ปัจจุบันเครือข่าย Ethereum มีโซลูชันการปรับขนาดอยู่มากมาย โดยแต่ละโซลูชันก็จะมีโทเค็นการกำกับดูแลของตนเอง โซลูชันที่หลากหลายเหล่านี้ยังทำให้การถ่ายโอนโทเค็นจาก Layer 1 ไปยัง Layer 2 มีปัญหาเล็กน้อย นั่นคือตอนที่ Hop Protocol ก้าวเข้ามา โปรโตคอลนี้มีกลไกในการแลกเปลี่ยนโทเค็นระหว่างโซลูชันการปรับขนาด Ethereum ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ว่า Hop Protocol (HOP) คืออะไร? รวมถึงวิธีการทำงานและคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของมัน
Hop Protocol คืออะไร?

Hop Protocol เป็นกลไกสำหรับการถ่ายโอนโทเค็นผ่านเครือข่าย Layer 1 ที่ใช้ร่วมกันอย่างรวดเร็วและไม่ต้องใช้ตัวกลาง มันให้บริการลูกค้าด้วยโทเค็นบริดจ์แบบ two-pronged สำหรับเครือข่าย Layer 2 ของ Ethereum โซลูชันนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายโทเค็นอย่างรวดเร็วระหว่าง Layer 2 และโทเค็นการกำกับดูแลของโซลูชันการปรับขนาด
Hop Protocol ยังตั้งเป้าที่จะสร้างองค์กรอิสระแบบกระจายอำนาจ (DAO) ที่เน้นชุมชนซึ่งพยายามปรับปรุงความสามารถในการปรับขนาด Layer 2
Hop Protocol ทำงานอย่างไร?
Hop Protocol ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เลเวอเรจจาก Bonders ซึ่งได้รับค่าธรรมเนียมจากการให้สภาพคล่อง ในทางเทคนิคแล้ว ผู้ใช้งานจะส่งโทเค็นจำนวนเท่าใดก็ได้ไปยัง Bonders ในเชนต้นทาง ซึ่งเป็นที่ที่สินทรัพย์ถูกส่งไป หลังจากกระบวนการดังกล่าว Bonder จะส่งสินทรัพย์ไปยังคู่สัญญาของผู้ใช้งานในเชนปลายทาง
Hop Protocol มีส่วนสำคัญในการทำธุรกรรมโดยทำให้แน่ใจว่า Bonders ได้ส่งโทเค็นไปแล้ว ผู้ใช้งานคงจะไม่ยินดีหากพวกเขาส่งโทเค็นของพวกเขาไปยัง Bonders แต่พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงบล็อกเชนปลายทางได้ นอกจากนี้ ระบบยังใช้โทเค็นบางประเภทที่เรียกว่า hTokens โทเค็นเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นเทคนิคเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกรรมทั้งหมดได้รับการบันทึกอย่างถูกต้อง
hToken สามารถข้ามผ่านได้หลายเชน อย่างเช่น Ethereum ถึงโปรโตคอล L2 และในทางกลับกัน สิ่งที่สำคัญก็คือต้องเน้นว่าการย้ายโทเค็นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งอาจจะใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ ซึ่งอาจไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้งาน ดังนั้น Bonders จะจัดเตรียมสภาพคล่องให้กับลูกค้าเพื่อให้พวกเขาสามารถมีโทเค็นได้พร้อมๆ กันขณะที่พวกเขารอให้เครือข่ายโอน hTokens ให้เสร็จสิ้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถคิดได้ว่า hToken เป็นโทเค็นเงาที่ตามหลังโทเค็นของแท้มา
อะไรที่ทำให้ Hop Protocol ไม่เหมือนใคร?

ด้านล่างนี้คือคุณสมบัติเฉพาะของ Hop Protocol ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อโทเค็น ERC-20 ได้โดยทั่วไป
- Hop Protocol นำเสนอโรลอัพที่ปรับขนาดได้เพื่อโรลอัพโทเคนบริดจ์ทั่วไป การดำเนินการนี้ทำงานผ่าน Automated Market Maker (AMM) เพื่อสลับโทเค็นบริดจ์แต่ละตัวและโทเค็น Canonical ที่เกี่ยวข้องกันในแต่ละโรลอัพเพื่อให้มีสภาพคล่องตามราคาแบบที่เปลี่ยนแปลงได้ และสร้างแรงจูงใจในการปรับสมดุลสภาพคล่องของสภาพคล่องทั่วทั้งเครือข่าย
- Hop ใช้การป้องกันในระดับเดียวกับโรลอัพพื้นฐาน หมายความว่าผู้ใช้งานจะไม่มีวันสูญเสียหรือถูกขโมยทรัพย์สินไปได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือต้องทราบว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือ Bonders ออฟไลน์ ถึงอย่างนั้น ผู้ใช้งานจะได้ประสบกับความล่าช้าที่เทียบเท่ากับเวลาออกของโรลอัพ
- Hop มีกลยุทธ์ two-pronged เพื่อสร้างโทเค็นข้ามเครือข่าย และด้วยการใช้ AMM ทำให้มันสามารถทำธุรกรรมได้เป็นอันดับแรกและมีประสิทธิภาพ
- การเชื่อมต่อที่กำลังจะเกิดขึ้นเนื่องจากมันรองรับเครือข่ายปลายทางมากมาย มันจึงให้การเชื่อมต่อที่ดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ถูกจำกัดไว้ที่ Ethereum Mainnet และ Layer 2 เท่านั้น
- ในแง่ของการเก็บข้อมูลธุรกรรม Hop มีข้อจำกัดบางประการในด้านความสามารถในการถ่ายโอนสินทรัพย์เฉพาะทาง เนื่องจากตอนนี้ มันรองรับเฉพาะสินทรัพย์ 5 ประเภทเท่านั้น
hToken คืออะไร?
hTokens เป็นโทเค็นบริดจ์ข้ามเครือข่ายที่ผู้ใช้งานสามารถถ่ายโอนเป็นกลุ่มจากโรลอัพถึงโรลอัพ จากนั้นจึงรับสินทรัพย์ใน Layer 2 สำหรับสินทรัพย์อ้างอิงได้ พวกเขายังทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ตัวกลางภายใน Hop Protocol มันคือสะพานที่อนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนที่ไม่ต้องผ่านตัวกลาง นอกจากนี้ ผู้ใช้งานปลายทางจะไม่ได้โต้ตอบกับ hToken โดยตรง แต่โต้ตอบกับโทเค็น Canonical ของโรลอัพที่เหมาะสมแทน เหรียญ Hop Bridge แต่ละเหรียญแสดงถึงเงินฝาก Layer 2 ในสัญญา Hope Bridge Layer 2
หากคุณลงทุน 4 ETH ในสัญญา Hope Bridge Layer 2 คุณสามารถสร้าง 4 Hop ETH จากสัญญา Hop Bridge ของ Layer 2 ได้ ผู้ใช้งานสามารถแลกโทเค็น Hop Bridge กับสินทรัพย์พื้นฐานของพวกเขาใน Layer 2 ได้ ซึ่งจะทำให้โทเค็น Hop Bridge ที่ถูกแลกใน Layer 2 ถูกเผาไป ดังนั้นโทเค็น Hop Bridge ที่ถ่ายโอนจากโรลอัพหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งจึงถูกเผาและสร้างขึ้นในโรลอัพปลายทาง
Canonical Token: มันคืออะไร?

คำว่า “Canonical Token” หมายถึงโทเค็น Layer 1 ที่เชื่อมต่อภายในโปรโตคอล Layer 2 ตัวอย่างเช่น โทเค็น DAI ของ Layer 2 จะเป็นโทเค็น Canonical ของโทเค็น DAI ของ Layer 1 การใช้โทเค็นบริดจ์อย่างเป็นทางการสำหรับ Layer 2 ผู้ใช้งานอาจจะส่งและรับโทเค็น Layer 1 และโทเค็น Layer 2 ที่เป็นตัวแทนที่มีมูลค่าเทียบเท่าของโทเค็น Layer 1
นอกจากนี้ มันยังอาจจะให้ตัวเลือกแก่ผู้ใช้งานในการแปลงเป็นโทเค็น Layer 2 ที่เป็นตัวแทนได้ ถึงแม้ว่าจะมีตัวแทนของโทเค็น Layer 2 มากมายสำหรับ Layer 1 แอพพลิเคชันมักจะพึ่งพาตัวแทนโทเค็น Layer 1 ตัวเดียวมากกว่า มันก็เพื่อประโยชน์สูงสุดของโปรแกรมที่จะเข้ากันได้กับแอพอื่นๆ ในโรลอัพ
รูปแบบ Canonical ของโรลอัพ (canonical ETH/ canonical DAI) เป็นตัวแปรที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุด อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ โทเค็น Canonical จะถูกสร้างขึ้นโดยใช้โทเคนบริดจ์ดั้งเดิม เว้นแต่จะมีโทเค็นของแอพพลิเคชันอยู่ ในกรณีนี้ เวอร์ชันที่สร้างผ่านการเชื่อมต่อแอพพลิเคชันจะถูกเลือกมาใช้งานแทน
โทเค็น HOP คืออะไร?

เพื่อให้เข้าใจ Hop Protocol มากยิ่งขึ้น มันจำเป็นจะต้องเข้าใจว่าโซลูชัน Layer 2 ทำงานอย่างไร โซลูชันเหล่านี้อยู่บนเมนเน็ตของบล็อกเชนหรือ Layer 1 และใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันเพื่อเพิ่มปริมาณการทำธุรกรรมและลดต้นทุนการทำธุรกรรม มันช่วยรักษาความปลอดภัยของเชน Layer 1 ในขณะที่เปิดใช้งานการประมวลผลธุรกรรมเพิ่มเติม
เมื่อคุณใช้ Hop Protocol เพื่อถ่ายโอนโทเค็น จะมีการสร้างโทเค็นใหม่ที่เรียกว่า hToken ขึ้นมา โทเค็นเหล่านี้ระบุสถานะของคุณ (hETH, hDAI เป็นต้น) และอาจจะโอนข้ามเครือข่ายได้ในราคาถูก จากนั้น hToken เหล่านี้จะถูกแลกเปลี่ยนเป็นโทเค็นบนเชนที่เหมาะสมและส่งมอบมันให้กับผู้ส่ง เทคนิคการแลกเปลี่ยนโทเค็นนี้จะเป็นการหลีกเลี่ยงการส่งโทเค็นโดยตรงและขึ้นอยู่กับตัวแทนโทเค็นเพื่อลดค่าใช้จ่าย โปรโตคอลนี้ยังได้เปิดใช้งานการรวมกลุ่มโทเค็นและการ Staking โซลูชั่น Layer 2 หลายตัว ช่วยให้ผู้ใช้’koได้รับรางวัลโดยไม่ต้องโอนโทเค็นไปยังเครือข่ายหลัก
การจัดสรรโทเค็น HOP
โทเค็น HOP เป็นโทเค็นการกำกับดูแลของบล็อกเชน มันให้อำนาจแก่ผู้ใช้งานในการโหวตตามจำนวนโทเค็นที่พวกเขาเป็นเจ้าของ พวกเขาอาจจะใช้คะแนนเสียงเหล่านี้เพื่อพิจารณาไอเดียต่างๆ เช่น โทเค็นที่สามารถซื้อขายได้ การเพิ่ม Layer 2 และการบริหารเงินคงคลัง
ราคาซื้อขายของ Hop ในปัจจุบันคือ 0.10 ดอลลาร์ อุปทานสูงสุดคือ 1 พันล้านเหรียญ HOP และการจัดสรรโทเค็นมีดังนี้:
- 60.5% อยู่ในคลัง
- 22.45% เป็นงบประมาณให้กับทีม
- 8% ให้กับ Airdrops
- 6.25% สำหรับผู้ถือหุ้น
- 2.8% สำหรับทีมงานทีมต่อไป
วิธีการซื้อโทเค็น HOP
HOP นั้นมีให้บริการในกระดานเทรดแบบกระจายอำนาจ (DEX) เช่น SushiSwap หรือ Uniswap ค้นหา HOP และซื้อขายสินทรัพย์ที่คุณถืออยู่ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามี ETH จำนวนเล็กน้อยเพื่อชำระค่าแก๊ส คุณจะต้องมีสินทรัพย์บางส่วนเพื่อเริ่มซื้อขายภายในกระเป๋าเงินของคุณ
จักรวาลแห่งความสามารถที่ไม่ธรรมดาของ Hop
Hop Protocol กำลังทำงานเกี่ยวกับปัญหาที่สำคัญภายในโซลูชันการปรับขนาด Ethereum มันสามารถปรับปรุงการใช้โซลูชันการปรับขนาดเหล่านี้ได้ ซึ่งสามารถปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดียิ่งขึ้นไปอีก มันยังมีแนวคิดที่น่าสนใจบางอย่างที่กำลังดำเนินการอยู่ แต่ก็มีเพียงเวลาเท่านั้นที่จะบอกได้ว่ามันจะเป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่
HOP นั้นยังเป็นโครงการที่น่าจับตามอง คุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของมันอาจจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโดยรวม เนื่องจากการปรับขนาด Ethereum นั้นเป็นส่วนสำคัญของตลาด DeFi
คุณยังไม่แน่ใจหรือว่า Hop Protocol ทำงานอย่างไร? คุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดหลักๆ ที่มันกำลังดำเนินการอยู่งั้นหรือ? ลองเข้าไปดูที่กลุ่ม BeInCrypto Telegram สิ สมาชิกในกลุ่มทุกคนนั้นพร้อมที่จะตอบคำถามของคุณอย่างเต็มใจและมีความสุขแน่นอน
คำถามที่พบบ่อย
Hop Protocol คืออะไร?
Hop Protocol เป็นแบบโทเค็นบริดจ์แบบโรลอัพถึงโรลอัพ ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้งานถ่ายโอนโทเค็นระหว่างการโรลอัพได้โดยไม่ต้องรอเวลาที่ท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการโรลอัพตามลำดับ
คุณจะใช้ Hop Protocol ได้อย่างไร?
ในการใช้งาน Hop Protocol ให้ไปที่ Hop Exchange เชื่อมโยงกระเป๋าเงินของคุณ เลือกโทเค็นที่จะโอน และเลือกจากและไปยังเครือข่ายจากเมนูดรอปดาวน์ คุณอาจจะระบุตัวเลือกต่างๆ เช่น ความแตกต่างของราคาระหว่างราคาได้ จากนั้นก็ใส่จำนวนเงินที่โอน แล้วคลิกตกลง
Hop Protocol มีโทเค็นหรือไม่?
มี Hop นั้นใช้ HOP เป็นโทเค็นการกำกับดูแล
โทเค็น HOP คืออะไร?
hToken เป็นโทเค็นบริดจ์ข้ามเครือข่ายที่ถ่ายโอนจากโรลอัพถึงโรลอัพ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับสินทรัพย์ใน Layer-1 สำหรับสินทรัพย์อ้างอิงได้ ผู้ใช้งาจปลายทางจะไม่ได้โต้ตอบกับ hToken โดยตรง แต่จะโต้ตอบกับโทเค็น Canonical สำหรับแต่ละโรลอัพแทน
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์