Trusted

5 กรณีการใช้งานของ Web3: Web3 คืออะไร แล้วมันจะมุ่งหน้าไปที่ใด

3 mins
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

Web3 นั้นอยู่ที่นี่แล้ว แม้ว่ามันอาจจะไม่มีเสน่ห์เท่ากับการที่มันอยู่ในธุรกิจบันเทิง แต่มันเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำความเข้าใจว่า Web3 จะเปลี่ยนโลกของเทคโนโลยีได้อย่างไร ทำไมงั้นหรือ? เพราะว่า Web3 มีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงไม่เพียงแค่ประสบการณ์อินเทอร์เน็ตของเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลของเราด้วย การทำความเข้าใจว่า Web3 คืออะไร ดูจะเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุดในการดำดิ่งและทำความเข้าใจทิศทางของโลกดิจิทัลที่แปลกใหม่ใบนี้ เรามาเริ่มต้นกันด้วยการดูกรณีการใช้งานของ Web3 กันดีกว่า

Web3 คืออะไร?

มาตรฐานปัจจุบันของอินเทอร์เน็ตคือ Web2 มันถูกครอบงำโดยสถาปัตยกรรมแบบรวมศูนย์ที่ทำงานด้วยบัญชีซึ่งหมุนรอบองค์กรใหญ่ๆ กว่าครึ่งโหล อย่างเช่น Google, Meta, Amazon (AWS), TikTok, Twitter และ Reddit

แม้ว่ามันจะสะดวกที่จะมีบัญชีที่เชื่อมโยงกันซึ่งครอบคลุมประสบการณ์ของผู้ใช้งานทั้งหมด แต่มันก็ทำให้ผู้ใช้งานมีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวและการถูกกำกับดูแลตามอำเภอใจ หลังจากที่ Bitcoin แสดงให้เห็นถึงกรณีการใช้งานด้วยเครือข่าย P2P Proof of Work ของมัน มันก็เป็นที่ชัดเจนว่าหลักการเดียวกันนี้สามารถนำมาใช้กับอินเทอร์เน็ตได้

Web2 นั้นอนุญาตให้ผู้ใช้งานสร้างและเผยแพร่เนื้อหาได้ ถึงกระนั้น บริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่กว่าก็เป็นเจ้าของเนื้อหาดังกล่าว — พวกเขาได้รับรายได้จากการโฆษณาที่เนื้อหาดังกล่าวสร้างขึ้น ข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่ไม่เหมือนใครที่พวกเขาใช้สร้างรายได้ และพวกเขาสามารถควบคุมได้ว่าใครจะเข้าถึงแพลตฟอร์มของตนได้บ้าง Web3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระจายอำนาจการควบคุมและการเข้าถึง พร้อมกับอนุญาตให้ผู้สร้างเนื้อหาเป็นเจ้าของเนื้อหาของตน — และสิ่งที่มาพร้อมกับเนื้อหาส่วนใหญ่ (รายได้ ข้อมูล ฯลฯ) — อย่างแท้จริง

คุณชอบคอนเซปต์ของ Web3 หรือไม่? มาเข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram ด้วยกันสิ! มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์กับคนที่ให้ความสนใจในเรื่องเดียวกันกับคุณ พูดคุยและอ่านข่าวยอดนิยมทั้งหมดบน Web3

เข้าร่วมเดี๋ยวนี้เลย!

ด้วยวิธีนี้ อินเทอร์เน็ต Web3 ใหม่นี้จะถูกตั้งค่าให้ขับเคลื่อนโดยบล็อกเชนที่ไร้ตัวกลาง แทนที่จะพึ่งพาบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบริษัทต่างๆ Web3 จะพึ่งพาบัญชีแบบ Non-Custodial ซึ่งถูกเรียกว่ากระเป๋าเงินดิจิทัล ด้วยเกตเวย์เหล่านี้ที่ปลดล็อกการเข้าถึงบล็อกเชน ผู้ใช้งานจะสามารถควบคุมทรัพย์สินของตนและใช้งานมันได้ตามที่คุณเห็นสมควร

นี่คือกรณีการใช้งานหลัก 5 กรณีของ Web3

1. The Metaverse

ต่อยอดมาจากอิทธิพลของภาพยนตร์ เช่น Ready Player One แนวคิดของ Metaverse มักจะรวมเข้ากับความเป็นจริงเสมือน (VR) ในการตีความคำนี้ Metaverse หมายถึงการเลียนแบบโลกเสมือนจริงที่ซ้อนทับอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริงโดยการเข้าไปผ่านแว่น VR เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุด

ขณะนี้ใน Web2 อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงสิ่งที่ใช้เรียกดูและเผยแพร่เนื้อหาในขณะที่ถูกตีกรอบสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ แต่ใน Web3 อินเทอร์เน็ตกลายเป็นสถานที่เสมือนที่เชื่อมต่ออย่างราบรื่นมากขึ้นด้วยการเชื่อมต่อหลายเครือข่ายเข้ากับ Meta-Network ในทางปฏิบัติ มันหมายถึงสิ่งต่อไปนี้:

  • มีบัญชี — กระเป๋าเงินดิจิทัล — ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยบล็อกเชนได้: การช้อปปิ้งออนไลน์ ความบันเทิง โซเชียลมีเดีย คอนเสิร์ต เกม อีคอมเมิร์ซ ฯลฯ
  • มีสกุลเงินดิจิทัลหรือ NFT ในกระเป๋าเงินดิจิทัลเพื่อใช้ภายในแพลตฟอร์มเหล่านี้
  • การใช้อุปกรณ์ที่ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (platform-agnostic) ไม่ว่าจะเป็นคอนโซลเกม สมาร์ทโฟน หรือ PC
  • การใช้สกุลเงินดิจิทัลเพื่อรักษาความปลอดภัยบล็อกเชนแบบ Proof-of-Stake เช่น Ethereum หรือ Avalanche พร้อมไปกับได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงิน

ความหมายของ Inter-Platform Networking ดังกล่าวคือสถาบัน ธุรกิจ และองค์กรต่างๆ ไม่จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตนเองเพราะพวกเขาสามารถใช้งาน Metaverse ได้

3D VR อาจจะเป็นเป้าหมายสุดท้าย แต่ไม่ใช่ตัวกลาง

การเพิ่มองค์ประกอบ 3 มิติสำหรับ VR อาจจะดูเหมือนเป็นส่วนเสริมของ Metaverse ที่ยอดเยี่ยม แต่มันก็ไม่ได้จำเป็น นอกจากนี้ มันยังไม่น่าจะรวมศูนย์ ตัวอย่างเช่น Meta (Facebook เดิม) ได้ลงทุน 1.02 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐใน Horizon Worlds และ Reality Labs

ขั้นตอนแรกของ Meta เพื่อทำให้แนวคิดเป็นที่นิยมคือการอนุญาตให้แสดง NFT บนโปรไฟล์ Facebook ปัญหาคือ Metaverse ที่ Zuckerberg จินตนาการนั้นจะเป็นเพียงแบบจำลองของ Web2 มันจะเป็น Meta ที่ตัดสินใจเกี่ยวกับสกุลเงิน, ค่าธรรมเนียม, พฤติกรรม, การเข้าถึง และในเรื่องอื่นๆ ของผู้ใช้งาน ยิ่งไปกว่านั้น Meta จะสามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มที่หลากหลายหลายสิบแห่งได้ราวกับว่าเป็นบริษัทเกมยักษ์ใหญ่ที่พยายามครองตลาดด้วยเกมสุดท้ายเพียงเกมเดียวได้งั้นหรือ? ไม่ใช่จากที่ประธานฝ่ายกิจการระดับโลกของ Meta, Nick Clegg พูดแน่นอน

“[Metaverse] จะไม่ถูกสร้างขึ้น, ดำเนินการ, หรือถูกควบคุมโดยบริษัทหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่ง มันจะประกอบไปด้วยบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็ก, ประชาสังคม, ภาครัฐ, และครีเอเตอร์อีกหลายล้านคน”

ตรงข้ามกับวิสัยทัศน์ของ Meta เราน่าจะได้เห็นแพลตฟอร์มอเนกประสงค์ที่สามารถรวมเข้ากับเครือข่ายอื่นได้ เมื่อจินตนาการถึงตัวอย่างดังกล่าว เราจะสามารถสร้างพื้นที่เสมือนจริงใน Decentraland แบบโอเพ่นซอร์สได้ โดยใช้สำหรับการประชุมทางธุรกิจ การศึกษา หรืออีคอมเมิร์ซ จากนั้น ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี VR ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าร่วมพื้นที่ดังกล่าวได้ด้วยกระเป๋าเงินของตนเอง

หากพวกเขาถือ NFT ที่ซื้อจากแพลตฟอร์มอื่น ผู้ใช้งานจะสามารถใช้มันเป็นอวตารออนไลน์ได้ ระบุตัวตนของพวกเขาได้ด้วยภาพพร้อมกับที่อยู่กระเป๋าเงินที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเขา พวกเขายังสามารถทำงานร่วมกันได้คล้ายกับโลกแห่งความจริง โดยขึ้นอยู่กับการตั้งค่าโลกเสมือน ในกรณีของการซื้อของออนไลน์ NFT ยังสามารถเป็นตัวแทนของสิ่งของทางกายภาพที่จะส่งถึงบ้านคุณได้

จุดอ่อนของ Metaverse VR

ปัจจุบัน เรามองเห็นภาพของ Metaverse เพียงเศษเสี้ยวเดียวเท่านั้น ในเชิงเทคนิค มันเป็นเรื่องยากมากที่จะสร้างพื้นฐานที่ซึ่งทุกคนมีคอมพิวเตอร์ระดับไฮเอนด์เพื่อขับเคลื่อนภาพกราฟิกที่เหมือนจริง นี่คือเหตุผลที่เราได้เห็นเพียงภาพของ Metaverse ที่ล้าหลังเมื่อเทียบกับเกม AAA สมัยใหม่

ยิ่งไปกว่านั้น มันยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามุมมองในแบบ VR จะถูกนำออกไปอันเนื่องมาจากอาการ Motion Sickness ที่เกิดขึ้นในบางคนหรือไม่ มันมีแนวโน้มที่ระบบไฮบริดซึ่งความจริงเสมือนจะถูกซ้อนทับบนโลกแห่งความเป็นจริงจะได้รับความนิยมมากกว่า เช่นกับ Microsoft HoloLens

หากเป็นเช่นนั้น Metaverse จะไม่ได้เป็นเลเยอร์เสมือนที่แยกออกจากกันไปเลย แต่เป็นเลเยอร์ที่ผสานรวมเข้ากับการดำรงชีวิตทั่วไปอย่างไร้รอยต่อ ในตอนนี้ มีการคาดการณ์ว่าตลาด Metaverse จะมีมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2031 ซึ่งเพิ่มขึ้น 47% ในแง่ของอัตราการเติบโตต่อปี

2. Blockchain Gaming

Blockchain Gaming เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับคอนเซปต์ของ Metaverse อย่างแท้จริง ในเกมแบบดั้งเดิม แม้แต่เกมที่มีตลาดขั้นสูง เช่น ที่พบได้ใน Crossout หรือ Fortnite เกมเหล่านี้ก็ยังแยกกันอยู่อย่างสิ้นเชิง หมายความว่า สกุลเงินในเกมและสินทรัพย์อื่นๆ ทั้งหมดจะถูกล็อกไว้ที่บัญชีของตนเท่านั้น

ซึ่งนั่นหมายความว่า แม้ว่าผู้เล่นจะใช้เวลาหลายร้อยชั่วโมงในเกม พวกเขาก็จะไม่มีอะไรที่จะแสดงให้เห็น ในทางตรงกันข้าม Axie Infinity เป็นผู้บุกเบิกการเล่นเกมแบบ Play-to-Earn (P2E) เช่นเดียวกับที่ Bitcoin วางรากฐานในเรื่องทางการเงิน P2P เอาไว้ Axie Infinity ก็ได้วางรากฐานสำหรับสินทรัพย์ภายในเกมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ในเกม 2D แบบ Turn-Based นี้ ผู้เล่นจะได้รับทั้งสกุลเงินดิจิทัล (AXS และ SLP) และ NFT ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้เล่นได้

เมื่อได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นจากการเล่นแล้ว คุณจะสามารถแลกเปลี่ยนมันเป็นสกุลเงินดิจิทัลในกระดานเทรดได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สิ่งที่เคยสงวนไว้สำหรับนักกีฬา esports ไม่กี่ราย — รายได้จากการเล่นเกมที่มั่นคง — ตอนนี้ได้กลายมาเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสามารถทำได้แล้ว

ในปี 2021 Axie Infinity สร้างรายได้ 1.3 พันล้านดอลลาร์ โดยมียอดขาย NFT รวม 4 พันล้านดอลลาร์ ความสำเร็จทางการเงินนี้ได้ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมเกมบล็อกเชนตามมามากมาย: Illuvium, My Neighbor Alice, Mines of Dalarnia และ CyberDragon เป็นต้น และยังมีอีกมากมายที่กำลังจะมา เช่น Otherside, Decimated, Legends of Elumia และอื่นๆ

กิลด์ Play-to-Earn: อุตสาหกรรมใหม่ที่เกิดจาก Metaverse

สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือเกมบล็อกเชนได้สร้างอุตสาหกรรมรองขึ้นมา ซึ่งได้แก่ — กิลด์ของเกม P2E เนื่องจากเกมบล็อกเชนบางเกมนั้นจะต้องมี NFT ที่ใช้เล่นได้เพื่อเริ่มเล่น แพลตฟอร์ม Web3 เหล่านี้ (YGG, Avocado DAO, GGG) จะให้ผู้เล่นยืมเงินในจำนวนดังกล่าว ผู้เล่นเพียงแค่เชื่อมต่อกระเป๋าเงินดิจิทัลเพื่อขอยืมเหรียญหรือ NFT ในทางกลับกัน ผู้ให้กู้จะได้รับผลตอบแทนเมื่อเกมเมอร์ P2E เริ่มที่จะได้รับ Crypto จากการเล่นเกม

นี่คือเหตุผลที่เกมบล็อกเชนหลายเกมรวมเรื่องทางการเงินและเกมเข้าด้วยกันเป็น GameFi ซึ่งเป็นประเภทใหม่ของเกม ตัวอย่างเช่น DeFi Warrior จำลองโลกของการซื้อขายบล็อกเชนด้วยการเล่นเกมแนวกลยุทธ์และเก็บทรัพยากร

ด้วยเหตุนี้ มันจึงปลอดภัยที่จะบอกว่าเกมบล็อกเชนเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของ Web3 ไม่เพียงแต่มันจะผสานรวมเรื่องทางการเงินเข้ากับเกมเท่านั้น แต่ยังเป็นการผสมผสานประสบการณ์การเล่นเกมที่ทำให้ Metaverse สามารถมีส่วนร่วมมากขึ้นได้อีกด้วย

3. DAOs

Web3

องค์กรอัตโนมัติแบบกระจายอำนาจ (DAO) เป็นฟันเฟืองของ Web3 ที่ขาดไม่ได้ หากต้องเปลี่ยนการควบคุมแบบพีระมิดจากบนลงล่างขององค์กรเป็นรูปแบบกระจายอำนาจที่เน้นผู้ใช้งานเป็นหลัก DAO คือสิ่งที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปได้

Web3
โครงสร้างขององค์กรแบบดั้งเดิม: Token Economy

DAO นั้นเป็นทั้งคลังและองค์กรปกครอง นี่คือวิธีการทำงานของมัน:

  • ผู้ถือโทเค็นของแพลตฟอร์มบล็อกเชนจะต้องตกลงที่จะปฏิบัติตามกฎของ DAO
  • กฎเหล่านี้เข้ารหัสในสัญญาอัจฉริยะและปรับใช้อยู่บนบล็อกเชน
  • โทเค็นสัญญาอัจฉริยะของ DAO จะทำการรวมโทเค็นจากผู้ถือโทเค็น โทเค็นเหล่านี้เป็นทั้งเงินทุนที่จะใช้สำหรับโปรเจกต์เฉพาะกิจและทำหน้าที่เป็นผู้แทนที่มีอำนาจในการลงคะแนนเสียงตามสัดส่วน

บางครั้ง DAO ก็สามารถต่อต้านผู้สร้างของตนเองได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อ Yuga Labs เปิดตัว ApeCoin DAO สำหรับ Otherside Metaverse ของพวกเขา บริษัท Web3 เสนอให้สร้างบนบล็อกเชนแบบจัดการเองได้แทนที่จะอยู่บน Ethereum อย่างไรก็ตาม ผู้ถือโทเค็น APE ตัดสินใจคัดค้านข้อเสนอนี้ด้วยส่วนสัดคะแนนเสียงที่ชนะมาเพียงเล็กน้อยที่ 3.8 ล้าน ต่อ 3.3 ล้าน APE

DAO ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดหามวลชนเพื่อสร้างแพลตฟอร์ม Web3 มันมีตัวอย่างมากมายในเรื่องนี้ BlockbusterDAO ได้เปิดตัวเพื่อรวบรวมเงินทุนให้มากพอที่จะซื้อ IP ของ Blockbuster คืนจากบริษัท Dish satellite จากนั้น พวกเขาจะใช้ IP นั้นเพื่อเปิดตัวแพลตฟอร์มแบบกระจายอำนาจเพื่อให้ทุนแก่ภาพยนตร์และรายการทีวีต่างๆ

แม้ว่าสุดท้ายแล้ว Dish จะปฏิเสธที่จะเคลื่อนไหวใดๆ และ BlockbusterDAO ได้กลายเป็น R3WIND แต่มันก็ยังได้รับความสนใจมากพอที่จะทำตามเป้าหมาย Web3 Streaming ของพวกเขา สรุปแล้ว DAO เป็นกลไกการกำกับดูแล/การจัดหาเงินทุนที่ยืดหยุ่นและไว้วางใจได้เป็นอย่างมาก

4. พลิกโฉมหน้า Social Media

Web3

ใครก็ตามที่ใช้เวลาบน Instagram, Twitter หรือ Facebook น่าจะรู้ว่าสถานะของพวกเขานั้นล่อแหลมเพียงใด เมื่อได้รับการแจ้งเตือน แม้แต่บัญชีที่มีผู้ติดตามหลายล้านคนก็สามารถถูกยกเลิกได้

ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าผู้ใช้งานจะสร้างรายได้จากโฆษณาจำนวนมหาศาล แต่ทั้งหมดก็ถูกส่งไปที่ตัวแพลตฟอร์มเอง ที่แย่ไปกว่านั้น รูปแบบของธุรกิจแบบนั้นอาจจะมีความเปราะบางได้ เช่นหากบริษัทโฆษณาสามารถกดดันแพลตฟอร์มให้ลบบัญชีได้ เป็นต้น

มันมีหนทางที่จะลบช่องโหว่ของโซเชียลมีเดียอยู่ ตัวอย่างแรกก็คือ Lens Protocol จาก Aave แพลตฟอร์มผู้ให้บริการสินเชื่อ Crypto

Lens ใช้ NFT และสัญญาอัจฉริยะเพื่อสร้างเครื่องมือเพื่อพัฒนาเครือข่ายโซเชียลมีเดีย ยกเว้น NFT ที่ไม่ใช่ตัวละครที่สามารถเล่นได้ แต่โปรไฟล์ผู้ใช้งานและผู้ติดตาม ทั้งหมดจะเป็นเจ้าของและควบคุมได้โดยผู้ใช้งานเองในฐานะโปรไฟล์โซเชียลมีเดียแบบ Non-Custodial

Web3
วิธีที่ Lens Protocol ทำงาน: Lens

ด้วยวิธีนี้ คอนเท้นท์ครีเอเตอร์สามารถปรับแต่งรอยเท้าโซเชียลมีเดียของตนเองได้ สร้างรายได้ และควบคุมมันจากบนลงล่าง โดยปราศจากการแทรกแซงจากองค์กร เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่ไร้ตัวกลางอื่นๆ ผู้ใช้งาน Lens จะสามารถใช้ประโยชน์จากกระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการกำกับดูแลตนเองนี้

Network Effect นั้นเป็นผู้มีส่วนร่วมหลัก

ทั้ง Twitter และ Facebook นั้นคู่แข่งรายอื่นๆ อยู่แล้ว แต่พวกเขาถูกทำให้มีความสามารถในการแข่งขันน้อยลงเนื่องจาก Network Effect (คือการที่คุณค่าของสินค้าหรือบริการใดก็ตาม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมันเอง แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้ของสินค้าหรือบริการ) ซึ่งทำให้บริษัทใหญ่ๆ มีคุณค่า

จากนั้น มันจะขึ้นอยู่กับสาธารณชนที่จะตัดสินใจว่าการถูกควบคุมดูแลโดยอัตโนมัติและการขาดการสร้างรายได้นั้นคุ้มค่าหรือไม่ จนถึงตอนนี้ แพลตฟอร์มโซเชียลแบบรวมศูนย์ทำการสร้างรายได้แบบอ้อมๆ โดยการที่ผู้ใช้งานใช้บัญชีของตนทำคอนเท้นท์ในรูปแบบต่างๆ

สุดท้ายนี้ Web3 กำลังรุกเข้าสู่ฟอรัมในแบบดั้งเดิม ในฐานะที่เป็นฟอรัมที่ใหญ่ที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต Reddit ได้ใช้ประโยชน์จาก Avatar NFT และโทเค็นเพื่อให้รางวัลแก่ความคิดเห็นที่มีคุณภาพ ด้วย Community Points ที่สามารถปรับแต่งได้ Subreddits นั้นสามารถเปิดตัวเป็น Cryptocurrency ที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ได้เลย สิ่งนี้เกิดขึ้นกับ r/Cryptocurrency เมื่อโทเค็น Moons (MOON) ของ subreddit ได้รับการขึ้นทะเบียนในกระดานเทรด MEXC นี่เป็นอีกครั้งที่แสดงให้เห็นว่า Web3 มีความยืดหยุ่นเพียงใด แม้แต่โทเค็นที่เดิมไม่มีมูลค่าเป็นตัวเงินก็สามารถเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ได้

5. DeFi

Web3

Decentralized Finance (DeFi) อาจจะรู้จักกันในฐานะเป็นรากฐานของ Web3 ซึ่งโฮสต์บนเครือข่ายบล็อกเชนและใช้งานโดยสัญญาอัจฉริยะ แอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ (DApps) ของ DeFi นั้นครอบคลุมบริการทางการเงินแบบดั้งเดิมทั้งหมด เพียงแต่ไม่มีธนาคารหรือผู้ดูแลสภาพคล่อง

DApps เช่น Aave หรือ Curve ให้บริการสินเชื่ออัตโนมัติแก่ผู้ใช้งาน โดยให้ผู้ใช้งานวางหลักประกันในสัญญาอัจฉริยะก่อน DApps ที่ขับเคลื่อนด้วยบล็อกเชนสามารถแปลงอนุพันธ์ของหุ้น, สกุลเงิน Fiat, และสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำและเงิน ตัวอย่างเช่น Synthetix ทำสิ่งนี้โดยการเชื่อมโยงมูลค่าอ้างอิงกับความช่วยเหลือของ Chainlink (LINK) จึงทำให้มันพร้อมใช้งานสำหรับการซื้อขายแบบ On-Chain

สิ่งนี้หมายความว่าผู้คนในประเทศกำลังพัฒนาจะสามารถเข้าสู่การลงทุนทางการเงินระดับสูงได้โดยไม่ต้องมีตลาดหลักทรัพย์ในประเทศของตนด้วยซ้ำ นอกจากเกม P2E แล้ว DeFi ยังสามารถเปลี่ยนผู้ใช้งานให้เป็นผู้ดูแลตลาดได้

หากผู้ใช้งานฝากโทเค็นในกระดานเทรดกระจายอำนาจ (DEX) เช่น Uniswap พวกเขาจะกลายเป็นผู้ให้บริการสภาพคล่อง ความหมายก็คือ นักเทรดบางรายที่ต้องการแลกเปลี่ยนโทเค็นหนึ่งเป็นโทเค็นอื่น เช่น ETH เป็น USDC จะใช้กลุ่มสภาพคล่องนั้นเพื่อดำเนินการดังกล่าว

ตกลงแล้ว Web3 มันเกี่ยวกับอะไร?

Web3 คืออะไร? โดยสรุปแล้ว Web3 นั้นเกี่ยวกับการทำให้โลกแห่งความเป็นจริงกลายเป็นโทเค็น คำว่า “โทเค็น” นั้นหมายถึงการเป็นสิ่งแทนตัว หากบางสิ่งบางอย่างสามารถถูกระบุได้อย่างมีเหตุผล สิ่งนั้นก็จะสามารถเปลี่ยนเป็นโทเค็นบนแพลตฟอร์มบล็อกเชนได้ โทเค็นและแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถสร้างเครือข่ายที่ใหญ่ยิ่งขึ้นได้ ซึ่งจะกลายเป็นมหาสมุทรแห่งคุณค่าที่แต่ละหยดแสดงถึงความเป็นอิสระทางการเงินของบุคคลใดๆ

แน่นอนว่ามันก็คงจะมีปลาวาฬในมหาสมุทรแห่งนี้ที่ทำการเคลื่อนไหวมูลค่าไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่มันก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า Web3 คืออนาคตของโลกออนไลน์ แม้แต่บริษัทดั้งเดิมที่เป็นรากฐานสำคัญก็ยังเฝ้าหาหนทางที่จะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายบล็อกเชน มันขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะสนับสนุนบล็อกเชนแบบกระจายอำนาจ, สาธารณะ, และโอเพ่นซอร์สหรือไม่ ไม่เช่นนั้น พวกเขาอาจจะเสี่ยงต่อการนำข้อผิดพลาดของ Web2 มาสร้างขึ้นใหม่ในรูปแบบโทเค็นก็เป็นได้

คำถามที่พบบ่อย

ตัวอย่างของ Web3 เป็นอย่างไร?

ทำไมเราถึงต้องการ Web3?

Web3 นั้นเป็นเหมือนกับ Metaverse หรือไม่?

บริษัทใดบ้างที่ใช้งาน Web3?

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน