Trusted

Swing Trading vs Scalping Trading มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

5 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

การเทรดมีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยและลักษณะการจัดสรรเวลาของแต่ละบุคคล บทความนี้จะเปรียบเทียบ 2 รูปแบบที่นิยมมากที่สุดนั่นคือ Swing Trading และ Scalping Trading ว่ามีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร

นักเทรดสาย Swing และ Scalper จะเน้นการวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) เพื่อหาเทรนหรือจังหวะในการเข้าซื้อ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับทั้ง ตลาดหุ้น ตลาดคริปโตเคอเรนซี่ และ ตลาด Forex โดยเฉพาะกับผลิตภัณฑ์ Future หรือ Leverage market

Swing Trading คืออะไร

นักเทรดสาย Swing Trade จะมุ่งเน้นไปที่การทำกำไรของ Trend ระดับกลาง โดยมักจะมีระยะเวลาระดับ 1 วันขึ้นไปจนบางครั้งอาจถึง 1 สัปดาห์ เหมาะกับนักเก็งกำไรที่อาจไม่มีเวลาเฝ้าหน้าจอทั้งวัน แต่อาจใช้เวลาสัก 1 ชั่วโมงต่อวันในเวลาว่าง เพื่อวางแผนและคอยติดตามสถานะของตลาด โดยใช้กลยุทธ์แบบ Trend Following เป็นหลัก

การวิเคราะห์สาย Swing Trading

ลักษณะของการวิเคราะห์ โดยทั่วไปนักเทรดอาจเริ่มพิจารณาจากกราฟ 4 ชั่วโมง ไปจนถึงระดับวัน เพื่อหาความสอดคล้องของแนวโน้มว่ามีโอกาสพัฒนาไปในทิศทางใด

นักเทรดส่วนมากมักใช้ การวิเคราะห์ Trendline การวิเคราะห์แนวโน้มของ Moving Average และ Elliot Wave Theory มาเพื่อพิจารณาแนวโน้มของราคาและสถานะของตลาดในปัจจุบัน ในบางครั้งอาจใช้กราฟ 1 ชั่วโมงที่เล็กลงในการหาจุดเข้าซื้อที่ได้เปรียบขึ้นก็ได้เช่นกัน

ในการเทรดบนตลาดคริปโตเคอเรนซี่ นักเทรดสาย Swing ควรคำนึงถึงความผันผวนที่เกิดขึ้นระหว่างพัฒนาการของเทรนเอาไว้ด้วย (Drawdown) และไม่ควรตั้ง Leverage หรืออัตราทดที่สูงเกินไปเพราะอาจทำให้สถานะ (position) ที่เปิดไว้ถูกบังคับชำระได้

การตั้ง Stop loss (SL) และ Take Profit (TP) เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่สามารถนำมาช่วยควบคุมความเสี่ยงดังกล่าวได้ แต่การตั้ง SL นั้นไม่ควรตั้งใกล้แนวรับเก่ามากเกิดไป นักเทรดควรคำนวณเผื่อการเกิด Prick Shock ชั่วคราวและ Stop hunt เอาไว้ด้วย

ข้อดี

  • การเทรดแบบ Swing ใช้เวลาการเฝ้าหน้าจอน้อยกว่า Day Trade และ Scalping เหมาะสำหรับนักเทรดที่ทำงานประจำหรือไม่เวลาว่างน้อย
  • ต้นทุนค่าธรรมเนียมการซื้อขายต่ำกว่าหากเทียบกับสายเทรดระยะสั้น เพราะจำนวนการเทรดจะน้อยกว่ามาก
  • Risk to Reward ค่อนข้างสูง เพราะมีโอกาสให้เทรนพัฒนาได้นานกว่าการเทรดระยะสั้น บางครั้งอาจมากถึง 3-4 เท่าต่อความเสี่ยง

ข้อเสีย

  • ไม่เหมาะกับนักเทรด Full Time ที่สามารถเฝ้าหน้าจอได้ทั้งวัน เพราะหากคุณมีความถนัดในการเทรดระยะสั้น คุณอาจทำกำไรสะสมได้สูงกว่า
  • กลยุทธ์นี้มีความเสี่ยง Over night risk หรือการถือครองสถานะข้ามคืน ในช่วงเวลาที่คุณนอนหลับหรือไม่ได้เฝ้าหน้าจอ อาจมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น แต่หากคุณวางแผนกำหนดจุด Stop Loss ไว้ได้ดี ปัญหานี้ก็สามารถบรรเทาลงได้มาก
  • การปิดทำกำไรหรือขาดทุนใช้เวลานาน เช่น คุณอาจถือสินทรัพย์มานานถึง 3 วันแต่ในวันที่ 4 ตลาดกลับเปลี่ยนทิศทางทำให้คุณขาดทุนโดน Stop Loss นั่นหมายความว่า นอกจากคุณจะขาดทุนแล้วคุณเสียโอกาสไป 3 วันด้วยเช่นกัน

Scalping Trading คืออะไร

นักเทรดสาย Scalping ต้องการทำกำไรจากความผันผวนของตลาดในระยะที่สั้นมากๆ โดยมักพิจารณาตั้งแต่ระดับ 1 นาที ถึงระดับ 1 ชั่วโมง โดยใช้ระดับ 1 ชั่วโมงในการวิเคราะห์โครงสร้างตลาดภายในวัน และใช้ระดับนาทีในการวางแผนเข้าซื้อและวางจุด Stop loss และ Take Profit

ลักษณะการเทรดเหมาะกับตลาด Future ที่เพิ่มอัตราทดได้โดยมีระยะการถือครองสินทรัพย์ที่สั้นยิ่งกว่าสาย Day Trade นักเทรดจำเป็นต้องเฝ้าจอตลอดทั้งวันเพื่อมองหาจุดเข้าซื้อที่ได้เปรียบที่สุด โดยตัดสินใจได้อย่างละเอียดอ่อนและแม่นยำเพราะการเคลื่อนไหวของราคาเพียงเล็กน้อยกระทบต่ออัตรา Risk to Reward สูง

การวิเคราะห์สาย Scalping Trading

ลักษณะของการวิเคราะห์ นักเทรดสายนี้จำเป็นต้องมีประสบการณ์สูงทั้งการควบคุมอารมณ์และความแม่นยำในการวิเคราะห์ โดยทั่วไปมักใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ระยะสั้นด้านโมเมนตั้มกลุ่ม Oscillator เช่น RSI และ Stochastic

นักเทรดสายนี้มองหากรอบการแกว่งตัวระยะสั้น โดยพิจารณาของกรอบ Sideway หรือ แนวรับและแนวต้าน ระยะสั้นที่ชัดเจน นักเทรดควรเข้าซื้อใกล้จุดแนวรับให้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงโดยมีจุด Stop loss กำหนดไว้ชัดเจน และตั้งจุดทำกำไรไว้ที่แนวต้านที่ใกล้เคียง นอกจากนี้อาจนำ RSI เช่นโซน Overbought, Oversold, และ Divergent เข้ามาช่วยพิจารณาเพิ่มเติม

ข้อดี

  • มีโอกาสสะสมกำไรได้สูงและมีค่าเสียโอกาสน้อย เพราะหากเทรดผิดทางนักเทรดสาย Scalping จะ Cut loss ทันที
  • นักเทรดสามารถหาโอกาสทำกำไรได้ทุกวัน เพราะเทรดในกรอบระยะเวลาที่สั้นและมีความผันผวนสูงอยู่แล้วแตกต่างจาก Swing Trade ที่จะต้องรอหาเทรนและเทรนระยะกลางอาจไม่ได้เกิดขึ้นทุกวัน
  • ความเสี่ยงด้านระยะเวลาต่ำ (Low Time Exposure) ทำให้พอร์ทของคุณมีสภาพคล่องที่สูง เพราะพอร์ทของคุณจะ Realize Profit และ Loss ทุกวัน หากคุณมีความจำเป็นต้องใช้เงิน คุณสามารถถอนออกได้ทันทีเพราะไม่มีการเปิดสถานะข้ามคืนข้ามวัน (overnight risk)

ข้อเสีย

  • ต้นทุนค่าธรรมเนียมสูงเนื่องจากมีการเข้าซื้อขายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตลาด Future คริปโตที่มีคู่เทรดมากมาย ในบางครั้งนักเทรดอาจซื้อขายมากกว่า 10 ครั้งก็ได้เช่นกัน
  • ต้องการความชำนาญสูงทั้งในการวิเคราะห์เชิงเทคนิคและการควบคุมความเสี่ยง นักเทรดมือใหม่ควรเริ่มแต่น้อยไม่ควรนำเงินจำนวนมากมาเล่น การเทรดลักษณะนี้ถือว่า “มีความเสี่ยงรวมสูงที่สุด”
  • ความเครียดในการเทรดมีสูงมาก เนื่องจากต้องตัดสินใจในกรอบเวลาที่บีบบังคับ และต้องมีการควบคุมอารมณ์ที่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอย่าง การเทรดล้างแค้น (Revenge Trade) และ การเสพติดการเทรด (Over Trade) ที่ทำให้การตัดสินใจวางแผนและการควบคุมความเสี่ยงผิดพลาด ในบางครั้งมือใหม่อาจถูกล้างพอร์ทได้ภายในไว้เวลาไม่ถึงวัน

สรุป Swing Trading vs Scalping Trading

การเลือกระหว่าง 2 กลยุทธ์นี้ ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยและเวลาที่คุณสามารถเฝ้าหน้าจอได้ การเทรดแบบ Swing เป็นการเทรดระยะกลางที่อาศัยการวิเคราะห์แบบ Trend Following เช่น การวิเคราะห์ Moving Average, Trendline, และ Elliot Wave Theory

ส่วนการเทรดแบบ Scalping เป็นการเทรดระยะสั้นมากๆ ที่อาจมีการซื้อขายหลายครั้งภายในหนึ่งวันและสั้นกว่า Day Trade ในการเทรดลักษณะนี้คุณอาจนำ RSI และ การวิเคราะห์แนวรับแนวต้าน มาช่วยในการกำหนดจุด Stop Loss และ Take Profit เพื่อควบคุมความเสี่ยง

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน