แพลตฟอร์ม DEXs นั้นได้เปิดแนวทางใหม่ๆ และช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ ให้กับผู้ใช้งาน DeFi เช่น การกู้ยืมและการฟาร์มผลตอบแทน (Yield Farming) แต่มันก็ยังคงมีข้อจำกัดมากมายในเรื่องการปรับขนาด DEX อันเนื่องมาจากบล็อกเชนที่แพลตฟอร์มเกี่ยวข้อง แพลตฟอร์ม Osmosis นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอโซลูชั่นด้วยการผสานรวมความสามารถในการทำงานแบบ Multi-Chain กับสิ่งใหม่ๆ ที่ให้ความรู้สึกของความเป็นยุคสมัยใหม่เข้าด้วยกัน บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจความสามารถและกลไกต่างๆ ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง “โปรเจกต์ Osmosis” ซึ่งอยู่บนระบบนิเวศ Cosmos และรวมไปถึงสกุลเงินดิจิทัลของโปรเจกต์อย่าง OSMO อีกด้วย
Osmosis Crypto คืออะไร?
Osmosis นั้นเป็น “กระดานเทรดแบบกระจายอำนาจ” (Decentralized Exchange หรือ DEX) และ “ระบบผู้ดูแลสภาพคล่องอัตโนมัติ” (Automated Market Maker หรือ AMM) ที่สร้างขึ้นบน Cosmos SDK ซึ่งเป็นชุดพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สสำหรับการสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับบล็อกเชนโดยเฉพาะ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ Cosmos ช่วยให้เหล่าผู้พัฒนาสามารถสร้างบล็อกเชนที่กำหนดและปรับขนาดเองได้ Osmosis นั้นนำเสนอ AMM ที่ปรับแต่งได้ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของกลุ่มสภาพคล่องสามารถสร้างสภาวะตลาดที่ดียิ่งขึ้นได้ และมันยังสามารถทำงานร่วมกับบล็อกเชนอื่นๆ ได้เนื่องจากมันถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Cosmos SDK
ต่างจากวิธีการทำงานของกระดานเทรดแบบรวมศูนย์ (Centralized Exchanges หรือ CEX), AMMs นั้นจะใช้งานสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contracts) กำหนดราคาของคู่สกุลเงินดิจิทัล ทำให้การทำธุรกรรมแบบ Peer-to-Peer เป็นไปอย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม Osmosis นั้นก็ยังมีความแตกต่างจาก DEXs ยอดนิยมอื่นๆ เนื่องจากมันช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งกลุ่มสภาพคล่องและใช้งาน AMMs ที่ปรับแต่งแล้วได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการสภาพคล่องสามารถควบคุมกิจกรรม DeFi ของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้นเนื่องจากพวกเขาจะสามารถตั้งกฏของพวกเขาเองได้
ทีมงาน Osmosis
Osmosis Labs คือบริษัทที่อยู่เบื้องหลังโปรเจกต์ Osmosis โดยมี Sunny Aggarwal และ Josh Lee เป็นผู้ก่อตั้ง ทั้ง 2 สร้างเทคโนโลยีเอ็นจิ้น BFT Tendermint ที่ช่วยในการควบคุมดูแลแพลตฟอร์ม Osmosis Labs เป็นฝ่ายที่รับผิดชอบในการพัฒนาโค้ดเริ่มต้นของโปรโตคอล แต่เซ็ตของตัวตรวจสอบความถูกต้องแบบกระจายอำนาจนั้นช่วยในการดำเนินงานของ Osmosis แพลตฟอร์มนั้นเปิดตัวในเดือนมิถุนายน ปี 2021 ด้วยลักษณะการกระจายอำนาจของโปรโตคอล มันเป็นสิ่งที่ช่วยให้ชุมชนสามารถลงคะแนนเพื่อการอัพเกรดและการปรับปรุงต่อแพลตฟอร์มได้
Osmosis ทำงานอย่างไร?
Osmosis นั้นได้รับการสืบทอดฟังค์ชั่นการทำงานของพวกเขามาจากระบบนิเวศ Cosmos โดย Cosmos นั้นจะเปิดการใช้งานเครือข่ายบล็อกเชนที่มีความครอบคลุมหรือที่เรียกกันว่า “อินเตอร์เน็ตแห่งบล็อกเชน” ผลลัพท์ดังกล่าวก็คือ โทเค็นและข้อมูลต่างๆ จะเคลื่อนย้ายผ่าน Inter-Blockchain Communication (IBC) Protocol ของ Cosmos แพลตฟอร์ม Osmosis จะทำงานด้วยการจัดหากลุ่มสภาพคล่องที่ปกครองตนเอง (Self-Governing Liquidity Pool) ผู้ใช้งานจะสามารถเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลต่างๆ ได้ รวมไปถึง ค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยน, รางวัลที่เป็นแรงจูงใจ, การคำนวน TWAP, หรืออัลกอริธึม Curve ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่งในฟีเจอร์หลักของแพลตฟอร์มคือ Superfluid Staking ซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้งานจะได้รับรางวัลโดยการ Staking เหรียญ OSMO ของพวกเขาและรับส่วนแบ่งของค่าธรรมเนียมกลุ่มสภาพคล่องไปด้วยพร้อมๆ กัน
ฟีเจอร์ของ Osmosis
โปรเจกต์ Osmosis นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างให้ตนเองมีความแตกต่างจากแพลตฟอร์ม DEX อื่นๆ อย่าง Uniswap และ Curve ซึ่งมีการใช้งาน AMMs เช่นกัน โดยทางเทคนิคแล้ว แพลตฟอร์มนี้เป็นบล็อกเชนแบบ Proof-of-Stake ซึ่งมีฟีเจอร์ที่ไม่เหมือนใคร ยกตัวอย่างเช่น:
- อำนาจอธิปไตยและแรงจูงใจแบบครบวงจร: Osmosis จัดหาแรงจูงใจที่หลากหลายให้กับผู้ให้บริการสภาพคล่อง, สมาชิก DAO และ Delegator (ผู้มอบหมายงาน) ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการสภาพคล่องที่ทำการ Stake จะมีอำนาจอธิปไตยเหนือกลุ่มของพวกเขา และจะมีอิสระในการปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ของตลาดเนื่องจากกลุ่มสภาพคล่องของพวกเขาเป็นแบบ Self-Governing
- เหรียญดั้งเดิมข้ามเชน: Osmosis นั้นยังเป็นเหรียญดั้งเดิมข้ามเชนที่มีความสามารถ IBC (ความสามารถในการสื่อสารข้ามบล็อกเชน) เป็นองค์ประกอบหลักของมัน แพลตฟอร์มนั้นยังวางแผนที่จะแตกออกเป็นเชนอื่นๆ ที่เป็น non-IBC เช่น ERC-20 เป็นต้น
- Superfluid Staking: เหรียญ OSMO สามารถใช้เป็นสภาพคล่องและ Staking ได้พร้อมๆ กันโดยไม่ต้องมีการแลกเปลี่ยนใดๆ ช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับรางวัลเพิ่มมากยิ่งขึ้น
- Osmosis Thirdening: ทำงานคล้ายกับการ Halving การ Thirdening เป็นรูปแบบที่ทำให้ OSMO เกิดความขาดแคลนและเพิ่มมูลค่าให้กับมัน
เหรียญ OSMO
OSMO เป็นเหรียญดั้งเดิม (Native Coin) ของเครือข่ายที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆ ในระบบนิเวศ Osmosis มันช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์ม รวมไปถึงใช้เป็นรางวัลในการขุดสภาพคล่องและค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนพื้นฐานของเครือข่าย OSMO ยังทำหน้าที่เป็นเหรียญที่ใช้ในการกำกับดูแล (Governance Coin) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ของโปรเจกต์และลงคะแนนเกี่ยวกับการอัพเกรดต่างๆ ได้ ผู้ถือจะเป็นผู้พิจารณาว่ากลุ่มได้ที่จะมีสิทธิ์ในการได้รับรางวัลสภาพคล่อง โดยเป้าหมายคือการทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ให้บริการสภาพคล่องสอดคล้องไปกับความยั่งยืนของโปรโตคอล
โทเค็นโนมิคส์
ปัจจุบัน เหรียญนั้นมีราคาอยู่ที่ 1.01 ดอลลาร์ โดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 543.4 ล้านดอลลาร์ อุปทานหมุนเวียนของ OSMO ในปัจจุบันนั้นอยู่ที่ 492,590,761 เหรียญ โดยมีอุปทานสูงสุดอสู่ที่ 1 พันล้านเหรียญ อุปทานของ OSMO ในช่วงเริ่มแรกจำนวน 100 ล้านเหรียญนั้นถูกแบ่งให้ระหว่างเงินสำรองเชิงกลยุทธ์และผู้รับ Fairdrop
การแจกจ่ายอุปทานมีดังนี้:
- รางวัลการขุดสภาพคล่อง: 45%
- รางวัลการ Staking: 25%
- ทยอยมอบให้กับผู้พัฒนา: 25%
- กลุ่มชุมชน: 5%
อุปทาน Thirdening
อัตราเงินเฟ้อขึ้นของเหรียญนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการ Thirdening (ลดลง 1 ส่วน 3) ซึ่งทำงานคล้ายๆ กับการ Halving (ลดลงครึ่งนึง) ของสกุลเงินดิจิทัลตัวอื่นๆ เช่น:
- อุปทานเริ่มต้นที่ OSMO ปล่อยในเดือนมิถุนายน 2021 จำนวน 100 ล้านเหรียญ
- ปีที่ 1: 300 ล้านเหรียญ OSMO
- ปีที่ 2: 200 ล้านเหรียญ OSMO
- ปีที่ 3: 133 ล้านเหรียญ OSMO
กระเป๋าเงินสำหรับ OSMO
Trust Wallet นั้นรองรับ Osmosis (OSMO) และแอปมือถือนี้ยังรองรับ Crypto อีกหลายๆ ตัวอีกด้วย Trust Wallet นั้นเป็นกระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial ซึ่งหมายความว่าสิทธิ์ในการควบคุม OSMO และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ นั้นอยู่ที่คุณอย่างสมบูรณ์ คุณสามารถดาวน์โหลด Trust Wallet ได้จาก App Store, Google Play Chrome Store
วิธีการใช้งาน Osmosis
วิธีการใช้งานแพลตฟอร์ม Osmosis นั้นมีอยู่หลากหลาย คุณสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการเติมเงินลงไปในกระเป๋าเงินคริปโตของคุณด้วย ATOM ก่อนที่จะโอนมันไปยังกระเป๋าเงินเชน Osmosis เพื่อซื้อ OSMO และกลุ่มคู่สกุลเงินนี้สามารถสร้างรายได้ในอัตราสูงสุดที่ 50:50 ผู้ใช้งานจะได้รับรายได้จากการจัดหาสภาพคล่อง และมันยังช่วยให้คุณสามารถล็อกเงินทุนของคุณเพื่อรับผลตอบแทนได้มากเท่ากับช่วงระยะเวลาที่พวกเขาล็อกมันเอาไว้
อีกวิธีหนึ่งในการใช้ประโยชน์จาก Osmosis คือการรับค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม เนื่องจากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม (Transaction Fees) จะถูกส่งให้ Validators (ผู้ตรวจสอบความถูกต้อง) และผู้ที่ทำการ Stake OSMO ไว้ คุณยังจะได้รับค่าธรรมเนียมแลกเปลี่ยน (Swap Fees) สำหรับการซื้อขายสินทรัพย์บน DEX หรือรับค่าธรรมเนียมการออก (Exit Fees) สำหรับผู้ที่ถอนเงินของพวกเขาออกจากกลุ่มสภาพคล่อง ส่วนแบ่งจะถูกเผาจากนั้นมูลค่าที่เหลือจะถูกแบ่งให้กับผู้ให้บริการสภาพคล่องที่เหลือ
แพลตฟอร์ม Osmosis นั้นยังคงมีความเสี่ยง
แพลตฟอร์ม Osmosis นั้นก่อให้เกิดความเป็นไปได้มากมายในพื้นที่ DeFi ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับนักลงทุนมากมาย และในขณะที่ดูเหมือนว่าเราจะเห็นประโยชน์ของ Osmosis อย่างชัดเจน แต่ผู้ใช้งานก็ควรจะต้องระวังต่ออุปสรรคและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ
ประการแรก กลไกที่เรียกว่า “Slashing” นั้นถูกใช้เพื่อการลดแรงจูงใจในการสร้างพฤติกรรมที่ไม่น่าพึงประสงค์ในโปรโตคอล อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเช่นการทำธุรกรรมซ้ำซ้อนนั้นยังคงอยู่และอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบได้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้สินทรัพย์ 5% จากทั้งหมดที่ Validators ได้ Staked ไว้ถูกเผาทิ้งไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น หาก Validators ไม่เข้าร่วมในฉันทามติมากกว่า 28,500 บล็อกติดต่อกัน พวกเขาจะถูกลงโทษให้หยุดทำงาน และจะถือว่า Validators ถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้มีส่วนร่วมได้ ทั้งหมดนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่ายได้ แต่หากคุณมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์ม Osmosis อย่างสม่ำเสมอ แพลตฟอร์มนี้จะเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสมสำหรับการทำการลงทุนแบบกระจายอำนาจ
คำศัพท์ทางเทคนิคในบทความ
- Yield Farming: รูปแบบการทำกำไรอย่างหนึ่งที่คล้ายๆ กับการ Staking เพียงแต่ว่า เงินที่เราฝากเข้าไปนั้นจะถูกนำไปใช้ในระบบจริงๆ (ไม่ได้ถูกล็อกเอาไว้) และมันจะกลายเป็นสภาพคล่องให้ระบบ และจะให้ผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ
- Automated Market Maker (AMM): เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการ DeFi ซึ่งเป็นการทำงานของ Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ) ที่จะทำหน้าที่จับคู่สินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ใน Liquidity Pools (กลุ่มสินทรัพย์) โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบรวมศูนย์หรือมนุษย์ในการควบคุมการทำงานของมัน
- Decentralized Exchange (DEX): คือกระดานเทรดที่ไม่มีคนกลางมาคอยควบคุม แต่จะใช้ระบบ Blockchain มาสร้างตลาดที่ทำให้เราสามารถซื้อขายกันได้โดยไม่ผ่านคนกลาง
- Software Development Kit (SDK): คือเครื่องมือที่เอาไว้สำหรับพัฒนาโปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่น
- Slashing Mechanism: กลไกที่สร้างขึ้นในโปรโตคอล Blockchain เพื่อกีดกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ตรวจสอบความถูกต้อง
คำถามที่พบบ่อย
ใครคือผู้ก่อตั้งโปรเจกต์ Osmosis?
คุณสามารถทำรายได้จากการ Staking Osmosis ได้เท่าไหร่?
คุณจะทำเงินจาก Osmosis ได้อย่างไร?
โปรเจกต์ Osmosis เปิดตัวเมื่อใด?
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์