ดูเพิ่มเติม

NEAR Protocol (NEAR) คืออะไร?

4 mins
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

โครงการ Crypto หลายโครงการกำลังพยายามที่จะสร้างเครือข่ายที่สามารถปรับขนาดซึ่งจะรองรับระบบนิเวศต่างๆ ได้ มันมีแง่มุมทางเทคนิคมากมายในเรื่องนี้ และ NEAR Protocol (NEAR) ก็พยายามที่จะใช้วิธีที่ไม่เหมือนใคร

แล้ว NEAR Protocol (NEAR) คืออะไร? NEAR Protocol เป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพของ Ethereum หรือไม่? โทเค็นดั้งเดิมของมันคือ NEAR จะพิสูจน์ให้เห็นได้หรือไม่ว่ามันจะเป็นการลงทุนที่ดีในเดือนและปีต่อๆ ไป? เราจะมาดูกันว่าระบบของพวกเขาทำงานอย่างไรและมันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ Crypto ทั่วไปอย่างไร

NEAR Protocol เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

NEAR 2

Illia Polosukhin และ Alexander Skidanov ร่วมก่อตั้ง NEAR Protocol ในเดือนมิถุนายน 2017 ทั้งสองมีพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชาวยูเครนทั้ง 2 คนได้รับแรงผลักดันจากเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างบริษัทของพวกเขา พวกเขาต้องการสร้างโซลูชันบล็อกเชนที่ปรับขนาดได้อย่างเต็มที่ ตามที่พวกเขากล่าว นี่คือสิ่งที่ขาดหายไปจากตลาด Crypto ในขณะนั้น

NEAR Protocol ได้รับการออกแบบให้เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย ซึ่งนักพัฒนาอิสระสามารถเรียกใช้ DApps ของตนได้ เพื่อให้บรรลุสิ่งนี้ Polusukhin และ Skidanov ได้นำกลไก Proof-of-Stake มาใช้เหนือระบบ Proof-of-Work ที่มีอยู่แล้ว

พวกเขาทั้ง 2 คนก่อตั้ง NEAR Foundation บริษัทของพวกเขาสร้างและพัฒนาบล็อกเชน NEAR เครือข่ายหลักเปิดตัวในเดือนเมษายน 2020 ผู้ตรวจสอบเครือข่ายถูกโหวตในเดือนตุลาคม 2020 เพื่ออนุญาตการโอนโทเค็น สะพาน NEAR กับ Ethereum (รู้จักกันในชื่อ Rainbow Bridge) เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2021 Rainbow Bridge นั้นช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งได้

เริ่มแรกนั้น Near Protocol ได้รับการออกแบบให้มาเป็นแพลตฟอร์มสำหรับเครื่องมือการเรียนรู้ Near.ai เป็นชื่อแรกของมัน ในระหว่างนั้น ผู้ก่อตั้งทั้ง 2 คนเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาอัจฉริยะและสกุลเงินดิจิทัล ความหลงใหลในเทคโนโลยีบล็อกเชนได้เริ่มต้นขึ้น นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 2 คนได้รับแรงผลักดันให้มาศึกษาเรื่องการเข้ารหัสและเรียนรู้เกี่ยวกับมันเพิ่มเติม

NEAR Protocol (NEAR) คืออะไร?

โดยพื้นฐานแล้ว NEAR Protocol คือแพลตฟอร์มแอพกระจายอำนาจ แพลตฟอร์มมุ่งเน้นไปที่การใช้งานของผู้ใช้งานและนักพัฒนา หลายคนมองว่ามันเป็นคู่แข่งกับ Ethereum บล็อกเชนของมันคือสัญญาอัจฉริยะและรับรองกลไก PoS

NEAR เป็นโทเค็นดั้งเดิมของ NEAR Protocol และถูกใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลบนแพลตฟอร์มรวมไปถึงค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม และเจ้าของ NEAR อาจจะใช้โทเค็นในการ staking (ล็อก) ได้ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขากลายเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรมและสนับสนุนฉันทามติของเครือข่าย

Near ถูกสร้างขึ้นโดย NearCollective มันเป็นแพลตฟอร์มการประมวลผลแบบคลาวด์ที่ดำเนินการโดยชุมชนซึ่งโฮสต์แอปพลิเคชันกระจายอำนาจ นอกจากนี้ มันยังเป็นมิตรกับผู้ใช้งานและนักพัฒนาอีกด้วย นี่เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างมันให้เป็นเครือข่ายที่เข้าถึงได้สำหรับผู้ใช้งาน Crypto ทั่วไปและนักพัฒนา DApp

บล็อกเชนของ NEAR Protocol มีจุดมุ่งหมายเพื่อแข่งขันกับแพลตฟอร์มอื่นที่คล้ายคลึงกันโดยใช้โซลูชันการแบ่งส่วน นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้สร้างแบรนด์ “Nightshade” Sharding (การแบ่งส่วน) นั้นเป็นเทคโนโลยีที่มักจะถูกพูดถึงในชุมชน Crypto ตัวอย่างเช่น Ethereum 2.0 ที่ได้ให้สัญญาไว้ว่าจะแนะนำแนวคิดที่คล้ายกันมาปรับใช้

NEAR ใช้การผสมผสานของการปรับขนาดแนวนอนและกลไกฉันทามติของ PoS มันแยกเครือข่ายออกเป็นชิ้นคู่ขนานและกระจายการคำนวณแบบไดนามิกเพื่อเพิ่มพลังการประมวลผลของเครือข่าย

การทำงานร่วมกันข้ามเชน (Cross-Chain Interoperability)

NEAR ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันข้ามเชนผ่าน Rainbow Bridge นอกจากนี้ มันยังมีโซลูชันเลเยอร์ 2 ที่มีชื่อว่า Aurora โทเค็น ERC-20 สินทรัพย์และสินทรัพย์อื่นๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างราบรื่นจากบล็อกเชน Ethereum กับ NEAR Protocol สิ่งนี้ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงปริมาณธุรกรรมที่สูงขึ้นได้ในขณะที่จ่ายค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า

ลักษณะเฉพาะของ NEAR Protocol

Near Protocol นั้นมีประสิทธิภาพในการแข่งขันกับโครงการต่างๆ เช่น Ethereum และ Terra Luna เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ที่ชื่นชอบคริปโต เพื่อที่จะทำมันได้อย่างเหมาะสม มันมีปรัชญาของบริษัทที่แตกต่างไปจากของคู่แข่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมหลักของ NEAR Protocol แต่คุณสมบัติหลักของ NEAR คืออะไร?

แนวคิดของการแบ่งส่วนเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบของ NEAR Protocol การแบ่งส่วน (Sharding) จะกระจายส่วนของ Blockchain บางส่วนมากกว่าจะเป็น Blockchain ทั้งหมดในหมู่ผู้เข้าร่วมเครือข่าย เทคโนโลยีนี้ได้รับการคาดหวังว่ามันจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของการดึงข้อมูลและการปรับขนาด

Nightshade เป็นชื่อของโซลูชันการแบ่งส่วนดังกล่าว สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพื้นฐานแล้ว การแบ่งส่วนจะเป็นกระบวนการแยกการประมวลผลธุรกรรมระหว่างโหนดตรวจสอบความถูกต้องหลายโหนด แต่ละโหนดจะประมวลผลธุรกรรมของเครือข่ายเพียงเศษเสี้ยวเดียว (TPS)

Nightshade ใช้ตัวสร้างบล็อกและผู้ตรวจสอบความถูกต้องบน NEAR เพื่อประมวลผลข้อมูลธุรกรรมพร้อมกันในหลายส่วน แต่ละส่วนจะผลิตเพียงเศษเสี้ยวของบล็อกถัดไป เพื่อการดำเนินการให้เสร็จสิ้น ชิ้นส่วนเหล่านี้จะได้รับการประมวลผลและจัดเก็บไว้ในบล็อกเชนของ NEAR Protocol

โปรโตคอลนี้เข้ากันได้กับเครือข่าย Ethereum Rainbow Bridge นั้นเป็นแอพบน NEAR ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานโอนโทเค็น ERC-20, Stablecoins รวมไปถึง NFTs ระหว่างบล็อกเชน NEAR และ Ethereum สะพานนี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใช้งาน Crypto ทั่วไป เช่นเดียวกันกับนักพัฒนาเช่นกัน

การใช้งาน PoW

ความสำคัญของ Sharding นี้จะได้รับการชื่นชมเมื่อมองข้ามโมเดลปัจจุบันของ Ethereum Sharding นั้นมีไว้เพื่อช่วยในการทำธุรกรรมที่มีความเร็วต่ำ เช่นเดียวกับช่วยในค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่มากเกินไป

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกลไก PoW โมเดล PoS ถือว่าเหนือกว่าจากการบอกกล่าวของนักวิเคราะห์หลายคน นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ NEAR นำมันมาใช้งาน ผู้ใช้งาน PoS เพียงแค่ต้องจำนำโทเค็นของตนเพื่อให้มีคุณสมบัติในการรับรองความถูกต้องของธุรกรรมบนเครือข่าย หาก Cryptocurrency ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย มันจะต้องให้บริการอย่างราบรื่นแก่ผู้ใช้งาน ดูเหมือน NEAR Protocol จะตรงกับเงื่อนไขนั้น

NEAR Protocol ทำงานอย่างไร?

NEAR ใช้บล็อกเชน PoS ที่ได้รับมอบหมาย เครือข่ายใช้การแบ่งส่วนข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด ระบบการแบ่งส่วนของ Near นั้นแตกต่างจาก Cryptocurrency อื่นๆ เช่น บล็อกเชนของ Zilliqa และ Polkadot ก็ใช้การแบ่งส่วนข้อมูล บน NEAR ชิ้นส่วนทั้งหมดถือเป็นส่วนหนึ่งของบล็อกเชนเดียวกัน พวกมันไม่ได้แยกจากกัน NEAR สามารถทำงานร่วมกับเครือข่าย Ethereum ได้โดยใช้ Rainbow Bridge

ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ Nightshade เป็นกลไกที่ช่วยให้กระบวนการนี้เกิดขึ้น Nightshade เพิ่มสแนปชอตของสถานะปัจจุบันของชิ้นส่วนแต่ละรายการให้กับทุกบล็อกบน NEAR Blockchain ชิ้นส่วนแต่ละส่วนมีชุดของโหนดตัวตรวจสอบความถูกต้องที่จะเผยแพร่สถานะปัจจุบันของแต่ละชิ้นส่วนทุกครั้งที่สร้างบล็อก

Nightshade

สถาปัตยกรรมของ Nightshade เป็นหนึ่งในประโยชน์ใช้งานสูงสุดของแพลตฟอร์ม มันช่วยลดจุดบกพร่องในการรักษาความปลอดภัยให้น้อยลง โหนดที่เข้าร่วมมีหน้าที่ในการดูแลส่วนที่เล็กกว่า สิ่งนี้สามารถช่วยให้บล็อกเชนเป็นโซลูชันที่สามารถปรับขนาดได้อย่างแท้จริงในโลกของ Crypto

โซลูชันการแบ่งส่วนข้อมูลของ NEAR ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมากโดยการสร้างสิ่งที่คล้ายกับระบบรางรถไฟที่ซับซ้อน NEAR Blockchain เป็นสถานีหลัก ชิ้นส่วนทำหน้าที่เป็นรางรถไฟที่ทำงานขนานกันและทั้งหมดวิ่งไปถึงจุดศูนย์กลาง

กลไกที่เรียกว่า Doomslug เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของ NEAR ซึ่งช่วยให้โหนดตรวจสอบผลัดกันสร้างบล็อกได้ แต่ละรอบใช้เวลา 12 ชั่วโมง NEAR จะสร้างบล็อกใหม่ทุกๆ วินาทีโดยประมาณ

รางวัลบล็อก NEAR จะมอบให้ในอัตรา 90% สำหรับผู้ตรวจสอบความถูกต้องของกลุ่มและตัวตรวจสอบการล็อก ส่วนที่เหลืออีก 10% จะไปที่ NEAR Treasury ปัจจุบันนี้ มันได้รับการจัดการและดูแลโดย NEAR Foundation

แล้วทำไมทั้งหมดนี้จึงมีความสำคัญงั้นหรือ? ในทางเทคนิค Nightshade จะช่วยให้ NEAR Blockchain ดำเนินการทำธุรกรรมนับล้านต่อวินาที แล้วค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมล่ะ? พวกมันอยู่ในระดับที่ต่ำ

Rainbow Bridge

Rainbow Bridge ของ NEAR Protocol เป็นแอพพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถโอนสินทรัพย์ Ethereum ระหว่าง Ethereum และ NEAR ได้อย่างรวดเร็ว Rainbow Bridge ทำให้มันสามารถใช้ข้อมูลที่พิสูจน์แล้วด้วยการเข้ารหัสบน NEAR ภายในสัญญาอัจฉริยะบน Ethereum ได้

เพื่อเคลื่อนย้ายโทเค็นจาก Ethereum ไปยัง NEAR Protocol และในทางกลับกัน ผู้ใช้งานต้องฝากโทเค็นในสัญญาอัจฉริยะของ Ethereum เสียก่อน โทเค็นเหล่านี้จะถูกล็อก จากนั้น โทเค็นใหม่จะถูกสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม NEAR ซึ่งจะเป็นตัวแทนของโทเค็นดั้งเดิม สัญญาอัจฉริยะจะจัดเก็บเงินเดิมไว้ในที่จัดเก็บ อย่างไรก็ตาม มันอนุญาตให้ผู้ใช้งานย้อนกลับกระบวนการได้หากต้องการดึงโทเค็นกลับ

ความปลอดภัยภายใน Rainbow Bridge

สะพานส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้ใช้งานเชื่อถือในส่วนประกอบเพิ่มเติม เช่น ชุดเครื่องมือตรวจสอบความถูกต้องหรือนักขุด นอกเหนือไปจากโปรโตคอลพื้นฐาน Rainbow Bridge (สะพานสายรุ้ง) ต้องการให้ผู้ใช้งานเชื่อถือเฉพาะผู้ตรวจสอบความถูกต้องและนักขุดในแต่ละเครือข่าย นี่ถือเป็นข่าวดีสำหรับนักพัฒนา พวกเขาสามารถใช้ Rainbow Bridge เพื่อประโยชน์จากค่าธรรมเนียมแก๊สที่ต่ำกว่าใน NEAR โดยไม่ต้องสร้างฐานผู้ใช้งานใหม่ สิ่งที่จำเป็นคือความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของ Ethereum และ NEAR

Rainbow Bridge อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการทำงานร่วมกันระหว่าง NEAR และบล็อกเชนอื่นๆ สะพานได้รับการออกแบบให้เป็น Protocol-Agnostic (โปรโตคอลที่เป็นอิสระจากการสื่อสาร) มันสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่าง NEAR และเชนอื่นๆ ที่ใช้สัญญาอัจฉริยะ

Aurora

Aurora Network นั้นได้รับความสนใจอย่างมากจากชุมชน NFT ที่กำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานจำนวนมากที่ถูกดึงดูดด้วยศักยภาพของ NFT นั้น ได้ถอยออกไปเพราะต้นทุนในการทำธุรกรรมและความเร็วในการยืนยันที่ช้า เป็นที่เห็นได้ชัดว่ามันจำเป็นต้องมีโซลูชันการปรับขนาดเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกรรม Crypto จะราบรื่นยิ่งขึ้น Aurora ซึ่งทำงานบนเครือข่ายของ NEAR เสนอคำตอบให้สำหรับปัญหานี้

Aurora เป็น Ethereum Virtual Machine (EVM) มันทำงานบนบล็อกเชน NEAR Protocol ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว เป้าหมายของมันคือการขยายเครือข่าย Ethereum นักพัฒนาสามารถใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อเรียกใช้แอพของตนบนแพลตฟอร์มที่เข้ากันได้กับ Ethereum ที่มีปริมาณงานสูง ปรับขนาดได้ และปลอดภัยด้วยต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำลง สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับทั้งนักพัฒนาและผู้ใช้งานของพวกเขา AURORA เป็นโทเค็นดั้งเดิมของเครือข่ายนี้

เครือข่ายนี้นำเสนอโซลูชันเลเยอร์ 2 แก่นักพัฒนา Ethereum 1.0 ที่จะช่วยเพิ่มความเร็วและความสามารถในการปรับขนาด ธุรกรรมจะเกิดขึ้นในไม่กี่วินาทีจากเครือข่าย NEAR Aurora Bridge ยังอำนวยความสะดวกในการโอนโทเค็น ETH ระหว่าง Aurora และ Ethereum โดยไม่ต้องมีตัวกลาง

กรณีการใช้งาน NEAR Protocol

เป้าหมายของ NEAR Protocol ในการสร้างระบบนิเวศ Crypto ด้วยโซลูชันทางเทคนิคที่เป็นนวัตกรรมใหม่นั้นกำลังดำเนินไปด้วยดี DApps คริปโตระดับสูงหลายตัวได้ถูกสร้างขึ้นบน NEAR แล้ว และโปรโตคอลก็ได้รับความสนใจจากนักพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ Flux, Mintbase, NPunks และ Paras นั้นเป็นโครงการบางส่วนที่ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของเทคโนโลยีนี้

Paras

NEAR 3

Paras เป็นตลาดสำหรับ NFT มันใช้งาน IPFS/Filecoin และ NEAR Protocol Paras สามารถนำเสนอการผสมผสานที่ลงตัวของการทำธุรกรรมที่รวดเร็วและต้นทุนต่ำด้วยประสิทธิภาพและความปลอดภัยจาก NEAR

ธุรกรรมของ NEAR นั้นรวดเร็วมาก (1 ถึง 2 วินาที) และคุ้มราคาด้วยเงินเพียงไม่กี่เซ็นต์ ศิลปินสามารถเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว และผู้ซื้อ NFT มือใหม่และนักสะสมที่มีประสบการณ์ก็สามารถซื้อและขาย NFT ได้อย่างง่ายดาย Paras รับรอง NEAR เพราะ Rainbow Bridge ซึ่งอนุญาตให้โอน ETH จาก NEAR และในทางกลับกันก็ได้เช่นกัน

PARAS เป็นโทเค็นดั้งเดิมของแพลตฟอร์ม มีอุปทานรวม 100 ล้าน มันสามารถนำมาใช้สำหรับเหตุการณ์พิเศษหรือการกำกับดูแล DAO ได้ เกม NFT ที่ได้รับความนิยมบางตัวได้มีให้บริการบน Paras แล้ว เกม Galaxy Online, Metamon และ OP เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับการสนับสนุนจาก NEAR แล้ว

Paras เชื่อมต่อโครงการทั้งหมดเข้ากับตลาด นอกจากนี้ มันยังรองรับธุรกรรมการขายรอง (Secondary Sales Transactions) อีกด้วย Paras ตั้งเป้าที่จะมุ่งเน้นไปที่แนวทางการดูแลจัดการ NFT และชุมชนโดยรอบ

Mintbase

NEAR 4

Mintbase เป็นแพลตฟอร์มระดับโลกที่พยายามทำให้การสร้าง NFT เป็นเรื่องง่าย ประการแรก คุณไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคใดๆ ผู้ใช้งานสามารถขายงานศิลปะดิจิทัล นักดนตรีสามารถสร้างและขายเพลง NFT และผู้จัดงานอาจจะใช้ Mintbase เพื่อขายตั๋ว ก็สามารถทำได้

Mintbase เป็นแอพพลิเคชั่นบล็อกเชนใหม่ล่าสุด ทีมงานนั้นมาจากโปรตุเกส มีจุดมุ่งหมายในการรักษาความเป็นเจ้าของดิจิทัลและป้องกันการขาดแคลนของสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อที่จะสามารถสร้างโทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (NFTs) ทันที แพลตฟอร์มนั้นได้ใช้มาตรฐานโทเค็น ERC-721 ของ Ethereum โทเค็นเหล่านี้เป็นของหายาก ไม่ซ้ำใคร และสามารถโอนย้ายได้

ขั้นตอนแรกของ Mintbase ในการสร้าง NFT คือการสร้างร้านค้าดิจิทัลที่สามารถขาย NFT ได้ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องใช้สัญญาอัฉริยะและชำระค่าธรรมเนียมแก๊ส Ethereum ค่าใช้จ่ายในการสร้างร้านค้านั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและตอนนี้ค่าแก๊สในการดำเนินการพุ่งสูงขึ้นเป็นหลายร้อยดอลลาร์ Mintbase แนะนำให้ผู้ใช้งานรอจนกว่าราคาแก๊สจะลดลงก่อนที่จะสร้าง NFT ใหม่ขึ้นมา

NEAR พิสูจน์แล้วว่าเป็นบล็อกเชนทางเลือกที่ดีกว่า ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดคือค่าธรรมเนียมแก๊สของ NEAR นั้นต่ำกว่าของ Ethereum มาก ตัวแพลตฟอร์ม NEAR Protocol นั้นทำให้ง่ายต่อการสร้างและปรับใช้ DApps และ Protocol ได้เร็วกว่าเครือข่ายบล็อdเชนอื่นๆ เสียเป็นส่วนใหญ่

Flux

Flux เป็นโปรโตคอลตลาดเปิดที่ถูกดึงดูดโดยเครือข่าย NEAR ด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะมีโซลูชันที่รวดเร็ว ราคาถูก และปรับขนาดได้ ซึ่งดีไซน์การแบ่งส่วนของ Nightshade และกลไก PoS ของ Doomslug ทำสิ่งนั้นได้

ทีมงาน Flux นั้นเริ่มการเดินทางสายคริปโตนี้บน Ethereum อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ของตนบน NEAR หลังจากการพัฒนาเป็นเวลา 14 เดือน โปรโตคอลนี้ก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2020 ในช่วงเริ่มต้นของโครงการ พวกเขาพยายามที่จะสร้างมันบน Ethereum แต่ประสบปัญหาด้านความปลอดภัยและค่าใช้จ่าย พูดง่ายๆ ก็คือ NEAR ให้โซลูชันที่ดีกว่าและถูกกว่าสำหรับ Flux และสำหรับผู้ใช้งานในอนาคต

นอกจากนี้ Flux ยังเปิดตัวโทเค็น $FLX ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปิดให้บริการ โทเค็นนี้จะมีความสำคัญต่อการเพิ่มพลังให้กับ Oracle ของพวกเขา Flux สามารถสร้าง Oracle ที่กระจายอำนาจและแข็งแกร่ง ซึ่งจะให้เวลาในการแก้ไข 30 นาทีสำหรับข้อมูล API มันจะช่วยนำฟีดข้อมูลความเร็วสูงไปยัง Cryptocurrency, Synthetics และ Wrapped assets

เพื่อเชื่อมต่อกับ Flux SDK นักพัฒนาต้องการโค้ดเพียงไม่กี่บรรทัด นักพัฒนาหลายคนได้เริ่มสร้างแอพพลิเคชันบน Flux แล้ว มีตั้งแต่แอพกระจายศูนย์สภาพอากาศและการประกันภัยไปจนถึงผู้ให้บริการข่าวด้านอีสปอร์ตและการตลาด Flux App เป็นโอเพ่นซอร์ส นักพัฒนาสามารถเปิดใช้งานได้ในไม่กี่วินาที

NPunks

NPunks คือคอลเลกชัน NFT ที่อิงจากแนวคิดและความนิยมของคอลเลกชัน CryptoPunks โครงการทำงานบน NEAR Protocol คอลเลกชันมีจำนวนรวม 10,000 NPunks NFT แต่ละรายการนั้นมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้พวกมันมีเอกลักษณ์

คุณสมบัติที่โดดเด่นของโครงการคือการซื้อ NPunk นั้นเป็นไปด้วยวิธีการสุ่ม ด้วยวิธีนี้ นักพัฒนาหวังว่าจะสร้างการกระจาย NFT ที่ยุติธรรมยิ่งขึ้น ตามแผนงาน โครงการจะพัฒนาแพลตฟอร์มต่อไป นอกจากนี้ จะยังมี airdrop สำหรับผู้ใช้งานที่มี NPunk มากกว่า 10 ตัว

เช่นเดียวกับโครงการอื่นๆ ที่ระบุไว้ในลิสต์ของเรา NEAR Protocol ได้ให้ความช่วยเหลือในการสร้าง NPunks ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมขนาดเล็กและเวลาดำเนินการที่รวดเร็วนั้นเป็นสิ่งที่ต้องการ แต่มันก็ไม่สามารถใช้ได้เสมอไป คอลเลกชัน NFT นี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากโซลูชันการแบ่งส่วนของ NEAR อย่างเหมาะสม

โซลูชันการปรับขนาดของ Polkadot และ Zilliqa

ในปัจจุบัน Polkadot อาจจะเป็นโครงการที่มีความคล้ายคลึงกับ NEAR มากที่สุด พวกเขาใช้เทคโนโลยี Parachain เพื่อรับรองการแบ่งกลุ่มฐานข้อมูลแบบกระจาย

Parachains เป็นบล็อกเชนประเภทที่เรียบง่ายกว่า พวกเขาจะยึดติดกับการรักษาความปลอดภัยโดย relay chain ซึ่งไม่เพียงแต่ให้ความปลอดภัยสำหรับ Parachain ที่แนบมาเท่านั้น แต่พวกเขายังรับประกันการส่งข้อความที่ปลอดภัยในหมู่พวกเขา Parachains นั้นมีความพิเศษตรงที่การคำนวณของมันเป็นอิสระ

Zilliqa BFT พยายามที่จะนำการแบ่งส่วนข้อมูลไปใช้ในวิธีที่แตกต่างออกไปจาก Ethereum คำขอของ Zilliqa นั้นไม่ได้ใช้การประสานงานจากส่วนกลาง อย่างไรก็ตาม มันหมายความว่า sApps จะต้องอยู่ในชิ้นส่วนส่วนใหญ่ สิ่งนี้ได้ลบข้อได้เปรียบที่สำคัญของมันออกไป

โครงการอื่นๆ ที่ใช้การแบ่งส่วนนั้นจะเกิดขึ้นในขณะที่ธุรกิจพยายามเอาชนะข้อจำกัดในปัจจุบันของเทคโนโลยีบล็อกเชน Blockchain จะดึงดูดผู้ชมในวงกว้างมากขึ้นหากแก้ปัญหาเรื่องความสามารถในการปรับขนาดนี้ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับเป็นกระแสหลักในที่สุด NEAR Protocol อาจจะมีความล้ำหน้ากว่าใครก็ได้

แผนงานและประวัติการพัฒนา

จนถึงตอนนี้ ทีมงาน NEAR Protocol สามารถทำตามแผนงานและตารางเวลาที่ซับซ้อนได้

Alexander Skidanov และ Illia Polosukhin เริ่มต้นสร้างทีมนี้ขึ้นมา กลุ่มนี้สร้างบล็อกเชนที่เน้นอุปกรณ์พกพาที่ปรับขนาดได้ มันมีการแบ่งส่วนอย่างสมบูรณ์และไม่ต้องผ่านตัวกลาง

การเปิดตัวเครือข่ายหลักของ NEAR เริ่มขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2020 ระบบฉันทามติ Proof-of-Authority (PoA) ได้สร้างเครือข่ายขึ้น NEAR Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่สนับสนุนการพัฒนาโปรโตคอล ดำเนินการด้วยโหนดเดียว

ใน Phrase 1 NEAR ได้เริ่มใช้งานเครื่องมือตรวจสอบบุคคลที่สาม ใน Phrase 2 แผนวางไว้ขั้นสุดท้ายคือการเปิดตัว mainnet แบบค่อยเป็นค่อยไปของ Near ความรับผิดชอบในการกำกับดูแลของ NEAR Protocol ถูกโอนไปยังชุมชนใน Phrase ที่ 2 นี้ อันเป็นผลมาจากการโหวตแบบ on-chain ซึ่งขั้นตอนนี้ได้อนุญาตให้ปลดล็อกการโอนโทเค็นและรับรางวัลโปรโตคอลได้

NEAR Foundation ได้พัฒนา Rainbow Bridge ในเดือนเมษายน 2021

สำหรับปี 2022 ทีมงานของ NEAR Protocol สัญญาว่าจะทำการกระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์ สิ่งนี้จะทำให้โครงการพร้อมสำหรับประสบการณ์ Web3 อย่างเต็มที่ NEAR จะยังคงอัพเกรดระบบตรวจสอบความถูกต้องและขยายระบบนิเวศต่อไป

NEAR คืออะไร?

ราคา NEAR: TradingView

โทเค็นดั้งเดิมของ NEAR Protocol คือ NEAR ผู้ถือโทเค็นที่เกี่ยวข้องกับฉันทามติของเครือข่ายและทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรมสามารถล็อก NEAR token ได้

NEAR token ใช้เพื่อชำระค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมเป็นหลัก หรือใช้เป็นหลักประกันในการจัดเก็บข้อมูลบนบล็อกเชน NEAR token ยังให้รางวัลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อีกด้วย ผู้ตรวจสอบธุรกรรมมีสิทธิ์ได้รับรางวัล NEAR token ในแต่ละช่วงเวลาด้วย รางวัลมีจำนวน 4.5% ต่อปีของจำนวน NEAR token ทั้งหมด

นักพัฒนาสัญญาอัจฉริยะจะได้รับเปอร์เซ็นต์ของค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เกิดจากสัญญาของพวกเขา ส่วนที่เหลือของค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมแต่ละรายการจะส่งไปที่ NEAR token สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มการขาดแคลนเหรียญ NEAR ยังมีโปรโตคอล Treasury ซึ่งจะได้รับ 0.5% ต่อปีของจำนวน NEAR token ทั้งหมดเพื่อลงทุนในการพัฒนาและปรับปรุงระบบนิเวศ

การแจกจ่าย NEAR token

การแจกจ่าย NEAR token: NEAR

NEAR token มีอยู่ในจำนวนคงที่ที่ 1,000 ล้าน จำนวนที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้เป็นลักษณะสำคัญที่สามารถกำหนดการเติบโตของมูลค่าของโทเค็นได้ อุปทานหมุนเวียนของ NEAR ในขณะที่เขียนบทความอยู่ที่เกือบ 600 ล้าน

คุณควรซื้อ NEAR หรือไม่?

จากการประเมินเกือบทั้งหมดได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่งของ NEAR มันมีศักยภาพในการเติบโตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

เมื่อระบบนิเวศ NEAR เติบโตขึ้น มูลค่าของเหรียญก็จะสูงขึ้นด้วย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าโปรโตคอลนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่าสิ่งใดในสกุลเงินดิจิทัล

จะซื้อ NEAR ได้อย่างไร?

NEAR มีให้บริการในเว็บเทรด Crypto ใหญ่ๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ เว็บเทรดเหล่านี้ได้แก่ Binance, KuCoin, Huobi และ Gate.io

ขั้นตอนในการซื้อ NEAR

ขั้นตอนในการซื้อ NEAR นั้นค่อนข้างที่จะตรงไปตรงมา ตามนี้:

  • ขั้นแรก เปิดบัญชีกับเว็บเทรดที่คุณต้องการซื้อเหรียญ คุณอาจต้องผ่าน KYC เพื่อทำการซื้อ
  • ขั้นที่สอง พิจารณาเปิดกระเป๋าเงิน NEAR หรือซื้อกระเป๋าเงินฮาร์ดแวร์
  • ทำการซื้อในเว็บเทรดหรือภายในกระเป๋าเงิน จำนวนเงินจะแสดงในสถานที่ที่คุณทำการซื้อ ดูรายละเอียดการถอนได้หากคุณต้องการลบ NEAR ออกจากกระเป๋าเทรดของคุณ

วิธีการล็อก NEAR

ผู้ถือโทเค็น NEAR สามารถล็อกโทเค็นของตนเพื่อรับรางวัลได้ การล็อกจะช่วยรักษาความปลอดภัยเครือข่ายและให้รางวัล โทเค็นการมอบสิทธิ์หมายความว่าผู้ใช้งานจะฝากและล็อกโทเค็นของตนในกลุ่มเฉพาะที่เปิดใช้งานโดยผู้ตรวจสอบความถูกต้อง

NEAR นั้นใช้ระบบ PoS เพื่อให้เกิดฉันทามติระหว่างโหนดต่างๆ ภายในเครือข่าย เพื่อให้มีสิทธิ์เข้าร่วม ผู้ตรวจสอบความถูกต้องสามารถล็อก NEAR token กับ PoS ได้ ผู้ถือโทเค็นที่ไม่ต้องการเรียกใช้โหนดอาจมอบหมายเงินเดิมพันของตนให้กับผู้ตรวจสอบที่เลือก

NEAR Protocol — โครงการที่อาจปฏิวัติวงการ

แพลตฟอร์มที่เสนอต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำกว่าและปริมาณงานที่สูงขึ้นนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในพื้นที่ Crypto ทุกสิ่งนี้จะเป็นจริงมากขึ้นเมื่อ Crypto ได้รับการยอมรับมากขึ้น โซลูชันการปรับขนาดของ NEAR นั้นน่าสนใจสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ DeFi ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อนาคตนั้นดูสดใสสำหรับ NEAR แต่มันสามารถเป็นนักฆ่า Ethereum ได้หรือไม่? มันจะเป็นที่นิยมมากกว่า Polkadot ได้หรือไม่? บางทีนี่อาจไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการตัดสินศักยภาพของมัน แม้ว่า NEAR จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้ แต่สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องโฟกัสไปที่สิ่งที่มันสามารถทำได้ในตอนนี้

คำถามที่พบบ่อย

NEAR Protocol คืออะไร?

NEAR Protocol คุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่?

NEAR Protocol อยู่บนบล็อกเชนใด?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มีนาคม 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

bic_photo_6.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน