบกระจายอำนาจที่โฟกัสในเรื่องการเทรดแบบสปอตและอนุพันธ์นี้ รวมถึงคริปโตดั้งเดิมของพวกเขาอย่าง GMX อีกด้วย

เข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram: อ่านข่าวสารที่ร้อนแรงที่สุดในแวดวงคริปโต อ่านบทความวิเคราะห์ทางเทคนิคเกี่ยวกับเหรียญต่างๆ และสอบถามข้อมูลต่างๆ ที่คุณต้องการจากนักเทรดมืออาชีพ!

เข้าร่วมตอนนี้เลย!

GMX คืออะไร?

ประวัติความเป็นมา

GMX คือ กระดานเทรดแบบกระจายอำนาจที่มุ่งเน้นเรื่องการเทรดในแบบสปอตและตราสารอนุพันธ์ พวกเขาเปิดตัวบน Arbitrum ซึ่งเป็นเครือข่าย Ethereum เลเยอร์ 2 ในเดือนกันยายน 2021 ก่อนที่จะย้ายปยัง Arbitrum GMX เคยใช้ชื่อว่า Gambit Financial

Gambit เคยเป็น DEX บน BNB Smart Chain ซึ่งก่อนหน้านี้คือ Binance Smart Chain โปรเจกต์ได้รวมเอาโทเค็นทั้ง 4 ที่พวกเขามีอยู่ในขณะนั้นเป็น GMX เพื่อลดความซับซ้อน และได้เปิดตัวบน Arbitrum หลังจากนั้น โทเค็นทั้ง 4 นั้นได้แก่ XVIX, GMT, XLGE และ xGMT ซึ่งโปรเจกต์ได้เปิดโอกาสให้สวอปสินทรัพย์เหล่านี้ได้ในอัตราส่วน 2 USD ต่อ 1 GMX โดยในปัจจุบัน GMX จะทำหน้าที่เป็นโทเค็นสารพัดประโยชน์และโทเค็นกำกับดูแลของกระดานเทรด

ในเดือนมกราคม 2022 GMX ได้ขยายการรองรับบล็อกเชนพื้นฐานเพื่อผสานรวม Avalanche ซึ่งเป็นเชนสัญญาอัจฉริยะที่เข้ากันได้กับ EVM สำหรับแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ DApps จากข้อมูลของ DefiLlama ในขณะที่เขียนบทความนี้ TVL ของ GMX (รวมสินทรัพย์ที่ Stake ไว้) คือ 1.16 พันล้านดอลลาร์ โดย Arbitrum มีส่วนใน TVL นี้ 1.03 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่ Avalanche มีส่วนเพียง 125.99 ล้านดอลลาร์

ทีมงาน

GMX ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้ก่อตั้ง อย่างไรก็ตาม บุคคล 2 คนที่สามารถลงนามในกระเป๋าเงิน Multi-Sig (กำหนดให้มีการใช้คีย์อย่างน้อย 2 คีย์ขึ้นไปจึงจะสามารถทำธุรกรรมใดๆ ได้) ที่เชื่อมต่อกับ GMX ได้คือ Krunal Amin ผู้ก่อตั้ง UniDex และ Benjamin Simon ผู้ร่วมก่อตั้ง Stealth Crypto นอกจากนี้ หนึ่งในผู้พัฒนาโปรเจกต์คือผู้ที่ใช้นามแฝงว่า X บน Twitter

ในขณะที่เขียนบทความนี้ GMX มีสมาชิกชุมชนกำกับดูแลอยู่ราวๆ 63,000 คน ผู้ที่ถือโทเค็น GMX สามารถโหวตหรือคัดค้านข้อเสนอของโปรเจกต์ได้

การระดมทุน

GMX ยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรอบการระดมทุนมากนักเช่นกัน อย่างไรก็ตาม บทความบน Medium ระบุว่า คลังสินทรัพย์สำหรับการพัฒนาของพวกเขามีเงินอยู่ประมาณ 1.8 ล้านดอลลาร์โดยถือครองไว้เป็น USDC เพื่อสนับสนุนทีมงานไปจนถึงเดือนมีนาคม 2024 นอกจากนี้ Gambit ยังเคยระดมทุนผ่านรอบการขายโทเค็น ซึ่งเงินทุนเหล่านั้นอาจจะถูกส่งมายัง GMX เมื่อตอนที่โปรเจกต์ได้ทำการรีแบรนด์เรียบร้อยแล้ว

บางบริษัทก็ได้มีการลงทุนกับโปรเจกต์นี้โดยการถือคริปโต GMX เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น Blocktower ได้ซื้อ GMX รวมมูลค่ามากกว่า 2,400 ETH และได้ Stake ไว้ 336,478 GMX Flood Capital ก็เป็นผู้ถือ GMX ในอันดับต้นๆ ถึงแม้ว่าจะไม่มีการประกาศจำนวนการถือครองที่แน่ชัดต่อสาธารณะก็ตาม บุคคลที่ถือครอง GMX มากที่สุดได้แก่ Arthur Hayes ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO ของ BitMEX ว่ากันว่าเขาเป็นถือครอง GMX ไว้มากกว่า 200,000 GMX

แผนงาน

จากการอัพเดตแผนงานล่าสุดที่มีการเผยแพร่ออกมาในเดือนพฤษภาคม 2022 แผนงานของ GMX นั้นประกอบไปด้วยการเพิ่มความปลอดภัยและการตรวจสอบให้กับแพลตฟอร์ม รวมถึงการสนับสนุน Synthetic Markets (ตลาดซื้อขายสินทรัพย์สังเคราะห์) เพื่อช่วยเพิ่มประสบการให้กับผู้ใช้งาน ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังได้พิจารณาที่จะเปิดการใช้งานกระดานเทรดบนเชนใหม่ๆ เช่น Coinbase’s Base ซึ่งเป็นเครือข่าย Ethereum เลเยอร์ 2

แผนการอีกอย่างในแผนงานของ GMX คือการสร้าง Automated Market Maker ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมฟังค์ชั่นของพูลอย่างสมบูรณ์แก่โปรเจกต์และผู้สร้างพูล พัฒนาการในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้สร้างสามารถปรับแต่งฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น การเพิ่มและถอนสภาพคล่อง หรือ การกำหนดค่าธรรมเนียมที่ยืดหยุ่นได้

GMX ทำงานอย่างไร?

GMX เป็นกระดานเทรดแบบกระจายอำนาจที่ช่วยให้ผู้คนสามารถเทรดสินทรัพย์บนเครือข่ายได้เพียงแค่เชื่อมต่อกระเป๋าเงินของพวกเขา ผู้ใช้งานยังสามารถรับรางวัลได้ด้วยการจัดหาสภาพคล่องให้กับกระดานเทรดหรือ Staking เหรียญ GMX เอาไว้

และนี่คือองค์ประกอบการทำงานในรูปแบบต่างๆ ของกระดานเทรด GMX:

พูล และ ผู้ให้บริการสภาพคล่อง

พูลสินทรัพย์ที่หลากหลายเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับกระดานเทรด GMX มันประกอบไปด้วยดัชนีสินทรัพย์ที่นักเทรดสามารถใช้เพื่อสวอปหรือเทรด Perpetual Contracts ด้วยการใช้เลเวอเรจได้ Perpetual Contracts ก็คือสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินที่ไม่มีวันหมดอายุระบุไว้ ทำให้นักเทรดสามารถเทรดสินทรัพย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของมัน ในขณะที่เขียนบทความนี้ ดัชนีสินทรัพย์เหล่านี้ประกอบไปด้วย USDC, BTC, ETH, LINK, FRAX, DAI และ USDT พูลสินทรัพย์ที่หลากหลาย ที่ถูกเรียกอีกชื่อว่า GLP Pool นี้ เป็นเจ้าของโดยชุมชน GMX

ผู้ให้บริการสภาพคล่อง (LPs) ทำหน้าที่ในการเพิ่มสภาพคล่องให้กับ GLP Pool พวกเขาทำมันโดยการล็อคสินทรัพย์ดัชนีใดๆ ในพูลนั้น จากนั้น โปรโตคอลจะสร้างโทเค็น GLP ซึ่งเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ที่ Stake ไว้ของผู้ให้บริการสภาพคล่อง จากนั้น โปรโตคอลก็จะทำการ Stake โทเค็น GLP ที่มิ้นต์ขึ้นใหม่โดยอัตโนมัติ

LPs จะสร้างรายได้ 70% จากค่าธรรมเนียมและรางวัลของแพลตฟอร์มในรูปของ escrowed GMX (esGMX) กระดานเทรดจะจ่ายค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์มเป็น ETH บน Arbitrum และเป็น AVAX บน Avalanche ค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์มจะมาจากการที่ผู้ใช้งาน GMX ทำการสวอปหรือทำการเทรดด้วยเลเวอเรจ ผู้ให้บริการสภาพคล่องจะสามารถสินทรัพย์ที่ล็อกไว้ได้โดยการใช้กลไกการเผาโทเค็น ซึ่งโทเค็น GLP ที่ Stake ไว้จะถูกลบออกจากระบบหมุนเวียนอย่างถาวร ในขณะที่จำนวน GMX ที่เท่าเทียมกันก็จะถูกปลดล็อก

กระดานเทรด GMX มีกลไกในการปรับสมดุลที่จะช่วยกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับกระดานเทรด, การขุด, และการเผา GLP นอกจากนี้ มันยังช่วยปรับ Weight (น้ำหนักความสำคัญ) ของโทเค็นเพื่อปกป้องผู้ถือ GLP โดยจะขึ้นอยู่กับสถานะของนักเทรด

GMX Staking

ผู้ใช้งานจะสามารถ Stake โทเค็น GMX เพื่อรับรางวัลได้ โดยจะแบ่งรางวัลที่ได้รับออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Multiplier Points (MPs), esGMX และรางวัลเป็น ETH หรือ AVAX (จากค่าธรรมเนียมการเทรดของแพลตฟอร์ม) โดยจะขึ้นอยู่กับเชน

ผู้ที่ทำการ Stake GMX ในระยะยาวจะได้รับ MPs ในอัตรา 100% APR ตัวอย่างเช่น 1,000 GMX ที่ Stake ไว้เป็นเวลา 1 ปีจะทำให้คุณได้รับ 1,000 MPs นอกจากนี้ ผู้ที่ทำการ Stake ยังสามารถรวม MPs ของพวกเขาเพื่อเพิ่มรางวัล ETH หรือ AVAX ได้ โปรโตคอลยังจะมอบรางวัล 30% จากค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์มที่มาจากการสวอปและเทรดด้วยเลเวอเรจให้กับผู้ที่ทำการ Stake อีกด้วย

นักเทรด

เหล่านักเทรดบน GMX จะได้เพลิดเพลินไปกับค่าธรรมเนียมการสวอปที่ต่ำและสามารถเข้าและออกสถานะได้ด้วยค่าสเปรดที่น้อยมาก นอกจากนี้ เหล่านักเทรดยังจะได้รับประโยชน์จากผลกระทบของราคาที่เป็นศูนย์ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะสามารถซื้อขายในปริมาณมากๆ ที่ราคาตลาดได้อย่างแม่นยำ

ในการเทรดด้วยเลเวอเรจ (การยืมเงินทุนเพื่อช่วยเพิ่มสถานะการเทรดของคุณ) ค่าธรรมเนียมในการเปิดหรือปิดสถานะคือ 0.1% ของขนาดสถานะ กระดานเทรดยังจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยืมจากนักเทรดเลเวอเรจซึ่งจะหักเมื่อเริ่มต้นในแต่ละชั่วโมง GMX คำนวณค่าธรรมเนียมการยืมดังนี้:

ค่าธรรมเนียมการยืม = สินทรัพย์ที่ยืม / สินทรัพย์ทั้งหมดในกลุ่ม x 0.01%

นอกจากนี้ มันยังมีค่าธรรมเนียมการดำเนินการ ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่นักเทรดต้องจ่ายให้กับเครือข่ายบล็อกเชนเพื่อให้ผู้ดูแล (Keepers) ดำเนินการซื้อขายของพวกเขา บทบาทของผู้ดูแลคือการคำนวณราคาโดยใช้ราคากลางของ Coinbase, Binance และ Bitfinex และส่งค่าให้กับการสวอปและการเทรดโดยใช้เลเวอเรจบน GMX Watcher Nodes จะตรวจสอบราคาเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่ามันไม่ได้มีการดัดแปลงใดๆ กระดานเทรดนี้ยังจะดึงราคามาจากออราเคิลของ Chainlink ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายอีกประเภทหนึ่งที่นักเทรดต้องจ่าย โดยจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเหล่านี้ให้กับผู้ดูแลเมื่อพวกเขาชำระบัญชีสถานะ

กองทุนราคา Floor

โทเค็นการกำกับดูแลของกระดานเทรดอย่าง GMX มีกองทุนราคา Floor เป็น GLP และ ETH มันมีอยู่เพื่อช่วยให้พูลมีสภาพคล่องอยู่เสมอ ยิ่งไปกว่านั้น มันยังช่วยให้เกิดโฟลว์ของ Ether ที่เชื่อถือได้สำหรับการ Stake โทเค็น GMX

กองทุนจะได้รับเงินมาจากค่าธรรมเนียมของผู้ใช้งานที่ทำการเทรดในคู่ของ GMX/ETH จากนั้น โปรโตคอลจะแปลงค่าธรรมเนียมเป็น GLP และฝากมันเข้ากองทุน นอกจากนี้ 50% ของกองทุน Olympus Bond ไปที่กองทุนราคา Floor โดย GMX ได้ร่วมมือกับ Olympus ในการขาย GMX WETH Bond ในขณะที่เขียนบทความนี้ มูลค่าของกองทุนราคา Floor คือ 3,266,295 ดอลลาร์

GLP คืออะไร?

GLP คือโทเค็นผู้ให้บริการสภาพคล่อง (LPs Token) ของ GMX และดัชนีของตะกร้าสินทรัพย์ มันแสดงถึงจำนวนสภาพคล่องที่ LP (ผู้ให้บริการสภาพคล่อง) ได้ฝากไว้ในพูล ดัชนีสินทรัพย์ใน GLP Pool จะกำหนดมูลค่าของ GLP

โทเค็น GLP จะถูกมิ้นต์ขึ้นเมื่อเหล่าผู้ให้บริการสภาพคล่องทำการฝากสินทรัพย์ลงในพูล และจะเผาทิ้งเมื่อ LPs ถอนสินทรัพย์ที่ฝากไว้ออกมา ผู้ให้บริการสภาพคล่องจะได้รับรางวัลเป็นการตอบแทนสำหรับการจัดหาสภาพคล่องให้กับพูล ผู้ถือครอง GLP จะให้สภาพคล่องกับนักเทรดเลเวอเรจที่พวกเขาจะได้กำไรเมื่อนักเทรดขาดทุนและจะขาดทุนเมื่อนักเทรดทำกำไรได้

ผู้ใช้งานจะไม่สามารถถ่ายโอน GLP จาก Avalanche ไปยัง Arbitrum หรือในทางกลับกันได้ ในขณะที่เขียนบทความนี้ ราคาของ GLP อยู่ที่ 0.976 ดอลลาร์ และอุปทานทั้งหมดคือ 512,451,855 โทเค็น มูลค่าตลาดของมันคือ 500,548,472 ดอลลาร์

ประโยชน์และความเสี่ยงในการใช้งาน GMX

ประโยชน์

  • GMX ตั้งเป้าที่จะลด Impermanent Loss (ค่าส่วนต่างที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง) สำหรับผู้ให้บริการสภาพคล่อง
  • GMX รวบรวมราคาจากกระดานเทรดชั้นนำเรียงตามปริมาณการซื้อขาย ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องชั่วคราวได้
  • ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับกระดานเทรดผ่านกระเป๋าเงินแบบ Self-Custodial
  • อินเทอร์เฟซการสวอปใช้งานได้ง่าย
  • GMX ตั้งเป้าหมายที่จะนำเสนอเรื่องผลกระทบด้านราคาเป็นศูนย์
  • ผู้ใช้งานสามารถรับ Passive Income (รายได้แบบพาสซีฟ) ได้ผ่านการ Staking หรือการจัดหาสภาพคล่อง
  • ABDK Consulting ได้มีการตรวจสอบสัญญา GMX ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของสัญญาอัจฉริยะ
  • นักเทรดสามารถใช้เลเวอเรจได้มากถึง 50 เท่า

ความเสี่ยง

  • GLP Pool เป็นคู่สัญญากับนักเทรด ซึ่งหมายความว่านักเทรดอาจจะหายไปได้ หากพวกเขาทำกำไรมากเกินไป
  • ผู้ใช้งานมีความเปราะบางต่อความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเมื่อมีการเชื่อมโยงโทเค็นจาก Ethereum ไปยัง Arbitrum หรือในทางกลับกัน

GMX (ที่เป็นคริปโต) คืออะไร?

โทเค็นโนมิคส์

GMX เป็นโทเค็นสร้างรายได้และโทเค็นกำกับดูแลที่มีอุปทานสูงสุดที่ 13.25 ล้านโทเค็น มันเป็นไปได้ที่จะมิ้นต์โทเค็นมากกว่าจำนวนดังกล่าวหากได้รับการอนุมัติจากส่วนกำกับดูแล ซึ่งกรณีนี้อาจจะเกิดขึ้นได้หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม มันจะมีช่วงระยะเวลาในการล็อกอยู่ 28 วันเมื่อมีการออกใหม่ ในขณะที่เขียนบทความนี้ อุปทานปัจจุบันคือ 8,612,831 GMX, ราคาอยู่ที่ 77.99 ดอลลาร์ และมีมูลค่าตลาดของโทเค็นอยู่ที่ 669,964,895 ดอลลาร์

โปรเจกต์แจกจ่าย GMX 6 ล้านโทเค็น (45.28%) ให้กับการย้ายมาจาก Gambit และ XVIX และ 2 ล้านโทเค็น (15.09%) ถูกกันไว้เพื่อให้กับผู้ใช้งานที่ได้รับสิทธิ์จากรางวัล esGMX และยังกันไว้อีก 2 ล้านโทเค็น (15.09%) สำหรับ ETH เพื่อเป็นสภาพคล่องใน Uniswap และอีก 2 ล้านโทเค็น (15.09%) มอบให้กับกองทุนราคา Floor พวกเขามอบ 1 ล้านโทเค็น (7.55%) ให้กับการพัฒนาชุมชน, การตลาด, และพาร์ทเนอร์ต่างๆ นอกจากนี้ยังได้จัดสรร 250,000 โทเค็น (1.89%) ให้กับผู้มีส่วนร่วมโดยจะทยอยปลดล็อกสิทธิ์เป็นระยะเวลา 2 ปี

ประโยชน์การใช้งานของคริปโต GMX

ผู้ใช้งานกระดานเทรด GMX ต้องการโทเค็น GMX เพื่อทำการ Stake และรับผลตอบแทน ผู้ที่ทำการ Stake จะได้รับ 30% ของค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์มเพื่อเป็นการจูงใจให้ถือโทเค็นไว้ในระยะยาว พวกเขายังจะได้รับโทเค็น esGMX ผ่านการทยอยปลดล็อกสิทธิ์ ซึ่งพวกเขาสามารถเปลี่ยนมันเป็น GMX ได้

นอกจากนี้ GMX ยังทำหน้าที่เป็นโทเค็นการกำกับดูแล ซึ่งหมายความว่ามันจะให้สิทธิ์แก่ผู้ถือครองในการลงคะแนนในข้อเสนอต่างๆ ด้านการกำกับดูแล

GMX Wallet

หากต้องการใช้ GMX บน Arbitrum หรือ Avalanche ผู้ใช้งานสามารถใช้งาน MetaMask, Coinbase Wallet และ WalletConnect การเชื่อมต่อกระเป๋าเงินใดๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถ Stake GMX, จัดหาสภาพคล่อง, ทำการซื้อขายด้วยเลเวอเรจ, หรือสวอปโทเค็นได้

GMX จะทำให้ตนเองกลายเป็น DEX ชั้นนำรายใหม่ได้หรือไม่?

GMX กำลังสร้างชื่อให้กับตนเองในตลาดอนุพันธ์ของคริปโตเนื่องจากพวกเขาได้แซงหน้ารุ่นพี่ของพวกเขาอย่าง dYdX ไปได้แล้วในเรื่อง TVL พวกเขายังมีวิถีทางใหม่ๆ ในการดำเนินการ, แก้ปัญหา Impermanent Loss และสภาพคล่อง เมื่อเวลาผ่านไป มันเป็นเรื่องน่าสนใจว่าแพลตฟอร์มนี้และโทเค็น GMX จะมีพัฒนาการและแข่งขันกับกระดานเทรดคริปโตอื่นๆ ในพื้นที่อย่างไร

คำถามที่พบบ่อย

GMX เป็นกระดานเทรดที่ดีหรือไม่?

ทำไม GMX ถึงดีกว่า dYdX?

GMX ในฐานะแพลตฟอร์มการซื้อขายเป็นอย่างไร?

โทเค็น GMX คืออะไร?

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน